เทียบชัดๆเอกสารคลังวิเคราะห์ภาษีหุ้นไทยต่ำกว่าคู่แข่งจริงหรือ

เทียบชัดๆเอกสารคลังวิเคราะห์ภาษีหุ้นไทยต่ำกว่าคู่แข่งจริงหรือ

เปิดเอกสารคลังวิเคราะห์ตัวอย่างการจัดเก็บภาษีการซื้อขายและต้นทุนการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ประเทศต่างๆ

เปิดเอกสารวิเคราะห์ต้นทุนการซื้อขายหุ้น ที่เกิดจากการจัดเก็บภาษีขายหุ้น(Financial  Transaction Trade : FTT) ของตลาดหุ้นสำคัญในโลก และ ตลาดหุ้นในเอเชีย ที่กระทรวงการคลังใช้เป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลตัดสินใจจัดเก็บภาษีซื้อขายหุ้น ในอัตรา 0.11%(รวมภาษีท้องถิ่น) โดยคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ภายใน 90 วัน หลังจากมีการประกาศราชกิจจานุเบกษา ซึ่งปีแรกจะมีการจัดเก็บเพียงครึ่งเดียว ก่อนจะจัดเก็บเต็มอัตราในปี 2567 ซึ่งกลุ่มผู้ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไม่เห็นด้วยกับการจัดเก็บภาษีดังกล่าว

กระทรวงการคลังระบุว่า ตัวอย่างของการจัดเก็บภาษีจากการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ของบุคคลธรรมดาประเทศอื่นๆ เช่น ประเทศไทย ไม่มีการจัดเก็บ FTT และ ไม่จัดเก็บภาษีจากส่วนต่างกำไรจากการขายหุ้น( Capital Gain Tax) ส่วนญี่ปุ่น และสหรัฐ ไม่จัดเก็บ FTT แต่เก็บ Capital Gain Tax เทียบชัดๆเอกสารคลังวิเคราะห์ภาษีหุ้นไทยต่ำกว่าคู่แข่งจริงหรือ

เทียบชัดๆเอกสารคลังวิเคราะห์ภาษีหุ้นไทยต่ำกว่าคู่แข่งจริงหรือ สิงคโปร์ ไม่จัดเก็บ FTT เฉพาะกรณีที่ไร้ใบหุ้นเท่านั้น และไม่เก็บ Capital Gain Tax เวียดนาม อินโดนีเซีย และ จีน เก็บ FTT 0.10% จากการขายเท่ากัน แต่ทั้ง 3 ประเทศไม่เก็บ Capital Gain Tax

ฮ่องกงเก็บ FTT 0.13% ทั้งจากการซื้อและขาย แต่ไม่เก็บ Capital Gain Tax มาเลเซีย เก็บ FTT 0.15% ทั้งจากการซื้อและการขาย แต่ไม่เกิน 1,000 ริงกิต และไม่เก็บ Capital Gain Tax เกาหลีใต้ เก็บ FTT 0.23% จากการขาย แต่ไม่เก็บ Capital Gain Tax

ไต้หวัน เก็บ FTT 0.30% จากการขายหุ้นหรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น  และเก็บ FTT 0.10% จากการขายหุ้นกู้และหลักทรัพย์อื่นๆ พร้อมจัดเก็บ Capital Gain Tax ทั้ง 2 รายการ สหราชอาณาจักร เก็บ FTT 0.50% จากการซื้อ และเก็บ Capital Gain Tax และ ฟิลิปปินส์ เก็บ FTT 0.60% จากการขาย แต่ไม่เก็บ Capital Gain Tax

นอกจากนี้กระทรวงการคลังยังได้เปรียบเทียบต้นทุนธุรกรรมซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ ของประเทศไทยและประเทศอื่นๆในภูมิภาค พบว่า ฮ่องกง ที่จัดเก็บ FTT ทั้งฝั่งซื้อและฝั่งขาย มีต้นทุนเฉลี่ยอยู่ที่ 0.38% ของมูลค่าการซื้อขาย มาเลเซียที่จัดเก็บ FTT ทั้งฝั่งซื้อและขายเช่นกัน ต้นทุนเฉลี่ยอยู่ที่ 0.29% ของมูลค่าการซื้อขาย

 ส่วนประเทศที่ไม่มีการจัดเก็บ FTT อย่างสิงคโปร์ ต้นทุนเฉลี่ยอยู่ที่ 0.19% ของมูลค่าการซื้อขาย มาจากค่าธรรมเนียมโบรกเกอร์ 0.14% และอื่นๆอีก 0.05%ส่วนไทยที่ไม่มีการจัดเก็บ FTT เช่นกัน ต้นทุนเฉลี่ยอยู่ที่ 0.17% ของมูลค่าการซื้อขาย มาจากค่าธรรมเนียมโบรกเกอร์ 0.15% และอื่นๆอีก 0.02%

อย่างไรก็ตามหลังประเทศไทยจะจัดเก็บ FTT อัตรา 0.1% ในการขายหุ้น ในปีแรกหลังราชกิจจาฯประกาศ อัตราการจัดเก็บ FTT จากการขายหุ้น จะอยู่ที่ 0.05% ทำให้ต้นทุนซื้อขายหุ้นอยู่ที่ 0.22% แต่ในปีถัดๆไป (คาดว่าจะเป็น 2567) ต้นทุนจากฝั่งซื้อจะอยู่ที่ 0.17% และต้นทุนจากฝั่งขายจะกระโดดขึ้นเป็น 0.27% ทันที

ซึ่งกระทรวงการคลังระบุว่า ต้นทุนการซื้อขายหุ้นโดยเฉลี่ยของไทย ก็ยังต่ำกว่า มาเลเซีย และ ฮ่องกง แต่ไม่ได้มีการเปรียบเทียบถึงต้นทุนการซื้อขายหุ้นของประเทศอื่นๆในตลาดสำคัญๆของโลก