‘รัฐบาล’ ปัญหาใหญ่ ศก. ไทย ลดภาษีเรียกความนิยมอื้อ ทำรายได้หด สวนทางรายจ่าย

‘รัฐบาล’ ปัญหาใหญ่ ศก. ไทย ลดภาษีเรียกความนิยมอื้อ ทำรายได้หด สวนทางรายจ่าย

"ดร.อธิภัทร" เผยช่วงหลายปีที่ผ่านมาหลายรัฐบาลทำนโยบายเอื้อประโยชน์ภาษีอื้อ ทำรายได้ภาครัฐหดสวนทางรายจ่าย ด้าน "ดร.กอบศักดิ์ " ชี้ รัฐบาลคือข้อจำกัดการเติบโตของประเทศ แนะเอกชนจับมือนักวิชาการสร้างอนาคตให้ประเทศ

ตลอดช่วง 30 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยเติบโตในอัตราเร่งที่ชะลอตัวลง โดยทุกครั้งที่เกิดวิกฤติ เศรษฐกิจจะขยายตัวได้น้อยลงเสมอ ดังนั้นเพื่อหาทางออกสู่การดำเนินนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว “สมาคมเศรษฐศาสตร์แห่งประเทศไทย” จัดงานเสวนา “การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจไทยเพื่อเพิ่มอัตราการเติบโตอย่างยั่งยืน”

รัฐบาล 'ปัญหา' ใหญ่เศรษฐกิจไทย

ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานสภาตลาดทุนไทย ฉายภาพใหญ่ของการเติบโตตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของไทยตลอด 30 ปีที่ผ่านมาว่า โตในอัตราที่ถดถอยลงจากระดับ 10 กว่าเปอร์เซ็นต์มาอยู่เพียง 5% ในช่วงวิกฤติการเงินโลกและ 3% ในช่วงที่ผ่านมา และปัจจุบันโตเพียง 1-2% เท่านั้น ซึ่งหากเศรษฐกิจไทยยังเติบโตในลักษณะนี้บทบาทของประเทศไทยในเวทีโลกก็จะน้อยลงไปด้วย

‘รัฐบาล’ ปัญหาใหญ่ ศก. ไทย ลดภาษีเรียกความนิยมอื้อ ทำรายได้หด สวนทางรายจ่าย

เขากล่าวต่อว่า สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เศรษฐกิจไทยไม่โตหรือเติบโตในอัตราเร่งที่แผ่วลงเป็นเพราะไม่ว่ารัฐบาลไหนเข้ามาต่างก็ดำเนินนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อคะแนนเสียงตัวเองซึ่งมักจะเป็นนโยบายที่เน้นระยะสั้นมากกว่าระยะยาว

 

“รัฐบาลคือข้อจำกัดของประเทศ เพราะการเมืองไม่ต่อเนื่อง กระตุ้นเศรษฐกิจสั้นๆ เพราะถ้าไปพูดถึงนโยบายเรื่องเทคโนโลยี เรื่องการพัฒนาคน เป็นเรื่องระยะยาวทั้งสิ้น ทำแล้วไม่ได้คะแนนนิยม เขาเลยไม่ทำ”

ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ดร.กอบศักดิ์ เสนอแนะว่า ในเมื่อรัฐบาลมาแล้วก็ไปไม่อยู่นาน ภาคส่วนในสังคมที่อยู่อย่างถาวรอย่างภาควิชาการและเอกชนควรจับมือกันแล้วสร้างวิสัยทัศน์ของประเทศร่วมกัน “เป็นไปได้ไหมว่าเอกชนกับนักวิชาการ รวมพลังเรียกร้อง หาวิสัยทัศน์ของประเทศไทย ผมว่านี่คือคำตอบประเทศไทย”

“ยกตัวอย่างเช่น ตอนนี้เราต้องการท่าเรือฝั่งตะวันตก แต่ก่อนตะวันออกคือคำตอบ เช่น จีน ไต้หวัน ฮ่องกง เกาหลี และญี่ปุ่น แต่ตอนนี้ตลาดฝั่งตะวันตกของไทย เช่น อินเดียและศรีลังกา กำลังโตขึ้น ซึ่งถ้ารอเพียงรัฐบาลคงไม่ได้ทำ ดังนั้นนักวิชาการและเอกชนอาจมีบทบาทในการผลักดันประเด็นนี้ได้”

การคลังไร้เสถียรภาพ

ด้าน ดร.อธิภัทร มุทิตาเจริญ รองศาสตราจารย์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย กล่าวในมุมมองความท้าทายของภาคการคลังว่า ปัจจุบันเสถียรภาพทางด้านการคลังของประเทศไทยไม่ใช่จุดแข็งของประเทศอีกต่อไปแล้วเพราะกลายไปเป็นดาวน์ไซด์แทน เนื่องจากรัฐบาลไทยขาดดุลทางการคลังสูงกว่ากลุ่มประเทศในระดับความน่าเชื่อถือเดียวันอย่างมาก นั้นหมายความว่าภาระหนี้ของรัฐบาลก็สูงขึ้นตามไป จนกระทั่งเข้าไปเป็นข้อจำกัดของภาครัฐในการดำเนินนโยบายที่เป็นประโยชน์อื่นๆ

‘รัฐบาล’ ปัญหาใหญ่ ศก. ไทย ลดภาษีเรียกความนิยมอื้อ ทำรายได้หด สวนทางรายจ่าย

ดร.อธิภัทร อธิบายถึงความท้าทายทางการคลังทั้งหมด 3 ประการคือ

1. รายได้หด: รายได้ของรัฐบาลเมื่อเทียบกับจีดีพีลดลงอย่างต่อเนื่องและเป็นรายได้ที่เพียงพอแค่การจ่ายหนี้เท่านั้น สาเหตุส่วนใหญ่เป็นเพราะเกือบทุกรัฐบาลที่เข้ามาล้วนทำนโยบายลดภาษีและการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี จนรายได้เข้ารัฐน้อยลงโดยหวังเพียงคะแนนนิยมในช่วงการเลือกตั้งเท่านั้น

‘รัฐบาล’ ปัญหาใหญ่ ศก. ไทย ลดภาษีเรียกความนิยมอื้อ ทำรายได้หด สวนทางรายจ่าย

‘รัฐบาล’ ปัญหาใหญ่ ศก. ไทย ลดภาษีเรียกความนิยมอื้อ ทำรายได้หด สวนทางรายจ่าย

2. รายจ่ายบาน: รายจ่ายของภาครัฐไทยคิดเป็นประมาณ​ 17-18% ของจีดีพี ซึ่งกว่า 70% เป็นรายจ่ายที่ยากต่อการลดทอน เช่นสวัสดิการอย่างค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการ การชำระหนี้ หรือเงินเดือนซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายคงตัว ทั้งหมดเป็นข้อจำกัดทำให้รัฐบาลไม่สามารถทำโครงการใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์

‘รัฐบาล’ ปัญหาใหญ่ ศก. ไทย ลดภาษีเรียกความนิยมอื้อ ทำรายได้หด สวนทางรายจ่าย

 

3. เน้นระยะสั้น: รัฐบาลไทยมักดำเนินนโยบายที่เน้นระยะสั้นเป็นหลักเพื่อหวังคะแนนนิยมหลังการเลือกตั้ง เพราะนโยบายที่เป็นระยะยาวส่วนใหญ่ใช้เวลาและประชาชนมักไม่เห็นผลทันทีในช่วง 4 ปีของการดำรงตำแหน่ง

นโยบายการเงินไทยตึงตัวเกินไป (?)

ขณะที่ ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ประธานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า หากพิจารณาช่วง 2013 – 2021 เงินทุนไหลออกจากประเทศไทยมากถึง 1.1 แสนล้านดอลลาร์หรือคิดเป็นประมาณ 20% ของขนาดจีดีพีไทยในปัจจุบัน ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนว่าคนไทยเสียโอกาสอย่างมากจากเหตุการณ์ครั้งนี้ ซึ่งทั้งหมดสะท้อนให้เห็นว่านโยบายการเงินของประเทศไทยตึงตัวเกินไป

นอกจากนี้ ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมาประเทศไทยพึ่งพาเครื่องจักรทางเศรษฐกิจสองอย่างคือภาคการท่องเที่ยวและส่งออก ทว่าที่ผ่านมาก็เห็นแล้วว่าเครื่องจักรทั้งสองไม่สามารถทำให้เศรษฐกิจไทยกลับไปโตได้ในระดับ 5% ได้แล้ว ดังนั้นก็มีความจำเป็นที่ภาครัฐและหน่วยงานในสังคมต้องเร่งปรับตัวเพื่อรับเทรนด์ในอนาคตที่เปลี่ยนไป

“ที่สำคัญภาคส่วนที่ต้องดูแลมากที่สุดคือการเกษตรกรรม เพราะคิดเป็น 6.4% ของจีดีพี แต่มีแรงงาน 30% ของประเทศอยู่ในภาคส่วนนี้ ดังนั้นจะเห็นว่าจีดีพีต่อคนไม่เยอะ รวมทั้งประสิทธิภาพก็ต่ำ”