เครดิตบูโร ชี้ ยอดปรับโครงสร้างหนี้ เม.ย. พุ่ง 9หมื่นล้านบาท​ 1.29แสนบัญชี

เครดิตบูโร ชี้ ยอดปรับโครงสร้างหนี้ เม.ย. พุ่ง 9หมื่นล้านบาท​ 1.29แสนบัญชี

เครดิตบูโร เปิดยอดลูกหนี้เข้าโครงการ ปรับโครงสร้างหนี้ เม.ย.ทะลัก เกือบ​ 9หมื่นล้านบาท​ 1.29แสนบัญชีสินเชื่อ พบแบงก์รัฐยอดขอเข้าปรับโครงสร้างหนี้พุ่ง 6.5หมื่นล้านบาท หรือ​ 6.9หมื่นบัญชี​

นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (เครดิตบูโร) โพสต์เฟซบุ๊กถึง การปรับโครงสร้างหนี้ของครัวเรือนไทยที่ผ่านมาว่า ข้อมูล​ว่าด้วยเรื่องการปรับโครงสร้างหนี้เชิงป้องกัน​ ป้องกันอะไร​ ป้องกันจากการตกชั้นจากบัญชีสินเชื่อที่กล่าวถึงเป็นพิเศษหรือ​ SM​ หรือบัญชีหนี้ที่กำลังจะเสียกลายไปเป็นหนี้เสียหรือ​ NPLs​ นั่นเอง

1.) ในอดีตตั้งแต่ก่อนเกิดการระบาดของ​ covid-19 หรือในระหว่างเกิด​วิกฤติ​ covid-19​ ในกรณีที่​บัญชีสินเชื่อใดก็ตามเริ่มออกอาการค้างชำระ​ อาจจะเป็น​ 1, 2, หรือ​ 3งวด​ หากแต่ยังไม่เกิน​ 90วัน​ มีการเลี้ยงงวดการชำระหนี้แบบไปๆมาๆ​ กลับมาเป็นหนี้ปกติก็ไม่ได้​ แต่ก็ไม่กลายไปเป็นหนี้เสียให้รู้แล้ว​รู้รอด​ การที่ลูกหนี้ร้องขอผ่อนผันและเจ้าหนี้ก็ยอม​ ตกลงกันทำสิ่งที่เรียกว่า​ การปรับโครงสร้างหนี้หรือ​ DR. หรือ​ Debt restructure จะเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงของการตกชั้น

2.) ในช่วงการระบาดของ​ covid-19.ฝั่งเจ้าหนี้ก็เห็นสัญญาณ​การค้างชำระ​ ฝั่งคนกำกับดูแลก็ได้กลิ่นควันไฟ​ ตามคำขวัญ​ "จับควันให้ไว​ ดับไฟให้ทัน​ ป้องกันอย่าให้ลาม" พร้อมกับประเด็นว่าการให้สินเชื่อควรจะมีข้อมูล​มั้ยว่า​ บัญชีสินเชื่อของลูกหนี้​ บัญชีไหนมีการทำ​ DR.บ้าง​ ทางคนให้กู้ก็บอกว่าถ้าไม่รู้ชัดเจน​ จะเกิดความระแวง​ ระมัดระวัง​มาก​ ตั้งการ์ด​สูง​ คนมาขอกู้ก็จะถูกปฎิเสธ​ ควรจะมีการติดรหัสบอกว่า​ บัญชี​นี้มีการทำ​ DR.ฝั่งคนกำกับดูแลก็บอกว่า​ ถ้าคนให้กู้รู้ชัดจากรหัสก็อาจจะรีบปฎิเส​ธการให้สินเชื่อ​ ที่สุดก็คือไม่มีการติดรหัส​ DR. แต่ให้เจ้าหนี้รายงานตรงกับผู้กำกับดูแล​

ดังนั้นข้อมูล​ว่ามีการทำ​ DR.มากน้อย​ เพิ่มขึ้น/ลดลงในช่วงก่อน​ ระหว่าง​ covid-19​ระบาดจึงมีที่เดียว​ ณ​ ริมฝั่งเจ้าพระยา​ มีข้อเรียกร้องจากผมมาตลอดว่าควรเปิดเผย​ โปร่งใส​ ชัดเจนว่า​ ในสถานการณ์​แต่ละช่วงมีการทำ​ DR.ประมาณ​ไหน​ สังคมจะได้เห็นแนวโน้มความหนักเบาและความรุนแรงของปัญหา​

3.) ต่อมาเมื่อมีนโยบาย,มาตรการแก้หนี้ยั่งยืน,การให้กู้อย่างรับผิดชอบ​ ทางการผู้กำกับดูแลได้ตัดสินใจว่า​ บัญชีสินเชื่อใดก็ตามถ้ามีการลงนามในข้อตกลง, ข้อสัญญาการปรับโคร​งสร้างหนี้​ขณะที่ปกติหรือเริ่มค้างชำระ​ แต่การค้างยังไม่เกิน​ 90วัน​ ตั้งแต่​ 1 เมษายน​ 2567​ เป็นต้นไป​

บัญชีสินเชื่อนั้นจะมีการติดรหัสการมีสถานะเป็น​ DR.​ เพื่อให้สถาบันการเงิน​ที่รับใบสมัครสินเชื่อมาแล้วตรวจเครดิตบูโร​ของคนที่มายื่นขอกู้จะเห็นความชัดเจนว่าเจ้าของบัญชีสินเชื่อนั้น​ สถานะปัจจุบัน​เป็นอย่างไร​ มีศักย​ภาพ​ในการชำระหนี้ประมาณ​ไหน​ ควรจะได้สินเชื่อมั้ย

เครดิตบูโร ชี้ ยอดปรับโครงสร้างหนี้ เม.ย. พุ่ง 9หมื่นล้านบาท​ 1.29แสนบัญชี

4.ในเดือนเมษายน​ 2567 ตามกติกาใหม่​ โปร่งใสมากขึ้น​ จากข้อมู​ลสถิติที่ไม่มีตัวตนพบว่า มีการทำ​ DR.เกือบ​ 9หมื่นล้านบาท​ 1.29แสนบัญชีสินเชื่อ Ploan ทำ​ DR.​ 3.8หมื่นล้านบาท​ 5.7หมื่นบัญชี ขณะที่ สินเชื่อบ้าน​ ทำ​ DR.​ 2.9หมื่นล้านบาท​ เกือบ​ 2หมื่นบัญชี​ ข้อมูล​รายละเอียดตามตารางด้านล่างสถาบันการเงินเฉพาะกิจหรือสถาบันการเงิน​ของรัฐทำ​ DR.​ 6.5หมื่นล้านบาทจากทั้งหมด​เกือบ​ 9หมื่น​ล้าน​บาท​ มีจำนวนบัญชีสูงถึง​ 6.9หมื่นบัญชี​ รายละเอียด​ตามตารางข้อมูล​สถิติ

 

5.ข้อมูล​ในตารางถือเป็นหมุดหมายสำคัญในเรื่องความได้ผลสำเร็จ​ของการเร่งปรับโครงสร้าง​หนี้​ก่อนไหลเป็นหนี้เสีย​ ยอดสะสมในเดือนต่อๆไปตั้งแต่ความจริงปรากฎจะบอกได้ว่า​ มาตรการ​ 2ต้อง​ 1ไม่​ ที่กำหนดมาว่า​ เจ้าหนี้เมื่อปล่อย​กู้ไปแล้วต่อมาลูกหนี้ไม่ไหว​ เริ่มค้าง​ ต้องยื่นข้อเสนอทำ​ DR.​ อย่างน้อยหนึ่งครั้ง​ และถ้าไหลไปเป็นหนี้เสียจริง​ ต้องให้โอกาสลูกหนี้ทำ​ TDR.​ อีกอย่างน้อยหนึ่งครั้ง​ รวมทั้งต้องไม่ขายหนี้บัญชี​ดังกล่าวออกไปให้กับ​ AMC.อย่างน้อย​ 60วัน​ มาตรการนี้ไม่ใช่ขอความร่วมมือแบบในอดีต​ แต่เป็นมาตรการบังคับตามกฎหมาย​

6.การทำ​ DR.แบบยื่นข้อเสนอแบบเจ้าหนี้ต้องเสนอลูกหนี้​ มันมาพร้อมกับความเข้มของมาตรฐานการบัญชีที่ระบุว่า​ ในกรณีที่​มีข้อบ่งชี้อย่างมีนัยสำคัญที่เรียกว่า​ SICR.เกิดขึ้นเช่น​ บัญชีสินเชื่อนั้นๆค้างเกิน​ 31วัน​ จะต้องถือว่าบัญชีนั้นเป็น​ SM.​ พอเป็นแล้วจะกลับมาเป็นปกติได้ก็ต้องทำ​ DR. พอได้ทำสัญญาหรือข้อตกลงแล้ว​ ตัวลูกหนี้ก็ต้องหาเงินมาชำระหนี้ตามเงื่อนไข​ DR.​ ติดต่อกันไปอย่างน้อย​ 3งวด​ สถานะจึงจะกลับมาเป็นบัญชีปกติได้​

กติกาที่เปิดเผยข้อมูล​ครบถ้วน​ ทันสมัยมากขึ้น​ การเข้มมาตรฐานทางบัญชีมากขึ้น​ การเข้มข้นการให้สินเชื่อด้วยความรับผิดชอบ​ การระบุการประเมิน​ พิสูจน์​ทราบความมีศักย​ภาพ​ในการหารายได้มาชำระหนี้ตามตารางที่กำหนดขึ้น​ ในเวลานี้​ ในปีพ.ศ. นี้​ ท่านผู้อ่านคิดว่า​ อัตราการเติบโตของสินเชื่อ​ อัตราการอนุมัติสินเชื่อ​ ความเข้มข้น​ ยืดหยุ่น​ ความเจือจาง​ในนโยบายสินเชื่อจะไปในทิศทางไหน​

สุดท้าย​ ความตั้งใจของเราที่ต้องการให้หนี้ครัวเรือน​ไทยมาอยู่ในระดับ​ 80%ของ​ GDP จะเป็นไปได้ในเร็ววันมั้ย​ ถ้าตัวเศษคือหนี้ครัวเรือน​มันวิ่ง​ด้วยอัตราการโต 3-4% ขณะที่ตัวส่วนคือ​ GDP.​ มันวิ่งด้วยความเร็วในการโต​ 2-3% 

เรากำลังกดตัวไหนให้วิ่งช้า​ เรากำลังปั๊มตัวไหนให้วิ่งเร็ว​ หากแต่ว่าถ้าเราๆท่านๆถูกวัดด้วยมาตรฐาน​การประเมินศักยภาพ​ ความสามารถ​ในการหารายได้​ ความสามารถ​ในการชำระหนี้​ ตัวเราๆท่านๆถ้าไปยื่นขอกู้เวลานี้​ กติกาตอนนี้​ ท่านคิดว่าท่านจะได้คำตอบแบบไหน​

ความรู้สึกของหลายท่านที่ได้พบปะพูดคุยด้วยมันบอกว่า​

เราอยู่ในคลื่นลมและพายุทางการเงินระดับเดียวกันครับ​ แต่เราอาจอยู่เรือคนละลำ​ เรือแจว​ เรือจ้าง​ เรือหางยาว​ เรือโป๊ะ​ เรือหาปลา​ เรือรบ​ เรือบรรทุกสินค้า​ เรือบรรทุกเครื่องบิน​ เรือสำราญ​ เรือยอร์ช​ มันจึงมีอัตรารอดที่แตกต่างกัน​ ดังคำพูดของนักเศรษฐศาสตร์​รางวัลโนเบล... Life is unfair หรือว่าชะตาชีวิตเศรษฐกิจ​เราจะอยู่ในมือ​ นักท่องคำภีร์​มากไปแต่ท่องยุทธจักรน้อยไป​ มองไปจึงเห็นชัดเจนแต่​ PowerPoint worriers

เขียนด้วยข้อมูลที่สุจริตใจเป็นที่ตั้ง​ ไม่พอใจ​ จะหาเหตุหาเรื่อง​ ด้วยการใช้อำนาจก็ทำมา​ พร้อมรับและพร้อมรบครับ​ คนที่เคยหัวใจยุดเต้นไป​ 26วิ​ ไม่กลัวอะไรแล้ว