Quantamental : บล.เคจีไอฯ รอซื้อเมื่ออ่อนตัว

SET index เดือน มี.ค. ลงมาไม่หลุดแนวรับที่ประเมิน
ในเดือน มี.ค. ที่ผ่านมานักลงทุนเลือกที่จะ Wait&See รอความชัดเจน “การประกาศภาษีศุลกากรตอบโต้” ของสหรัฐฯในวันที่ 2 เม.ย. ส่งผลให้ตลาดหุ้นไทยเคลื่อนไหว Sideway ในทิศทางแนวโน้มขาลง ขณะที่ปริมาณการซื้อขายเบาบาง ลดลงจากเดือน ม.ค. - ก.พ. อย่างชัดเจน นอกจากนี้เหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศไทยช่วงปลายเดือน มี.ค. ยังเป็นอีกปัจจัยกดดันบรรยากาศการลงทุน อย่างไรก็ดี เนื่องจาก Valuation ของตลาดหุ้นไทยที่ถูกมาก ทำให้ SET index ไม่ได้ปรับลงมากเกินกว่าแนวรับทางเทคนิคที่เราประเมินไว้ที่ 1,150 จุด
ใกล้จุดต่ำสุด: โอกาสของ Value investor
เราประเมินสถานการณ์ที่เลวร้ายต่อการลงทุนในตลาดหุ้นไทยใกล้ถึงจุดขีดสุด เร็วๆนี้ โดยดัชนี SET index ปรับลดลงมาก ในช่วงที่ผ่านมาสะท้อนความกังวลต่อ Trade war ไปพอสมควรแล้ว นอกจากนี้เราประเมินว่านักลงทุนได้คาดการณ์ถึงโอกาสที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะถดถอย โดยเฉพาะใน 2Q68 - 3Q68 อ้างอิงจากโมเดลพยากรณ์ของเฟด สาขานิวยอร์ก (โมเดลนี้พยากรณ์โดยพิจารณา Yield spread เป็นหลัก) ซึ่งคาดการณ์ว่า ความน่าจะเป็นที่เศรษฐกิจสหรัฐฯจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในช่วงเดือน เม.ย. - ก.ย. สูงถึง 50 – 62% หากสถานการณ์ต่างๆของสหรัฐฯเลวร้ายตามที่คาดการณ์ เราประเมินว่ามีโอกาสที่เฟดจะพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายและผ่อนคลายนโยบายการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในการประชุม FOMC เดือน มิ.ย.นี้
i) Deep value: The Modified yield gap (M-yield gap) สูงถึง +4.92 จุด และ Yield gap ปกติสูงถึง 6.19% (อิงอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 5 ปี) ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดตั้งแต่เดือน มี.ค. 2563 เป็นต้นมา สะท้อนว่าตลาดหุ้นไทยปัจจุบัน Valuation ถูกมากเมื่อเทียบกับตลาดพันธบัตร และอยู่ในระดับใกล้เคียงกับวิกฤติโควิด-19 นอกจากนี้ Adjusted Cyclical PE (CAPE) ลดลงเป็น 14.7 เท่า ต่ำสุดตั้งแต่วิกฤตโควิด-19
เป็นต้นมา ขณะที่ Excess CAPE Yield (ECY) ซึ่งเป็นการคำนวณ Yield gap โดยใช้ส่วนกลับของ CAPE (1/CAPE) และนำมาลบกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี สูงถึง 4.27% และค่า ECY ของตลาดหุ้นไทยปัจจุบันสูงกว่า ECY ของตลาดหุ้นสหรัฐฯถึง 2.52% เป็นระดับที่สูงที่สุดตั้งแต่เดือน พ.ค. 2553 เป็นต้นมา สะท้อนว่าตลาดหุ้นไทย ณ ระดับ Valuation ปัจจุบันนั้น น่าสนใจลงทุนมากกว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ มาก และจากข้อมูลในอดีตทุกครั้งที่ ส่วนต่างค่า ECY ระหว่างไทย - สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นมากๆ ดัชนี SET index จะฟื้นตัวหลังจากนั้น (ดูรูปที่ 1)
ii) Alternative models: The Aggregate Investor Allocation to Equity Index (AIAE) เป็นโมเดลที่วัดการจัดสรรการลงทุนในตลาดหุ้นเทียบกับปริมาณเงินในระบบ ล่าสุดลดลงเหลือเพียง 24.3 จุด ซึ่งเป็นระดับ
ที่ต่ำกว่าช่วงวิกฤตโควิด-19 สิ่งนี้สะท้อนว่านักลงทุนได้ลดน้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นไทย ในขณะที่ปริมาณเงินในระบบเพิ่มขึ้น จนอยู่ใกล้เคียงกับระดับวิกฤตเศรษฐกิจครั้งก่อนแล้ว ในขณะเดียวกัน Average Short Interest (ASI) ซึ่งเป็นโมเดลที่วัดความต้องการในการขายชอร์ตในตลาด แสดงให้เห็นว่าแทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงในระหว่างเดือน มี.ค. บ่งชี้ว่านักลงทุนที่เป็น Informed investor เลือกที่จะ Wait&See เช่นกันนอกจากนี้ โมเดล Momentum life cycle สามารถนำมาอธิบายสถานการณ์ตลาดหุ้นไทยในขณะนี้ได้ โดยดัชนี SET index underperform ตลาดหุ้นโลกมาต่อเนื่อง (Low return / Loser) ขณะที่ปริมาณการซื้อขายลดลงอยู่ในระดับที่ต่ำมากเมื่อเทียบในอดีต (Low volume) สะท้อนว่า ตลาดหุ้นไทยขณะนี้อยู่ในวัฏจักรสุดท้ายของ Momentum life cycle แล้ว รอคอยเพียงปัจจัยสนับสนุนที่จะช่วยกระตุ้นการฟื้นตัวของตลาดหุ้นไทยอีกครั้ง ซึ่งเราประเมินว่า การลดอัตราดอกเบี้ยของเฟด + การผ่อนคลายนโยบายการเงิน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอีก
ครั้งใน 2H68 จะเป็นปัจจัยกระตุ้นการลงทุนในตลาดหุ้นไทยอีกครั้ง
สะสมหุ้นต่อ รอซื้อเมื่ออ่อนตัว คาดหวังการผ่อนคลายนโยบายการเงินทั่วโลก กระตุ้น Fund flow
เราแนะนำเพิ่มน้ำหนักลงทุนในตลาดหุ้นไทย โดยเราประเมินว่าหากตลาดหุ้นมีการปรับลดลงในเดือนเม.ย. จะเป็นการโอกาสในการทยอยสะสมหุ้นสำหรับวัฏจักรรอบใหม่ ในการวิเคราะห์ทางเทคนิค เราประเมินแนวรับ SET index 1,150 จุด และ 1,120 จุด ตามลำดับ / แนวต้าน 1,200 – 1,235 จุด ตามลำดับในเดือน มี.ค. หุ้นเด่นจากการคัดกรองด้วยโมเดลของเราทั้ง 20 ตัว ให้อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยบวก +0.1% และ +2.2% อิงการคำนวณ Equal weight และ Market cap weight ตามลำดับ ซึ่ง Outperform SET index ที่ลดลง -3.8% หุ้นเด่นเดือน เม.ย. ในตารางที่ 4