เปิด10 อันดับ 'ธุรกิจบลจ.' มีสินทรัพย์สุทธิสูงสุด ฝ่ามรสุมการลงทุนรอบปี 65

เปิด10 อันดับ 'ธุรกิจบลจ.' มีสินทรัพย์สุทธิสูงสุด ฝ่ามรสุมการลงทุนรอบปี 65

เปิด 10 อันดับบลจ.มี AUM มากที่สุดรอบปี 65 บลจ.กสิกรไทย ฝ่ามรสุมการลงทุนมี AUM สูงสุด 9.71 แสนล้าน มีส่วนแบ่ง 25.5% โดยทุกบลจ.มีการเติบโตลดลง บลจ.กรุงไทย หดตัวมากสุดถึง 29% หลังจากนี้ต้องดูการแก้เกมในอุตฯ ทั้งดีลขายบลจ.ของแบงก์แม่ และเปลี่ยนตัวผู้บริหารครั้งใหญ่  

ปี 2565 นับว่า เป็นปีที่ยากลำบากของการลงทุน สารพัดปัจจัยลยกดดัน ทำให้ตลาดผันผวนสูง ทั้งจากความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์ รัสเซียกับยูเครน เฟดขึ้นดอกเบี้ยในระดับสูง และมีความไม่แน่นอน เพื่อสู้ต่อกับเงินเฟ้อยังสูงกว่าเป้า แนวโน้มการเกิดภาวะถดถอยของเศรษฐกิจยุโรปและสหรัฐในปีนี้ ความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิดโดยเฉพาะในจีน แม้ช่วงปลายปีก่อน จะเริ่มมีข่าวดีที่จีนเปิดประเทศเร็วความตลาดคาดไว้ก็ตาม หนุนตลาดการลงทุนในประเทศเริ่มมีความหวัง

 แต่ก็ไม่สามารถทำให้ “อุตสาหกรรมกองทุนรวมในประเทศไทย” ปี 2565 พลิกกลับมาเป็นบวกได้  ทั้งนี้จากรายงาน “มอร์นิ่งสตาร์ รีเสิร์ซ (ประเทศไทย) ณ  31 ธันวาคม 2565 ระบุว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมกองทุนรวมในประเทศไทย (เฉพาะกองทุนเปิด ไม่รวมกองทุนปิด, ETF, REIT, Infrastructure fund)  ปี 2565 มีมูลค่าทรัพย์สินรวม 3.8 ล้านล้านบาท หดตัว 11.1% จากสิ้นปี 2564 

เปิด10 อันดับ \'ธุรกิจบลจ.\' มีสินทรัพย์สุทธิสูงสุด ฝ่ามรสุมการลงทุนรอบปี 65

 

10 อันดับ 'ธุรกิจบลจ.' มีสินทรัพย์สุทธิสูงสุด ปี65

โดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) ส่วนใหญ่มูลค่าทรัพย์สินหดตัวหลังจากปี 2564  ไม่เว้นแม้แต่ 10 อันดับ บลจ. มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (AUM) (เฉพาะกองทุนเปิด ไม่รวมกองทุนปิด, ETF, REIT, Infrastructure fund)   สูงสุด ในปี 2565 ดังนี้ 


1.บลจ.กสิกรไทย มี AUM 971,000 ล้านบาท หดตัว 10%  จากปีก่อนหน้า มีส่วนแบ่งการตลาด 25.5% 

2.บลจ.ไทยพาณิชย์  มี AUM  631,000 ล้านบาท หดตัว 8% จากปีก่อนหน้า มีส่วนแบ่งการตลาด 16.5%

3.บลจ.บัวหลวง มี AUM 573,000 ล้านบาท หดตัว 2% จากปีก่อนหน้า มีส่วนแบ่งการตลาด 15%

4.บลจ.กรุงศรี มี AUM 390,000 ล้านบาท หดตัว 9% จากปีก่อนหน้า มีส่วนแบ่งการตลาด 10.2%

5.บลจ.อีสท์สปริง มี AUM  333,000 ล้านบาท หดตัว 15% จากปีก่อนหน้า มีส่วนแบ่งการตลาด 8.7%

6. บลจ.กรุงไทย มี AUM 290,000 ล้านบาท หดตัว 29% จากปีก่อนหน้า มีส่วนแบ่งการตลาด 7.6%

7.บลจ.ยูโอบี มี AUM 118,000 ล้านบาท หดตัว 10% จากปีก่อนหน้า มีส่วนแบ่งการตลาด 3.1%

8.บลจ.เกียรนาคิน มี AUM 95,000 ล้านบาท หดตัว 4% จากปีก่อนหน้า มีส่วนแบ่งการตลาด 2.5%

9.บลจ.พรินซิเพิล มี AUM 68,000 ล้านบาท หดตัว 19% จากปีก่อนหน้า มีส่วนแบ่งการตลาด 1.8%

10.บลจ.เอ็มเอฟซี มี AUM 57,000 ล้านบาท หดตัว 16% จากปีก่อนหน้า มีส่วนแบ่งการตลาด 1.5%

 

ทั้งนี้ บลจ.ทั้งหมดมีส่วนแบ่งตลาดที่ไม่เปลี่ยนไปจากเดิม บลจ.กสิกรไทยยังคงเป็นผู้นำตลาดเป็น 1 ใน 4 ของมูลค่าอุตสาหกรรมกองทุนรวมไทย (ไม่รวมกองทุนปิด, ETF, REIT, Infrastructure fund)

บลจ.บัวหลวงที่มีมูลค่าทรัพย์สินสูงเป็นอันดับ 3 มีการหดตัวของมูลค่าทรัพย์สินน้อยกว่ารายอื่นใน 10 อันดับแรก จึงทำให้ส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 15% จากปี 2564 ที่ 13.6% 

ขณะที่บลจ.กรุงไทยมีมูลค่าทรัพย์สินลดลงในอัตราที่สูงกว่ารายอื่นหรือราว 29% โดยเกิดจากมูลค่ากองทุนตราสารหนี้ที่หดตัวลง จึงเป็นเหตุให้มีส่วนแบ่งตลาดลดลงไปอยู่ที่ 7.6% 

นอกจากนี้ ช่วงปลายปีที่ผ่านมา เริ่มมีประเด็นฮอต “ขายธุรกิจบลจ.ในไทย ” โดยสำนักข่าวต่างประเทศ “บลูมเบิร์ก” ตีข่าว ธนาคารกรสิกรไทย เล็งขายบลจ.กสิกรไทย วงเงิน 2 พันล้านดอลล์ หลังจากนักลงทุนต่างชาติแสดงความสนใจเข้าซื้อกิจการหลายราย 

 

ดีลขายธุรกิจบลจ.จะจบเร็วๆนี้ได้หรือไม่ 

โดยผู้ที่สนใจประมูลขาย บลจ.กสิกรไทย  เช่น  Amundi บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรายใหญ่จากประเทศฝรั่งเศส ,บริษัท TPG และ CVC Capital Partners  ซึ่งเป็นบริษัทที่ลงทุนในบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์ (Private Equity) ชื่อดังระดับโลกอย่าง

รวมถึงยังคาดการณ์ว่า การทำข้อตกลงเปิดประมูลกิจการอาจจะมีหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการซื้อกิจการ การซื้อหุ้นบางส่วน หรือแม้แต่การจับมือเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ
สำหรับก่อนหน้านี้ KBANK ได้เคยชี้แจงกรณีข่าวการขายบลจ.กสิกรไทย ว่า ธนาคารแสวงหาโอกาสทางธุรกิจและแนวทางเพิ่มเติม ที่จะสร้างประโยชน์ต่อลูกค้า และผู้ถือหุ้นในทุกธุรกิจของธนาคาร รวมถึงธุรกิจหลักทรัพย์จัดการกองทุนที่เป็นหนึ่งในธุรกิจที่สำคัญของธนาคารแต่หากมีธุรกรรมเกิดขึ้น ธนาคารจะเปิดเผยข้อมูลตามเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในเวลาที่เหมาะสม

โดยที่ผ่านมา เว็บไซต์สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานว่า ที่ผ่านมาสถาบันการเงินรายใหญ่ของไทยทั้ง SCBX และ KBank สนใจที่จะขายธุรกิจหรือขายหุ้นบางส่วนในบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนมาแล้ว

เมื่อวันที่ 28 ม.ค.ที่ผ่านมานี้ ทางแบงก์กสิกรไทย แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ล่าสุดว่า ทางแบงก์กำลังพิจารณาทบทวนแผนกลยุทธ์ขาย บลจ. นั้น ยังต้องหารือกับหลายฝ่าย ย้ำการหารือดังกล่าวอาจไม่ได้ส่งผลให้มีธุรกรรมเกิดขึ้นแต่อย่างใด

ดังนั้น “ขายธุรกิจ บลจ.” ของบลจ.ขนาดใหญ่ ยังคงเป็นประเด็นที่ต้องติดตามความชัดเจนในปีนี้ ว่าดีลดังกล่าวจะล่ม หรือไม่ หรือมีดีลใหม่ เพิ่มเติมอีกหรือไม่  เพราะนักลงทุนต่างชาติก็ให้ความสนใจเข้ามาเจาะตลาดในประเทศที่ยังมีการเติบโตได้อีกมาก จากอัตราการออมเงินของคนไทยยังอยู่ในระดับต่ำ และยังไม่มีเงินพอใช้หลังเกษียณ 

แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน บลจ.ขนาดใหญ่ไทยแท้ ที่มีแบงก์แม่ถือหุ้นใหญ่ ก็ยังส่วนแบ่งการตลาดได้มากกว่า แต่หากผู้เล่นดังกล่าว ไม่ปรับตัวและแบงก์แม่ตัดใจขายหุ้นสัดส่วนน้อย กลายเป็นขาย 100% เลยก็ได้ เพราะจะเห็นได้ว่า การแข่งขันช่วงหลังๆ ก็เริ่มขายในโปรดักส์ที่ซ้ำๆ กัน หั่นค่าธรรมเนียม (ค่าฟี) ก็มีแต่โอกาสทำรายได้อย่างที่คาดหวังจากธุรกิจนี้ลดลง 

 

ตำแหน่งผู้เล่นใหม่ที่ทุกคนติดตาม 

ก็ขึ้นอยู่กับว่า “ทิศทางในการบริหารธุรกิจบลจ.” หลังจากนี้จะปรับเกมกันอย่างไร โดยจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของ ผู้ขับเคลื่อนฝั่งบลจ.ใหญ่ระดับท็อปไฟท์ อย่าง “บลจ.กสิรไทย แต่งตั้งประธานกรรมการบริหารคนใหม่ “อดิศร เสริมชัยวงศ์” ประกาศแต่งตั้งให้มีผลตั้งแต่วันที่ 3 ม.ค.ที่ผ่านมานี้  และ “บลจ.อีสท์สปริง” แต่งตั้ง กรรมการผู้จัดการ   "ดารบุษป์ ปภาพจน์  มีผลตั้งแต่ 1 ม.ค.ที่ผ่านมานี้  ต้องรอติดตามการแถลงแผนงานในเร็วนี้ๆ  พร้อมกันนี้ ผู้บริหารระดับสูง “ฟันด์เมเนเจอร์” หลายคนในบลจ.ขนาดใหญ่ ถูกทาบทามจองตัว โยกย้ายใน เหมือนกับเล่นเก้าอี้ดนตรีเลยทีเดียว  เป็นที่น่าสนใจว่า ฤดูกาลแห่งการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันที่รุนแรงครั้งใหญ่นี้ จะสร้างมิติใหม่ในโลกการเงินแห่งอนาคตได้อย่างไร  
    

 

รุกเพื่อใหญ่ ของบลจ.กลาง-เล็ก

ในเมื่อสิ่งน่ากังวลใจ บลจ. ขนาดกลางและเล็ก ช่วงที่โควิดที่ผ่านมา กลับปรับตัวและหาทางของตัวเองเจอ “มีการออกกองทุนรูปแบบใหม่ๆ แถมสร้างผลตอบแทนที่ดี” ถือเป็นการเก็บเกี่ยวเม็ดเงินนักลงทุนเข้ามาบริหาร จะเห็นส่วนแม้ส่วนแบ่งการตลาดของแต่ละบลจ.จะใกล้เคียงเดิมแต่ ส่วนแบ่งการตลาดบลจ.กลุ่มนี้ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง มีเม็ดเงินไหลเข้ากองทุนใหม่ๆ ธีมโดนๆ หนาแน่นเลยทีเดียว อย่าง “บลจ.วรรณ”  “บลจ.แอสเซทพลัส”  “บลจ.เอ็มเอฟซี”  เป็นชื่อที่ตลาดจับตามมองและกล่าวถึงมากในช่วงที่ผ่านมา ว่าทำได้ดีเยี่ยม จริงๆ 

 

"กลุ่มประกัน" มองข้ามไม่ได้เลย

สุดท้ายมองข้ามไม่ได้กับ “ธุรกิจประกัน”  ที่เข้ามารุกธุรกิจ บลจ. ด้วยเช่นกัน เข้ามาแล้วก็ทำผลงานได้ดีและเติบโต โดยชื่อของ “บลจ.เอไอเอ”  ปรากฎชื่ออันดับ 1  เป็นบลจ.ที่มีเงินไหลเข้าสุทธิมากที่สุดรอบไตรมาส 4-2022 (ไม่รวม term fund) นั้นเอง 

บลจ.เอไอเอ มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิเพิ่มขึ้น 14.8% มาอยู่ที่ 5.2 หมื่นล้านบาท จากเงินไหลเข้าสุทธิสูงสุด 4.4 พันล้านบาท โดยกว่า 60% เป็นเงินจากกองทุนผสม และจากการที่มีเงินไหลเข้าสุทธิต่อเนื่องเป็นอันดับต้น ๆ ตลอดทั้งปี ทำให้บลจ.เอไอเอ มีเงินไหลเข้าสุทธิสูงสุดในรอบปี (ไม่รวม term fund) ที่มูลค่า 1.3 หมื่นล้านบาท

ขณะที่ พี่ใหญ่  “บลจ.บัวหลวง”  ยังคงสร้างชื่อให้กับบลจ.ใหญ่  มีเงินไหลเข้าสุทธิระดับ 4 พันล้านบาทเช่นกัน ในจำนวนนี้เป็นเงินไหลเข้ากองทุนตราสารทุนราว 5 พันล้านบาท โดยเกือบทั้งหมดเป็นเงินกองทุนประหยัดภาษี จึงทำให้บลจ.บัวหลวงมีมูลค่าทรัพย์สินเพิ่มขึ้น 2.2% จากไตรมาสก่อนหน้า

แต่สำหรับทางฝั่งเงินไหลออกสุทธิยังคงคล้ายไตรมาสก่อนหน้า โดยบลจ.กสิกรไทย บลจ.กรุงไทย บลจ.ไทยพาณิชย์ มีเงินไหลออกสุทธิมากที่สุด ซึ่งเป็นเงินออกจากกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นเป็นหลักในบลจ.ทั้ง 3 ราย

เปิดศักราชใหม่ปีนี้ เมื่อตลาดเริ่มมีความหวัง และจังหวะลงทุนกลับมาเป็นโอกาสแห่งการลงทุน ทำให้การแข่งขันในฤดูกาลใหม่ของธุรกิจบลจ.หลังโควิด ไม่ว่าจะเป็นเม็ดเงินลงทุนใหม่ที่รอคอยการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่ดีในอนาคต และช่วยแก้พอร์ตที่ขาดทุนหลายกองทุนที่ถือและติดลบกันอยู่

"ผู้จัดการกองทุน" บลจ.ไหน จะโชว์ฝีไม้รายมือ เข้าเป้าหมาย พานักลงทุนทุกระดับไปเก็บเกี่ยวความมั่งคั่ง ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวได้ก่อนกัน