วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ ภาพการลดดอกเบี้ย หนุน switching จากธนาคารไปการเงิน

เก็งกำไรหุ้นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากบาทอ่อนค่า เราประเมินค่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าในระยะสั้น หนุนจาก 2 ปัจจัยหลัก
1) Moody’s บริษัทจัดอันดับเครดิตชั้นนำของโลกได้ปรับลดแนวโน้มประเทศไทย จากเดิม “Stable” เป็น “Negative” โดยเหตุผลหลัก คือความไม่แน่นอนของนโยบายภาษีการค้าของสหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากสหรัฐฯ กลับมาใช้ reciprocal tariff หลังครบช่วงเวลาการเจรจา 90 วัน ซึ่งจะซ้ำเติมการเติบโตของเศรษฐกิจไทยที่มีการพึ่งพาการส่งออกไปยังสหรัฐฯ สูง (18.3% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด) และ 2) โอกาสที่จะเห็นการหั่นประมาณการ GDP ของ ธปท. และปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมวันนี้ (30 เม.ย.) ระยะสั้นเรามองเป็นโอกาสในการเก็งกำไรในหุ้นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทอ่อนค่า และมีแนวโน้มผลการดำเนินงานปี 2025 ที่ดี เราชอบ BTG และ TFG
คาดกนง.มีโอกาสลดดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ในการประชุมวันนี้: คาดคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีแนวโน้มปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% (เหลือ 1.75% จาก 2.00%) เพื่อประคับประคองเศรษฐกิจไทยที่กำลังเผชิญแรงกดดันจากทั้งปัจจัยในประเทศและต่างประเทศ ทั้งจากแผ่นดินไหวในประเทศ และผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดจากมาตรการภาษีตอบโต้ของสหรัฐฯ ทั้งต่อการส่งออกของไทยและการพึ่งพิงตลาดสหรัฐฯ เกือบ 20% ซึ่งทำให้แนวโน้มเศรษฐกิจระยะสั้นของไทยอ่อนแอลงอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรไทย อายุ 10 ปี อยู่ที่ 1.89% ต่ำกว่าดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.00% ทำให้ กนง.มีพื้นที่ในการลดดอกเบี้ยเพื่อช่วงสนับสนุนเศรษฐกิจและป้องกันภาวะเงินฝืด
ไม่ว่าจะลดเลยหรือรอ แต่โอกาสลดดอกเบี้ย 2-3 ครั้งในปีนี้ เป็นลบกลับกลุ่มธนาคาร: แม้ กนง.อาจเลือกคงดอกเบี้ยเพื่อประเมินสถานการณ์ผลกระทบจากสงครามการค้า และไปลดดอกเบี้ยในการประชุม 25 มิ.ย. แต่จากแนวโน้มการปรับลดประมาณการเศรษฐกิจ (GDP) ในระดับ 1.3-1.5% (เหลือ 1.5%+/- จากคาดการณ์เดิม 2.9%) และการลดดอกเบี้ยนโยบายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปีนี้ 2-3 ครั้ง ทำให้ในทางกลยุทธ์เรามอง
โมเมนตัมการลงทุนจะเปลี่ยนจากกลุ่มธนาคาร (NIM กระทบจากการลดดอกเบี้ย และสินเชื่อกระทบจาก GDP) มายังกลุ่มการเงิน ที่ได้ประโยชน์จาก ต้นทุนทางการเงินลดลง และกลุ่มสาธารณูปโภค ที่ผลประกอบการไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอลง
ภาพรวมกลยุทธ์ ดัชนีผ่าน 1,160 ทำให้กรอบด้านบนอยู่ที่แนวต้าน 1,200+/- จุด ควรเสี่ยงลดน้ำหนักหรือขายทำกำไรธนาคาร ขณะที่สามารถเก็งกำไร การเงิน (MTC, SAWAD)หุ้นปลอดภัย โรงไฟฟ้า, การแพทย์, สื่อสาร (EGCO, RATCH, BDMS, BCH, BH, ADVANC, TRUE) และกลุ่มอาหาร ที่แนวโน้มผลประกอบการจะออกมาดี โดยเฉพาะผู้ผลิตเนื้อสัตว์ (TFG, GFPT, BTG, CPF, NSL) ขณะทางพื้นฐานยังระวังการลงทุนในกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้า โดยเฉพาะ กลุ่มอาหารที่มีรายได้จากสหรัฐฯ สูง (TU, ITC) และกลุ่มนิคมอุตสาหกรรม
แนวรับ: 1,155 แนวต้าน : 1,180-1,200 จุด
สัดส่วนลงทุน: เงินสด 50% vs พอร์ตหุ้น 50%
หุ้นแนะนำ (* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ นักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาเข้าซื้อ)
• CPF (30) : ผลการดำเนินงานมีแนวโน้มแข็งแกร่งในช่วงครึ่งปีแรก และมีปัจจัยบวกระยะถัดไปจากนำ CPP เข้าจดทะเบียนในตปท. ตัดขาดทุน 24.50 บาท
• BDMS (25) : คาดผลการดำเนินงาน 1Q25 เติบโตดี หนุนจากผู้ป่วยชาวไทย ขณะที่อัตรากำไรยังทำได้ดีต่อเนื่อง ตัดขาดทุน 22.50 บาท
• OSP (18.50): แนวโน้มผลประกอบการผ่านช่วงแย่สุดไปแล้วและกำลังฟื้นตัว สะท้อนผ่าน GPM ที่ฟื้นตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ตัดขาดทุน 14.20 บาท
• MTC (48) : คาดจะเห็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ กนง. ในการประชุมวันนี้ และมีโอกาสปรับลดเพิ่มเติมจากเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ตัดขาดทุน 43 บาท
ประเด็นที่น่าสนใจ
- Moody’s ปรับลดแนวโน้มประเทศไทยจากเดิม “Stable” เป็น “Negative” แต่คงอันดับเครดิตเรตติ้งตามเดิม
- ราคาน้ำมัน WTI ร่วงกว่า 2% หลุด $61 กังวลเทรดวอร์กระทบดีมานด์
- สหรัฐเผยตัวเลขเปิดรับสมัครงานต่ำกว่าคาดในเดือนมี.ค.
- บทวิเคราะห์วันนี้ : HMPRO แนะนำ ถือ เป้า 10 บาท/ BCP แนะนำ ซื้อ เป้า 45 บาท/ BSRC แนะนำ ซื้อ เป้า 7 บาท/ SCGP แนะนำ ถือ เป้า 13.20 บาท
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
30 เม.ย. – MPC Meeting, US GDP (Q1), PCE, CN Manufacturing Index
1 พ.ค. – TH Labour Day, US Manufacturing PMI, ISM Manufacturing PMI