ซีอีโอ ‘เอเชีย เวลท์’ ยื่นลาออก! ปมนำเงินลูกค้าจ่ายค่าหุ้น MORE
ซีอีโอ บล.เอเชีย เวลท์ ยื่นลาออก หลังถูก ก.ล.ต. สั่งพักการดำเนินงานชั่วคราว เนื่องจากตรวจพบนำเงินลูกค้าจ่ายค่าหุ้น MORE โดยไม่ได้รับความยินยอม และทำให้ดีลขายกิจการสะดุดลง
ยังคงส่งผลกระทบเป็นวงกว้างสำหรับกรณีการซื้อขายหุ้น บริษัท มอร์ รีเทิร์น จำกัด (มหาชน) หรือ MORE ล่าสุด CEO ของ บริษัทหลักทรัพย์(บล.) เอเชีย เวลท์ จำกัด ประกาศลาออกจากตำแหน่ง เป็นที่เรียบร้อย
หลังจากที่คณะกรรมการตลาดทุน(ก.ต.ท.) ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) มีคำสั่งให้ บล.เอเชีย เวลท์ หยุดให้บริการเป็นการชั่วคราว เนื่องจากตรวจพบว่า บริษัทได้นำเงินของลูกค้าที่อยู่ในความครอบครองของบริษัทไปชำระเป็นค่าซื้อหุ้น MORE กับสำนักหักบัญชี(TCH) โดยลูกค้าไม่ได้มีคำสั่งหรือยินยอมให้ดำเนินการดังกล่าวเป็นเงินจำนวน 157.99 ล้านบาท ซึ่งการดำเนินงานลักษณะนี้อาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทได้
กรณีดังกล่าวทำให้ นายชนะชัย จุลจิราภรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล.เอเชีย เวลท์ ตัดสินใจลาออก โดยเขาได้ส่งจดหมายถึงพนักงาน บล.เอเชีย เวลท์ โดยระบุว่า
“ผมดีใจและยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสร่วมงานกับทุกๆ ท่าน บางคนผมรู้จักแล้ว บางคนก็ยังไม่พบปะ เสียดายที่ยังไม่รู้จักทุกคน ผมตั้งใจเมื่อ Deal การซื้อขายกิจการจบจะไปพบทุกๆ คน และทุกสาขาที่บริษัทเรามี แต่ด้วยจังหวะที่ไม่ดีมีกรณีหุ้น MORE เข้ามาจนเราถูกระงับการทำธุรกรรมด้านหลักทรัพย์ชั่วคราว จนเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้ Deal สะดุด และยกเลิกไป ผมรู้ว่าบริษัทเราเจอปัญหาต่างๆ มากมาย ผมเข้าแก้ปัญหาไปได้เยอะจนบริษัทเราเกือบจะมีความสามารถในการแข่งขันที่ดี และพยายามเอาธุรกิจต่างๆ เข้ามาให้เราได้เสนอบริการต่อลูกค้า และตั้งใจที่จะให้บริษัทเราเป็นบริษัทที่เป็น Unity กัน และมีบรรยากาศการทำงานที่ดี เป็นบริษัทที่คนอยากเข้ามาทำงาน ลูกค้าอยากใช้บริการ บริษัทมีผลประกอบการที่ดี และพนักงานมีสวัสดิการที่ดี
อย่างไรก็ตาม ตลอดเวลาที่ผ่านมา ผมภูมิใจ และดีใจที่ได้ร่วมงานกับทุกคน ทำให้ได้เรียนรู้สิ่งดีๆ มากมาย แต่เสียใจที่เวลาทำงานร่วมกันต้องสิ้นสุดลง แต่เป็นความทรงจำดีๆ ที่ผมจะจดจำตลอดไป และผมขออวยพรให้เพื่อนๆ พนักงานทุกท่านจงประสบความสำเร็จในการทำงาน และมีความสุขกับชีวิตครอบครัวทุกๆ คนนะครับ
สุดท้ายผมต้องขอขอบคุณบริษัท ผู้ถือหุ้น กรรมการ และพนักงานทุกท่านอีกครั้งที่ได้ให้โอกาสได้เข้ามาทำงาน ณ บล.เอเชีย เวลทธ์ จำกัด และขอให้บริษัท และทุกท่านประสบความสำเร็จอย่างที่หวังทุกๆ อย่างนะครับ”
19 พ.ย.65
‘ดาโอ’ ปัดข่าว
ทุนเกาหลีใต้เตรียมขายทิ้ง
แต่ยอมรับมี 3-4 รายสนซื้อหุ้นในไทย
“ดาโอ” ปัดข่าวกลุ่มทุนเกาหลีใต้ขายกิจการในไทย แต่ยอมรับมีสถาบันการเงินในเกาหลีใต้ 3-4 รายสนใจซื้อหุ้นกลุ่มธุรกิจการเงินดาโอในไทย พร้อมยืนยันฐานะการเงินยังแข็งแกร่ง และยังได้รับการสนับสนุนจากบริษัทแม่ตลอดมา
ดร.วิน อุดมรัชตวนิชย์ ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มธุรกิจการเงิน ดาโอ (ประเทศไทย) ส่งจดหมายเวียนถึงเพื่อนพนักงานและกลุ่มธุรกิจการเงิน ดาโอ (ประเทศไทย) โดยระบุถึงกระแสข่าวลือเรื่องกลุ่มทุนเกาหลีใต้เตรียมถอนทุนว่า
ตามที่สำนักข่าว Bloomberg และข่าวหุ้น ได้นำเสนอข่าวว่า DAOL Investment & Securities ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ บริษัท ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)หรือ กลุ่มธุรกิจการเงิน ดาโอ (ประเทศไทย) จะทำการขายกิจการในประเทศไทยนั้น บริษัทขอชี้แจงว่าไม่เป็นความจริง
แต่อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ช่วงไตรมาส 3 ที่ผ่านมา มีสถาบันการเงินชั้นนำในเกาหลีใต้ 3-4 บริษัท ที่มีฐานเงินทุนแข็งแกร่ง และมีศักยภาพสูง ซึ่งแต่ละรายมีส่วนของทุนมากกว่า 200,000 ล้านบาทขึ้นไป แสดงความสนใจที่จะทำธุรกิจตลาดทุนในไทย เนื่องจากมองว่าเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูง และแสดงความสนใจจะเข้าซื้อ กลุ่มธุรกิจการเงิน ดาโอ (ประเทศไทย) ผ่านทาง บริษัทแม่ DAOL Investment & Securities ซึ่งขณะนี้ อยู่ระหว่างการเจรจาตกลงกัน หากมีข้อตกลงที่ชัดเจนแล้ว ทางบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบอีกครั้ง
ทั้งนี้ขั้นตอนต่างๆ ในประเทศเกาหลีใต้ จะไม่กระทบกับความมั่นคงของบริษัท และการประกอบธุรกิจแต่อย่างใด อีกทั้งฐานะทางการเงินของกลุ่มธุรกิจการเงิน ดาโอ (ประเทศไทย) และบริษัทในเครือ ยังคงมีความแข็งแกร่ง และบริษัทยังคงได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากบริษัทแม่ คือ DAOL Investment & Securities ประเทศเกาหลีใต้ตลอดมา
………
เรียกว่าสร้างความปั่นป่วนไปทั้งวงการตลาดทุนไทย สำหรับเคสการซื้อขายหุ้น บริษัท มอร์ รีเทิร์น จำกัด (มหาชน) หรือ MORE ที่พบการทำรายการซื้อขายหุ้นแบบปริศนาในช่วงเปิดการซื้อขายภาคเช้า(ATO) จำนวนกว่า 1,500 ล้านหุ้น ที่ราคาหุ้นละ 2.90 บาท คิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 4.4 พันล้านบาท
ซึ่งต่อมาทราบว่าผู้ส่งคำสั่งซื้อหุ้นดังกล่าวมีเพียงรายเดียว คือ นายอภิมุข บำรุงวงศ์ ผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 4 ของ MORE โดยส่งคำสั่งซื้อผ่านโบรกเกอร์ราว 10 กว่าแห่ง และปรากฎในภายหลังว่า ไม่สามารถชำระค่าซื้อหุ้นได้ทำให้โบรกเกอร์เหล่านี้ต้องควักเงินตัวเองชำระค่าซื้อหุ้นดังกล่าวไปก่อน
ขณะที่ฝั่งคนขายเบื้องต้นมีรายงานว่า มีผู้เกี่ยวข้องประมาณ 26 ราย ส่วนใหญ่มีความเกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นใหญ่ของ MORE และยังพบว่า มีดารานักธุรกิจชื่อดังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการขายหุ้น MORE ในครั้งนี้ด้วย
กรณีที่ นายอภิมุข ส่งคำสั่งซื้อหุ้น
ล่าสุดมีรายงานว่า กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาญากรรมทางเศรษฐกิจ(บก.ปอศ.) และ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ปปง.) ได้เข้าตรวจสอบเส้นทางเงินและอายัดเงินจากธุรกรรมต้องสงสัยทั้งหมดเอาไว้ก่อน ขณะเดียวกันได้เชิญตัวผู้เกี่ยวข้องทั้ง 26 รายมาให้ข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อดูว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไรบ้าง
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับหุ้น MORE เริ่มส่งผลกระทบในวงกว้างมากขึ้น เมื่อมีรายงานว่าลูกค้าของหลายๆ โบรกเกอร์ที่ไม่ได้มีแม่เป็นธนาคารพาณิชย์ เริ่มถูกลูกค้าบางรายไถ่ถอนเงินออกจากบัญชีเทรดหุ้นไว้ก่อน เพราะเกรงว่า
…….นอกจากจะสร้างความเสื่อมเสียให้กับวงการตลาดทุน ซึ่งสะท้อนถึงการทำงานอย่างหละหลวมของหน่วยงานกำกับดูแลไม่ว่าจะทั้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) จนดูเหมือนจะเริ่มส่งผลกระทบในว
………………
(17 พ.ย.)
เบื้องลึก
เชือด ‘เอเชีย เวลท์’
โยกเงินลูกค้าจ่ายค่าหุ้น MORE
ก.ล.ต. เชือด บล.เอเชีย เวลท์ หลังนำเงินในบัญชีลูกค้าราว 158 ล้านบาท จ่ายค่าหุ้น MORE กับสำนักหักบัญชี โดยที่ลูกค้าไม่ให้การยินยอม จึงสั่งระงับให้บริการชั่วคราว
ยังคงสร้างความปั่นปวนให้กับแวดวงตลาดทุนไทยอย่างไม่จบไม่สิ้น สำหรับหุ้น บริษัท มอร์ รีเทิร์น จำกัด (มหาชน) หรือ MORE ซึ่งล่าสุด พบว่า บริษัทหลักทรัพย์(บล.) เอเชีย เวลท์ ได้นำเงินของลูกค้าไปจ่ายชำระค่าหุ้น MORE กับสำนักงานหักบัญชี(TCH) โดยที่ลูกค้าไม่ได้ให้การยินยอม จนสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) ต้องสั่งหยุดให้บริการเป็นการชั่วคราว
สำนักงานก.ล.ต. ออกแถลงการณ์ระบุว่า ตามที่ บล. เอเชีย เวลท์ จำกัด แจ้งต่อ ก.ล.ต. และ ก.ล.ต. ตรวจพบว่า บริษัทมีการนำเงินของลูกค้าที่อยู่ในความครอบครองของบริษัทไปชำระเป็นค่าซื้อหลักทรัพย์กับสำนักหักบัญชี(TCH) โดยลูกค้าไม่ได้มีคำสั่งหรือยินยอมให้ดำเนินการดังกล่าว เป็นจำนวนเงิน 157.99 ล้านบาท ซึ่งการดำเนินงานในลักษณะนี้อาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัท
นางสาวอาชินี ปัทมะสุคนธ์ ผู้ช่วยเลขาธิการ สำนักงานก.ล.ต. กล่าวว่า คำสั่งการให้หยุดดำเนินงานเป็นการชั่วคราวนี้ สืบเนื่องจาก ก.ล.ต. สอบพบว่า บล.เอเชียเวลท์ ได้นำเงินจากบัญชีหลักทรัพย์เพื่อลูกค้า ซึ่งเป็นบัญชีที่ลูกค้าจะโอนมาพักไว้ก่อนที่จะนำไปซื้อหุ้น ซึ่งตามหลักแล้วห้ามนำไปใช้ในกรณีอื่นยกเว้นจะได้รับการยินยอมจากลูกค้า แต่ บล.เอเชีย เวลท์ ได้นำเงินก้อนดังกล่าวไปชำค่าหุ้น MORE โดยที่ลูกค้าไม่ยินยอม
ทั้งนี้กรณีดังกล่าว คณะกรรมการกำกับตลาดทุน (ก.ต.ท.) ในการประชุมครั้งที่ 12/2565 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2565 เห็นว่าการดำเนินงานของ บล.เอเชีย เวลท์ อาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ประโยชน์ของประชาชนได้ จึงมีมติโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 143 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ให้บริษัทหลักทรัพย์ เอเชีย เวลท์ จำกัด ดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) นำเงินของลูกค้าที่บริษัทนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์โดยที่ลูกค้าไม่ได้อนุญาต มาคืนภายในวันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน 2565
(2) ระงับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์เป็นการชั่วคราว เว้นแต่เป็นการทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงโดยรวมในเงินลงทุนของบริษัทหรือการดำเนินการตามภาระผูกพันที่ค้างอยู่ ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2565 เป็นต้นไป จนกว่าบริษัทจะนำเงินลูกค้ามาคืน และได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต. ให้ประกอบธุรกิจได้ตามปกติ
(3) จัดให้มีระบบงานในการป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ในลักษณะดังกล่าวขึ้นอีก ภายในวันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2565
(4) อำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าของบริษัท เพื่อให้ลูกค้าสามารถดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกค้าที่มีอยู่กับบริษัทได้ตามความประสงค์ของลูกค้า ภายในระยะเวลาที่ตกลงกับลูกค้า
นอกจากนี้ สำหรับธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ก.ล.ต. โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 ได้สั่งการให้บริษัทงดการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2565 ด้วย เว้นแต่เป็นการซื้อขายเพื่อล้างฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีฐานะอยู่เดิม จนกว่าบริษัทจะนำเงินลูกค้ามาคืน และได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต. ให้ประกอบธุรกิจได้ตามปกติ รวมทั้งให้บริษัทดำเนินการตามข้อ (1) (3) และ (4) ที่กล่าวข้างต้นอีกด้วย
………………………….
นางสาวอาชินี ปัทมะสุคนธ์ ผู้ช่วยเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า กรณีที่ ก.ต.ท.สั่ง บล.เอเชีย เวลท์ ระงับการประกอบธุรกิจชั่วคราว เพราะ ก.ล.ต.อยู่ระหว่างการตรวจสอบ บล.ดังกล่าว อยู่แล้ว ประกอบกับ บล.
เอเชีย เวลท์ แจ้งเรื่องดังกล่าวมาด้วย ทำให้ก.ล.ต.เข้าไปตราวจเชิงลึก จึงพบว่า บล.เอเชีย เวลท์ ได้นำเงินในส่วนของ บัญชีบริษัทหลักทรัพย์เพื่อลูกค้า ซึ่งเป็นบัญชีที่ลูกค้าจะโอนมาพักไว้ก่อนนำไปซื้อหุ้น ตามหลักแล้วห้ามนำไปใช้ในกรณีอื่นยกเว้นได้รับการยินยอมจากลูกค้า แต่บล.เอเชีย เวลท์ได้นำเงินก้อนดังกล่าวไปชำค่าหุ้น MORE โดยที่ลูกค้าไม่ยินยอม
…………………………
(17พ.ย.)
สอบขาใหญ่‘26ราย’
พันซื้อขาย หุ้น MORE
พบดารานักธุรกิจชื่อดังมีเอี่ยว
กระบวนการตรวจสอบการซื้อขายหุ้น บริษัท มอร์ รีเทิร์น จำกัด (มหาชน) หรือ MORE ยังคงเป็นไปอย่างเข้มข้น โดยมีรายงานว่า สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ปปง.) ได้เข้าตรวจสอบเส้นทางเงินและอายัดเงินจากธุรกรรมต้องสงสัยที่เกิดจากการซื้อขายหุ้น MORE ของกลุ่มผู้ลงทุนรายใหญ่บางราย
ล่าสุดมีรายงานเพิ่มเติมว่า ปปง. ได้เชิญตัวผู้ลงทุนรายใหญ่ที่ส่งคำสั่งขายหุ้น MORE ในระหว่างวันที่ 10-11 พ.ย.2565 จำนวน 26 ราย มาให้ข้อมูลเพิ่มเติม โดยทั้ง 26 รายนี้พบว่า เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ MORE จำนวน 6 ราย และยังพบว่ามีดารานักธุรกิจชื่อดังเกี่ยวข้องด้วย
สำหรับประเด็นข่าวฉาวหุ้น MORE เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 10 พ.ย.2565 โดยพบวอลุ่มปริศนาที่ซื้อขายในช่วงราคาเปิด(ATO) จำนวน 1,500 ล้านหุ้น ที่ราคาหุ้นละ 2.90 บาท คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 4.4 พันล้านบาท ก่อนที่ราคาหุ้นจะร่วงลงติดเพดานการซื้อขายด้านล่าง(ฟลอร์) ในวันที่ 10-11 พ.ย.2565 จนมีการสืบหาข้อเท็จจริงและทราบว่า ผู้เข้าซื้อหุ้นล๊อตดังกล่าวมีเพียงคนเดียว คือ นายอภิมุข บำรุงวงศ์ ผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 4 ของหุ้น M