เงินสำรอง ‘ฮ่องกง’ ฮวบ หลังนักลงทุนแห่เก็งกำไร ส่อหลุด Peg คาดหันซบ ‘หยวน'
เงินสำรองระหว่างประเทศของธนาคารกลางฮ่องกงปรับตัวลดลง หลังรัฐบาลใช้อัดฉีดเงินเข้าระบบ เหตุนักลงทุนเข้าเก็งกำไรค่าเงิน กูรูเผยมีความเป็นไปได้ที่จะตรึงอัตราแลกเปลี่ยนกับดอลลาร์ไม่อยู่ คาดอาจหันพึ่ง “หยวน” แทน
Key Points
- เงินสำรองระหว่างธนาคารฮ่องกงปรับตัวลดลง
- นักลงทุนเข้าเก็งกำไรโดยซื้อดอลลาร์ฮ่องกงราคาถูก แล้วซื้อดอลลาร์ราคาแพง
- การเติบโตของสินเชื่อฮ่องกงหดตัวเป็นเดือนที่เก้าติดต่อกัน ซึ่งเป็นสถิติการหดตัวที่ยาวนานที่สุดนับตั้งแต่ปี 2552
สำนักข่าวบลูมเบิร์ก (Bloomberg) รายงานวันนี้ (28 เม.ย.) ว่า ฮ่องกงกำลังผลาญส่วนประกอบของ “ฐานเงิน” (Monetary Base) ในประเทศเพื่อป้องกันการโจมตีค่าเงินดอลลาร์ฮ่องกง โดยปราศจากปฏิกริยาตอบโต้จากตลาดเงิน (Money Markets) ซึ่งมีแนวโน้มกดดันค่าเงินของฮ่องกงต่อไป
โดยงบดุลบัญชีรวม (Aggregate Balance) ปี 2566 ซึ่งเป็นมาตรวัดสภาพคล่องระหว่างธนาคาร ปรับตัวลดลงครึ่งหนึ่งโดยต้นทุนการกู้ยืมในท้องถิ่น (Local Borrowing Costs) ยังคงเคลื่อนไหวในระดับเดิม สถานการณ์ข้างต้นนับว่าเป็น“กลไกดั้งเดิม” ที่มุ่งทำให้ค่าเงินดอลลาร์ฮ่องกงปรับตัวแข็งขึ้นมา (Reversing Weakness)
โดยในขณะที่รัฐบาลตรึงค่าเงินดอลลาร์ฮ่องกงไว้กับดอลลาร์ (Peg) ทว่าอัตราค่าเงินฮ่องกงยังคงตามหลังดอลลาร์อยู่ที่ 1.7% ซึ่งนับเป็นจุดเข้าลงทุนที่ “หอมหวาน” สำหรับบรรดานักลงทุนที่ใช้เทคนิคแบบ “Carry Trade”
โดยการเทรดค่าเงินฮ่องกงยังคงสร้างกำไรจากส่วนต่างของอัตราแลกเปลี่ยนให้นักลงทุนอยู่ โดยหลักการคือนักลงทุนยืมดอลลาร์ฮ่องกง “ในราคาถูก” และเขาซื้อดอลลาร์ที่ให้ผลตอบแทน “สูงกว่า”
อย่างไรก็ดี บทวิเคราะห์ของสำนักข่าวบลูมเบิร์ก ประเมินว่า การซื้อขายสกุลเงินในลักษณะข้างต้น มีแนวโน้มที่จะผลักให้ดอลลาร์ฮ่องกงปิดตัวอ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินสหรัฐ จนอาจบังคับให้ผู้กำหนดนโยบายนำเงินสำรองมาใช้เพื่อเสริมสภาพคล่องมากขึ้น
วันนี้ สกุลเงินดอลลาร์ฮ่องกงซื้อขายอยู่ที่ 7.8497 ต่อดอลลาร์ (ประมาณ 34.15 บาท) ในขณะที่ฮ่องกงตรึงค่าเงินไว้กับดอลลาร์อยู่ในช่วง 7.75 และ 7.85 ดอลลาร์ (ประมาณ 33.71 และ 34.15 บาท)
ด้านธนาคารพาณิชย์ในฮ่องกงหลายแห่งเริ่มเห็นดีมานด์ของสินเชื่อที่ปรับตัวต่ำลง ท่ามกลางเศรษฐกิจในประเทศที่ซบเซา และจำนวนหุ้นหน้าใหม่ที่เข้าตลาดน้อยลง ทั้งหมดเป็นผลมาจากการดำเนินนโยบายทางการเงินแบบเหยี่ยวของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และสภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น รวมทั้งความต้องการเงินดอลลาร์ฮ่องกงที่ปรับตัวน้อยลงเช่นกัน
โดยนักวิเคราะห์บางราย คาดการณ์ว่า งบดุลบัญชีรวมอาจลดลงเหลือศูนย์จากเดิมอยู่ที่ประมาณ 4.9 หมื่นล้านดอลลาร์ฮ่องกง หรือประมาณ 6.2 พันล้านดอลลาร์ (ราว 2.046 แสนล้านบาท) ซึ่งอาจส่งผลให้ธนาคารกลางฮ่องกง (HKMA) หันไปใช้ทางเลือกอื่นเพื่อป้องกันค่าเงินที่ตรึงไว้ (Defend the Currency Peg)
บทวิเคราะห์ของสำนักข่าวบลูมเบิร์ก ประเมินว่า ท่ามกลางเงินสำรองระหว่างประเทศของฮ่องกงที่เหลืออยู่ประมาณ 4.3 แสนล้านดอลลาร์ (ประมาณ 14.19 ล้านล้านบาท) นักลงทุนจำนวนหนึ่งพยายามที่ “เก็งกำไร” จากความเชื่อมโยงของสกุลเงินฮ่องกงกับดอลลาร์อย่างต่อเนื่อง
โดย “กองทุนเฮดจ์ฟันด์” จำนวนหนึ่ง วางเดิมพันไว้รัฐบาลฮ่องกงอาจไม่สามารถตรึงค่าเงินไว้ได้เช่นเดิม รวมทั้งนักวิเคราะห์บางราย คาดการณ์ว่า ฮ่องกงอาจหันไปตรึงค่าเงินกับหยวนแทน
ด้าน เคน ชัง (Ken Cheung) หัวหน้าฝ่ายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในเอเชียจากธนาคารมิซูโฮ (Mizuho Bank) ของญี่ปุ่น ให้ข้อมูลว่า
“จากการที่สินทรัพย์ที่ใช้เพื่อเสริมสภาพคล่องให้ระบบการเงินฮ่องกง (Liquidity Buffer) หนึ่งในนั้นคือเงินสำรองระหว่างประเทศ ที่น้อยลงแบบนี้ อาจเป็นตัวบ่งชี้ว่า สภาพคล่องของระบบการเงินฮ่องกงลดต่ำลง ท่ามกลางความต้องการซื้อฮ่องกงที่มากขึ้น ซึ่งสวนทางกับความต้องการขาย (ซัพพลาย) ที่น้อยลง”
ทั้งนี้ ขณะที่ก่อนหน้านี้งบดุลบัญชีรวมของฮ่องกงลดลงไปถึงศูนย์ (Fallen Toward Zero) นักวิเคราะห์ส่วนหนึ่งประเมินว่า เป็นเรื่องยากที่ช่องว่างระหว่างอัตราแลกเปลี่ยน ระวห่างดอลลาร์ฮ่องกงและสหรัฐจะกว้างมากขนาดนี้ท่ามกลางสภาพคล่องที่เบาบาง
การเติบโตของสินเชื่อฮ่องกงหดตัวเป็นเดือนที่เก้าติดต่อกันในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นสถิติที่ยาวนานที่สุดนับตั้งแต่ปี 2552 ตามข้อมูลของทางการ ในตลาดหุ้น มีการระดมทุนเพียง 1.64 พันล้านดอลลาร์ผ่านการจดทะเบียนใหม่ในปีนี้ ซึ่งต่ำที่สุดในรอบทศวรรษ ข้อมูลที่รวบรวมโดย Bloomberg show
โดยจากการรวบรวมข้อมูลจากสำนักข่าวบลูมเบิร์ก พบว่า ในเดือน ก.พ. การเติบโตของสินเชื่อฮ่องกงหดตัวเป็นเดือนที่ 9 ติดต่อกัน ซึ่งเป็นสถิติการหดตัวที่ลากยาวที่สุดนับตั้งแต่ปี2552 รวมทั้ง มีการระดมทุนในตลาดหุ้นเพียง 1.64 พันล้านดอลลาร์ (ประมาณ 5.412 หมื่นล้านบาท) ผ่านการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ปีนี้ ซึ่งเป็นตัวเลขที่ต่ำที่สุดในรอบทศวรรษ
ด้านเคลวิน เลา (Kelvin Lau) นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจาก สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ (Standard Chartered) บริษัทให้บริการทางการเงินระดับโลก ทิ้งท้ายว่า “อย่างน้อยที่สุด ในตอนนี้ ธนาคารพาณิชย์ในฮ่องกงจำเป็นต้องมีสภาพคล่องในงบบัญชีดุลรวมมากขึ้น สำหรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจประจำวัน”