สรุป! ความคุ้มครอง 'ประกันสังคม' ตั้งแต่แรกเกิด วัยทำงาน จนถึงวัยเกษียณ
สำหรับมนุษย์เงินเดือนที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็น "ผู้ประกันตน ม.33" กับ "ประกันสังคม" ทราบกันแบบเจาะลึกหรือไม่ว่า เงินประกันที่ตนเองส่งไปในแต่ละเดือนนั้น จะได้รับผลประโยชน์ รับความคุ้มครองตั้งแต่วัยแรกเกิด วัยทำงาน จนถึงเมื่อตอนเกษียณ มีสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง
สำหรับทุกคนที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็น ผู้ประกันตน ม.33 กับ "ประกันสังคม" ทราบกันแบบเจาะลึกหรือไม่ว่า เงินประกันที่ตนเองส่งไปในแต่ละเดือนนั้น จะได้รับผลประโยชน์กลับมามากน้อยแค่ไหน ลักษณะใดจึงจะได้รับความคุ้มครอง
โดยสำนักงานประกันสังคม ได้เปิด สิทธิประโยชน์ประกันสังคม และพร้อมดูแลใส่ใจผู้ประกันตนในทุกช่วงเวลา ตั้งแต่ช่วงแรกเกิดไปจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ซึ่งสามารถอธิบายแบบเจาะลึกประโยชน์ที่ผู้ประกันตนจะได้แบ่งตามช่วงวัยได้ดังนี้
วัยแรกเกิด
สำหรับผู้ประกันตนที่ตั้งครรภ์จะได้รับสิทธิประโยชน์จากประกันสังคม ซึ่งประกอบด้วยดังนี้
1.ค่าตรวจและฝากครรภ์ จำนวน 5 ครั้ง มูลค่าไม่เกิน 1,500 บาท
2.ค่าคลอดบุตร ที่โรงพยาบาลใดก็ได้ เหมาจ่าย 15,000 บาท
3.เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง เป็นเวลา 90 วัน (เบิกได้ไม่เกิน 2 ครั้ง)
วัยเด็ก
ในกรณีที่ผู้ประกันตนมีบุตรจะได้รับ "เงินสงเคราะห์บุตร" แบบเหมาจ่าย เดือนละ 800 บาท/บุตร 1 คน ตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ 6 ปี ได้สูงสุดได้คราวละไม่เกิน 3 คน ซึ่งกรณีบิดาและมารดาเป็นผู้ประกันตนให้ใช้สิทธิได้เพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
วัยทำงาน
นอกจากผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิประโยชน์ในกรณีตั้งครรภ์และมีบุตรแล้ว สำหรับตัวผู้ประกันตนเองยังได้รับสิทธิประโยชน์ดังนี้
1.ตรวจสุขภาพฟรีครอบคลุม 14 รายการ
1.1 ตรวจคัดกรองการได้ยิน Finger Rub Test
1.2 ตรวจเต้านม และสอนการตรวจเต้านมด้วยตัวเอง
1.3 ตรวจตา คัดกรองความผิดปกติและค้นหาโรคทางสายตา
1.4 ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด CBC
1.5 ตรวจปัสสาวะ UA
1.6 ตรวจน้ำตาลในเลือด FBS
1.7 ตรวจการทำงานของไต Cr และ eGFR
1.8 ตรวจไขมันในเลือดชนิด Total cholesterol & HDL cholesterol
1.9 ตรวจเชื้อไวรัสตับอักเสบ HBsAg
1.10 ตรวจมะเร็งปากมดลูก Pap Smear
1.11 ตรวจมะเร็งปากมดลูก Via
1.12 ตรวจ HPV DNA TEST ชนิด 2 สายพันธุ์ และ 14 สายพันธุ์
1.13 ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง FIT TEST
1.14 เอกซเรย์ปอด Chest X-ray
2.ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และผ่าฟันคุด เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 900 บาท/คน/ปี
3.ใส่ฟันเทียม เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 1,300-4,400 บาท ตามหลักเกณฑ์
4.บาดเจ็บหรือเกิดอุบัติเหตุที่ไม่ใช่จากการทำงาน รักษาฟรีที่โรงพยาบาลตามสิทธิและรับเงินทดแทนขาดรายได้ 50% ของค่าจ้างรายเดือน
5.บาดเจ็บหรือเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากการทำงาน รักษาฟรีที่โรงพยาบาลในความตกลง และรับเงินทดแทนขาดรายได้ 70% ของค่าจ้างรายเดือน
6.กรณีทุพพลภาพ ความสูญเสียรุนแรงเกินร้อยละ 50 รับเงินทดแทนรายเดือนตลอดชีวิต อัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง
7.กรณีทุพพลภาพ ความสูญเสียไม่รุนแรง ตั้งแต่ร้อยละ 35 - 49 รับเงินทดแทนรายเดือน อัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้าง ไม่เกิน 180 เดือน
8.ลาออก / สิ้นสุดสัญญาจ้าง จะได้รับเงินทดแทนในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้าง ไม่เกิน 90 วัน
9.ถูกเลิกจ้าง รับเงินทดแทนในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง ไม่เกิน 180 วัน
นอกจากนี้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2567 ได้ปรับให้รายการตรวจสุขภาพมีความถี่เพิ่มขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับปัจจัยเรื่องอายุและความจำเป็นในการตรวจ เช่น
- อายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจน้ำตาล ไขมันในเลือด การทำงานของไต ตรวจปัสสาวะ รวมถึงการตรวจ X-ray
- การรับบริการด้านทันตกรรม สามารถเข้าใช้บริการดูแลสุขภาพฟันในสถานพยาบาลหรือคลินิก ทั้งของรัฐ เอกชน ได้โดยไม่ต้องนัดหมายล่วงหน้า และเพิ่มรถทันตกรรมเคลื่อนที่เพื่อเพิ่มความสะดวกในการรับบริการทันตกรรม
- เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษาฟรี 72 ชั่วโมง ทั้งในสถานพยาบาลของรัฐและเอกชน
- การปลูกถ่ายไขกระดูก (การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต) สำหรับการรักษามะเร็งโรคเลือด 8 ชนิด สามารถทำการปลูกถ่ายเซลล์ฯ ครอบคลุมทั้งวิธีการปลูกถ่าย โดยใช้เนื้อเยื่อตนเอง เนื้อเยื่อพี่น้องร่วมบิดามารดา และเนื้อเยื่อของผู้บริจาคผ่านสภากาชาดไทยฟรี
- การเข้าถึงการรักษาโรคหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งจำเป็นต้องใช้เครื่อง CPAP โดยจ่ายค่าอุปกรณ์เครื่องอัดอากาศขณะหายใจเข้า (CPAP) และค่าตรวจการนอนหลับ (Sleep test) สำหรับผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาด้วยโรคหยุดหายใจขณะ
วัยชรา
เมื่อผู้ประกันตนเข้าสู่วัยชรา จะได้รับสิทธิประโยชน์ในส่วนของเงินบำเหน็จ บำนาญ และอื่นๆ ดังนี้
1.กรณีรับเงินบำเหน็จ จ่ายเงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน รับเงินกรณีชราภาพในส่วนของผู้ประกันตนเพียงฝ่ายเดียว
2.กรณีรับเงินบำเหน็จ จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ครบ 180 เดือน รับเงินกรณีชราภาพในส่วนของผู้ประกันตน รวมกับเงินสมทบในส่วนของนายจ้าง และผลประโยชน์ตอบแทน
3.กรณีรับเงินบำนาญ จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน รับเงินบำนาญ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย (จ่ายเป็นรายเดือนตลอดชีวิต)
4.กรณีรับเงินบำนาญ จ่ายเงินสมทบมากกว่า 180 เดือน ปรับเพิ่มอัตราเงินบำนาญชราภาพร้อยละ 1.5 / ระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบทุก 12 เดือน
5.ค่าทำศพ รับเงิน 50,000 บาท ทุกกรณี
6.เงินสงเคราะห์การตาย จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 36 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 120 เดือน รับเงินในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย 4 เดือน
7.เงินสงเคราะห์การตาย จ่ายเงินสมทบ 120 เดือนขึ้นไป รับเงินในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย 12 เดือน
สรุป
ดังนั้น ผู้ประกันตน ม.33 อย่าลืมตรวจสอบสิทธิความคุ้มครองที่สำนักงานประกันสังคมจะมีการอัพเดตอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้พลาดสิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนควรจะได้รับผ่านช่องทางออนไลน์สำนักงานประกันสังคม
อ่านบทความน่ารู้เกี่ยวกับภาษีเพิ่มเติม คลิกที่นี่
Source : Inflow Accounting