ผู้ประกันตนต้องรู้! ลาป่วยเกิน 30 วัน สามารถขอรับเงินจากประกันสังคมได้ด้วย
มีประกันสังคมต้องทราบ สำหรับผู้ประกันตน ม.33 ม.39 และ ม.40 กรณีลาป่วย ต้องขาดงานเกิน 30 วัน สามารถขอรับเงินทดแทนการขาดรายได้ เงื่อนไขเป็นอย่างไร อ่านที่นี่
สำหรับ ผู้ประกันตน ม.33 ม.39 และ ม.40 เมื่อได้รับสิทธิการเป็นผู้ประกันตนแล้ว ย่อมมีสิทธิได้รับค่าส่งเสริมเรื่องสุขภาพและป้องกันโรคภัยต่างๆ รวมถึงความคุ้มครองในความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น แม้ว่าจะไม่สามารถกลับมาปฏิบัติงานได้ในเร็ววัน ทางผู้ประกันตนยังสามารถได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้จากประกันสังคมด้วย
โดยผู้ประกันตนแต่ละมาตรา จะมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขใน การขอเงินทดแทนการขาดรายได้ และ เอกสารขั้นตอนการขอรับเงินทดแทนที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถอธิบายเจาะลึกได้ดังต่อไปนี้
การขอเงินทดแทนการขาดรายได้ ผู้ประกันตนมาตรา ม.33
กรณีที่ผู้ประกันตนมาตรา 33 (ม.33) มีการลาป่วยเกิน 30 วัน ทางประกันสังคมมีเงินทดแทนการขาดรายได้ให้ ซึ่งผู้ประกันตนสามารถเบิกเงินทดแทนการขาดรายได้ได้ โดยมีเงื่อนไขและรายละเอียดดังนี้
1.ต้องส่งเงินสมทบอย่างน้อย 3 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนวันที่เจ็บป่วย
2.รับเงินทดแทนการขาดรายได้ได้ 50% ของเงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาท
3.เบิกได้ไม่เกิน 90 วัน สูงสุดไม่เกิน 180 วัน ยกเว้นโรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน
เอกสารที่ใช้เพื่อขอรับเงินทดแทนการขาดรายได้ สำหรับ ม.33
1.แบบคำขอประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01)
2.บัตรประจำตัวประชาชน
3.สำเนาบัตรประกันสังคม (ต่างชาติ/ต่างด้าว)
4.สำเนาหนังสือเดินทาง (Passport) หรือสำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราว หรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้ (ต่างชาติ/ต่างด้าว)
5.ใบรับรองแพทย์ตัวจริงที่ระบุวันหยุดงาน
6.หนังสือรับรองของนายจ้าง
7.สถิติวันลาป่วยที่เกี่ยวข้อง
8.กรณีเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลให้แนบสำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลด้วย
9.สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร ประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อและเลขที่บัญชี
การขอเงินทดแทนการขาดรายได้ ผู้ประกันตนมาตรา 39
กรณีที่ผู้ประกันตนมาตรา 39 (ม.39) มีการลาป่วยเกิน 30 วัน ทางประกันสังคมมีเงินทดแทนการขาดรายได้ให้ ซึ่งผู้ประกันตนสามารถเบิกเงินทดแทนการขาดรายได้ได้ โดยมีเงื่อนไขและรายละเอียดดังนี้
1.ต้องส่งเงินสมทบอย่างน้อย 3 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนวันที่เจ็บป่วย
2.รับเงินทดแทนการขาดรายได้ได้ 50% คิดจากอัตราการนำส่งเงินสมทบ 4,800 บาท
3.เบิกได้ไม่เกิน 90 วัน สูงสุดไม่เกิน 180 วัน ยกเว้นโรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน
เอกสารที่ใช้เพื่อขอรับเงินทดแทนการขาดรายได้ สำหรับ ม.39
1.แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01)
2.บัตรประจำตัวประชาชน
3.สำเนาบัตรประกันสังคม (ต่างชาติ/ต่างด้าว)
4.สำเนาหนังสือเดินทาง (Passport) หรือสำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราว หรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้ (ต่างชาติ/ต่างด้าว)
5.ใบรับรองแพทย์ตัวจริงที่ระบุวันหยุดงาน
6.กรณีเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลให้แนบสำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลด้วย
7.สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อและเลขที่บัญชี
การขอเงินทดแทนการขาดรายได้ ผู้ประกันตนมาตรา 40
กรณีผู้ประกันตนมาตรา 40 (ม.40) มีการลาป่วยเกิน 30 วัน ทางประกันสังคมมีเงินทดแทนการขาดรายได้ให้ ซึ่งผู้ประกันตนสามารถเบิกเงินทดแทนการขาดรายได้ได้ โดยมีเงื่อนไขคือต้องส่งเงินสมทบมาแล้วอย่างน้อย 3 เดือน ภายในระยะเวลา 4 เดือน และมีรายละเอียดดังนี้
ผู้ป่วยใน
- ทางเลือกที่ 1 รับเงินทดแทน 300 บาท / วัน
- ทางเลือกที่ 2 รับเงินทดแทน 300 บาท / วัน
- ทางเลือกที่ 3 รับเงินทดแทน 300 บาท / วัน
ผู้ป่วยนอกที่พักรักษาตัว
- ทางเลือกที่ 1 รับเงินทดแทน 200 บาท / วัน
- ทางเลือกที่ 2 รับเงินทดแทน 200 บาท / วัน
- ทางเลือกที่ 3 รับเงินทดแทน 200 บาท / วัน
ผู้ป่วยนอกที่ไม่ต้องพักฟื้นรักษาตัว
- ทางเลือกที่ 1 รับเงินทดแทน 50 บาท / วัน
- ทางเลือกที่ 2 รับเงินทดแทน 50 บาท / วัน
- ทางเลือกที่ 3 ไม่ได้รับเงินทดแทน
ทั้งนี้ หากเป็นทางเลือกที่ 1 และ 2 สามารถรับเงินได้สูงสุด 30 วัน ส่วนทางเลือกที่ 3 สามารถรับเงินได้สูงสุด 90 วัน
เอกสารที่ใช้เพื่อขอรับเงินทดแทนการขาดรายได้ สำหรับ ม.40
1.แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนผู้ประกันตน ม.40 (สปส.2-01/ม.40)
2.บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง พร้อมสำเนา
3.ใบรับรองแพทย์ตัวจริง หรือสำเนาเวชระเบียน (ต้องให้เจ้าหน้าที่เวชระเบียนเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง พร้อมประทับตราสถานพยาบาล)
4.สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อและเลขที่บัญชี
สรุป...ขั้นตอนการยื่นขอเงินทดแทนลาป่วยเกิน 30 วัน
ผู้ประกันตนที่ลาป่วยเกิน 30 วัน ก่อนจะยื่นขอรับเงินทดแทนการขาดรายได้จากประกันสังคม จะต้องเตรียมเอกสารที่กำหนดให้ครบ และตรวจสอบเอกสารให้ถูกต้องครบถ้วน
จากนั้นสามารถยื่นเอกสารได้ 2 ช่องทาง คือยื่นเอกสารที่สำนักงานประกันสังคม กรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ทั่วประเทศ หรือส่งเอกสารทางไปรษณีย์ไปยังสำนักงานประกันสังคม จากนั้นรอรับเงิน ผ่านช่องทางต่างๆ ที่ผู้ประกันตนได้ยื่นข้อมูลไว้
โดยสามารถเช็กเอกสารสำหรับผู้ประกันตนแต่ละมาตราได้ที่เว็บไซต์ sso
อ่านบทความน่ารู้เกี่ยวกับภาษีเพิ่มเติม คลิกที่นี่
Source : Inflow Accounting