เตรียมยื่นภาษี รู้หรือไม่ เงินที่คุณได้รับแบบไหนได้ 'ยกเว้นภาษี'

เตรียมยื่นภาษี รู้หรือไม่ เงินที่คุณได้รับแบบไหนได้ 'ยกเว้นภาษี'

รู้หรือไม่ รายได้และเงินที่ได้รับอีกหลายประเภทที่ได้ "ยกเว้นภาษี" รายได้จากการทำงาน และเงินที่ได้รับอื่นๆ มีกรณีไหนบ้างที่ได้รับยกเว้นภาษี ซึ่งสามารถสรุปรายได้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลธรรมดามาไว้ที่นี่

แม้ว่ากฎหมายจะกำหนดให้ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องยื่นและเสียภาษีหากรายได้ถึงเกณฑ์กำหนด ไม่ว่าจะเป็นรายได้จากการทำงานประจำ ฟรีแลนซ์ อาชีพอิสระ รวมถึงเงินที่ได้รับกรณีอื่นๆ ผู้ได้รับจำเป็นต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีด้วย

แต่ก็มีรายได้และเงินที่ได้รับอีกหลายประเภทเลยทีเดียวที่ได้ยกเว้นภาษี โดยผู้ได้รับเงินเหล่านี้ไม่ต้องนำมารวมเพื่อคำนวณภาษี

ดังนั้น เราไปดูกันว่ารายได้จากการทำงาน และเงินที่ได้รับอื่นๆ มีกรณีไหนบ้างที่ได้รับยกเว้นภาษี ซึ่งสามารถสรุปรายได้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลธรรมดามาไว้ได้ดังนี้

1.ค่าเบี้ยเลี้ยง หรือค่าพาหนะ ซึ่งลูกจ้าง หรือผู้รับหน้าที่หรือตำแหน่งงาน หรือผู้รับทำงานให้ได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติการตามหน้าที่ของตนและได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น

2.ค่าพาหนะและเบี้ยเลี้ยงสำหรับเดินทาง ตามอัตราที่รัฐบาลกำหนดไว้โดยพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยอัตราค่าพาหนะและเบี้ยเลี้ยงเดินทาง

3.เงินค่าเดินทางซึ่งนายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเฉพาะส่วนที่ลูกจ้างได้จ่ายทั้งหมด โดยจำเป็นเพื่อการเดินทางจากต่างถิ่นในการเข้ารับงานเป็นครั้งแรก หรือในการกลับถิ่นเดิมเมื่อการจ้างได้สิ้นสุดลงแล้ว แต่ข้อยกเว้นนี้ไม่รวมถึงค่าเดินทางที่ลูกจ้างได้รับในการกลับถิ่นเดิม และในการเข้ารับงานของนายจ้างเดิมภายใน 365 วัน นับแต่วันที่การจ้างครั้งก่อนได้สิ้นสุดลง

4.ในกรณีที่นายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญากันโดยสุจริตก่อนใช้พระราชบัญญัติภาษีเงินได้พุทธศักราช 2475 มีข้อกำหนดว่านายจ้างจะชำระเงินบำเหน็จ เงินค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า หรือเงินโบนัสให้แก่ลูกจ้างเป็นจำนวนเดียวเมื่อการงานที่จ้างได้สิ้นสุดลงแล้ว แม้เงินเต็มจำนวนนั้นจะได้ชำระภายหลังที่ใช้บทบัญญัติในส่วนนี้ก็ดี เงินบำเหน็จ เงินค่าธรรมเนียม เงินค่านายหน้า หรือเงินโบนัสส่วนที่เป็นค่าจ้างแรงงานอันได้ทำในเวลาก่อนใช้พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ พุทธศักราช 2475 นั้น ไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้

เตรียมยื่นภาษี รู้หรือไม่ เงินที่คุณได้รับแบบไหนได้ \'ยกเว้นภาษี\'

5.เงินได้จากการขาย หรือส่วนลดจากการซื้ออากรแสตมป์ หรือแสตมป์ไปรษณียากรของรัฐบาล

6.ดอกเบี้ย ดังต่อไปนี้

6.1 ดอกเบี้ยสลากออมสินหรือดอกเบี้ยเงินฝากของรัฐบาลเฉพาะประเภทฝากเผื่อเรียก
6.2 ดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ที่ได้รับจากสหกรณ์
6.3 ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักรที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์ เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ได้รับดอกเบี้ยดังกล่าวในจำนวนกันทั้งสิ้นไม่เกิน 10,000 บาท ตลอดปีภาษีนั้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด

7.การขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดก หรือสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยไม่ได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร แต่ไม่รวมถึงเรือกำปั่น เรือที่มีระวางตั้งแต่ 6 ตันขึ้นไป เรือกลไฟ หรือเรือยนต์ที่มีระวางตั้งแต่ 5 ตันขึ้นไปหรือแพ

8.เงินได้ที่ได้รับจากการรับมรดก

9.รางวัลเพื่อการศึกษาหรือค้นคว้าในวิทยาการ รางวัลสลากกินแบ่ง หรือสลากออมสินของรัฐบาล รางวัลที่ทางราชการจ่ายให้ในการประกวดหรือแข่งขัน ซึ่งผู้รับไม่ได้มีอาชีพในการประกวดหรือแข่งขัน หรือสินบนรางวัลที่ทางราชการจ่ายให้เพื่อประโยชน์ในการปราบปรามการกระทำความผิด

เตรียมยื่นภาษี รู้หรือไม่ เงินที่คุณได้รับแบบไหนได้ \'ยกเว้นภาษี\'

10.บำนาญพิเศษ บำเหน็จพิเศษ บำนาญตกทอด หรือบำเหน็จตกทอด

11.ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด เงินที่ได้จากการประกันภัย หรือการฌาปนกิจสงเคราะห์

12.เงินส่วนแบ่งของกำไรจากห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล ซึ่งต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ แต่ไม่รวมถึงเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกองทุนรวม

13.เงินได้ของชาวนาที่ได้จากการขายข้าวอันเกิดจากกสิกรรมที่ตน และ/หรือครอบครัวได้ทำเอง

14.เงินได้ที่ได้รับจากกองมรดกซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ไว้ในนามกองมรดกแล้ว

15.รางวัลสลากบำรุงกาชาดไทย เงินได้จากการขายหรือส่วนลดจากการซื้อสลากบำรุงกาชาดไทย

16.ดอกเบี้ยที่ได้รับจากการคืนเงินภาษีอากรตามประมวล

17.เงินประโยชน์ทดแทนที่ผู้ประกันตนได้รับจากกองทุนประกันสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม

เตรียมยื่นภาษี รู้หรือไม่ เงินที่คุณได้รับแบบไหนได้ \'ยกเว้นภาษี\'

18.เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่บุตรชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม เฉพาะเงินได้จากการโอนให้แก่บุตรชอบด้วยกฎหมายนั้นในส่วนที่ไม่เกิน 20 ล้านบาทต่อบุตรหนึ่งคนตลอดปีภาษีนั้น

19.เงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะหรือจากการให้โดยเสน่หาจากบุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรสเฉพาะเงินได้ในส่วนที่ไม่เกิน 20 ล้านบาทตลอดปีภาษีนั้น

20.เงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยาหรือจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี ทั้งนี้ จากบุคคลซึ่งไม่ใช่บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือผู้สมรสเฉพาะเงินได้ในส่วนที่ไม่เกิน 10 ล้านบาทตลอดปีภาษีนั้น

21.เงินได้ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หาที่ผู้ให้แสวงเจตนาหรือเห็นได้ว่ามีความประสงค์ให้ใช้เพื่อประโยชน์ในกิจการศาสนา กิจการศึกษา หรือกิจการสาธารณประโยชน์ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

22.เงินได้จากการจำหน่าย หรือส่วนลดจากการจำหน่ายสลากกินแบ่งของรัฐบาล 

23.เงินได้ที่เป็นค่ารักษาพยาบาลที่นายจ้างจ่ายให้ หรือจ่ายแทนลูกจ้างเป็นค่ารักษาพยาบาลสำหรับ

23.1 ลูกจ้าง สามี ภรรยา บุพการีหรือผู้สืบสันดาน ซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของลูกจ้าง ทั้งนี้ เฉพาะสำหรับการรักษาพยาบาลที่กระทำในประเทศไทย

23.2 ลูกจ้างในกรณีที่จำเป็นต้องได้รับการรักาพยาบาลในต่างประเทศในขณะที่ปฏิบัติการตามหน้าที่ในต่างประเทศเป็นครั้งคราว

24.เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หาที่ตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร เทศบาล สุขาภิบาล หรือเมืองพัทยา หรือการปกครองท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายของตนโดยไม่มีค่าตอบแทน บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมด้วย

25.ดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

26.เงินได้จากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แต่ไม่รวมถึงเงินได้จากการขายหลักทรัพย์ที่เป็นหุ้นกู้หรือพันธบัตร

27.เงินค่าทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ เฉพาะที่ดินที่ต้องเวนคืนและอสังหาริมทรัพย์อื่นบนที่ดินที่ต้องเวนคืน

28.เงินได้ที่คำนวณได้จากมูลค่าของเครื่องแบบ ซึ่งลูกจ้างได้รับจากนานยจ้างในจำนวนคนละไม่เกิน 2 ชุด/ปี และเสื้อนอกในจำนวนนละไม่เกิน 1 ตัว/ปี

29.เงินได้เท่าที่ลูกจ้างจ่ายเป็นเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าจ้างเฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 490,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2551 เป็นต้นไป

30.เงินได้ที่ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยและมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ในปีภาษี ได้รับเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 190,000 บาท ในปีภาษีนั้น ทั้งนี้ สำหรับเงินได้ที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2548 เป็นต้นไป โดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด

31.เงินได้ที่ผู้มีเงินได้เป็นคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยและมีอายุไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์ในปีภาษีได้รับเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 190,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2553 เป็นต้นไป และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด

สรุป...ยังมีรายได้และเงินอื่นๆ ที่ได้ยกเว้นภาษีอีกเพียบ
​นอกจากรายได้และเงินที่บุคคลธรรมดาได้รับ ไม่ต้องนำมารวมเพื่อคำนวณภาษีตามที่ได้สรุปไปแล้วนั้น ยังมีเงินได้ลักษณะอื่นๆ อีก ซึ่งหากใครเช็กแล้วยังไม่พบรายได้ที่ตรงกับตนเอง สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่กรมสรรพากร

 

อ่านบทความน่ารู้เกี่ยวกับภาษีเพิ่มเติม คลิกที่นี่
Source : Inflow Accounting