ต้นทุน Green Bond สูง ฉุดปริมาณการออกตราสารหนี้ประเภทนี้ในไทย

ต้นทุน Green Bond สูง ฉุดปริมาณการออกตราสารหนี้ประเภทนี้ในไทย 63% ของ Green Bonds ในไทยครบกำหนดชำระอีก 5 ปีข้างหน้า มีระยะเวลาไถ่ถอนเฉลี่ยที่ 4.7 ปี
KEY
POINTS
- ยอดคงค้างของ Green Bonds ในประเทศไทยต่ำ มีสัดส
ดร.กฤตย์ สีตะธนี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า Green Bonds หรือตราสารหนี้เขียว เป็นตราสารหนี้ที่มีข้อผูกมัดหรือเงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติม ซึ่งต่างจากสารหนี้ทั่วไป หรือ Vanilla Bonds โดยตราสารหนี้เขียว มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น เช่น พลังงานหมุนเวียน การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานการป้องกันมลพิษ หรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ
อย่างไรก็ดี Green Bond มีลักษณะด้านเครดิตที่เหมือนกับ Vanilla Bonds หลายประการ เช่น การประเมินความเสี่ยง/ผลตอบแทน รวมถึงเงื่อนไขทั่วไปที่แตกต่างกัน เช่น อันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) ระยะเวลาครบกำหนดไถ่ถอนหรืออัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วที่แตกต่างกัน
ในปัจจุบัน การนำ Green Bonds มาใช้ในประเทศไทย ยังไม่ค่อยแพร่หลายเมื่อเทียบกับในเวทีโลก เนื่องจากต้นทุนจากการรายงานตามมาตรฐานเขียวที่ค่อนข้างสูง และดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) จากการออก Green Bonds ที่ไม่ต่ำกว่า Vanilla Bond มาก
นอกจากนี้ 63% ของ Green Bonds ในไทยจะครบกำหนดชำระภายในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยมีระยะเวลาไถ่ถอนเฉลี่ยที่ 4.7 ปี ขณะที่ระยะเวลาครบกำหนดเฉลี่ยของ Green Bonds ทั้งตลาดในไทยจะอยู่ที่ประมาณ 6.4 ปี ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของเอเชียที่ 6.5 ปี และของโลกที่ 12-17 ปี ทั้งนี้ภาพดังกล่าวสะท้อนว่าผู้ออกตราสารหนี้ไทยรับความเสี่ยงจากการออก Green Bond ได้น้อยกว่าเมื่อเทียบกับทั่วโลก และยังไม่พร้อมที่จะลงทุนในโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว
เมื่อพิจารณาข้อมูลทั้งสองมิติทำให้เห็นว่าประเทศไทยยังคงตามหลังโลกในเรื่องนำ Green Bonds มาเป็นหนึ่งในเครื่องมือการระดมทุน
นักลงทุนในประเทศไทยอาจจะลดความยินยอมที่จะรับดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า
อนาคตของ Green Bonds ในประเทศไทย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าปัญหาการขาดการออก Green Bonds ในไทย เกิดจากปัญหาด้านอุปทานเป็นสำคัญ กล่าวคือ ปัญหาต้นทุนการระดมทุนที่สูง อาทิ จากทั้งการรายงานเพิ่มเติมและอัตราดอกเบี้ยหน้าที่ไม่ได้ต่ำกว่า Vanilla Bonds ดังนั้น จึงทำให้ผู้ระดมทุนในประเทศไทย เน้นออกพันธบัตรประเภท Sustainability และ Sustainability Linked Bonds แทนเนื่องจากเนื่องจากกฎระเบียบกว้างกว่า ผู้ออกสามารถออกตราสารหนี้สำหรับ Social หรือ ผู้ออกเลือก KPI Sustainability เองได้ ดังนั้น ภาครัฐควรเร่งจัดการกับทั้งสองประเด็นดังกล่าว เพื่อผลักดันให้เกิดการออกตราสารหนี้ประเภท Green Bonds มากขึ้น
แม้ว่ากฎระเบียบจะเป็นปัจจัยสำคัญ สำหรับนักลงทุนในการหลีกเลี่ยงการฟอกเขียว ควรมีการรณรงค์และการสนับสนุนจากหน่วยงานกำกับดูแลและภาครัฐ เพื่อให้ผู้ออกตราสารหนี้เข้าถึงการรายงาน Green Bonds ได้ง่ายมากขึ้น รวมถึงการรณรงค์ให้นักลงทุนมาช่วยมีส่วนร่วมในการระดมทุนเพื่อสิ่งแวดล้อม แม้จะได้รับผลตอบแทนที่อาจจะต่ำกว่าเมื่อเทียบกับ Vanilla Bonds
ทั้งนี้ ภาครัฐไทยอาจใช้เครื่องมือการระดมทุนผ่านการออก Green Bonds เช่น การกำหนดวงเงินขั้นต่ำสำหรับการระดมทุนในรูป Green Bonds เพื่อใช้ลงทุนในโครงการด้านสิ่งแวดล้อมของภาครัฐต่อจากนี้ เพื่อสร้างบรรยากาศและเป็นบรรทัดฐานแก่ภาคเอกชนให้เกิดการระดมทุนผ่าน Green Bonds ในประเทศมากขึ้นได้ เพื่อนำไปสู่การบรรลุ Net Zero ของประเทศได้ภายในปี 2608