ทางเลือกการลงทุนใน Private Fund กับภาษีที่นักลงทุนบุคคลธรรมดาต้องรู้
กองทุนส่วนบุคคล คือ รูปแบบกองทุนที่เกิดจากผู้ลงทุนบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลได้มอบหมายให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
ปัจจุบันการลงทุนผ่านกองทุนส่วนบุคคล (Private Fund) เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น เนื่องจากผู้ลงทุนสามารถเลือกรูปแบบการลงทุนได้หลากหลายและสามารถมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและรูปแบบการลงทุนได้ตามความต้องการควบคู่ไปกับการได้รับคำแนะนำและวางแผนการลงทุนจากผู้เชี่ยวชาญ เนื่องด้วยลักษณะเฉพาะของกองทุนส่วนบุคคล คือ รูปแบบกองทุนที่เกิดจากผู้ลงทุนบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลได้มอบหมายให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทจัดการกองทุนส่วนบุคคลมาบริหารจัดการลงทุนแทน โดยที่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินหรือเงินกองทุนจะเป็นของลูกค้า (ผู้ลงทุน) และอยู่ภายใต้ชื่อของลูกค้า โดยมีผู้รับฝากทรัพย์สิน (Custodian) ที่ได้รับความเห็นชอบจา
สำนักงาน ก.ล.ต. เป็นบุคคลที่ 3 แยกต่างหากจากบริษัทจัดการฯ ให้เป็นผู้เก็บรักษาทรัพย์สินและหลักทรัพย์ของกองทุน
ผลประโยชน์ที่กองทุนส่วนบุคคลได้รับนั้นก็จะมีภาระภาษีตามประเภทของผู้ลงทุน หากผู้ลงทุนเป็นบุคคลธรรมดากองทุนส่วนบุคคลก็จะมีภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หากผู้ลงทุนเป็นนิติบุคคลกองทุนส่วนบุคคลจะมีภาระภาษีเงินได้นิติบุคคล ในที่นี้จะขอกล่าวถึงในกรณีที่เป็นบุคคลธรรมดาลงทุน โดยแบ่งประเภทเงินได้ตามผลตอบแทนที่กองทุนส่วนบุคคลที่จะได้รับหลักๆ ดังนี้
หากกองทุนส่วนบุคคลที่ผู้ลงทุนเป็นบุคคลธรรมดาไปลงทุนในต่างประเทศก็จะมีภาระภาษีเหมือนบุคคลธรรมดาไปลงทุนต่างประเทศด้วยตนเอง ตามที่กรมสรรพากรได้ออกคำสั่งฯ ที่ ป.161/2566 และ ป.162/2566 โดยมีหลักเกณฑ์กำหนดว่า เงินได้จากการลงทุนต่างประเทศ เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล กำไรส่วนต่างจากการขายหุ้น (Realized gain) รวมทั้งกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน (ถ้ามี) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป หากนำกลับเข้ามาในประเทศไทย (ไม่ว่าจะปีภาษีใด) จะต้องนำไปรวมยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย ทั้งนี้ ทางกรมสรรพากรจะมีการออกคู่มือรายละเอียดและแนวทางการเสียภาษีฯ เพิ่มเติม นักลงทุนจึงควรติดตามการประกาศจากกรมสรรพากรอย่างใกล้ชิดเพื่อให้สามารถบริหารจัดการภาษีจากพอร์ตการลงทุนของตนเองได้อย่างถูกต้อง
จะเห็นได้ว่าการลงทุนในกองทุนส่วนบุคคลนั้นเป็นอีกทางเลือกของนักลงทุนที่สามารถเลือกรูปแบบการลงทุนที่ตนเองต้องการได้หลากหลายและมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่า อีกทั้งภาระภาษีก็ไม่ได้ต่างจากการลงทุนด้วยตนเอง อย่างไรก็ตามผู้ลงทุนจะต้องเป็นผู้ที่มีเงินทุนขั้นต่ำประมาณ 5 ล้านบาทขึ้นไปและกองทุนส่วนบุคคลจะมีค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าธรรมเนียมในการบริหารจัดการ (Management Fee) ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินลงทุนและประเภทสินทรัพย์ที่ลงทุน รวมทั้งค่าธรรมเนียมอื่นๆ เช่น Custodian Fee, Performance Fee, ค่าอากรแสตมป์, ค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์ เป็นต้น ผู้ลงทุนจึงควรศึกษาข้อมูลให้ครบถ้วนทั้งในด้านผลตอบแทนและภาระภาษี รวมถึงต้นทุนค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการกองทุนก่อนตัดสินใจลงทุน