อาชีพอิสระต้องรู้ สมัคร ม.40 ผู้ประกันตนได้ประโยชน์อย่างไร
ผู้ประกอบอาชีพอิสระ หรือ ฟรีแลนซ์ หากกำลังคิดจะสมัครเป็น “ผู้ประกันตน ม.40” ควรพิจารณาเงื่อนไขและสิทธิประโชน์ที่จะได้รับให้ดีก่อนว่า ตนเองเข้าเงื่อนไขและได้รับประโยชน์ตรงกับความต้องการของตนเองหรือไม่
สิ่งที่เห็นกันมาโดยตลอดในเรื่องของความคุ้มครอง และสิทธิประโยชน์ที่ประชาชนได้รับเมื่อสมัครเป็น "ผู้ประกันตน" ไม่ว่าจะเป็น ม.33 , ม.39 หรือ ม.40 ก็ตาม ทางสำนักงานประกันสังคมได้ออกสิทธิความคุ้มครองแต่ละมาตราแตกต่างกันตามประเภทอาชีพของผู้ประกันตน
โดยหากมุ่งเน้นไปที่ประเด็นความคุ้มครอง และประโยชน์ที่ผู้ประกันตนได้รับจาก ม.40 ถือเป็นมาตราที่บุคคลทั่วไปไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก เนื่องจากเป็นมาตราสำหรับผู้ประกันตนที่ประกอบอาชีพอิสระ สามารถสมัครหรือไม่สมัครก็ได้ ไม่มีกฎหมายบังคับเหมือน ม.33
ด้วยเหตุนี้ ผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ทำมานานแล้ว และที่เพิ่งเข้าสู่วงการอาชีพอิสระ หากกำลังคิดจะสมัครเป็นผู้ประกันตน ม.40 ควรพิจารณาเงื่อนไขและสิทธิประโชน์ที่จะได้รับให้ดีก่อนว่า ตนเองเข้าเงื่อนไขและได้รับประโยชน์ตรงกับความต้องการของตนเองหรือไม่ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
สมัคร ม.40 มีเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนได้รับอะไรบ้าง
ในกรณีที่ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ฟรีแลนซ์ มีความประสงค์สมัคร ม.40 จะได้รับสิทธิประโยชน์สูงสุด 5 กรณี โดยแบ่งเป็น 3 ทางเลือก คือ
- ทางเลือกที่ 1 (70 บาท/เดือน)
- ทางเลือกที่ 2 (100 บาท/เดือน)
- ทางเลือกที่ 3 (300 บาท/เดือน)
ดังนี้
1.ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับเงินทดแทนการขาดรายได้
- ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป
- ทางเลือกที่ 1 วันละ 300 บาท
- ทางเลือกที่ 2 วันละ 300 บาท
- ทางเลือกที่ 3 วันละ 300 บาท
- ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) มีใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป
- ทางเลือกที่ 1 วันละ 200 บาท
- ทางเลือกที่ 2 วันละ 200 บาท
- ทางเลือกที่ 3 วันละ 200 บาท
- เงื่อนไขการรับสิทธิ ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกัน
- ทางเลือกที่ 1 ไม่เกิน 30 วัน/ปี
- ทางเลือกที่ 2 ไม่เกิน 30 วัน/ปี
- ทางเลือกที่ 3ไม่เกิน 90 วัน/ปี
- ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) หยุดไม่เกิน 2 วัน
- ทางเลือกที่ 1 ครั้งละ 50 บาท
- ทางเลือกที่ 2 ครั้งละ 50 บาท
- ทางเลือกที่ 3 ไม่คุ้มครอง
โดยมี "เงื่อนไขการเกิดสิทธิ" คือ จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 3 ใน 4 เดือน ก่อนเดือนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
2.ทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือน (ขึ้นกับระยะเวลาจ่ายเงินสมทบ)
- ทางเลือกที่ 1 500-1,000 บาท
- ทางเลือกที่ 2 500-1,000 บาท
- ทางเลือกที่ 3 500-1,000 บาท
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ เป็นระยะเวลา
- ทางเลือกที่ 1 เป็นเวลา 15 ปี
- ทางเลือกที่ 2 เป็นเวลา 15 ปี
- ทางเลือกที่ 3 ตลอดชีวิต
- เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ
- ทางเลือกที่ 1 25,000 บาท
- ทางเลือกที่ 2 25,000 บาท
- ทางเลือกที่ 3 50,000 บาท
โดยเงื่อนไขการเกิดสิทธิขึ้นอยู่กับ "ระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบ" คือ
- จ่ายเงินสมทบ 6 ใน 10 เดือน ก่อนทุพลภาพ ได้รับ 500 บาท/เดือน
- จ่ายเงินสมทบ 12 ใน 20 เดือน ก่อนทุพลภาพ ได้รับ 650 บาท/เดือน
- จ่ายเงินสมทบ 24 ใน 40 เดือน ก่อนทุพพลภาพ ได้รับ 800 บาท/เดือน
- จ่ายเงินสมทบ 36 ใน 60 เดือน ก่อนทุพพลภาพ ได้รับ 1,000 บาท/เดือน
3.กรณีเสียชีวิต ได้รับค่าทำศพ
- ผู้จัดการศพ ได้รับค่าทำศพ
- ทางเลือกที่ 1 25,000 บาท
- ทางเลือกที่ 2 25,000 บาท
- ทางเลือกที่ 3 50,000 บาท
- จ่ายเงินสมทบครบ 60 เดือนก่อนเสียชีวิต ได้รับเงินเพิ่ม
- ทางเลือกที่ 1 รับเพิ่ม 8,000 บาท
- ทางเลือกที่ 2 รับเพิ่ม 8,000 บาท
- ทางเลือกที่ 3 ไม่คุ้มครอง
โดยเงื่อนไขการเกิดสิทธิคือ
- กรณีเสียชีวิตจากการเจ็บป่วย ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 6 เดือน ในเดือน 12 ก่อนเสียชีวิต
- กรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 1 เดือน ใน 6 เดือน ก่อนเดือนที่เสียชีวิต มีสิทธิได้รับเงินค่าทำศพ
4.กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล
- สะสมเงินบำเหน็จชราภาพ เงินออม / เงินสมทบ เดือนละ
- ทางเลือกที่ 1 ไม่คุ้มครอง
- ทางเลือกที่ 2 50 บาท
- ทางเลือกที่ 3 150 บาท
- จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน รับเงินเพิ่ม
- ทางเลือกที่ 1 ไม่คุ้มครอง
- ทางเลือกที่ 2 ไม่คุ้มครอง
- ทางเลือกที่ 3 รับเพิ่ม 10,000 บาท
- ผู้ประกันตนจ่ายเงินออมเพิ่มได้ไม่เกินเดือนละ
- ทางเลือกที่ 1 ไม่คุ้มครอง
- ทางเลือกที่ 2 ออมเพิ่มได้ 1,000 บาท
- ทางเลือกที่ 3 ออมเพิ่มได้ 1,000 บาท
โดยเงื่อนไขการเกิดสิทธิคือ เมื่ออายุ 60 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน
5. กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับเงินรายเดือน
- ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรแรกเกิด ถึง 6 ปีบริบูรณ์
- ทางเลือกที่ 1 ไม่คุ้นครอง
- ทางเลือกที่ 2 ไม่คุ้มครอง
- ทางเลือกที่ 3 คนละ 200 บาท (คราวละไม่เกิน 2 คน)
โดยเงื่อนไขการเกิดสิทธิคือ
- จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 24 ใน 36 เดือน
- ขณะรับเงินสงเคราะห์บุตร ต้องส่งเงินสมทบทุกเดือน
คุณสมบัติผู้ที่สามารถสมัครมาตรา 40 ได้ต้องเป็นอย่างไร
สำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ต้องการสมัครเป็นผู้ประกันตน ม.40 ต้องมีคุณสมบติดังต่อไปนี้
คนไทย
1. ผู้ที่อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี และไม่เกิน 65 ปี
2. ประกอบอาชีพอิสระ เช่น พ่อค้า แม่ค้า วินมอเตอร์ไซค์ ฟรีแลนซ์
3. มีสัญชาติไทย
4. ไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39
5. ไม่เป็นสมาชิกของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
6. หากเป็นบุคคลซึ่งเป็นผู้พิการ ให้ระบุลักษณะหรืออาการของผู้พิการโดยละเอียด ยกเว้นผู้พิการทางสติปัญญา
คนต่างด้าว
1. ผู้ที่อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี และไม่เกิน 65 ปี
2. เป็นคนต่างด้าวที่มีถิ่นอยู่ และมีบัตรประจำตัวซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่ขึ้นต้นด้วยเลข 0, 6, 7 สามารถขึ้นทะเบียนได้เท่านั้น
3. หากเป็นบุคคลซึ่งเป็นผู้พิการ ให้ระบุลักษณะ หรืออาการของผู้พิการโดยละเอียด ยกเว้นผู้พิการทางสติปัญญา
4. ไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ผู้ประกันตนมาตรา 39 และไม่เป็นบุคคลที่ยกเว้นตามกฎหมายประกันสังคม
ดังนั้น หากมีคุณสมบัติครบสามารถสมัครทางออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ประกันสังคม www.sso.go.th หรือสมัครได้ที่ 7-11 ทุกสาขา เครือข่ายประกันสังคมทั่วประเทศ และธนาคาร ธ.ก.ส. ทุกสาขา
สรุป
ทั้งนี้ เมื่อสมัครเป็นผู้ประกันตน ม.40 แล้ว ควรจ่ายเงินสมทบทุกเดือน จ่ายเงินสมทบล่วงหน้าได้ 12 เดือน และหากไม่มีทายาทให้แจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อระบุผู้มีสิทธิ เพื่อรักษาสิทธิที่ควรจะได้ไว้ โดยผู้ประกันตน ม.40 สามารถนำเงินสมทบที่จ่ายไปลดหย่อนภาษีได้ และหากมีบัตรทองอยู่แล้วก็ยังสามารถใช้บัตรทองได้ปกติ ไม่เสียสิทธิบัตรทอง รวมถึงไม่ถูกตัดสิทธิรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุด้วย
----------------------------------
อ่านบทความน่ารู้เกี่ยวกับภาษีเพิ่มเติม คลิกที่นี่
Source : Inflow Accounting