‘ พิพัฒน์’ หวั่นรัฐ ใช้เงินนอกงบประมาณ หนีกรอบวินัยการคลัง ฉุดความเชื่อมั่น

‘ พิพัฒน์’ หวั่นรัฐ ใช้เงินนอกงบประมาณ หนีกรอบวินัยการคลัง ฉุดความเชื่อมั่น

‘พิพัฒน์’ KKP หวั่นรัฐหันใช้เงินนอกงบประมาณ สร้่งหนี้เกินกราบ เพื่อเลี่ยงกรอบวินัยการคลัง หวังทำลายข้อจำกัด อาจลามกระทบความเชื่อมั่นต่างชาติ

      ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP) ตั้งคำถามผ่าน 'เฟสบุ๊ค' ว่า กรอบวินัยการคลังมีไว้ทำไม?

     การใช้เงินภาครัฐก็ไม่ต่างกับใช้เงินบริษัทหรือการใช้เงินส่วนบุคคลเท่าไร ที่การจะใช้อะไรต้องมีกฎ มีระเบียบ มีกรอบ มีข้อจำกัดทั้งนั้น

      เช่น ถ้าใครอยากจะใช้เงินซื้อเครื่องเล่นเกมใหม่สักเครื่อง แต่เงินเก็บไม่พอ ก็คงต้องคิดหนักว่าจะหาเงินมาจ่ายยังไงจะลดค่าใช้จ่ายอื่น เดือนนี้ไปให้เที่ยวน้อยลง หรือจะทำงานพิเศษเพิ่มเพื่อเอาเงินมาจ่าย หรือจะขายทรัพย์สินเพื่อเอาเงินมาซื้อ หรือจะไปกู้เงินสร้างหนี้และหวังเรารายได้ในอนาคตมาจ่ายกันดี

    ซึ่งก็คงไม่ผิดอะไรถ้าเรามีศักยภาพในการสร้างรายได้ในอนาคตมาจ่ายได้

     ภาครัฐเองมีกรอบกฎหยุมหยิมเต็มไปหมด เช่น ห้ามกู้เงินแต่ละปีเกิน 20% ของงบประมาณ + 80% งบจ่ายคืนเงินต้นเงินกู้ (รวมแล้วประมาณ 3.6% ของ GDP) ห้ามมีหนี้สาธารณะเกิน 70% ของ GDP (ยกขึ้นมาจาก 60%) จะใช้หน่วยงานรัฐให้ออกเงินไปก่อนแล้วค่อยจ่ายคืน ก็ต้องบันทึกภาระเก็บไว้อีกและห้ามเกิน 32% ของงบประมาณ และจะทำอะไรก็ต้องต้้งงบประมาณกว่าจะผ่านก็ใช้เวลานาน

     บางคนอาจจะมองว่ากฎพวกนี้เป็นเรื่องหยุมหยิม เป็นอุปสรรคในการทำงาน ถ้าเราอยากทำอะไร ต้องทำได้สิ 

      ซึ่งอาจจะมีประเด็นบ้างบางส่วน แต่อย่าลืมว่า กฎ ระเบียบ กรอบ พวกนี้มีไว้เพื่อให้เราชั่งใจ ทบทวน เปรียบเทียบ และระลึกเสมอว่า เงินที่เราจะใช้นั้นมีต้นทุนเสมอ

      ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนเปรียบเทียบกับรายจ่ายหรือรายได้อื่นๆ ในปีเดียวกัน ถ้าเราอยากใช้อะไรใหม่ เราก็ต้องคิดว่าจะตัดค่าใช้จ่ายอันไหนที่มีความสำคัญน้อยกว่า หรือถ้าต้องขึ้นภาษีจะคุ้มไหม 

       และต้นทุนเปรียบเทียบข้ามเวลา ว่าค่าใช้จ่ายในวันนี้ คุ้มกับการเป็นเป็นหนี้ที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยหรือไม่ หรือจะสร้างประโยชน์คุ้มกับการขายสินทรัพย์ที่มีผลตอบแทนอยู่แล้วหรือไม่

         ความพยายามเลี่ยงกรอบวินัยการคลัง สร้างหนี้เกินกรอบ ใช้เงินนอกงบประมาณ จะเป็นการทำลายข้อจำกัด และทำให้เรารู้สึกเหมือนว่า เรากำลังใช้เงินฟรีอยู่ ทำแบบไม่ต้องมีต้นทุน โดยไม่ต้องคิด ไม่ต้องเปรียบเทียบ 

        ทุกวันนี้เราเสพติดการขาดดุลการคลังอยู่ทุกปี ปีละประมาณ 3% ของ GDP และไม่มีทีท่าว่าจะปรับลดได้ ประมาณ80% เป็นงบประจำ ปรับลดแทบจะไม่ได้แล้ว 

        ถ้าเราไม่มีการปฏิรูปทั้งด้านรายจ่าย รายได้ และการปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ในขณะที่ภาระของงบประมาณจะเพิ่มขึ้นทุกปี ตามโครงสร้างประชากรและแนวโน้มเศรษฐกิจที่โตช้าลง ระดับหนี้จะมีแต่สูงขึ้น โดนเฉพาะถ้าเศรษฐกิจ

กรอบเหล่านี้ตั้งได้ก็เปลี่ยนได้

       แต่ต้องระวังว่า ความพยายามในการหนีกรอบเหล่านี้จะกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อวินัยการคลังของเราและความยั่งยืนทางการคลังที่เคยเป็นจุดแข็งของประเทศ กำลังจะเป็นจุดอ่อนไปหรือไม่

       และฐานะการคลังของเราอาจจะมีความน่ากังวลเพิ่มมากขึ้น และมีพื้นที่รับความเสี่ยงทางเศรษฐกิจในอนาคตที่ลดน้อยลงเรื่อยๆ ‘ พิพัฒน์’ หวั่นรัฐ ใช้เงินนอกงบประมาณ หนีกรอบวินัยการคลัง ฉุดความเชื่อมั่น