เปลี่ยนคนแพ้ เป็นคนชนะ กฎการลงทุนแบบ “ขยับน้อยแต่ได้มากมีอยู่จริง”

เปลี่ยนคนแพ้ เป็นคนชนะ กฎการลงทุนแบบ “ขยับน้อยแต่ได้มากมีอยู่จริง”

“การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน”  เป็นคำที่นักลงทุนคงได้ยินกันบ่อยครั้ง

หากแต่ขาดการปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เนื่องจากนักลงทุนต้องมีพื้นฐานความรู้และความเข้าใจในเรื่องเศรษฐกิจ ธุรกิจแต่ละประเภท รวมถึงประเภทสินทรัพย์ลงทุนที่แตกต่างกันไป

ซึ่งการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดในความคิดนักลงทุนคงหนีไม่พ้น “ที่ปรึกษาการลงทุน” แต่จะทำอย่างไรให้สามารถลงทุนคู่กับที่ปรึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด วันนี้ XSpring Asset Management มีคำตอบ!

XSpring

    

นักลงทุนต้องเข้าใจ ทั้งความสามารถในการรับความเสี่ยงทั้งเรื่องภาระค่าใช้จ่าย ความต้องการใช้เงิน อายุ และระดับความรู้ความเข้าใจของสิ่งที่จะลงทุน 

รวมถึงความต้องการรับความเสี่ยง  เช่น หากเราติดลบ -50% จากการลงทุนเราควรจะทำอย่างไร? จะควบคุมอารมณ์ได้ลำบากมากหรือพยายามลงทุนเพิ่มด้วยเงินส่วนที่มีรายได้มาจากทางอื่น และมองเป็นโอกาสหรือผวาต่อการลงทุน เป็นต้น

XSpring

ปัญหาคลาสสิกจะเกิดจากการที่นักลงทุนคิดว่า ตนรับความเสี่ยงได้แต่พอเห็นขาดทุนก็มักจะกังวล แต่กลับกันหากระดับราคาลงมาเยอะ ซึ่งแปลว่า ระดับราคาต่อมูลค่าสินทรัพย์ที่จะลงทุนน่าสนใจมากขึ้นแต่เราดันไม่อยากลงทุนแล้ว เพราะเห็นผลขาดทุน ในเคสนี้แสดงว่าเราอาจไม่ใช่นักลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงได้สูง 

เราควรจะสะสมการลงทุนในสินทรัพย์ลงทุนที่ขนาดการติดลบสูงสุด Maximum Drawdown ไม่สูงมาก เช่นติดลบไม่เกิน -15% อาจไม่ควรลงทุนหุ้นภูมิภาคตลาดเกิดใหม่ หรือลงหุ้นเฉพาะกลุ่มเช่นหุ้นเทคโนโลยีที่ยังไม่มีกำไร PE แพงๆ หรือหุ้นเฉพาะเซกเตอร์

XSpring

อ้างอิงข้อมูลจาก Refinitiv หากนักลงทุนลงทุนใน ETF iShares Core MSCI World หรือลงทุนตามดัชนีหุ้นโลก และถือลงทุนในระยะเวลา 5 ปี จะพบว่าทั้ง 102 ครั้งจากทุกรอบการถือครองการลงทุนนานในระยะเวลา 5 ปี หรือ 100% ตลอด 14 ปีที่ผ่านมา 

ผลตอบแทนจากการลงทุนตรงใน ETF หุ้นโลก (กระจายความเสี่ยงทั้งประเทศ อุตสาหกรรมลงทุน คาแรคเตอร์หุ้น) ต่างกับการที่นักลงทุนกระจุกความเสี่ยงเพียงกองทุนที่ลงทุนเฉพาะหุ้นในประเทศใดประเทศหนึ่ง โดยเฉพาะประเทศตลาดเกิดใหม่หรือประเทศที่มีความเสี่ยงเฉพาะตัวสูง หรือลงทุนในกองทุนเฉพาะอุตสาหกรรมเช่น เทคโนโลยีล้วน หรือลงทุนเฉพาะเจาะจง เช่น เทคโนโลยีการศึกษาออนไลน์หรือ จีโนมิกส์ ซึ่งมีความเสี่ยงเฉพาะตัวมากกว่าการลงทุนแบบเกาะไปกับคนส่วนใหญ่ (ลงทุนกับดัชนีหุ้นโลก) หลายสิบเท่า

ซึ่งหมายความว่าหากนักลงทุนถือครองการลงทุนที่กระจายความเสี่ยงในระยะเวลานานมากพอ เช่น กองทุนดัชนีหุ้นโลก ยังไงนักลงทุนก็มีโอกาสที่จะสร้างผลตอบแทนเป็นบวกสูงมากหากเทียบกับสถิติดังกล่าว และหากนักลงทุนสามารถทยอยสะสมการลงทุน

เช่น มีเงินที่ตั้งใจจะลงทุนทั้งหมด 1 ล้านบาท นักลงทุนเลือกใช้วิธีทยอยลงทุน โดยแบ่งการเข้าลงทุนออกเป็นอย่างน้อย 2-3 ครั้ง โอกาสในการติดลบจากการลงทุนเกิน 5 ปีจะเป็นไปได้ยากมาก 

ยกเว้นแต่นักลงทุนไปกระจุกความเสี่ยงในการลงทุนที่มีความเสี่ยงเฉพาะตัวในสัดส่วนที่เยอะเกินไปจากพอร์ตการลงทุนทั้งหมดของนักลงทุน นักลงทุนหลายคนมักจะตกใจตาม News Feed เพราะแน่นอนว่าปัจจัยเชิงลบมักจะดึงดูดความสนใจของผู้ติดตามข่าวสารได้มากกว่า 

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นหากอ้างอิงตั้งแต่ตลาดหุ้นตลาดแรกในเนเธอร์แลนด์ อังกฤษ และสหรัฐฯ ที่ผ่านมาหลายสงครามตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม จนกระทั่งวิกฤติโควิด-19 ก็จะพบว่าภาพใหญ่เศรษฐกิจโลกเติบโต ราคาสินทรัพย์จากการลงทุนในระยะยาวราวๆ 30-50 ปี หากเป็นสินทรัพย์ที่ไม่ได้มีความเสี่ยงเฉพาะตัว เช่น หุ้นประเทศกรีซหรืออิตาลีที่มีปัญหาเฉพาะตัว หรือญี่ปุ่นสมัยที่เกิดช่วงเวลาเป็นทศวรรษที่หายไป ก็จะพบว่าในระยะยาวมากๆอย่างไรการลงทุนก็จะเป็นทิศทางขาขึ้น แม้จะเผชิญประเทศนั้นๆจะเกิด “วิกฤติเศรษฐกิจ” หรือมีสงคราม 

ดังนั้น หากนักลงทุนค่อยๆทยอยสะสมการลงทุน จัดการความคาดหวังด้านผลตอบแทน แบ่งสะสมการลงทุน กระจายสินทรัพย์ลงทุน และระมัดระวังรวมถึงหลีกเลี่ยงที่จะลงทุนในการลงทุนที่มีความเสี่ยงเฉพาะตัวในสัดส่วนที่สูงเกินไป เชื่อว่านักลงทุนจะสามารถทำให้ผลตอบแทนในระยะ 5 ปีเป็นบวก และได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสมกับความผันผวนที่นักลงทุนจะต้องเผชิญระหว่างทาง