ไม่เข็ด LUNA ล่มสลาย นักลงทุนพร้อมเสี่ยง‘สเตเบิลคอยน์‘รีเทิร์น 20%
นักลงทุนในตลาดคริปโทพร้อมลงทันที่มีความเสี่ยง อย่าง ‘สเตเบิลคอยน์‘ เพราะรีเทิร์นที่เย้ายวน มากถึง 20% แม้ว่าในอดีตที่ผ่านมาจะมีบทเรียนราคาแพงอย่าง Terra-Luna และโปรเจกต์เหรียญสเตเบิลคอยน์มูลค่าคงที่ที่ได้ดอกเบี้ย อยู่นอกเหนือกฎหมายของสหรัฐ
ย้อนไปในเดือนพฤษภาคม 2565 ตลาด"คริปโท"ต้องเผชิญกับวิกฤติหายนะจากความผิดพลาดของระบบนิเวศ Terra ที่สร้างขึ้นโดย นายโด ควอน (Do Kwon) สร้างความเสียหายต่อนักลงทุนทั่วโลกมูลค่ากว่า 6 หมื่นล้านดอลลาร์ จากสเตเบิลคอยน์ (Stablecoin)ที่สร้างผลตอบแทนจนสามารถเติบโตและขึ้นเป็นคริปโทใน 10 อันดับแรก สู่ความย่อยยับของโปรเจกต์ จากราคาเหรียญ Terra-Luna ที่ไร้มูลค่าไม่ถึง 1 ดอลลาร์
การระเบิดครั้งใหญ่ของเหรียญ TerraUSD ที่นำไปสู่การล้มละลายของบริษัทต่างๆ เพียงเพราะอัตราผลตอบแทนเกือบ 20% เป็นสิ่งสะท้อนได้อย่างดีว่าการลงทุนดังกล่าวมีความเสี่ยงเพียงใด
ก่อนที่จะเกิดวิกฤติเหรียญ Luna (LUNA) เคยทำราคาสูงสุดที่ 120 ดอลลาร์ต่อโทเคน จากรูปแบบผลตอบแทนที่น่าดึงดูดโดยนักลงทุนจะได้รับอัตราดอกเบี้ย18-20% สำหรับการฝากเงินหรือที่เรียกว่า Stake เหรียญเข้ามาในแพลตฟอร์ม
จากสเตเบิลตคอยน์ นิยามความหมายว่าเหรียญที่มูลค่า‘คงที่’ มากกว่าเหรียญประเภทอื่นๆ แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกลายเป็นบทเรียนครั้งใหญ่กับเหล่านักลงทุนในตลาดคริปโทว่าไม่มีเหรียญอะไรที่มีมูลค่า ‘คงที่’ อย่างแท้จริง
เมื่อเวลาผ่านไป เหมือนว่าทุกคนในโลกคริปโทจะลืมสิ่งเลวร้ายที่เคยเกิดขึ้น ซึ่งมี 2 บริษัทคริปโทที่มีโปรเจกต์คล้ายกับสิ่งที่เคยเกิดขึ้น นั่นคือ Circle Internet Financial Ltd. ซึ่งเป็นผู้ออกเหรียญ stablecoin ของ USDC ซึ่งอยู่ระหว่างรอเสนอขาย IPO แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก และ Tether Holdings Ltd. ผู้จัดจำทำเหรียญ USTD
สเตเบิลตคอยน์(stablecoin) ที่ใหญ่ที่สุด USTD เรียกความสนใจจากนักลงทุนในตลาดคริปโทเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ ทั้งผู้ร่วมลงทุน ผู้ก่อตั้ง และลูกค้า จนทำให้ปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้นถึง 28% ในปลายปีที่แล้ว มีมูลค่า 9.9 แสนล้านบาท ซึ่งทำจุดสูงสุดในปลายปีที่แล้ว
ทำให้สเตเบิลคอยน์กลายเป็นที่สนใจในการเป็นการลงทุนทางเลือก ซึ่งบางโครงการเสนออัตราดอกเบี้ยมากกว่า 20% จึงทำให้เกิดความกังวลว่านักลงทุนที่ถือเหรียญเหล่านี้ จะพบจุดจบเหมือนกับกรณีของ TerraUSD ที่ในท้ายที่สุดกลายเป็นเหรียญไร้ค่า รวมทั้งส่งสัญญาณเตือนเกี่ยวกับกฎระเบียบด้านหลักทรัพย์ในสหรัฐด้วย
ไมเคิล เซลิก(Michael Selig) หุ้นส่วนของบริษัทกฎหมาย Willkie Farr & Gallagher LLP กล่าวว่า “องค์ประกอบด้านผลตอบแทนทำให้เกิดปัญหากฎหมายหลักทรัพย์ของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ที่มีลักษณะเฉพาะสำหรับผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมผลิตภัณฑ์เหล่านี้ส่วนใหญ่จึงนำเสนอนอกประเทศโดยเฉพาะ”
อุปสรรคด้านกฎระเบียบ
แม้ว่าปัจจุบันไม่มีกฎหมายของรัฐบาลกลางที่กำกับดูแล Stablecoin โดยตรง แม้ว่าจะมีความเชื่อมโยงกันทางอ้อมเพราะว่าส่วนใหญ่นั้นถูกตรึงมูลค่ากับสกุลเงินดอลลาร์
เซลิก ตั้งข้อสังเกตว่าผู้ออก Stablecoinและโทเคนที่ให้ผลตอบแทนที่ “ไม่ได้รับการควบคุม” โดยทั่วไปจะไม่มีใบอนุญาตจากผู้กำกับดูแลในสหรัฐ และไม่ได้เสนอขายผลิตภัณฑ์แก่นักลงทุนในสหรัฐ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าคนอเมริกันไม่สามารถเข้าถึงสินทรัพย์ดิจิทัลเหล่านี้ได้
“พวกเขาพยายามหลีกเลี่ยงข้อกำหนดการลงทะเบียนและการออกใบอนุญาต โดยการออกโปรดักซ์นอกสหรัฐ แต่ปล่อยให้เหรียญเห่านั้นไหลเข้าสู่สหรัฐผ่านการขายในตลาดรอง” เขากล่าว
ที่ผ่านมาทางก.ล.ต.สหรัฐเคยดำเนินการกับเหรียญของ BarnBridge DAO โดยพิจารณาว่าเหรียญประเภทนี้เป็นหลักทรัพย์ ทำให้ต้องจ่ายเงินค่าปรับจำนวน 1.7 ล้านดอลลาร์ และยุติการขายคริปโทที่ไม่ได้ลงทะเบียน เนื่องจากตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบแทนโดยทั่วไป มักเป็น“หลักทรัพย์”
ความบ้าคลั่งของกิจการ
อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงและการขาดความชัดเจนด้านกฎระเบียบเหล่านี้ ไม่สามารถขัดขวางผู้ร่วมทุนที่ทุ่มเงินหลายพันล้านดอลลาร์เข้าสู่อุตสาหกรรมคริปโทในช่วงหลายปีที่ผ่านมาจนถึงทุกวันนี้
จากข้อตกลงระหว่าง Nic Carter และ Mountain Protocol โปรเจกต์คริปโท พูดถึงการพูดคุยถึง 5 ครั้งในเรื่องของสเตเบิลคอยน์เท่านั้น เพราะเป็นเรื่องที่สำคัญสูงสุดที่นักลงทุนในตลาดคริปโทให้ความสนใจ จากศักยภาพของโทเคนที่ใช้ในฟินเทค รวมถึงการโอนเงินและการชำระเงินบนแอพมือถือ และการที่เหรียญเหล่านี้มี“ดอกเบี้ย” จะยิ่งได้รับความนิยมในละตินอเมริกา ที่กลุ่มลูกค้าไม่สามารถเข้าถึงสกุลเงินที่มีเสถียรภาพ บัญชีธนาคารของสหรัฐฯ กองทุนตลาดเงิน คลัง หรือเครื่องมือออมอื่น ๆ
“กลุ่มเป้าหมายโดยพื้นฐานแล้วคือคนชั้นกลางหรือระดับสูงในตลาดเกิดใหม่ที่ไม่สามารถเข้าถึงเงินดอลลาร์ได้เลย”
อ้างอิง bloomberg