สัญญาณการขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐฯ ใกล้จบ อย่าชะล่าใจ รีบจัดพอร์ตลงทุน
นับถอยหลังอีกไม่กี่เดือนก็จะหมดเวลาของปี 2566 นี้แล้ว ประเด็นที่ทั่วโลกโฟกัสหลักๆ ปีนี้ ยังคงเป็นเรื่อง “การขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯ จะใกล้จบหรือยัง”จากช่วงเวลาที่ผ่านมา 9 เดือนนี้ ความหวังที่อยากเห็น “การจบรอบของดอกเบี้ยขาขึ้น” ใกล้ความเป็นจริงมากขึ้นทุกทีแล้ว
Key Points :
-
ในการประชุมครั้งหน้า (1 พ.ย.)เฟด จะขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% ตามข้อมูลจาก Fed Watch Tool ของ CME นักลงทุนให้น้ำหนักถึง 70.1%
-
การคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยสหรัฐในปี 2567 และ 2568 เพิ่มขึ้นจากคาดการณ์ก่อนหน้านี้ เป็นสัญญาณว่า "อัตราดอกเบี้ยจะคงอยู่สูงไปอีกนาน"
- เฟดทิ้งทวนขึ้นดอกเบี้ยส่งท้ายปี เฝ้าระวังพิษดอกเบี้ยต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ
- แม้ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ตอนนี้อาจไม่ได้ดีมาก แต่ก็ไม่ได้แย่เสียทีเดียว
- ปรับพอร์ตแนะลงทุน ผ่านหุ้นกู้คุณภาพสูง--กองทุนรวม ETF -กองทุนส่วนบุคคล
-
"หุ้นสหรัฐ"ยังน่าสนใจ กลุ่มหุ้นวัฏจักร-หุ้นคุณค่า -หุ้นที่ราคาปรับขึ้นช้า มีโอกาสที่จะกลับเป็นขาขึ้นตามสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก
- 'Warren Buffett' บอกไว้ว่า Never bet against America 'อย่าแทงสวนอเมริกา' ปู่เชื่อมั่นว่า ตลาดหุ้นอเมริกา หรือสภาพเศรษฐกิจอเมริการะยะยาวยังคงดีอยู่แบบเดิม
ผลการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) ครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 19-20 ก.ย. ที่ผ่านมา FOMC มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 5.25-5.5% ถือเป็นระดับสูงสุดในรอบ 22 ปีแล้ว และถือเป็นการคงอัตราดอกเบี้ยติดต่อกันเป็นครั้งที่ 2 ในรอบปีนี้ด้วย เรียกว่าเป็นไปตามที่นักลงทุน นักเศรษฐศาสตร์ และนักวิเคราะห์ได้คาดการณ์กันไว้อยู่แล้ว
ทำไมผลประชุมเฟดออกมารอบนี้ ยังกดดันบรรยากาศการลงทุนไม่สดใส
คณะกรรมการฯ ยังคงให้ความสำคัญกับความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อเป็นอย่างมาก โจทย์ปีหน้า มุ่งดึงเงินเฟ้อลง 2% เศรษฐกิจสหรัฐลงจอดนุ่มนวล ดอกเบี้ยสูง
ในการแถลงข่าวของประธาน Fed 'Jerome Powell' กล่าวย้ำว่า เป้าหมายของเฟดคือการนำเศรษฐกิจสหรัฐฯ ลงจอดแบบ soft landing ซึ่งก็ 'มีความเป็นไปได้' แต่ก็ 'มีความไม่แน่นอน' ซึ่งจะต้องดำเนินการอย่างระมัดระวัง โดยการตัดสินใจครั้งต่อไปจะขึ้นอยู่กับข้อมูลทั้งหมด
ดังนั้น เฟดมีโอกาสทิ้งทวนขึ้นดอกเบี้ยส่งท้ายปี จากนักลงทุนส่วนใหญ่ต่างคาดกันว่า ในการประชุมครั้งหน้า (1 พ.ย.) Fed จะขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% ตามข้อมูลจาก Fed Watch Tool ของ CME นักลงทุนให้น้ำหนัก 70.1% ว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% ในการประชุมครั้งหน้า
ต่อประเด็นดังกล่าว “ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์” CEO Jitta Wealth มองว่า อย่าเพิ่งชะล่าใจ ยังต้องเฝ้าระวังพิษดอกเบี้ยต่อเศรษฐกิจ
เพราะมองว่า “ ในการประชุม FOMC รอบนี้ ส่งสัญญาณชัดเจนว่า มีความเป็นไปได้สูงที่ การขึ้นดอกเบี้ยจบรอบในปีนี้ และคิดว่า ตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ตอนนี้อาจไม่ได้ดีมาก แต่ก็ไม่ได้แย่เสียทีเดียว”
ถ้าดูวัฏจักรการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ในช่วงเวลากว่า 1 ปีที่ผ่านมา การประชุมของ FOMC จำนวน 13 ครั้ง ได้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาแล้ว 11 ครั้งนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2565 จนถึงครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนกรกฎาคม 2566 ที่ดอกเบี้ยขึ้นมาอยู่ที่ 5.25-5.50% ซึ่งระหว่างทาง พิษดอกเบี้ยสูงได้ส่งผลกระทบหนักต่อกลุ่มธนาคารท้องถิ่นที่อ่อนแอ ซึ่งเฟด ก็สามารถควบคุมสถานการณ์ได้
ขณะที่ภาคเศรษฐกิจยังขยายตัวได้เป็นรายไตรมาสแม้จะชะลอตัวลง โดย GDP ไตรมาส แรก ขยายตัว 1.6% ดีกว่านักวิเคราะห์คาดเสียอีก และไตรมาส 2 เติบโต 2.1% ท่ามกลางตลาดแรงงานที่ยังแข็งแกร่ง ส่วนเงินเฟ้อค่อยๆ ปรับลดลงแม้จะยังไม่เข้ากรอบเป้าหมาย 2%
ขณะที่เสียงสะท้อนในตลาดก็ยังมีทั้งมุมมองว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเกิดภาวะถดถอยในปลายปีนี้ โดยมีเสียงแตกทั้งถดถอยแบบ Hard Landing และถดถอยแบบ Soft Landing ส่วนประธานเฟด ก็พยายามให้ความเชื่อมั่นว่าจะประคองเศรษฐกิจให้ลงจอดอย่างนุ่มนวลในระยะข้างหน้า
การประชุม FOMC ในเดือนสิงหาคมและกันยายนที่ผ่านมา เฟดก็มีมติหยุดพักการขึ้นดอกเบี้ยชั่วคราว 2 ครั้งติดต่อกัน เพื่อลดแรงกดดันพิษดอกเบี้ยสูงที่ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจ เฟดยังต้องการเวลาในการประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจด้านต่างๆ ว่าได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยที่แรงและเร็วอย่างไรบ้าง
ปีหน้าสหรัฐฯ ยืนดอกเบี้ยสูงนานๆ นักลงทุนจะคว้าโอกาสลงทุนในตลาดไหนดี
ในภาวะเช่นนี้ ถ้าหากในปี 2567 เฟดยังคงอัตราดอกเบี้ยสูงเป็นเวลานาน จะกระทบการลงทุนมากหรือน้อยแค่ไหนกัน?
ถ้าดอกเบี้ยยังอยู่ระดับสูงอีกนาน การลงทุนในสินทรัพย์ใน 'หุ้นกู้' หลังจากดอกเบี้ยขึ้นมาสูงมากแล้วก็ถือว่าน่าสนใจโดยเฉพาะถ้าลงทุนในหุ้นกู้ขององค์กรที่มีความน่าเชื่อถือสูง ก็จะทำให้ผลตอบแทนสูงโดยมีความเสี่ยงไม่มากเท่ากับหุ้น แถมยังเหมาะกับผู้ที่ไม่ชอบความผันผวนสูงหรือความเสี่ยงสูง
แต่ก็ต้องระมัดระวัง เพราะช่วงนี้ ยังมีข่าวหุ้นกู้ที่มีปัญหาผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งมีทั้งเกิดในต่างประเทศและเกิดในประเทศไทย การเลือกลงทุนก็ต้องมีความรู้ความเข้าใจและศึกษาทำการบ้านอย่างรอบคอบมากๆ หรือ “การลงทุนผ่านกองทุนรวม ETF” หรือ”กองทุนส่วนบุคคล”ซึ่งจะมีผู้บริหารมืออาชีพบริหารจัดการ ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ทั้งด้านกระจายความเสี่ยงและผลตอบแทนที่สมดุล ก็จะเป็นทางออกที่ดี
ส่วนการลงทุนในหุ้น มองว่า ตลาดหุ้นจะไม่ชอบความไม่แน่นอน ยิ่งถ้ามีเซอร์ไพร์ซเชิงลบเข้ามา จะยิ่งทำให้ตลาดหุ้นมีความผันผวนหนักมาก
ยกเว้นสมมติเฟดออกมาบอกว่า ดอกเบี้ยจะขึ้นประมาณนี้และคาดได้ว่าเฟดจะคงดอกเบี้ยไปยาวๆ นักลงทุนคาดการณ์การลงทุนน่าจะง่ายขึ้นและเงินก็จะไหลเข้าตลาดหุ้น
แต่จะเป็นการไหลเข้าตลาดหุ้นมีมูลค่า(Value) ที่ดีและมีอัตราผลตอบแทนคาดหวังในอนาคตค่อนข้างสูงระดับหนึ่ง
"ตอนนี้ดอกเบี้ยก็สูงกว่า 5% ซึ่งภาพตลาดหุ้นสหรัฐก็ยังน่าสนใจอยู่ ถ้าสนใจลงทุนระยะยาว ปัจจัยเรื่องขึ้นดอกเบี้ยจะเริ่มมีผลกระทบ ลดน้อยลงแล้ว ถ้าใครคาดหวังผลตอบแทนในระยะยาวๆ ก็น่าจะเริ่มทยอยลงทุนในหุ้นสหรัฐ”
ข้อคิดจาก ปู่ Warren Buffet อย่าแทงสวนอเมริกา
“ตราวุทธิ์” ฝากข้อคิดหนึ่งที่อยากมากระตุกความกล้าให้กับคุณครับ นักลงทุนในตำนานโลกที่ยังมีลมหายใจ'Warren Buffett' เคยบอกไว้ว่า Never bet against America หรือแปลเป็นไทยง่ายๆ ว่า 'อย่าแทงสวนอเมริกา'
ปู่เชื่อมั่นว่า ตลาดหุ้นอเมริกา หรือสภาพเศรษฐกิจอเมริการะยะยาวก็จะยังคงดีอยู่แบบเดิม เพราะอเมริกาเคยผ่านวิกฤตมาหลายครั้งมาก และในหลายวิกฤตก็รุนแรงกว่านี้มาก แต่อเมริกาก็ยังผ่านมาได้จนถึงทุกวันนี้ ปู่ Buffett ต้องการสื่อว่า สุดท้ายแล้ว ดัชนีฯ ก็จะกลับมาขึ้นอยู่ดี
สำหรับการเลือกหุ้น “ตราวุทธิ์” แนะว่า ถ้าต้องการลงทุนระยะยาว ยังเน้นหุ้นคุณภาพ มีคุณลักษณะของธุรกิจที่ดีเติบโตดี น่าจะเริ่มกลับเข้ามาได้เมื่อสถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติ
จะเห็นได้ว่า ปีนี้หุ้นเทคโนโลยีปรับตัวขึ้นมาค่อนข้างเยอะแล้ว เพราะเป็นกลุ่มที่มีรายได้และกำไรเติบโตได้ดี และยังได้ปัจจัยหนุนจากดอกเบี้ยขาขึ้นที่กำลังจบลงด้วย ถ้าดูเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่ยังมีการเติบโต
อย่างเช่น บริษัทเทคโนโลยีที่กำลังเติบโตเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ ที่ยังมีกำไรก็ยังน่าลงทุน คาดว่าสามารถให้ผลตอบแทนดีอยู่ นอกจากนี้ ก็มีหุ้นวัฏจักร (Cyclical Stock) หุ้นคุณค่า (Value Stock) และหุ้นที่ราคาปรับขึ้นช้า(Laggard Stock) มีโอกาสที่จะกลับเป็นขาขึ้นตามสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก
ควรใส่เงินลงทุนแบบไหนดี ให้พอร์ตเติบโตหลักล้าน
สำหรับสูตรการจัดพอร์ตให้ลูกค้าเลือกลงทุนที่ตอบโจทย์ภาวะการลงทุนที่ไม่แน่นอนในเวลานี้ ตราวุทธิ์ แนะนำ กองทุนรวม “ Global ETF"
"Global ETF" ที่มีแนวคิดเน้นการลงทุนระยะยาว โดยมีการจัดสรรสินทรัพย์ (Asset Allocation) และการกระจายความเสี่ยง (Diversification) ตามหลักการ Modern Portfolio Theory (MPT) ซึ่งทั้ง 2 เป็นเพียงไม่กี่สิ่งในโลกการลงทุนที่คุณสามารถควบคุมได้ไม่เหมือนสภาวะตลาด เศรษฐกิจ หรือราคาหลักทรัพย์ ที่คุณไม่สามารถควบคุมหรือคาดการณ์ได้
บลจ. จิตตะเวลธ์ ได้นำมาใช้ในการจัดพอร์ตลงทุนใน ETF (Exchange Traded Fund) ระดับโลกที่มีคุณภาพดี 5 กอง จาก iShares และVanguard ที่มีทั้งการลงทุนในพันธบัตรกับหุ้นกู้ (เสี่ยงต่ำ) และหุ้นบริษัทจดทะเบียน (เสี่ยงสูง) ใน Global ETF
โดย Global ETF มีการแบ่งการลงทุนในสัดส่วนที่แตกต่างกัน ตามระดับความเสี่ยงที่รับได้ และ ผลตอบแทนที่พึงพอใจ ผ่าน 3 แผน ได้แก่ แผนพอเพียง (สัดส่วนการลงทุนตราสารหนี้ 80% หุ้น 20% คาดการณ์ผลตอบแทน 4% ต่อปี) สมดุล (สัดส่วนการลงทุนตราสารหนี้ 50% หุ้น 50% คาดการณ์ผลตอบแทน 6% ต่อปี) และเติบโต (สัดส่วนการลงทุนตราสารหนี้ 20% หุ้น80% คาดการณ์ผลตอบแทน 8% ต่อปี)
พร้อมทั้งจะทำการปรับพอร์ตลงทุนอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีระดับโลก เมื่อสัดส่วนสินทรัพย์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างน้อย 5% เพื่อรักษาวินัยการลงทุน และได้ผลตอบแทนที่คาดหวัง โดยทั้ง 3 แผนนี้ สามารถสร้างผลตอบแทนที่เป็นบวกได้ทุกแผนและสร้างผลตอบแทน สูงกว่าคาด
มาดู Back Test ผลตอบแทนเฉลี่ย 10 ปี ของ Global ETF ทั้ง 3 แผนสำหรับการลงทุนระยะยาวกันครับ ถ้าเป็นแผนเติบโต
ย้อนหลัง 10 ปี (ตั้งแต่ปี 2556-2565) ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี 7.57% และแผนสมดุล ย้อนหลัง 10 ปี (ตั้งแต่ปี2556-2565) ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี 5.23% ซึ่งทั้งสองแผนนี้จะเห็นว่าสูงกว่าดอกเบี้ยเฟดในปัจจุบัน ส่วนแผนพอเพียง ย้อนหลัง 10 ปี (ตั้งแต่ปี 2556-2565) ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี 2.30% มีความเสี่ยงต่ำ แต่ก็ยังให้สูงกว่าดอกเบี้ยนโยบายของไทยที่อยู่ระดับ 2.25%
ทั้งนี้ เมื่อ Back Test ผลตอบแทนเฉลี่ย 10 ปี มีข่าวสารมากมายที่ส่งผลกระทบต่อโลกการลงทุน ทั้งตราสารหนี้และหุ้น แต่ทั้ง 3 แผนการลงทุนของ Global ETF ซึ่งเป็นการลงทุนระยะยาว
“แนวทางนี้จะช่วยประคองพอร์ตลงทุนไม่ให้ขาดทุนหนัก และลดความผันผวนของผลตอบแทนได้ ส่งผลให้นักลงทุนสามารถลงทุนได้อย่างสบายใจ ไม่ว่าจะเผชิญความเสี่ยงใดๆ ก็ตาม และพอร์ตลงทุนสร้างผลตอบแทนในระยะยาว นี่คือตัวช่วยที่จะทำให้ สามารถลงทุนระยะยาวได้แบบสบายใจมากขึ้น”
ส่วนช่วงเวลาหรือจังหวะการลงทุนควรเริ่มตอนไหนดี ขอตอบชัดๆว่า 'คุณหมดเวลารอแล้ว' และย้ำให้ 'คุณเริ่มลงทุนตอนนี้คือฤกษ์ดี' แล้ว ควรเริ่มทยอยลงทุนได้แล้ว ใช้วิธี 'แบ่งไม้ลงทุน' เหมาะสมที่สุด โดยมองภาพการลงทุนในระยะยาว 1 ปีข้างหน้า ที่คาดว่าสถานการณ์ต่างๆ จะค่อยๆดีขึ้น หรือใช้วิธีการลงทุนแบบ DCA จะเป็นการช่วยเพิ่มปริมาณของสินทรัพย์ให้มากขึ้นเรื่อย เพื่อคาดหวังผลตอบแทนในระยะยาว
จะภูมิใจแค่ไหนที่หาก “พอร์ตลงทุนจะมีโอกาสได้เปลี่ยนเงินลงทุนจากหลักพัน เป็นหลักล้านได้”