MONEY AND STOCK MARKET REVIEW วันที่ 30 ธ.ค. 2567-3 ม.ค. 2568

MONEY AND STOCK MARKET REVIEW วันที่ 30 ธ.ค. 2567-3 ม.ค. 2568

เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบเกือบ 2 สัปดาห์ ขณะที่หุ้นไทยปรับตัวลงในสัปดาห์แรกของปี 2568

สรุปความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท  

• เงินบาทอ่อนค่าลง ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ ได้แรงหนุนจากการคาดการณ์เรื่องดอกเบี้ยเฟดและผลกระทบจากนโยบายของนายโดนัลด์ ทรัมป์

เงินบาทปรับตัวในกรอบแคบๆ ช่วงต้นสัปดาห์ ก่อนจะพลิกอ่อนค่ากลับมาตามทิศทางการอ่อนค่าของสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาคและเงินหยวน ซึ่งเผชิญแรงกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากนโยบายการค้าของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีคนถัดไปของสหรัฐฯ นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ฯ ยังมีแรงหนุนเพิ่มเติมจากข้อมูลด้านตลาดแรงงานของสหรัฐฯ ซึ่งสนับสนุนการคาดการณ์เกี่ยวกับแนวโน้มการชะลอจังหวะการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ [จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ ลดลง 9,000 ราย ไปอยู่ที่ระดับ 211,000 รายในสัปดาห์ที่ผ่านมา vs. ตลาดคาดที่ 222,000 ราย]

ทั้งนี้ เงินบาทอ่อนค่าต่อเนื่องในช่วงท้ายสัปดาห์ไปแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบเกือบ 2 สัปดาห์ที่ 34.50 บาทต่อดอลลาร์ฯ สอดคล้องกับสถานะขายสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ

 

MONEY AND STOCK MARKET REVIEW วันที่ 30 ธ.ค. 2567-3 ม.ค. 2568

• ในวันศุกร์ที่ 3 ม.ค. 2568 เงินบาทปิดตลาดในประเทศที่ 34.46 บาทต่อดอลลาร์ฯ เทียบกับระดับ 34.11 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (27 ธ.ค. ) สำหรับสถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติระหว่างวันที่ 30 ธ.ค. 25 – 3 ม.ค. 2568 นั้น นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทย 1,140 ล้านบาท และ 7,861 ล้านบาท ตามลำดับ

 

• สัปดาห์ระหว่างวันที่ 6-10 ม.ค. 2568 ธนาคารกสิกรไทยมองกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่ระดับ 33.90-34. 0 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำาญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อเดือนธ.ค. ของไทย สัญญาณเงินทุนต่างชาติ ทิศทางเงินหยวนและราคาทองคำในตลาดโลก ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนี PMI/ISM ภาคบริการ ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนรายงานโดย ADP ข้อมูลการจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราการว่างงานเดือนธ.ค. 25 ยอดสั่งซื้อภาคโรงงาน ตัวเลขการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงานเดือนพ.ย. 25 บันทึกการประชุมเฟดเมื่อวันที่ 1 -18 ธ.ค. 2567 และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ นอกจากนี้ตลาดยังรอติดตามตัวเลขดัชนี PMI ภาคบริการเดือนธ.ค. 25 ของจีน ยูโรโซน และอังกฤษ อัตราเงินเฟ้อเดือนธ.ค. 25 ของยูโรโซน รวมถึงสัญญาณเกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศของนายโดนัลด์ ทรัมป์ด้วยเช่นกัน

 

สรุปความเคลื่อนไหวตลาดหุ้นไทย

• ตลาดหุ้นไทยร่วงหลุดแนว 1,400 จุดในสัปดาห์แรกของปี จากประเด็น Global Minimum Tax

ดัชนีหุ้นไทยย่อตัวลงเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์ซึ่งเป็นวันทำการสุดท้ายของปี 2567 ขณะที่ นักลงทุนบางส่วนชะลอการลงทุนก่อนวันหยุดปีใหม่เนื่องจากขาดปัจจัยใหม่ๆ เข้ามากระตุ้นตลาด (ณ 30 ธ.ค. 67 SET Index ปิดที่ระดับ 1,400.21 จุด ลดลง 1.10% จากระดับปิด ณ สิ้นปี 2566)

 

MONEY AND STOCK MARKET REVIEW วันที่ 30 ธ.ค. 2567-3 ม.ค. 2568

ดัชนีหุ้นไทยร่วงลงแรงต่อเนื่องหลังตลาดกลับมาเปิดทำการวันแรกของปี 2568 ท่ามกลางแรงขาย โดยเฉพาะในหุ้นบิ๊กแคปรายตัวของบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และบริษัทผู้ประกอบธุรกิจด้านพลังงานจากความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลขั้นต่ำทั่วโลก (Global Minimum Tax) ที่ระดับ 15% ซึ่งเริ่มมีผลตั้งแต่ 1 ม.ค. 2568 

 

 

 

 

อย่างไรก็ดี ดัชนีหุ้นไทยฟื้นตัวกลับมาได้บางส่วนช่วงปลายสัปดาห์ โดยมีแรงหนุนจากแรงซื้อคืนหุ้นที่ร่วงลงแรงก่อนหน้านี้ อนึ่งหุ้นกลุ่มแบงก์ปรับตัวขึ้นสวนทางภาพรวมตลาดท่ามกลางแรงซื้อเก็งกำไรก่อนประกาศผลประกอบการไตรมาส 4/2567 

•ในวันศุกร์ที่ 3 ม.ค. 2568 ดัชนี SET ปิดที่ระดับ 1,384.76 จุด ลดลง 1.19% จากระดับปลายสัปดาห์ก่อน ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 32,833.89 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.56% จากสัปดาห์ก่อน ส่วนดัชนี mai ลดลง 0.8 % มาปิดที่ระดับ 30 .41 จุด

• สัปดาห์ถัดไป ( -10 ม.ค. 8) บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,3 5 และ 1,3 0 จุด ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,400 และ 1,410 จุด ตามลำดับ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ตัวเลขเงินเฟ้อเดือนธ.ค. 25 ของไทยและทิศทางเงินทุนต่างชาติ ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนี ISM/PMI ภาคการบริการ ข้อมูลการจ้างงานภาคเอกชนของ ADP ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราการว่างงานเดือนธ.ค. 25 ตัวเลขนำเข้าและส่งออกเดือนพ.ย. 25 บันทึกการประชุมเฟด รวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ขณะที่ปัจจัยเศรษฐกิจต่างประเทศอื่นๆ ได้แก่ ดัชนี PMI ภาคการบริการเดือนธ.ค. 25 ของญี่ปุ่น จีน และยูโรโซน รวมถึงดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนธ.ค. 25 (เบื้องต้น) และดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนพ.ย. 25 ของยูโรโซน