‘ดอลลาร์’ อ่อน หนุน ‘เยนญี่ปุ่น’ แข็งค่าทะลุ 140 เยนต่อดอลลาร์

‘ดอลลาร์’ อ่อน หนุน ‘เยนญี่ปุ่น’ แข็งค่าทะลุ 140 เยนต่อดอลลาร์

ดัชนี ‘ดอลลาร์’ อ่อนค่า 0.3% หนุน ‘เยนญี่ปุ่น’ แข็งค่าทะลุ 140 เยนต่อดอลลาร์ พุ่งกว่า 15% จากจุดต่ำสุดในรอบ 38 ปี ด้วย 2 ปัจจัยหนุน คือ ช่วงว่างดอกเบี้ย และกระแสเยนแครี่เทรดลดลง

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานความเคลื่อนไหว “ค่าเงินเยน” ของญี่ปุ่น แข็งค่าขึ้น 0.6% ทะลุระดับ 140 ต่อดอลลาร์เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี  2566  โดยขึ้นไปแข็งค่าสูงสุดที่ระดับ  139.96  เยนต่อดอลลาร์ หลังจาก “ดอลลาร์” อ่อนค่าลง

‘ดอลลาร์’ อ่อน หนุน ‘เยนญี่ปุ่น’ แข็งค่าทะลุ 140 เยนต่อดอลลาร์

ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐของ Bloomberg ร่วงลง 0.3% ในวันนี้ ส่งผลให้ดอลลาร์อ่อนค่าลงมากที่สุดในรอบหลายเดือน ซึ่งถ้าหากร่วงหลุดที่ระดับดังกล่าวจะทำให้ดอลลาร์อ่อนค่าลงต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค. ซึ่งการอ่อนค่าของดอลลาร์ส่งผลให้เยนแข็งค่าขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบหลายเดือน

‘ดอลลาร์’ อ่อน หนุน ‘เยนญี่ปุ่น’ แข็งค่าทะลุ 140 เยนต่อดอลลาร์

เงินเยนแข็งค่าขึ้นกว่า 15% จากระดับที่อ่อนค่ามากสุดในรอบ 38 ปีที่ 161.95 เยนต่อดอลลาร์ เมื่อต้นเดือนก.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งนักลงทุนมองว่าเป็นผลมาจากการคาดการณ์ว่าช่องว่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างสหรัฐ และญี่ปุ่นจะแคบลง

ข้อมูลล่าสุดจาก Fedwatch และ Polymarket ชี้ให้เห็นว่ามีโอกาส 50% ที่เฟดอาจปรับลดดอกเบี้ย 0.5% หรือมากกว่านั้น 

2 ปัจจัยหนุนเยน ‘แข็งค่า’

ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) อาจจะยังไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในวันที่ 20 ก.ย.67 นี้ แต่ผลสำรวจของ Bloomberg ชี้ให้เห็นว่านักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในเดือนธันวาคม การตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% เมื่อเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดความผันผวนในตลาดการเงินทั่วโลกในช่วงต้นเดือนสิงหาคม ในสินทรัพย์ต่างๆ ทั้งสกุลเงิน พันธบัตร และหุ้น ต่างได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายครั้งนี้

นอกจากนโยบายการเงินของ BOJ ที่เปลี่ยนแปลงไปแล้ว การที่นักลงทุนต่างชาติถอนตัวจากกลยุทธ์  “เยนแครี่เทรด” อย่างรวดเร็วก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้เงินเยนแข็งค่าขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยนักลงทุนเหล่านี้ได้เคยกู้เงินเยนในอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อนำไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีผลตอบแทนสูงในประเทศอื่นๆ เมื่อแนวโน้มเปลี่ยนแปลง นักลงทุนเหล่านี้จึงต้องขายเงินเยนออกมาเพื่อชำระหนี้ ส่งผลให้ความต้องการเงินเยนเพิ่มขึ้นและดันให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

อ้างอิง bloomberg1 bloomberg2

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์