ถือแก้วกาเเฟตอนเช้า แล้วอ่านหนังสือ ฟังเพลง และเรียนคอร์สที่ 'บิล เกตส์' แนะนำไปพร้อมกัน
เปิดรายชื่อหนังสือน่าอ่าน 3 เล่ม คอร์สออนไลน์ด้านเศรษฐศาสตร์ที่เข้าใจง่าย และเพลย์ลิสต์เพลงวันหยุดยาวที่บิล เกตส์ แนะนำให้ "เสพ" ช่วงส่งท้ายปี 2566
เมื่อถึงช่วงท้ายของปี “บิล เกตส์” ก็เริ่มเข้าสู่ช่วงของการดื่มด่ำกับเทศกาลผ่านการเปิดลิสต์หนังสือที่ต้องอ่าน (และฟัง) ในช่วงที่อากาศเริ่มหนาวเย็นและก็เป็นเหมือนประเพณีมาอย่างยาวนานที่มหาเศรษฐีผู้ร่วงก่อตั้งไมโครซอฟท์จะแบ่งปันลิสต์หนังสือของเขาเพื่อให้ผู้อ่านทุนท่านดื่มด่ำไปพร้อมกับช็อกโกแลตร้อน (หรือกาแฟ) หน้าเตาผิงไปในช่วงเวลาแห่งเทศกาลเช่นนี้
สำหรับรายชื่อหนังสือของปีนี้ซึ่งเกสต์โพสต์ลงบล็อก “GateNotes Blog” มีการปรับเปลี่ยนไปจากธรรมเนียมที่เขาเคยทำในช่วงวันหยุดเล็กน้อย จากที่ปกติเขาจะแนะนำรายชื่อหนังสือ 5 เล่มที่เขาชอบอ่าน แต่ในปีนี้เกตส์เปลี่ยนเป็นให้ชื่อหนังสือ 3 เล่มและเพลย์ลิสต์เพลงวันหยุดใน Spotify ร่วมกับเล็กเชอร์วิชาเศรษฐศาสตร์ออนไลน์
โดยปีนี้เกตส์ยังส่งสัญญาณถึงการกลับมาของ “หนังสือที่บิล เกตส์เลือกอ่าน” ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาหลังจากที่เขาใช้เวลาช่วงหนึ่งในช่วงวันหยุดเทศกาลเพื่อจัดสรรแค็ตตาล็อก หนังสือเล่มโปรดตลอดกาล 5 เล่มที่เขาเคยอ่าน
นอกจากนี้ ในบรรดาหนังสือที่เกตส์แนะนำให้อ่านในปีนี้ เห็นได้อย่างชัดเจนว่าธีมทั้งหมดเป็นเรื่องเกี่ยวกับ “การดำรงอยู่ของสิ่งต่างๆ ” หรือ Existentialism ไม่ว่าจะเป็นภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือสถานะของนวัตกรรมทางเทคโนโลยีและวิวัฒนาการทางชีวภาพของมวลมนุษยชาติ
โดยเมื่อนั่งลงเพื่อรวบรวมลิสต์หนังสือของเขา เกตส์เขียนโน้ตไว้ว่า รายชื่อหนังสือที่อยู่ด้านล่างนี้ “ผุดขึ้นมาในหัวผมทันทีและแต่ละเล่มก็ได้รับการเขียนขึ้นมาอย่างลึกซึ้งและให้ข้อมูลมหาศาล”
อย่างไรก็ตาม เนื้อหาในลิสต์หนังสือทั้ง 3 อย่างของเกตส์รวมทั้งคอร์สเศรษฐศาสตร์ออนไลน์ค่อนข้างหนัก แต่เขาก็บรรเทาความหนักนั้นด้วยเพลย์ลิสต์เพลงสนุกสนานรับวันหยุดยาวจากศิลปินอย่าง ดอนนี แฮททาเวย์ (Donny Hathaway) แนท คิง โคล (Nat King Cole) และ ดอลลี พาร์ตัน (Dolly Parton)
รวมทั้งหนึ่งสิ่งที่ผู้อ่านหลายท่านจะไม่พบในรายการแนะนำของแกตส์คือนวนิยาย เพราะสำหรับมหาเศรษฐีอันดับเจ็ดของโลกผู้นี้มีเพียงงานเขียนแบบอิงข้อเท็จจริง (Nonfiction) เท่านั้นที่เขาเลือกอ่าน และนี่คือลิสต์ที่เกตส์แนะนำ:
1. The Song of the Cell
เกตส์ที่ประกาศตัวเองว่าไม่ใช่แฟนตัวยงของชีววิทยาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก แต่เขาคิดว่าตัวเองจะสามารถพัฒนาทักษณะด้านนี้ให้แข็งแกร่งขึ้นได้หากเขาอ่าน “The Song of the Cell” ตอนเป็นนักเรียน
โดยหนังสือสารคดีเล่มนี้บอกเล่าเรื่องราวของวิวัฒนาการของมนุษย์ผ่านเลนส์ของเซลล์ โดนมุมมองของ สิทธัตถะ มุกเคอร์จี (Siddhartha Mukherjee) ผู้เขียนและแพทย์ฝึกหัด (ซึ่งมีผลงานอื่น ๆ รวมถึงงานเขียน Emperor of All Maladies: A Biography Of Cancer ที่ได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ปี 2011)
หนังสือเล่มนี้พาผู้อ่านเดินทางจากแหล่งกําเนิดของชีวิตบนโลกสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและอธิบายว่าพวกเขากลายเป็นมนุษย์ได้อย่างไรด้วยความช่วยเหลือของวิวัฒนาการที่เกิดขึ้นเมื่อไม่กี่พันล้านปีที่ผ่านมา
เกตส์ชื่นชมวิธีที่ผู้เขียนอธิบายว่า "ใช้ภาษาที่กระจ่างและเข้าถึงได้ไม่เพียงแต่วิธีการทํางานของเซลล์ แต่ยังอธิบายได้อย่างทะลุปรุโปร่งว่าทําไมเซลล์นับล้านถึงเป็นรากฐานของทุกชีวิต" โดยมุกเคอร์จีกล่าวต่อไปว่าวิทยาศาสตร์ของเซลล์มีอิทธิพลหรือสามารถกําหนดชีววิทยาสมัยใหม่และการศึกษาความเจ็บป่วย
โดยในทัศนะของเกตส์ "เราทุกคนจะมีคนที่รักที่ป่วย ดังนั้นเพื่อให้เข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเหล่านั้น และรู้สึกในแง่ดีว่าสิ่งต่าง ๆ จะดีขึ้น คุณต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับรากฐานของชีวิต"
2. Not the End of the World: How We Can Be The First Generation To Build A Sustainable Planet โดย ฮันนาห์ ริตชี (Hannah Ritchie)
นอกจากประเด็นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เกตส์ยังยกย่องแนวทางและการมุ่งเน้นแก้ปัญหาความยั่งยืนของริตชีในหนังสือ “Not the End of the World" เนื่องจากผู้เขียนมุ่งเป้าไปที่ข้อถกเถียงของความยั่งยืนบนโลกนี้ว่าแท้จริงแล้วทั้งโลกมีความยั่งยืนหรือไม่
โดยนักวิชาการด้านสภาพภูมิอากาศชี้ให้เห็นว่าในความเป็นจริงแล้วโลกไม่เคยอยู่ในยุคที่มีความยั่งยืนอย่างสมบูรณ์ (Completely Sustainable)และตลอดชีวิตมนุษย์เปลี่ยนแปลงสลับไปมาระหว่างความยั่งยืนและไม่ยั่งยืนอยู่เรื่อยมา
3. Invention and Innovation: A Brief History of Hype and Failure โดย วาคลาฟ สมิล (Vaclav Smil)
ไม่มีผู้เขียนคนไหนไหนจะรับการเสนอชื่อในบทวิจารณ์ของ เกตส์มากไปกว่า สมิลโดยเกตส์อ่านหนังสือของเขาทั้ง 44 เล่ม ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม เกตส์รู้สึกว่าสมิลมักจะมองเทคโนโลยีใหม่ๆ “ในแง่ร้ายจนเกินไป” แม้ว่าเขาจะยอมรับว่าผู้เขียนมักจะถูกต้องเสมอเมื่อพูดถึงประเด็นเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ในโลกแห่งความเป็นจริงโดยงานล่าสุดของเขาทําให้ข้อโต้แย้งที่เห็นต่างว่ายุคปัจจุบันของนวัตกรรมทางเทคโนโลยีนั้นน่าเบื่อและหยุดนิ่ง
ทั้งนี้เกตส์ยอมรับว่า "การเติบโตแบบทวีคูณของพลังการประมวลผลในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาทําให้ผู้คนมีความคิดที่ผิดพลาดเกี่ยวกับการเติบโตและนวัตกรรมในด้านอื่นๆ"
ขณะที่เกตส์แนะนําให้ผู้อ่านนํางานเขียนของสมิลด้วยทัศนคติแบบวิพากษ์และไม่เชื่อทุกข้อความเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากงานของเขา
"แม้ว่าผมจะไม่เห็นด้วยกับเขา แต่ผมก็ได้เรียนรู้หลายสิ่งหลายอย่างจากเขา”
3. Unexpected Economics, คอร์สเศรษฐศาสตร์ออนไลน์ โดย ทิโมธี เทย์เลอร์ (Timothy Taylor) อาจารย์จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
แม้ว่าจะไม่ใช่หนังสือ แต่เกตส์มองว่าการบรรยายเศรษฐศาสตร์ที่บันทึกไว้ของศาสตราจารย์ทิโมธี เทย์เลอร์เป็นหนึ่งในแนวทางที่ดีที่สุดในการทําความเข้าใจเรื่องราวดังกล่าว โดยคอร์สนี้เป็นสิ่งที่เกตส์คิดขึ้นครั้งแรกเมื่อลูกคนหนึ่งของเขาเพิ่งขอให้เขาแนะนําหนังสือเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ โดยเกตส์แนะนำคอร์ส “Unexpected Economics” และอีกสองคอร์สออนไลน์ของซึ่งสตรีมอยู่บนเว็บไซต์ Wondrium ที่สอนเศรษฐศาสตร์แบบ “ย่อยง่าย”
คอร์สเศรษฐศาสตร์นี้จะให้บางสิ่งบางอย่าง "ไม่ว่าคุณจะไม่เคยเรียนเศรษฐศาสตร์มาก่อนหรือจะเป็นวิชาเอกของคุณ หรือแม้กระทั่งคุณสําเร็จการศึกษาด้วยเกียรตินิยมจากคณะดังกล่าว" โดยเขาเสริมว่าจุดแข็งของเทย์เลอร์คือความสามารถในการสื่อสารหัวข้อที่ซับซ้อนและดูเหมือนจะไม่สอดคล้องกันให้ผู้เรียน "รู้แจ้งและเข้าถึงได้" โดยสําหรับผู้ที่สนใจคอร์สลักษณะนี้เป็นพิเศษ เกตส์แนะนําการบรรยายอีกสองคอร์สของเขาคือ Altruism, Charity, and Gift ซึ่งบรรยายเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ของการให้ของขวัญ (The Economics of Gift-giving)
5. “Holiday Playlist 2023” ซึ่งคัดเลือกโดยบิล เกตส์
"เมื่อผมนึกถึงวันหยุด มีสองสิ่งที่อยู่ในใจเสมอ: ชุดนอนที่เข้าคู่กันเพราะเป็นธรรมเนียมปฏิบัติในครอบครัว และแน่นอนคือลิสต์เพลงสำหรับวันหยุด" เกตส์เขียน
รวมทั้งเสริมว่าเขาจะเปิด “เพลงคริสต์มาส” ในบ้านเกตส์ทันทีที่วันขอบคุณพระเจ้าและเพลงในเพลย์ลิสต์ Spotify ของนี้ก็เป็นการผสมผสานระหว่างเพลงยุคเก่าและใหม่ทั้งในและต่างประเทศ
เพลงคลาสสิกของอเมริกาเช่น The Christmas Song (Merry Christmas To You) ร้องโดย แนท คิง โคลและ Joy to the World ขับร้องโดย ดอลลี พาร์ตันทํารายการของเขาควบคู่ไปกับท็อปเปอร์ชาร์ตยุโรปเช่น Wonderful Christmastime ของ พอล แมคคาร์ทนีย์ (Paul McCartney) และ Happy Xmas (War Is Over) โดยจอห์น เลนนอน (John Lennon)
อ้างอิง