วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ เงินเฟ้อสหรัฐฯ สูง ขณะที่ธนาคารระวังการปรับ GDP ปี 68

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ เงินเฟ้อสหรัฐฯ สูง ขณะที่ธนาคารระวังการปรับ GDP ปี 68

สหรัฐฯ รายงานเงินเฟ้อสูงกว่าคาด แต่จิตวิทยาลบอาจหักล้างด้วยพัฒนาการยุติสงครามยูเครน: สหรัฐฯ รายงานเงินเฟ้อ ม.ค.ที่ +0.5% MoM, +3.0% YoY (สูงกว่าคาดการณ์ที่ +2.9% YoY และเพิ่มขึ้นจากธ.ค.ที่ +2.9%)

ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับปีก่อน เงินเฟ้อที่สูงกว่าคาดมีสาเหตุหลักมาจาก ต้นทุนพลังงานเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน (+1.0% vs ธ.ค.ที่ -0.5%), ราคารถยนต์และรถบรรทุกมือสองที่กลับมาเพิ่มขึ้น (+1.0% vs ธ.ค.ที่ -3.3%), ค่าขนส่ง (+8.0% vs ธ.ค.ที่ -7.3%) เงินเฟ้อที่มากกว่าคาด ทำให้แนวโน้มการปรับลดดอกเบี้ยของเฟดมีแนวโน้มล่าช้ากว่าเดิม และน่าจะยังไม่เกิดขึ้นในเร็วๆนี้ (ตลาดคาดการลดดอกเบี้ยเกิดขึ้น มิ.ย.) ซึ่งภาพดังกล่าวเป็นลบกับจิตวิทยาการลงทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง อย่างไรก็ตามรายงานข่าวถึงความต้องการยุติสงครามในยูเครน หลังการหารือของผู้นำสหรัฐฯ กับผู้นำของรัสเซียและยูเครน อาจหนุนการปรับลดลงของราคาน้ำมันดิบ และเป็นปัจจัยบวกช่วยให้ตลาดไม่กังวลกับเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นจนเกินไป // สำหรับหุ้นไทย เรามองบวกต่อกลุ่มประกัน (BLA, TIPH, TLI) และลบต่อกลุ่มการเงิน

MSCI Rebalancing:  การปรับหุ้นเข้าออกดัชนีรอบใหม่ มีผล (Effective) 28 ก.พ.68 มีหุ้นถูกปรับเข้า-ออกดังนี้ 1) MSCI Global Standard: หุ้นเข้า – ไม่มี / หุ้นออก – PTTGC, TOP //  2) MSCI Global Small Cap: หุ้นเข้า – GPSC, PTTGC, SCGP, TOP / หุ้นออก - BSRC, DCC, ERW, GFPT, KAMART, PSG, PSH, SAPPE, STECON, THG, TIPH // ทั้งนี้ตลาดหุ้นไทยเคลื่อนไหวแย่กว่าหุ้นโลก (Underperform) ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้มีความเสี่ยงที่น้ำหนักการลงทุนหุ้นไทยจะถูกปรับลงเทียบกับหุ้นภูมิภาค ทำให้อาจต้องระวังความผันผวนจากการปรับหุ้นและน้ำหนักการลงทุนในช่วงปลายเดือน 

ในเชิงกลยุทธ์ยังระวังแรงทำกำไรกลุ่มธนาคาร โดยเฉพาะหากมีการปรับ GDP ปี 2568 ลง: ในทางกลยุทธ์มองเป็นจังหวะขายทำกำไรกลุ่มธนาคาร ซึ่งรับปัจจัยบวกทั้งจากผลประกอบการและการจ่ายปันผลที่จะประกาศช่วงปลาย ก.พ. ไปพอสมควรแล้ว ขณะที่การประกาศ GDP ไตรมาส 4/67 (Consensus คาด +3.7%) 

 

วันที่ 17 ก.พ. เสี่ยงอาจกดดันต่อการปรับลดประมาณการ GDP ปี 2568 (Consensus คาด +3.0%) // หุ้นขนาดกลาง-ใหญ่ที่คาดรายงานผลประกอบการสัปดาห์นี้ ได้แก่  13 ก.พ. – AOT, GLOBAL, ITC, VGI / 14 ก.พ. – BTS, DELTA, MINT, TOP / 17 ก.พ. – CPNREIT, GPSC, PTTGC, STA, TU, TASCO / 18 ก.พ. – CPAXT, MTC//  

ภาพรวมกลยุทธ์ แกว่งตัว 1,270-1,290 จุด เงินเฟ้อสหรัฐฯ สูงและความเสี่ยงปรับลด GDP เป็นลบต่อธนาคาร การเงิน แต่ยังมองบรรยากาศเก็งกำไรในภาพรวมเป็นบวก ซื้อเก็งกำไรรอบนี้เลือกหุ้นที่ลงมาเยอะในกลุ่มท่องเที่ยว, การแพทย์, ค้าปลีก และอาหาร (เนื้อสัตว์) กลุ่มโรงไฟฟ้าใหญ่และหุ้นปันผลสูงเริ่มกลับมาน่าสนใจ // DR หุ้นจีนหลายตัวน่าสนใจ

แนวรับ: 1,265-1,270   แนวต้าน : 1,290-1,310 จุด

สัดส่วนลงทุน: เงินสด 40% vs พอร์ตหุ้น 60%
 

หุ้นแนะนำ  (* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ นักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาเข้าซื้อ)

•    BLA* (24): เงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่สูง ทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรมีแนวโน้มทรงตัวในระดับสูงนาน เป็นบวกต่อผลตอบแทนการลงทุนของกลุ่มประกัน ตัดขาดทุน 18 บาท
•    SAMART (8): ผลการดำเนินงานไตรมาส 4 คาดฟื้นตัวต่อเนื่อง และปี 67 กลับมามีกำไรเป็นบวกครั้งแรกในรอบ 3 ปี ราคาซื้อขายต่ำ NAV ที่ 8-10 บาท  ตัดขาดทุน 6.85 บาท 
•    CPN (60) : ราคาปรับลดลงจนซื้อขายเพียง 13.81x PER ขณะที่ผลประกอบการ ตัดขาดทุน 50 บาท
•    STAR5001 (34) : DR อ้างอิง Premia China STAR50 ETF  ตัดขาดทุน 28 บาท

ประเด็นที่น่าสนใจ

-    สหรัฐฯเผยดัชนี CPI +3% เดือนม.ค. สูงกว่าคาดการณ์
-    EIA เผยสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯเพิ่มขึ้นมากกว่าคาด
-    ญี่ปุ่นแซงไทยขึ้นอันดับ 1 จุดหมายปลายทางนักท่องเที่ยวจีนช่วงตรุษจีนปีนี้
-    ปลดล็อกเวลาขายเหล้า-เบียร์ ดันเงินหมุนเวียนเพิ่ม 5 หมื่นล้านบาท
-    พิชัย เล็งชง ครม. โยกเงิน LTF ตั้งกอง Thai ESG ใหม่
-    แรงขาย LTF ไปแล้ว 20,000 ล้านบาท พุ่ง 4 เท่า ค้างท่ออีกเกือบ 2 แสนล้าน

 

-    หุ้น Tesla ร่วง กังวลล้าหลังคู่แข่ง หลัง BYD จับมือ DeepSeek พัฒนาเทคโนโลยีไร้คนขับ
-    บทวิเคราะห์วันนี้ : OR ปรับคำแนะนำขึ้นเป็น ซื้อ เป้า 16 บาท  

ปัจจัยที่ต้องติดตาม

13 ก.พ. – US PPI (Jan)
14 ก.พ. – US Retail Sales (Jan)
17 ก.พ. – JP GDP Growth  (4Q2

 

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ เงินเฟ้อสหรัฐฯ สูง ขณะที่ธนาคารระวังการปรับ GDP ปี 68