วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ ตลาดผ่อนคลายระหว่างรอพัฒนาภาษีการค้า

ผลประกอบการและความเห็นกรรมการเฟดหนุนหุ้นสหรัฐฯ ดัชนีหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้น ซึ่งเราประเมินว่ามาจาก 3 ปัจจัย 1) นักลงทุนผ่อนคลายมากขึ้นกับภาษีการค้า หลังสหรัฐฯ ผ่อนปรนท่าทีต่อจีน
อีกทั้งมีข่าวสหรัฐฯ อาจบรรลุภาษีการค้ากับบางประเทศสัปดาห์หน้า 2) ผลประกอบการบจ.ขนาดใหญ่อย่าง Alphabet (Google) ออกมาดีกว่าตลาดคาดมาก แม้รายได้ธุรกิจคลาวด์ต่ำคาด แต่บริษัทประกาศแผนซื้อหุ้นคืนมูลค่า 70,000 ล้านดอลลาร์ฯ และเพิ่มเงินปันผล 5% 3) ความเห็น กรรมการเฟด 2 ท่าน (เบธ แฮมแม็ค ปธ.เฟดคลีฟแลนด์ / คริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ กรรมการเฟด) มองว่าหากผลของภาษีการค้า ส่งผลกระทบต่อการจ้างงาน เฟดก็พร้อมพิจารณาลดดอกเบี้ย ซึ่งอาจเกิดในการประชุม มิ.ย.
ส่งออกไทย มี.ค. เติบโตสูงแต่มีความเสี่ยงชะลอตัวในครึ่งปีหลัง: กระทรวงพาณิชย์รายงานส่งออก มี.ค. มูลค่า 29,548 ล้านดอลลาร์ฯ (988,362 ล้านบาท) ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 ที่ 17.8% และเกินดุลการค้าต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 โดยเฉพาะการส่งออกไปสหรัฐฯ, จีน และยุโรป เพื่อเตรียมรับมือความเสี่ยงจากการปรับภาษีการค้าของสหรัฐฯ ทำให้สินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวดี (+23.5%) กว่าสินค้าเกษตร (-0.5%) และอุตสาหกรรมเกษตร (-5.7%) // สินค้าอุตสาหกรรมที่โตดี ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ (+80.2%), รถยนต์ (+5.6%), ผลิตภัณฑ์ยาง (+17.7%), อัญมณีและเครื่องประดับ (+69.8%), แผงวงจรไฟฟ้า (+41.5%), เครื่องจักรกลและส่วนแระกอบ (+17.3%) // สหรับสินค้าเกษตรที่เติบโตดี ได้แก่ ยางพารา (+19.5%), ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูป (+5.1%), อาหารสัตว์เลี้ยง (+12.5%), ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูป (+12.1%), ผลไม่สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง (+12.5%), ผลไม้กระป๋องและแปรรูป (+16.0%) // แม้ส่งออกจะเติบโตดีในช่วง 3-6 เดือน แต่จะเห็นว่าเป็นการเร่งตัวในตลาดสหรัฐฯ และจีน ทำให้ภาพการส่งออกครึ่งปีหลังมีสัญญาณความไม่แน่นอน สินค้าบางประเภทอาจได้รับผลกระทบ ขณะที่สินค้าบางประเภทอาจได้ประโยชน์หากจีนถูกเก็บภาษีแพงกว่า
ภาพรวมกลยุทธ์ ยังลุ้นฟื้นตัวผ่าน 1,155 เพื่อยกกรอบการเล่นสู่แนวต้าน 1,200 จุด แต่หากหลุด 1,140 ควรชะลอการเก็งกำไรระยะสั้น หุ้นปลอดภัย โรงไฟฟ้า, การแพทย์, สื่อสาร (EGCO, RATCH, BDMS, BCH, BH, ADVANC, TRUE) และกลุ่มอาหาร ที่แนวโน้มผลประกอบการจะออกมาดี โดยเฉพาะผู้ผลิตเนื้อสัตว์ (TFG, GFPT, BTG, CPF, NSL) ขณะทางพื้นฐานยังระวังการลงทุนในกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้า โดยเฉพาะ กลุ่มอาหารที่มีรายได้จากสหรัฐฯ สูง และกลุ่มนิคมอุตสาหกรรม
แนวรับ: 1,145 แนวต้าน : 1,165 จุด
สัดส่วนลงทุน: เงินสด 50% vs พอร์ตหุ้น 50%
หุ้นแนะนำ (* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ นักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาเข้าซื้อ)
• OSP (18.50): แนวโน้มผลประกอบการผ่านช่วงแย่สุดไปแล้วและกำลังฟื้นตัว สะท้อนผ่าน GPM ที่ฟื้นตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ตัดขาดทุน 14.20 บาท
• TFG (5.80) : แนวโน้มผลประกอบการกลุ่มเนื้อสัตว์ได้ผลดีทั้งจากราคาไก่และหมูในประเทศที่ปรับดีขึ้น และการขยายสาขาร้านค้าปลีก ตัดขาดทุน 4.80 บาท
• RATCH (29) : กลุ่มโรงไฟฟ้ามีความเสี่ยงปรับลดประมาณการกำไรต่ำ ขณะที่ซื้อขายด้วย PER 7 เท่า และปันผล 6.5% ตัดขาดทุน 24 บาท
• MTC (50) : กนง.อาจส่งสัญญาณผ่อนคลาย หรือปรับลดดอกเบี้ยนโยบายในการประชุม 30 เม.ย. ตัดขาดทุน 40.50 บาท
ประเด็นที่น่าสนใจ
- เฟดเผยแบบจำลอง GDPNow บ่งชี้ GDP สหรัฐหดตัว -2.5% ใน Q1/68
- สหรัฐเผยตัวเลขผู้ขอสวัสดิการว่างงานสอดคล้องคาดการณ์
- "เบสเซนต์" เผยสหรัฐฯ-จีนยังไม่เริ่มเจรจาข้อตกลงการค้าอย่างเป็นทางการ
- ส่งออกมี.ค. โต 17.8% ดีกว่าคาด มูลค่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ คาดเม.ย.ยังบวกต่อ
- พิชัยถกทูตสวีเดน มุ่งรุกตลาดยุโรป ดัน FTA ไทย–EU
- คมนาคม ชงร่างพ.ร.บ.SEC เข้าครม.พ.ค. เล็งเปิดประมูลแลนด์บริดจ์ปี 69
- จีนเริ่มขายพันธบัตรพิเศษล็อตแรก ระดมทุนกระตุ้นเศรษฐกิจ-รับมือภาษีทรัมป์
- บทวิเคราะห์วันนี้ : กลุ่มธนาคารปรับลดน้ำหนักเป็น Market Weight/ BH แนะนำ ซื้อ เป้า 232 บาท/ TFG แนะนำ ซื้อ เป้า 6.70 บาท/ TCAP แนะนำ ถือ เป้า 48 บาท
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
25 เม.ย. – DELTA & PTTEP’s Earnings
29 เม.ย. – JOLTs Job Openings