วิกฤตต้มยำกุ้ง เกิดจากอะไร จอร์จ โซรอส คือคนทำลายประเทศจริงหรือ

วิกฤตต้มยำกุ้ง เกิดจากอะไร จอร์จ โซรอส คือคนทำลายประเทศจริงหรือ

วิกฤตการเงินเอเชีย 1997 (พ.ศ. 2540) มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า "วิกฤตต้มยำกุ้ง" เพราะมันเริ่มต้นที่ประเทศไทย ก่อนจะลามไปเกือบทั่วเอเชียตะวันออก

โดยเฉพาะประเทศเคยมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงเหมือน ไทย ภายในเวลาไม่กี่วัน เศรษฐกิจและระบบการเงินของประเทศเหล่านี้พังทลายลงอย่างรวดเร็ว ถือเป็นจุดสิ้นสุดแบบไม่น่าเชื่อของปรากฏการณ์ว่า "ความมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจของเอเชีย" (Asian economic miracle") และดับฝันของประเทศไทยที่ในตอนนั้นหวังว่าจะกลายเป็นเสือเศรษฐกิจตัวใหม่ของเอเชีย (Four Asian Tigers)

ทำไมจู่ๆ ประเทศที่เคยถูกเรียกว่าเป็นความมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจ เพราะมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วจนเหลือ เชื่อ ถึงได้พังทลายลงในเวลาสั้นๆ? มีหลายชุดคำอธิบายที่พยายามจะทำความเข้าใจ วิกฤตการเงินเอเชีย หรือ วิกฤตต้มยำกุ้ง ว่า ตกลงแล้วมันเกิดจากอะไรกันแน่ ถึงแม้จะแตกต่างกันในแง่รายละเอียด แต่คำอธิบายส่วนใหญ่มักมีจุดร่วม อย่างหนึ่งที่คล้ายๆ กัน ก็คือ การเติบโตทางเศรษฐกิจของบรรดาประเทศที่เป็น "ความมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจ ของเอเชีย" เกิดขึ้นบนรากฐานที่ไม่มั่นคง และเสี่ยงที่จะล้มได้ตลอดเวลา 

 

เราจะมาไล่ดูสาเหตุ วิกฤตการเงินเอเชีย หรือ วิกฤตต้มยำกุ้ง กันทีละข้อ

ระบบอัตราแลกเปลี่ยนของไทยในเวลานั้น ใช้ระบบตรึงค่าเงินกับตระกร้าสกุลเงินหลักของโลก แต่เน้นสัดส่วน ของดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นหลัก โดยในช่วงทศวรรษที่ 90 นั้นเงินบาทตรึงไว้ที่ 25 ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยธนาคาร แห่งประเทศไทยจะคอยควบคุมให้ค่าเงินบาทไม่สูงไม่ต่ำไปกว่านี้มากนัก โดยจะใช้ทุนสำรองระหว่างประเทศ ในการปรับสมดุล

 

ทำไมไทยถึงใช้ระบบตรึงค่าเงินกับดอลลาร์?

เพราะดอลลาร์เป็นสกุลเงินหลักของโลกในการค้าขาย และ ประเทศไทยพึ่งพารายได้จากการส่งออก ซึ่งใช้เงินดอลลาร์เป็นตัวกลางในการซื้อขาย การตรึงค่าเงินกับ ดอลลาร์จำเป็นต้องมีเงินดอลลาร์อยู่ในมือเอาไว้มากๆ ดังนั้น ประเทศที่ทำแบบนี้จะต้องค้าขายกับสหรัฐฯ ใน ปริมาณที่มาก หรือไม่ก็ต้องมีเงินลงทุนจากสหรัฐฯ เข้ามามาก

ซึ่งประเทศไทยเคยเป็นแบบนั้น แต่ในช่วงกลางทศวรรษที่ 80 หรือนับตั้งแต่สมัยของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นต้นมา การลงทุนจากสหรัฐฯ ลดลงอย่างมาก ในขณะที่ไทยก็ต้องพึ่งรายได้จากการส่งออกมากขึ้น เพื่อ ทำให้การส่งออกของไทยเหนือกว่าคู่แข่ง ค่าเงินบาทจะต้องตรึงไว้ไม่ให้แข็งค่าเกินไปต่อเงินดอลลาร์ จึงมีการลดค่าเงินบทถึง 3 ครั้งในสมัยของพล.อ.เปรม

ถึงแม้ว่าเงินลงทุนจากสหรัฐฯ เข้ามาในไทยจะน้อยลง แต่ไทยยังมีเงินเข้าประเทศมากขึ้นเพราะการส่งออก และ ไม่ใช่เพราะการลดค่าเงินบาท 3 ครั้งในสมัยของพล.อ.เปรม เท่านั้น เงินบาทยังอ่อนค่าลงไปอีก หลังจากที่ ประเทศมหาเศรษฐกิจ คือ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และเยอรมนีตะวันตกลงนามในข้อ ตกลงพลาซ่าแอคคอร์ด ( Plaza Accord) ในปี 2528 เพื่อลดค่าเงินดอลลาร์ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ

เนื่องจากเงินดอลลาร์คิดเป็นร้อยละ 80 ของตะกร้าสกุลเงินไทย เงินบาทจึงอ่อนค่าลงอีก ทำให้การส่งออกของ ไทยมีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้นและจากศักยภาพนี้ ทำให้มีเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) เข้ามาในไทยมากขึ้น โดยเฉพาะจากญี่ปุ่นซึ่งค่าเงินแข็งค่าขึ้นตั้งแต่ปี 2528 เพราะข้อตกลงพลาซ่าแอคคอร์ ทำให้ญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนในไทยเพื่อใช้ไทยเป็นฐานการผลิต และเป็นผลให้เศรษฐกิจไทยบูมขึ้นมา
ในปี 2531 พล.อ.เปรม ลาออกและรับช่วงต่อโดย พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี พอดีกับที่สงคราม กัมพูชา-เวียดนามสิ้นสุดลง ทำให้มีการใช้นโยบาย "เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า" ยิ่งทำให้เศรษฐกิจของ ไทยบูมขึ้นมามากกว่าเดิม ทำให้ระหว่างปี พ.ศ. 2528 ถึง พ.ศ. 2539 เศรษฐกิจของประเทศไทยบูมเอามากๆ โดยขยายตัวเฉลี่ยมากกว่า 9% ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงที่สุดของโลกในขณะนั้น

 

ส่วนอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำพอสมควรภายในช่วง 3.4–5.7% ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยมากนัก แต่ธนาคารแห่งประเทศไทยกลับขึ้นดอกเบี้ยในอัตราที่สูง เพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติที่กำลังมองหาอัตราผลตอบแทนที่สูง เป็นผลให้เศรษฐกิจไทยได้รับเงินไหลเข้าจำนวนมาก เงินพวกนี้ ส่วนหนึ่งเข้ามาเก็งกำไร อสังหาริมทรัพย์ ทำให้เกิดปัญหาราคาสินทรัพย์พุ่งสูงขึ้นอย่างมาก ซึ่งการเก็งกำไรอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งบูมมากๆ ในช่วงรัฐบาลพล.อ.ชาติชายต่อเนื่องจนมาถึงรัฐบาลต่อๆ มา และไม่ใช่ประเทศไทยที่เดียวที่ขึ้นดอกเบี้ยเพื่อ หวังทุนไหลเข้ามา ประเทศในกลุ่มเดียวกันก็ทำด้วย

ต่อมารัฐบาลชวน หลีกภัย (รับช่วงต่อจากการรัฐประหาร รสช. ที่โค่นล้มพล.อ.ชาติชาย รัฐบาลนี้อยู่ในตำแหน่ง ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2535 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2538) พยายามแก้ปัญหาเรื่องขาดแคลนทุน จึงออก ใบอนุญาตกิจการวิเทศธนกิจ (BIBF) ให้กับธนาคารต่างๆ ของไทยในปี พ.ศ. 2536 ซึ่งทำให้ธนาคารที่เป็น BIBF ได้รับประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยสูงของประเทศไทยโดยการกู้ยืมจากสถาบันการเงินต่างประเทศ ดอกเบี้ยต่ำและให้กู้ยืมแก่ธุรกิจไทยอีกทอดหนึ่ง และเงินส่วนหนึ่งนำมาเก็งกำไร ทำให้เกิดฟองสบู่ขึ้นมาเรื่อยๆ

ในขณะที่เศรษฐกิจไทยกำลังบูมเอาๆ มันมีความย้อนแย้งตรงที่ตั้งแต่ปี 2530 ถึง พ.ศ. 2539 ประเทศไทย ประสบปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดโดยเฉลี่ย 5.4% ของ GDP ต่อปี โดยเฉพาะในภาคเอกชน ส่วนภาค รัฐไม่ค่อยมีการขาดดุลเพราะไม่ได้ลงทุนอะไรใหญ่ๆ ปัญหาหนี้ในภาคเอกชนเริ่มน่ากังวลมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะ เอกชนเห็นช่องจากการตรึงค่าเงินบาทและดอกเบี้ยที่สูงของไทย ทำให้กระหน่ำกู้ยืมจากภายนอกประเทศ แต่ มันทำให้เกิดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนผันผนวนมากเกินไปทั้งในภาคการเงินและภาคธุรกิจ ถ้าจู่ๆ เงิน บาทไม่มีสเถียรภาพขึ้นมา แล้วสัญญาณร้ายก็เกิดขึ้น ในขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวจากภาวะถดถอยที่เกิดขึ้นในช่วงต้นทศวรรษ 90 พอ ถึงช่วงปลายทศวรรษ ธนาคารกลางสหรัฐก็เริ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ยสหรัฐเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ

ดอกเบี้ยที่สูงทำให้สหรัฐฯ น่าลงทุนกว่าไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งดึงดูด "เงินร้อน" ที่ไหลเข้ามาผ่าน อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่สูง การขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ยังเทำให้เงินดอลลาร์แข็งขึ้นมา และเพราะไทยตรึงค่า เงินไว้กับดอลลาร์ ทำให้ค่าเงินไทยแข็งขึ้นมาด้วย จึงกระทบการส่งออก

มาถึงจุดนี้ นักเก็งกำไรจากต่างประเทศ (รวมถึงกองทุนเฮดจ์ฟันด์ เช่น Quantum Fund จอร์จ โซรอส) จึงมั่นใจ ว่ารัฐบาลจะลดค่าเงินบาทอีกครั้ง ในตลาดซื้อขายทันที (Spot market) นักเก็งกำไรได้กู้ยืมเงินเป็นเงินบาทแล้ว นำมาปล่อยกู้เป็นเงินดอลลาร์เพื่อให้เกิดภาวะบีบบังคับให้ไทยต้องลดค่าเงิน ส่วนในตลาดซื้อขายล่วงหน้า (Forward market) นักเก็งกำไรที่เชื่อว่าเงินบาทจะอ่อนค่าลงในไม่ช้า ก็ทำการเดิมพันกับเงินบาท โดยทำ สัญญากับดีลเลอร์ในตลาดสกุลเงินว่า ดีลเลอร์จะจ่ายคืนเป็นเงินดอลลาร์ในอนาคตเทียบเท่ากับเงินบาทที่เก็งกำไรไว้ ในกรณีที่เงินบาทถูกเก็งจนอ่อนค่าลงมา

หนึ่งในกองทุนที่เก็งกำไรค่าเงินบาทและค่าเงินในเอเชีย คือ Quantum Fund ถือเป็นกองทุนเฮดจ์ฟันด์ที่ประสบ ความสำเร็จมากที่สุดในโลก ภายใต้การดูแลของ จอร์จ โซรอส (George Soros) ผู้ที่ได้รับฉายาว่า "พ่อมดการเงิน" แต่เป็นที่ถกเถียงกันว่า โวรอส เกี่ยวข้องกับการเก็งกำไรค่าเงินบาทแค่ไหน? จากข้อมูลบางแห่งเช่น เว็บไซต์ Next Change Now ที่อ้างข้อมูลแหล่งข่าวที่มีความรู้เกี่ยวกับจุดยืนของ Quantum Fund ในขณะนั้น ระบุว่าโซรอสเดิมพันเพียงไม่ถึง 1 พันล้านดอลลาร์กับเงินบาท เทียบกับเงินสำหรับเก็งกำไรรวม 12 พันล้าน ดอลลาร์

แต่รายที่เก็งกำไรเงินบาทมากกวานั้นหลายเท่า คือ Tiger Fund ของ จูเลียน โรเบิร์ทสัน (Julian Robertson) มี การลงทุนเก็งกำไรเงินบาทมากกว่าโซรอสถึง 3 เท่า ด้วยเงินเดิมพันเกือบ 3 พันล้านดอลลาร์ต่อกรเก็งค่าเงิน บาท ดังนั้น โซรอส จึงไม่น่าจะใช้ตัวการของวิกฤต และตัวเขาเองก็เคยยืนยันว่าเขาไม่ใช่ตัวการ แต่ตัวการที่แท้ จริงคือ การกำหนดยุทธศาสตร์ที่ผิดพลาดของธนาคารแห่งประเทศไทยต่อการเก็งกำไรของกองทุนเฮดจ์ฟันด์ นั่นคือการนำอาทุนสำรองมาสู้กับการเก็งค่าเงินบาท ขณะที่อีกวิธีคือการลดค่าเงินบาท
โซรอส กล่าวว่า

“ โดยการขายเงินบาทระยะสั้นในเดือนมกราคม 2540 กองทุน Quantum Fund ที่จัดการโดย บริษัทลงทุนของผมได้ส่งสัญญาณตลาดว่าเงินบาทอาจมีค่าสูงเกินไป ซึ่งถ้าหน่วยงาน (เช่น รัฐบาลไทยและธนาคารแห่งประเทศไทย) ตอบสนองต่อการลดลงของทุนสำรอง การปรับเปลี่ยนจะเกิดขึ้นเร็วกว่าและจะเจ็บปวดน้อยลง แต่เจ้าหน้าที่กลับปล่อยให้เงินสำรองของพวกเขาหมดไป เมื่อถึงเวลาที่มันล่มสลาย มันก็ถือเป็นหายนะ”


ในความพยายามที่จะต่อต้านการลดค่าเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ซื้อเงินบาทด้วยดอลลาร์ในตลาดแลก เปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อเงินบาทน่าดึงดูด และจำกัดการเข้าถึงเงินบาทของชาวต่าง ชาติในช่วงสองสามเดือนแรก มาตรการทั้งหมดนี้ทำให้ความน่าเชื่อถือของธนาคารลดลง ทุนสำรองเงินตราต่าง ประเทศทรุดตัวลงจาก 37.2 พันล้านดอลลาร์ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2539 เป็น 30.9 พันล้านดอลลาร์ในเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2540 ในขณะที่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไม่ช่วยอะไรมากนัก แต่กลับจะสร้างความเสียหายให้ กับภาคการเงินของประเทศที่อ่อนแอลงเท่านั้น

และแล้วก็มีเสียงเรียกร้องให้ลดค่าเงินบาทหนักขึ้น แต่ พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นไม่ ยอมทำ แต่พึ่งพาแนวทางของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งใช้เงินมากถึง 24,000 พันล้านดอลลาร์ หรือประมาณ สองในสามของทุนสำรองระหว่างประเทศของประเทศไทยเพื่อปกป้องเงินบาทจากการเก็งกำไร แต่ทุนสำรอง ร่อยหรอลงเรื่อยๆ บวกกับการส่งออกที่อ่อนแอ ทำให้เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 ประเทศไทยมีเงินสำรอง ระหว่างประเทศเหลืออยู่แค่ 2,850 พันล้านดอลลาร์ และไม่สามารถปกป้องเงินบาทได้อีกต่อไป

ในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 นั่นเอง ธนาคารแห่งประเทศไทย ตัดสินใจลอยค่าเงินบาท ซึ่งทำให้เงินบาท อ่อนค่าลงอย่างรุนแรงในทันที และเป็นชนวนทำให้เกิด วิกฤติการเงินเอเชีย ปี 2540 เพราะหลายประเทศมี สถานการณ์แบบเดียวกับไทย ทำให้เกิดความตื่นตระหนกที่เกิดขึ้นในหมู่ผู้ให้กู้นำไปสู่การถอนสินเชื่อจำนวน มากจากประเทศที่อยู่ในภาวะวิกฤติ ทำให้เกิดวิกฤติสินเชื่อและการล้มละลายเพิ่มเติม นอกจากนี้ ในขณะที่นัก ลงทุนต่างชาติพยายามถอนเงิน เงินบาทที่อ่อนค่าอย่างมาก็ล้นตลาด ยิ่งทำให้ค่าเงินบาทอ่อนแอลงไปอย่าง หนักอีก

เงินบาทอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็ว มูลค่าหายไปเกินครึ่ง เงินบาทแตะจุดต่ำสุดที่ 56 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในเดือน มกราคม พ.ศ. 2541 ตลาดหุ้นไทยร่วงลง 75% Finance One บริษัทการเงินที่ใหญ่ที่สุดของไทยจนล่มสลาย ส่วนเศรษฐกิจประเทศไทยที่เคยเจริญรุ่งเรืองของต้องหยุดชะงักในทันที มีการเลิกจ้างจำนวนมากในภาคการเงิน อสังหาริมทรัพย์ และการก่อสร้าง อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นเกือบสามเท่า จาก 1.5% ในปี 2539 เป็น 4.4% ในปี 2541 หลายคนที่กู้เงินมาเพื่อลงทุน ต้องพบว่าเงินบาทที่อ่อนค่ารุนแรง และไม่ได้ตรึงกับดอลลาร์อีกต่อไป ทำให้พวกเขาต้องใช้หนี้ที่กู้มาเป้นเงินหลายเท่าตัว หลายคนที่จุ่ๆ สิ้นเหนือประดาตัว หาทางออกในชีวิตไม่เจอ ก็ตัดสินใจฆ่าตัวตาย

ค่าเงินบาทที่ลดลงอย่างรวดเร็วยังส่งผลให้หนี้ต่างประเทศเพิ่มขึ้น บ่อนทำลายสถาบันการเงินที่ชำระหนี้ไม่ไหว บางส่วนจึงถูกขายให้กับนักลงทุนต่างชาติในราคาถูกๆ และเนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทยมีทุนสำรอง ระหว่างประเทศอยู่ในระดับต่ำ รัฐบาลจึงต้องรับการช่วยเหลือด้วยการกู้จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) โดยรวมแล้ว ประเทศไทยได้รับเงินช่วยเหลือจำนวน 17.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

รัฐบาลชวน หลีกภัยสมัยที่ 2 ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 พยายามดำเนินการปฏิรูปเศรษฐกิจตามแนวทางกำกับของ IMF โดยใช้นโยบายการคลังที่เข้มงวด นั่น คือ รักษาอัตราดอกเบี้ยให้สูง เพื่อดึงเงินให้ไหลกลับเข้ามาในไทย และลดการใช้จ่ายของรัฐบาล แต่ในขณะ เดียวกัน รัฐบาลชวน 2 ก็ยังออกกฎหมาย 11 ตามแนวทางของ IMF ที่ถูกโจมตีว่าเป็น "กฎหมายขายชาติ 11 ฉบับ" เพราะ IMF ได้ตั้งเงื่อนไขให้ไทยต้องเปิดเสรีการเงิน ส่งเสริมให้ต่างชาติได้เข้ามาลงทุนได้มากขึ้น และ ต้องแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ส่งผลให้รัฐวิสาหกิจหลายแห่งต้องถูกขายให้แก่เอกชนไป

อย่างไรก็ตาม กว่าที่เศรษฐกิจไทยจะกลับคืนสู่สภาวะเกือบจะปกติอีกครั้ง ต้องใช้เวลานานถึงปี 2544 ภายในปี พ.ศ. 2544 เศรษฐกิจของประเทศไทยเริ่มฟื้นตัว รายได้จากภาษีที่เพิ่มขึ้นทำให้ประเทศสามารถปรับสมดุลงบ ประมาณและชำระหนี้ให้กับ IMF ในปี 2546 ซึ่งเร็วกว่ากำหนดสี่ปี