แบงก์ชาติ เปิดสถิติ ระบบชำระเงินระหว่างประเทศ เพิ่มขึ้นเกือบ 475 เท่า!

แบงก์ชาติ เปิดสถิติ ระบบชำระเงินระหว่างประเทศ  เพิ่มขึ้นเกือบ 475 เท่า!

แบงก์ชาติ ชี้ในยุคไร้พรหมแดน การชำระเงินของคนไทย มุ่งไปสู่ดิจิทัลชัดเจน โดยมีมากถึงเฉลี่ยคนละ 528 ครั้งต่อปีเติบโตขึ้นเกือบ 6 เท่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ขณะที่การชำระเงินระหว่างประเทศผ่าน เพิ่มขึ้นเกือบ 475 เท่า

ล่าสุด พระสยาม Magazine ได้มีการเปิดเผยบทความ เกี่ยวกับ "การต่อยอดพร้อมเพย์ด้วย Cross-border Payment" 

โดยมองว่า "ในโลกยุคไร้พรมแดน" พฤติกรรมการชำระเงินของคนไทยได้เปลี่ยนไปใช้ช่องทาง อิเล็กทรอนิกส์มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด 

โดยมีมากถึงเฉลี่ยคนละ 528 ครั้งต่อปีเติบโตขึ้นเกือบ 6 เท่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะตั้งแต่มีพร้อมเพย์ และ Thai QR payment ซึ่งถือว่าเป็นบริการการชำระเงินของไทยที่ประสบความสำเร็จและมีการใช้งานอย่างแพร่หลายภายในประเทศ อีกทั้งยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่องในอนาคต

ขณะที่ก้าวย่างสำคัญของภาคการเงินไทยอย่างการชำระเงินระหว่างประเทศ (cross-border payment) ก็เป็นเหมือนฟันเฟืองสำคัญที่ช่วยให้การเชื่อมโยงระหว่างประเทศ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การค้า การท่องเที่ยว และแรงงาน ดำเนินไปได้อย่างไร้รอยต่อและมีประสิทธิภาพ

 

แบงก์ชาติ เปิดสถิติ ระบบชำระเงินระหว่างประเทศ  เพิ่มขึ้นเกือบ 475 เท่า! รวมอาเซียนเป็นหนึ่ง ด้วยเครือข่ายระบบชำระเงิน

ที่ผ่านมา ไทยเราได้ใช้ข้อดีของการที่คนไทยคุ้นเคยกับการใช้พร้อมเพย์และ Thai QR payment กันอย่างแพร่หลายอยู่แล้วในการพัฒนาต่อยอดเพื่อเป็นสะพานเชื่อมต่อไปสู่อาเซียนผ่านบริการ 2 รูปแบบ ได้แก่

บริการชำระเงินระหว่างประเทศ (cross-border QR payment) เพื่อรองรับธุรกรรมของนักท่องเที่ยวและชาวต่างชาติให้สามารถชำระเงินด้วยการสแกน QR code จ่ายได้ และบริการโอนเงินระหว่างประเทศแบบทันที (cross-border real-time remittance)  สำหรับรองรับกลุ่มคนที่ทำงานในต่างประเทศให้สามารถโอนเงินไปยังผู้รับปลายทางด้วยข้อมูลส่วนตัว เช่น เบอร์โทรศัพท์

บริการการชำระเงินทั้ง 2 รูปแบบที่ว่ามานั้น ทำให้การชำระเงินระหว่างประเทศสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยมากขึ้น ทั้งกับชาวไทยและชาวต่างชาติ เพราะสามารถชำระค่าสินค้าและบริการ รวมถึงโอนเงินข้ามประเทศได้ผ่านโทรศัพท์มือถือเพียงเครื่องเดียว แถมยังมีค่าธรรมเนียมที่ไม่แพง อีกทั้งยังสอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมการใช้เงินสกุลท้องถิ่นของ ธปท. ด้วย เพราะจะช่วยทำให้ธนาคารพาณิชย์ที่ร่วมโครงการสามารถทำธุรกรรมโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนด้วยเงินสกุลท้องถิ่นได้สะดวกยิ่งขึ้น

สถิติการใช้งานเพิ่มอย่างต่อเนื่อง

แบงก์ชาติ เปิดสถิติ ระบบชำระเงินระหว่างประเทศ  เพิ่มขึ้นเกือบ 475 เท่า! ที่ผ่านมา บริการ PromptPay-PayNow และ cross-border QR payment มีอัตราการใช้งานที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนถึงความสะดวก ปลอดภัย และความเชื่อมั่นของผู้ใช้ โดยธุรกรรม cross-border QR payment เพิ่มขึ้นเกือบ 475 เท่า และธุรกรรม cross-border real-time remittance เพิ่มขึ้นกว่า 4 เท่า ในช่วงปี 2564-2566 

ก้าวต่อไปด้วยกลยุทธ์ พัฒนาจุดแข็ง กำจัดจุดอ่อน

การวางกลยุทธ์การเชื่อมโยงการชำระเงินระหว่างประเทศให้เหมาะสม ธปท. พิจารณาจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นบริการที่มีในปัจจุบันและแผนพัฒนาระบบชำระเงินของไทยและต่างประเทศ สถิติการทำธุรกรรมและการใช้บริการชำระเงินระหว่างประเทศ สถานการณ์และแนวโน้มการท่องเที่ยวและแรงงาน ความเสี่ยงและความท้าทายในระยะข้างหน้า ความพร้อมของระบบและผู้ให้บริการ ทิศทางพฤติกรรมชำระเงินของผู้คนไปจนถึงแนวโน้มและรูปแบบของอาชญากรรมทางไซเบอร์  

ในระยะถัดไป ธปท. ได้วางกลยุทธ์หลากหลายตั้งแต่การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาบริการไปจนถึงการขยายความเชื่อมโยงไปสู่ประเทศใหม่ ๆ นอกจากนี้ ยังเพิ่มร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อดำเนินแผนการพัฒนาระบบการชำระเงินและบริการโอนเงินแบบทันทีที่เชื่อมโยงแล้ว และวางแผนการเชื่อมโยงใหม่ที่จะเพิ่มเติมในอนาคต 

เร่งประชาสัมพันธ์เพื่อขยายการใช้งาน และการเพิ่มจำนวนผู้ให้บริการและร้านค้า

แม้การใช้บริการชำระเงินจะเพิ่มสูงขึ้นมากแล้ว แต่ ธปท. และผู้ให้บริการชำระเงินระหว่างประเทศยังเห็นโอกาสในการประชาสัมพันธ์ไปสู่ประชาชนและร้านค้ามากขึ้น  เพื่อขยายกลุ่มผู้ใช้งานและร้านค้าผู้ให้บริการเพิ่มเติมในอนาคต จึงได้ร่วมกับผู้ให้บริการชำระเงินในการวางแผนประชาสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ข้อความและสัญลักษณ์กลางในการสื่อสารเพื่อให้มีทิศทางที่สอดคล้องกัน

ตลอดจนร่วมมือกับสมาคมและหอการค้าต่าง ๆ ในการจัดงานประชุมหรือลงพื้นที่เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับบริการชำระเงินระหว่างประเทศแก่ประชาชน อีกทั้งยังขยายช่องทางสื่อสารให้มากขึ้น ทั้งช่องทางของ ธปท. เอง และของผู้ให้บริการชำระเงินระหว่างประเทศ หน่วยงานภาครัฐ และภาคธุรกิจ ที่สำคัญยังมีการร่วมมือกับธนาคารกลางอื่น ๆ ในการประชาสัมพันธ์ถึงร้านค้าและนักท่องเที่ยวด้วย 

ปรับปรุงและพัฒนาบริการที่มีอยู่เดิม

ที่ผ่านมา ธปท. ได้มีการแก้ไขและปรับปรุงบริการ เพื่อจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นจริงจากการใช้งานและเพื่อตอบโจทย์ความต้องการให้แก่ผู้ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งปัญหาความขัดข้องของการสแกน QR code หรืออาชญากรรมทางไซเบอร์ ทั้งยังพัฒนาบริการเดิมให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มความสะดวก ความปลอดภัย และสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้บริการ

ธปท. ได้ร่วมมือกับธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ ในการติดตามปัญหา โดยเฉพาะเรื่องความแตกต่างกันของเทคโนโลยี โครงสร้างพื้นที่ และความก้าวหน้าของระบบชำระเงินในแต่ละประเทศ เรายังเป็นตัวกลางในการประสานกับหน่วยงานและผู้ให้บริการชำระเงินที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ 

ขยายการเชื่อมโยงกับประเทศใหม่ ๆ

ธปท. มีเป้าหมายที่จะต่อยอดการเชื่อมโยงระบบการชำระเงินกับประเทศใหม่ ๆ โดยเฉพาะกับประเทศที่มีความสำคัญต่อไทย ทั้งในภาคการท่องเที่ยวและแรงงาน รวมถึงที่มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างกันจำนวนมาก

ล่าสุด ธปท. มีแผนที่จะขยายการเชื่อมโยงระบบการชำระเงินแบบทวิภาคีกับฮ่องกง อินเดีย เกาหลีใต้ ลาว และจีน ทั้งยังมีการศึกษาแนวทางความร่วมมือและเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มทางเลือกของบริการชำระเงินระหว่างประเทศในอนาคตคู่ขนานกันไปด้วย

แม้ว่าที่ผ่านมา การพัฒนาระบบและบริการชำระเงินของไทย เพื่อรองรับผู้ใช้งานในประเทศจะถือว่าได้รับความสำเร็จค่อนข้างมาก ตามมาด้วยบริการระหว่างประเทศที่มีจำนวนผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

แต่ ธปท. ก็ยังคงมุ่งมั่นที่จะรักษาบทบาทความเป็นผู้นำด้านการชำระเงินระหว่างประเทศในภูมิภาคเอาไว้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าทุกย่างก้าวที่เราจะเดินต่อไปในอนาคตจะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและการเงินที่ดีให้กับไทยและภูมิภาคได้อย่างแท้จริง