วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ เงินเยนกับน้ำมันอาจช่วยชะลอการปรับตัวลงของตลาด

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ เงินเยนกับน้ำมันอาจช่วยชะลอการปรับตัวลงของตลาด

นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นส่งสัญญาณ เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังไม่พร้อมต่อการปรับขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มเติม เงินเยนอ่อนค่าสู่ 147 เยน/ดอลลาร์ฯ หลังจากนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของญี่ปุ่น Shigeru Ishiba ส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจยังไม่พร้อมสำหรับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง

ซึ่งเป็นท่าทีที่ผ่อนคลายกว่าที่นักลงทุนเคยคาดการณ์ ส่งผลให้เงินเยนอ่อนค่า หนุนการฟื้นตัวของหุ้นญี่ปุ่น และลดความกังวลเกี่ยวกับการขายสินทรัพย์เสี่ยงในเอเชียและตลาดเกิดใหม่ 

กลุ่มพลังงานช่วยประคองตลาด แต่มีแนวโน้มผันผวนจากผลประกอบการ ราคาน้ำมันดิบฟื้นตัวเล็กน้อยจากสถานการณ์ความรุนแรงในตะวันออกกลาง ทำให้นักลงทุนกังวลสถานการณ์อาจขยายวงหลังอิหร่านโจมตีอิสราเอลด้วยขีปนาวุธ 200 ลูก ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มฟื้นตัวในระยะสั้นจากปัจจัยดังกล่าว และข่าวการกระตุ้นเศรษฐกิจจีน อย่างไรก็ตาม ผลประกอบการไตรมาส 3/67 ของหุ้นพลังงานโดยรวมยังอ่อนแอ ขณะที่ซาอุดิอาระเบียจะผลิตน้ำมันเพิ่มตั้งแต่ ธ.ค. จะยังเป็นปัจัจยกดดันการฟื้นตัวของหุ้นพลังงาน 

การอ่อนค่าของเงินบาท และการปรับพอร์ตขายทำกำไรของต่างชาติ ยังเป็นปัจจัยกดดันระยะสั้น ช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา เราเตือนถึงการอ่อนกำลังขององค์ประกอบหุ้นใน SET50 ซึ่งเริ่มเข้าสู่การทยอยปรับฐาน ผ่านจำนวนหุ้นที่ยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 20 วันที่มีจำนวนลดลง (ล่าสุด 38 หลักทรัพย์ จากสูงสุด 48 หลักทรัพย์ เมื่อ 9 ก.ย.) ทั้งนี้แนวโน้มการลดดอกเบี้ยของเฟดที่อาจไม่ได้เร็วอย่างที่ตลาดคาด ประกอบกับการแทรกแซงจากทางธปท. ทำให้เงินบาทอ่อนค่าสู่ 33.03 บาท/ดอลลาร์ฯ (จากแข็งสุด 32.14 บาท/ดอลลาร์ฯ เมื่อ 30 ก.ย.) อาจเป็นปัจจัยให้นักลงทุนต่างชาติขายทำกำไรระยะสั้น และเงินอาจหมุนกลุ่มไปยังหุ้นที่ยังปรับขึ้นน้อยกว่าตลาดในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ได้แก่ ท่องเที่ยว, การแพทย์, อาหาร และอิเล็กทรอนิกส์

 

 

ภาพรวมกลยุทธ์ “เก็งกำไรหุ้นขนาดกลาง-เล็ก สะสมหุ้นที่เข้าสู่ช่วง high season อย่างกลุ่มท่องเที่ยว การแพทย์ อาหารสัตว์เลี้ยงเราชอบ AOT, ERW, CENTEL, SPA, VRANDA, BCH, BDMS, ITC // หุ้นได้ประโยชน์จากจีนและ DR หุ้นจีน อาจชะลอจากการเข้าสู่ช่วงหยุดยาว 1-7 ต.ค. // หุ้นได้แประโยชน์ Data center: WHA, INSET, ITEL, MFEC, AIT, ICN

แนวรับ: 1,425-1,435 / แนวต้าน : 1,465-1,490 จุด 

สัดส่วนลงทุน: เงินสด 40% vs พอร์ตหุ้น 60%

หุ้นแนะนำ  (* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ นักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาเข้าซื้อ)

•    BTG* (24) : กำไรไตรมาส 3/67 คาดฟื้นตัวต่อเนื่อง และเป็น Laggards play ในกลุ่มอาหาร ตัดขาดทุน 21.90 บาท
•    TNP* (4.50) : ภาวะน้ำท่วมทำให้มีการปิด 4 สาขา แต่เป็นระยะเพียง 3-7 วัน ผลประทบค่อนข้างจำกัด ขณะที่ได้แรงหนุนบริโภคจากมาตรการรัฐ  ตัดขาดทุน 3.50 บาท
•    VRANDA* (7) : ผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ฟื้นตัวจากธุรกิจโรงแรม ขณะไตรมาส 4 มีแรงหนุนจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ ตัดขาดทุน 5.20 บาท  
•    FLOYD* (1) : ผลการดำเนินงานผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และคาดฟื้นตัวต่อเนื่อง ราคาปัจจุบันต่ำมูลค่าทางบัญชีที่ 1.05 บาท  ตัดขาดทุน 0.75 บาท 
 

ประเด็นที่น่าสนใจ 

-    โอเปคพลัสมีมติคงนโยบายการผลิตน้ำมันตามคาด
-    ADP เผยจ้างงานภาคเอกชนสหรัฐ +143,000 เดือนก.ย. สูงกว่าคาดการณ์
-    ปิดฉากดีเบตชิงรองประธานาธิบดี โพลชี้ "แวนซ์" ชนะ "วอลซ์" เล็กน้อย
-    หุ้นอสังหาฯ จีน พุ่งแรง Shimao-Sunac เพิ่มขึ้นกว่า 200% หลังรัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
-    กกพ. ดีเดย์ประกาศรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนรอบใหม่ 8 ต.ค. นี้
-    BOI ย้ำศักยภาพไทยอุตฯดิจิทัล หลัง Google-บิ๊กเทคโลก ทยอยประกาศแผนลงทุน
-    ผู้ถือหุ้นใหญ่ SFLEX เคลียร์หุ้นวางค้ำมาร์จิ้นดึงความเชื่อมั่นกลับ
-    TRUE โชว์ความสำเร็จปิดดีลเงินกู้ 1.4 แสนล้านเยน รีไฟแนนซ์หนี้สกุลดอลลาร์
-    กลุ่ม Finance แนะนำ OVERWEIGHT/ AU แนะนำ “ซื้อ” เป้า 14 บาท

 

ปัจจัยที่ต้องติดตาม

3 ต.ค. – US ISM Services PMI (Sep)

 

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ เงินเยนกับน้ำมันอาจช่วยชะลอการปรับตัวลงของตลาด วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ เงินเยนกับน้ำมันอาจช่วยชะลอการปรับตัวลงของตลาด