วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ สงครามการค้ายืดเยื้อ คาดกดดันสินทรัพย์เสี่ยง

สงครามการค้าส่อแววยืดเยื้อ วันนี้ประเมินตลาดหุ้นไทยจะยังคงผันผวน จากปัจจัยภายในและนอกประเทศ สำหรับปัจจัยนอกประเทศที่อาจกดดันสินทรัพย์เสี่ยง คือความรุนแรง และยืดเยื้อของสงครามการค้าระหว่าง สหรัฐฯ กับจีน, แคนาดา และเม็กซิโก
หลังสหรัฐฯ ยืนยันที่จะขึ้นภาษีการค้ากับสามประเทศคู่ค้าหลัก ขณะที่สามประเทศดังกล่าวเริ่มมีการตอบโต้กลับสหรัฐฯ โดยอาจเป็นรูปแบบการขึ้นภาษีทางการค้ากับสหรัฐฯ เช่นกัน ขณะที่ปัจจัยในประเทศ โดยหลักแล้วจะเป็นปัจจัยเฉพาะตัว อาทิ AOT หลังมีรายงานข่าวว่า บริษัทอนุญาตให้ King Power ยืดระยะเวลาการจ่ายหนี้ออกไปได้อีก 2 เดือน ทำให้นักลงทุนเกิดความกังวลต่อสภาพคล่องของบริษัท
นักลงทุนกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น: ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกและสหรัฐฯ ที่จะได้รับผลกระทบจากการเก็บภาษีทางการค้า และปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ซึ่งรวมไปถึงการต่ออายุมาตรการลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสหรัฐฯ ภายใต้กฎหมาย Tax Cuts and Jobs Act ปี 2560) สถานการณ์ดังกล่าวทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรเข้าสู่ภาวะ Inverted Yield Curve (ผลตอบแทนสูงกว่าผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาว) โดยล่าสุดผลตอบแทนพันธบัตร 3 เดือนอยู่ที่ 4.30% สูงกว่าผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปี ที่ 4.12% สถานการณ์ดังกล่าวทำให้นักลงทุนเพิ่มความระวังและถือสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น
เน้นเลือกลงทุนรายตัวเป็นหลัก: สำหรับกลยุทธ์การลงทุนของเราในวันนี้ แนะนำให้เน้นเลือกลงทุนเป็นรายตัวเป็นหลักจากสภาวะตลาดหุ้นที่อาจยังคงผันผวน โดยกลุ่มที่เราชอบ คือ 1) กลุ่มการเงิน เนื่องจากได้ประโยชน์ จากสภาวะดอกเบี้ยขาลง, 2) กลุ่มโรงพยาบาล จากราคาหุ้นที่ปรับลดลงมามาก และมองเป็นหุ้นกลุ่มหลุมหลบภัย เราชอบ BCH, BDMS และ 3) กลุ่มเงินปันผลสูง เรามองว่าหุ้นในกลุ่มนี้จะมี downside ที่ต่ำกว่าหุ้นอื่นๆ จากอัตราเงินปันผลที่มารองรับราคาหุ้น หุ้นที่เราชอบ คือ AP จากแนวโน้มผลการดำเนินงานปี 2568 ที่ดูดีสุดในกลุ่มอสังหาฯ ขณะที่อัตราเงินปันผลสูงราว 6-7%
ภาพรวมกลยุทธ์ ความกังวลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ถดถอยอาจกดดันให้เกิดภาวะลดการลงทุนสินทรัพย์เสี่ยง และกระทบต่อหุ้น แต่ยังอาจทยอยสะสมกลุ่มปันผลสูงได้ ขณะที่ในมุมเก็งกำไร ตัวเลขการผลิตจีนที่เริ่มฟื้น ประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ อาจหนุนแรงเสี่ยงเก็งกำไรกลุ่มปิโตรเคมีที่ปัจจุบันอยู่ในสถานะมีการถือครองต่ำ (under-owned) //สำหรับกลุ่มที่น่าสนใจทางพื้นฐาน เรามอง กลุ่มท่องเที่ยว, การแพทย์, ค้าปลีก และอาหาร (เนื้อสัตว์) รวมถึงกลุ่มโรงไฟฟ้าใหญ่และหุ้นปันผลสูง // หุ้นเล็กที่น่าสนใจ: MEB, SORKON, VRANDA, NER
แนวรับ: 1,170-1,177 แนวต้าน : 1,200 จุด
สัดส่วนลงทุน: เงินสด 40% vs พอร์ตหุ้น 60%
หุ้นแนะนำ (* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ นักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาเข้าซื้อ)
• BCH (17.50): ผลการดำเนินงานมีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจากจำนวนผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ในช่วงต้นปีที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยในรอบหลายปี ตัดขาดทุน 15 บาท
• AP (25): กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ อยู่ในสถานะมีการถือครองต่ำ (under-owned) และมีโอกาสฟื้นตัวในช่วงปันผล XD 0.60 บาท 7 พ.ค. ตัดขาดทุน 8.60 บาท
• RATCH (30) : หุ้น Defensive ที่ปัจจุบันซื้อขาย PER 7 เท่า และให้ผลตอบแทนปันผลทั้งปี 6% (ปันผลที่จะถึง 0.80 บาท XD 17 มี.ค.) ตัดขาดทุน 25 บาท
• TFG (4.36): คาดผลประกอบการ 1Q25 ปรับดีขึ้นจากราคาขายเนื้อหมุที่เพิ่มขึ้น, ราคาวัตถุดิบหลักที่ลดลง และธุรกิจค้าปลีกที่ดีชึ้น ตัดขาดทุน 3.90 บาท
ประเด็นที่น่าสนใจ
- ISM เผยดัชนีภาคการผลิตสหรัฐต่ำกว่าคาดในเดือนก.พ.
- เม็กซิโกเตรียมประกาศมาตรการตอบโต้ทางการค้าต่อสหรัฐในวันอาทิตย์
- จีนเปิดฉากยื่นฟ้อง WTO หลังสหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีนอีก 10%
- "เซเลนสกี" พร้อมพบ "ทรัมป์" หากได้รับเชิญอีกครั้ง
- ศาลล้มละลายกลาง ไฟเขียวขยายเวลา JKN ส่งแผนฟื้นฟูกิจการ อีก 1 เดือน
- บทวิเคราะห์วันนี้ : 4Q24 Earnings Results : Top Picks คือ BCH, MTC, SCB, BTG, และ TFG, AOT แนะนำ ถือ เป้า 49 บาท
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
5 มี.ค. – ISM Service PMI
6 มี.ค. – ECB Interest Rate Decision, ผลประกอบการ JD/ Costco/Broadcom