ป้องกันการถูกดูดเงิน จากบัญชีธนาคาร บัตรเครดิต แนะนำเลี่ยง 6 ความเสี่ยง

ป้องกันการถูกดูดเงิน จากบัญชีธนาคาร บัตรเครดิต แนะนำเลี่ยง 6 ความเสี่ยง

ป้องกันการถูกดูดเงิน จากบัญชีธนาคาร บัตรเครดิต แนะนำหลีกเลี่ยง 6 ความเสี่ยงอาจตกเป็นเหยื่อโจรกรรมออนไลน์ ปมหมอลิลลี่ พญ.วรัญญา งานทวี เป็นอุทาหรณ์

จากกรณี หมอลิลลี่ พญ.วรัญญา งานทวี ถูกตัดเงินจาก บัตรเครดิตธนาคารกรุงเทพ จำนวน 2,675 ดอลลาร์สหรัฐ หรือเป็นเงินกว่า 90,000 บาท ในรูปแบบ TikTok Ads ทั้งที่ไม่ได้ใช้นั้น เกิดคำถามว่า ความเสี่ยงที่ควรเลี่ยง เพื่อป้องกันการถูกดูดเงิน มีอะไรบ้าง

กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (บช.ก.) เปิดเผย  

6 ความเสี่ยงที่ควรเลี่ยง เพื่อป้องกันการถูกดูดเงิน ดังนี้ 

1.เผลอกดลิงก์โดยไม่รู้ตัว 
เคยไหมบางทีเราไม่ทันตั้งตัว เผลอไปกดลิงก์โดยไม่ได้ตั้งใจ หรือมือไปโดนโดยไม่ได้ตั้งใจ

คำแนะนำ ทุกวินาทีที่จับมือถือ การเปิดใช้งานแอปใดๆ ก็ตาม หรือแม้แต่เปิด SMS อ่านก็ต้อง “มีสติ” ตั้งใจอ่านให้ดี คิดให้รอบคอบก่อนจะกดลิงก์

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

2. ดาวน์โหลดแอปอะไรมาโดยไม่ตั้งใจ 
ยกตัวอย่างเช่น เล่นเกมอยู่ดีๆ มีโฆษณามาคั้น แล้วเราต้องการปิดโฆษณา แต่ระบบดันเด้งไปดาวน์โหลดโดยไม่ได้ตั้งใจ

คำแนะนำ ในระหว่างที่ใช้แอปใดๆ ก็ตามควรจะต้องระมัดระวัง “ไม่ดาวน์โหลดหรือติดตั้งแอป โดยเฉพาะแอปนอกสโตร์” หากต้องการติดตั้งก็ควรจะต้องดูให้ดีว่าแอปนั้นมีตัวตนผู้พัฒนาแอปจริงหรือไม่ ต้นตอของแอปมาจากที่ไหน ผู้พัฒนาแอปเชื่อถือได้หรือไม่ 

3. ดาวน์โหลดแอปมาโดยรู้ตัว แต่ไม่รู้ว่าเป็นแอปจากมิจฉาชีพ
จากที่เราต้องการใช้งานแอป อาจจะมีความจำเป็นบางอย่าง เพื่อไม่ให้มีความเสี่ยงสูง เราควรต้องศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับแอปให้ดี อย่างน้อยให้ดูว่าหน้าตาแอปที่โชว์ใน Play Store หรือ App Store มีรูปร่างหน้าตาอย่างไร ผู้พัฒนาแอปเป็นใคร

คำแนะนำ ก่อนที่จะดาวน์โหลดแอป ควรจะต้องอ่านที่มา ดูความน่าเชื่อถือ ดูจำนวนผู้ดาวน์โหลดว่ามีมากหรือไม่ ถ้ามีมากความเสี่ยงก็จะน้อย แต่ถ้าจะให้ชัวร์ควรต้องหาข้อมูลก่อนว่าแอปนั้นมีตัวตนจริงหรือไม่

4. โฆษณาเถื่อนแฝงมากับโซเชียลมีเดียและเว็บอโคจร
ระหว่างที่เราเล่นโซเชียลมีเดียหรือเผลอแวะเข้าไปในเว็บอโคจรนั้นมักจะมีโฆษณาขึ้นมามากมาย ซึ่งบางครั้งอาจจะเป็นโฆษณาของมิจฉาชีพที่แฝงตัวมาหลอกลวงก็ได้ 

คำแนะนำ ก่อนที่จะกด Yes หรือ OK ควรจะต้องสังเกต Message ให้ดีว่าเขาเขียนมาว่าอย่างไร มีลักษณะเป็นการหลอกลวงหรือไม่ ?

5. การเข้าเยี่ยมชมเว็บบางเว็บ อาจมีโอกาสโดนแอบเข้ามาขโมยข้อมูล 
ในโลกไซเบอร์มีเว็บเถื่อนและเว็บอโคจรอยู่มากมาย ทั้งเว็บพนัน เว็บโป๊ เว็บหลอกลวง เว็บมิจฉาชีพ ซึ่งหากไม่ทันระวังตัวเราก็อาจจะหลุดเข้าเว็บเหล่านั้นได้ 

คำแนะนำ “ไม่ควรจะเข้าเว็บโดยไม่ระมัดระวัง” และควรจะต้อง “อ่านชื่อเว็บตรงช่อง URL ให้ดี” หากดูแล้วชื่อแปลกๆ ก็ไม่ควรเข้าไป 

6. บนแอนดรอยด์ มีช่องทางให้ออกไปดาวน์โหลดแอปที่อยู่นอก Play Store 
หากสังเกตดีๆ จะรู้ว่า ในระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ มีจุดๆ หนึ่งให้ผู้ใช้สามารถออกไปดาวน์โหลดแอปนอก Play Store มาใช้งานได้ ซึ่งแอปที่อยู่นอก Play Store จะไม่ถูกกลั่นกรองเรื่องความปลอดภัย จึงมีความเสี่ยงสูงมากในการโหลดแอปนอก Play Store มาใช้

คำแนะนำ “ไม่ควรโหลดแอปนอก Play Store” 


อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดในการบริหารความเสี่ยงทั้งหกก็คือ การใช้งาน Smart Phone อย่างมีสติ มีความระมัดระวัง และช่างสังเกต เพื่อจะได้ลดความเสี่ยงที่อยู่รอบตัวเราให้ได้มากที่สุด ขอบคุณข้อมูลจาก ดร.ปริญญา หอมเอนก กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ในคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ 

cr. ตำรวจสอบสวนกลาง