ไม่ผิดหวัง! หุ้นน้องใหม่ CHAO เปิดเทรดวันแรกเหนือจอง 25.42% จาก IPO 11.80 บาท พบเซียนหุ้น - กลุ่มบีทีเอส เข้าถือหุ้นใหญ่
หุ้นน้องใหม่ CHAO เทรดวันแรกเหนือจอง 25.42% IPO 11.80 บาท เซียนหุ้น ถือหุ้นใหญ่ และกลุ่มบีทีเอส 'คีรี กาญจนพาสน์' ได้รับการจัดสรรหุ้น IPO ที่เสนอขายเช่นกัน
ความเคลื่อนไหวตลาดหุ้นไทยภาคเช้า ณ วันที่ 9 ก.ค.2567 เวลา 10.00 น.หุ้นน้องใหม่ CHAO หรือ บริษัท เจ้าสัว ฟู้ดส์ อินดัสทรี จำกัด (มหาชน) เปิดเทรดวันแรก เหนือจองพุ่ง 25.42% หรือเพิ่มขึ้น 3.00 บาท หรือระดับราคาอยู่ที่ 14.80 บาท จาก IPO ที่ 11.80 บาท
สำหรับกำไรสุทธิ
ปี 2563 อยู่ที่ 113.80 ล้านบาท
ปี 2564 อยู่ที่ 64.40 ล้านบาท
ปี 2565 อยู่ที่ 86.60 ล้านบาท
ปี 2566 อยู่ที่ 161.61 ล้านบาท
ไตรมาส 1/67 อยู่ที่ 26.67 ล้านบาท
รายได้จาการขาย
ปี 2563 อยู่ที่ 1,088.60 ล้านบาท
ปี 2564 อยู่ที่ 1,135.10 ล้านบาท
ปี 2565 อยู่ที่ 1,413.60 ล้านบาท
ปี 2566 อยู่ที่ 1,511.07 ล้านบาท
ไตรมาส 1/67 อยู่ที่ 344.03 ล้านบาท
EBITDA
ปี 2563 อยู่ที่ 171.10 ล้านบาท
ปี 2564 อยู่ที่ 117.60 ล้านบาท
ปี 2565 อยู่ที่ 154.10 ล้านบาท
ปี 2566 อยู่ที่ 235.25 ล้านบาท
ไตรมาส 1/67 อยู่ที่ 41.14 ล้านบาท
นอกจากครอบครัวเข้าถือหุ้นใหญ่แล้ว ยังพบว่า มีนักลงทุนรายใหญ่ และสถาบันเข้าถือหุ้น CHAO ดังนี้
ลำดับ 5 นาย สถาพร งามเรืองพงศ์ จำนวน 6,050,000 หุ้น สัดส่วน 2.02%
ลำดับ 10 กองทุนเปิด เค Mid Small Cap หุ้นทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ จำนวน 3,053,200 หุ้น สัดส่วน 1.02%
ลำดับ 11 นาย สมพงษ์ ชลคดีดำรงกุล จำนวน 2,433,300 หุ้น สัดส่วน 0.81%
ลำดับ 12 นาย นเรศ งามอภิชน จำนวน 2,000,000 หุ้น สัดส่วน 0.67%
ขณะเดียวกัน พบว่า บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)หรือ BTS ได้รับจัดสรรหุ้น IPO จำนวน 1 ล้านหุ้น สัดส่วน 1.14% ของหุ้น IPO และ นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ BTS ได้รับจัดสรรหุ้น IPO จำนวน 8.5 แสนหุ้น สัดส่วน 0.97% ของหุ้น IPO ที่เสนอขายหุ้นทั้งหมดเช่นกัน
กฤตวิทย์ รัตนะกนกชัย นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า คาดกำไรสุทธิปี 2567 ที่ 206 ล้านบาท หรือ +27.8% YoY เป็นระดับสูงสุดใหม่ โดยมีปัจจัยบวกหลักจากการเติบโตของรายได้ที่คาดที่ 1,699 ล้านบาท หรือ +13.8% YoY หลังบริษัทจะกลับไปเพิ่ม Distributorช่องทำง TT มากขึ้น เจาะช่องทาง MT เพิ่มขึ้น รวมถึงขยายช่องทางใหม่ ๆ เพิ่มเติม ซึ่งคาดสินค้าของบริษัทจะได้อำนิสงส์จากภาคการท่องเที่ยวในประเทศที่ฟื้นตัว ขณะที่การส่งออกคาดยังเติบโตได้ดี
ต่อเนื่อง ประกอบกับแผนการออกสินค้าใหม่ของบริษัทไม่ต่ำกว่ำ 15 – 20 SKUs ซึ่งจะช่วยชดเชย GPM ที่คาดจะปรับลดลงเป็น 36.6% เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบหมูที่คาดจะปรับขึ้น YoY และค่าแรงขั้นต่ำที่สูงขึ้น
และในปี 2568 คำดกำไรจะเติบโตได้ต่อเนื่อง คาดที่ 256 ล้านบาท หรือ +23.8% YoY จากการเติบโตของทั้งรายได้ที่จะสูงขึ้นตามกลยุทธ์การเติบโตของบริษัททั้งขยายช่องทางจัดจำหน่าย และการส่งออก และ GPM ที่คำดฟื้นตัวหลังประสิทธิภำพกำรผลิตจะดีขึ้นตำม Economies of scale และการลงทุนในระบบ Automation ประกอบกับค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการ IPO จะสิ้นสุดลง
ทั้งนี้ ฐานะการเงินแข็งแกร่งหลัง IPO และมีแผนในการขยายกำลังการผลิตเป็น Upside ทั้งนี้ CHAO จะมีภาระหนี้สินลดลงภายหลังการ IPO รวมถึงมีฐานะเป็น Net Cash Company สะท้อนฐานะการเงินที่แข็งแกร่งซึ่งเพิ่มโอกาสให้บริษัทมีความสามารถในการเติบโตแบบ Inorganic ผ่านการทำดีล M&A ซึ่งจะเป็น Upside ต่อประมาณการกำไร
โดยประเมินมูลค่าเหมาะสม CHAO อิงวิธี PER ที่ 23.3 เท่า ซึ่งให้ Premium สูงกว่า TKN เนื่องจาก CHAO มี GPM ที่สูงกว่า รวมถึงมีแนวโน้มการเติบโตของผลประกอบการที่สูงกว่าจากฐานกำไรที่ยังไม่ใหญ่ทำให้มีโอกาสในการเติบโตอีกมาก แต่ยังเป็นระดับที่ต่ำกว่า SNNP ที่ใช้ PER ที่ 29.1 เท่า ได้ราคาเหมาะสมสิ้นปี 2567 ที่ 16.00 บาท ไม่รวม Upside จากการทำ M&A
บล.เมย์แบงก์ (ประเทศไทย)ระบุว่า ยอดขายกลุ่มขนมขบเคี้ยวที่เพิ่มขึ้น 15% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากยอดขายข้าวตัง ขนมขบเคี้ยวแปรรูปจากเนื้อหมูและแครกเกอร์ธัญพืชเพิ่มขึ้นจากการออกสินค้าใหม่ รวมไปถึงการขยายช่องทางการขายและการส่งออกเพิ่มขึ้น ทำให้คาดการณ์ยอดขายปี 2567 เพิ่มขึ้น 14% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ทั้งนี้ บริษัทมีฐานะการเงินยังคงแข็งแกร่งเป็นเงินสูดสุทธิ คาดการณ์กำไร (CAGR) ช่วง 3 ปี (2566-2569) อยู่ที่ 17.3% จากการเติบโตของตลาดขนมขบเคี้ยว การขยายกำลังการผลิตและการขยายช่องทางขาย ทั้งนี้ให้ราคาเป้าหมายที่เหมาะสมอยู่ที่ 16.70 บาท
โดยยอดขายผลิตภัณฑ์อาหารคาดเพิ่มขึ้น 12% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนจากการเพิ่มขึ้นของผู้จัดจำหน่ายสินค้าผ่านทางช่องทางร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม ขณะที่ต้นทุนวัตถุดิบลดลงจากการที่ราคาเนื้อหมูปรับตัวลง ซึ่งประเมินว่ากำไรจะเพิ่มขึ้น 29% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่านอยู่ที่ 208 ล้านบาท
พงศ์ศักดิ์ พฤกษ์ไพศาล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน และผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย เปิดเผยว่า เจ้าสัว ทำธุรกิจผลิตและจำหน่ายขนมขบเคี้ยวและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อสัตว์ โดยบริษัทฯ ถือเป็นผู้นำในกลุ่มขนมขบเคี้ยวไทยรูปแบบใหม่ รวมทั้งตลาดข้าวตังและตลาดขนมขบเคี้ยวแปรรูปจากเนื้อหมู
ทั้งนี้ เมื่ออ้างอิงข้อมูลรายงานภาวะอุตสาหกรรมของ Frost & Sullivan ในปี 2565 กลุ่มบริษัทฯ มีส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นอันดับ 1 ทั้งในตลาดข้าวตังและตลาดขนมขบเคี้ยวแปรรูปจากเนื้อหมู โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาดที่ 78.5% และ 57.2% ตามลำดับ โดยกำหนดราคาเสนอขาย IPO ที่ 11.80 บาทต่อหุ้น
ณภัทร โมรินทร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ้าสัว ฟู้ดส์ อินดัสทรี จำกัด (มหาชน) หรือ CHAO กล่าวว่า บริษัทฯ มีแผนลงทุนเพื่อรองรับการขยายธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ คือ ก่อสร้างโรงงานโฮลซัมแห่งที่ 2 รวมทั้งลงทุนซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์เพื่อรองรับการผลิต เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตของผลิตภัณฑ์ภายใต้โรงงานโฮลซัม ประมาณ 2,000 ตันต่อปี รองรับการขยายตลาดส่งออกในต่างประเทศในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่เนื้อหมู
รวมถึง ขยายกำลังการผลิตกลุ่มผลิตภัณฑ์ภายใต้โรงงานโฮลซัม โดยเพิ่มกำลังการผลิตของผลิตภัณฑ์ประมาณ 770 ตันต่อปี และเพิ่มกำลังการผลิตข้าวตังดิบประมาณ 600 ตันต่อปี รวมทั้งผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวจากเนื้อสัตว์ทะเลประมาณ 600 ตันต่อปี
และพัฒนาระบบอัตโนมัติ และการปรับปรุงระบบควบคุมคุณภาพ เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต และช่วยลดจำนวนพนักงานฝ่ายผลิต อาทิ เครื่องบรรจุอัตโนมัติ เป็นต้น รวมทั้งพัฒนาโปรแกรมสำหรับจัดการทางด้านคำสั่งซื้อขายและระบบโลจิสติกส์ และพัฒนาไลน์การผลิตสินค้าแครกเกอร์ธัญพืชให้เป็นแบบอัตโนมัติทั้งไลน์สำหรับโรงงานโฮลซัม และระบบตู้อบต่อเนื่องสำหรับสินค้าหมูแท่งสำหรับโรงงานเจ้าสัว
สำหรับรายได้จากการส่งออกในปี 2564 2565 และ 2566 อยู่ที่ 216.2 ล้านบาท 343.6 ล้านบาท และ 413.3 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นอัตราการเติบเฉลี่ยที่ 38.26% จากการเริ่มส่งออกขนมขบเคี้ยวแปรรูปจากหนังปลาไปยังประเทศจีน รวมถึงมีการส่งออกผลิตภัณฑ์แครกเกอร์ธัญพืช ภายใต้แบรนด์ “โฮลซัม” ให้กับห้างสรรพสินค้าที่มีเครือข่ายสาขาจำนวนมากในต่างประเทศ