บล.เอเซียพลัส แนะดัชนีหุ้นไทย หลุด1,480 จุด ทยอยเก็บสะสม
“บล.เอเซียพลัส” มองดัชนีหุ้นไทยระดับต่ำกว่า 1,480 จุด ยังเป็นจุดซื้อสะสมระยะยาว รอลุ้นผลโหวตเลือกนายกและจัดตั้งรัฐบาลมีเสถียรภาพเร็ว หนุนฟันด์โฟลว์ไหลกลับลุ้นดัชนีทะลุ1,600จุด แนะเลือกหุ้นดีราคาลงลึก มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว BEM JMT SCGP SCB IVL ERW III
นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานวิจัย บล.เอเซียพลัส กล่าวว่า กลยุทธ์การลงทุน แนะทยอยสะสมหุ้นเมื่อระดับดัชนีหุ้นไทย ต่ำกว่า 1,480 จุด เลือกหุ้นพื้นฐานดี ราคาลงลึก พร้อมกับมีปัจจัยเฉพาะตัวคือBEM JMT SCGP SCB IVL ERW III
พร้อมจัดพอร์ลงทุน ถือเงินสด 10-15% พร้อมเข้าซื้อหุ้นไทยหากจัดตั้งรัฐบาลใหม่ได้ราบรื่นในกลางเดือนนี้ และมีสัดส่วนหุ้นไทย 30% หุ้นต่างประเทศ 15% ตราสารหนี้ 10% และทางเลือก 10%
ขณะที่ประเด็นการเมืองไทย มองว่า ช่วงกลางเดือนก.ค.นี้ หากเลือกนายกและจัดตั้งรัฐบาลใหม่มีเสถียรภาพ ดำเนินไปอย่างราบรื่นและเร็ว มีนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เชื่อว่า จะดึงดูดฟันด์โฟลว์ไหลกลับสิ้นปีคาดแตะแสนล้านบาท มีโอกาสหนุนดัชนีทะลุ 1,600 จุด
แต่หากออกมาในทางตรงกันข้ามจะถือเป็น ปัจจัยกลับมากดดัน ตลาดหุ้นอีกครั้ง มองเป้าดัชนี แนวรับ 1,480-1,542 จุด เพราะหลังจากโหลตประธานสภาฯได้แล้ว ดัชนีหุ้นไทยขยับขึ้นเล็กน้อย1,542จุดและแกว่งทรงอยู่ระดับนี้
ขณะที่เงินเฟ้อไทย เดือนมิ.ย.ที่ 0.23% ถือยังต่ำมาก มีโอกาสที่การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง .) อีกสองครั้ง ในปีนี้ยังขยับขึ้นดอกเบี้ยยาก หรือ คงดอกเบี้ยนโยบาย ไว้ที่2% มองแนวต้านแรกที่ 1,542 จุด และหากมีฟันด์โฟลว์กลับเข้ามาและมีสภาพคล่อง สูงขึ้นหนุนดัชนีสู่แนวต้านถัดไปที่ 1,610 จุด
อย่างไรก็ตาม ฝ่ายวิจัย บล.เอเซีย พลัส ประเมินภาพรวมการลงทุนของตลาดหุ้นไทยในช่วง ไตรมาส 3/ 66 แกว่งผันผวน จากความเสี่ยงของเศรษฐกิจสหรัฐฯและยุโรป ที่มีโอกาสเกิดภาวะ Recession หลังจากธนาคารกลาง (FED และ ECB) ส่งสัญญาณชัดต่อการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดผ่านการขึ้นดอกเบี้ยฯ แต่อย่างไรก็ตามตลาดหุ้นไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2566 ที่SET Index ปรับลง 9.9% จนระดับ Valuation ในมิติของ Market Earning Yield Gap ลงมาในระดับที่ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยในรอบ 12 ปีซึ่งถือว่าไม่แพง
ขณะที่ทิศทางเศรษฐกิจและกาไรบริษัทจดทะเบียนที่ยังมีแนวโน้มฟื้นตัว ทำให้ตัวแปรที่กำหนดทิศทางตลาดหุ้นในไตรมาสนี้อยู่ที่ปัจจัยทางการเมืองในประเทศเป็นสำคัญ โดยหากเลือกนายกฯและจัดตั้งรัฐบาลดำเนินไปด้วยความราบรื่นเชื่อว่าจะเป็นแรงดึงดูด Fund Flow ไหลกลับ แต่หากออกในทางตรงข้ามถือเป็น
ปัจจัยที่กลับมากดดันตลาดหุ้นอีกครั้ง โดยฝ่ายวิจัยฯประเมินระดับเป้าหมายดัชนีไว้ที่ 1,480-1,542 จุด
ในช่วงครึ่งปีแรกตลาดหุ้นไทยถูกกดดันจากความกังวลเรื่องเสถียรภาพและการเปลี่ยนผ่านนโยบายต่างๆ เริ่มจาก 1) นโยบายการเงินที่มีการปรับขึ้นดอกเบี้ยฯจาก 1.25% ช่วงต้นปีมาที่ 2% ในปัจจุบัน 2) ความไม่แน่นอนทางการเมืองหลังต่อการจัดตั้งรัฐบาลหลังการเลือกตั้งและ 3) ความเชื่อมั่นของนักลงทุนกรณี STARK ส่งผลต่อ Fund Flow ต่างชาติไหลออกในปีนี้1.07 แสนล้านบาทกดดันตลาดหุ้นไทยปรับลง 9.9% Underperform สวนทางตลาดหุ้นโลกที่ปรับขึ้น 12.8%
แต่อย่างไรตามในช่วงครึ่งปีหลังที่ความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกที่เพิ่มสูงขึ้น จากการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของ FED และ ECB ที่เริ่มส่งผลมายังภาคเศรษฐกิจสหรัฐฯและยุโรปเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัว
อีกทั้งยังส่งสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ยฯเพื่อกดเงินเฟ้อฯให้ลงมาอยู่ในระดับเป้าหมาย 2% ทำให้ความเสี่ยง Recession ของสหรัฐฯและยุโรปไม่หมดไป สวนทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มเติบโตจากภาคบริโภคในประเทศและท่องเที่ยว ด้านทิศทางเงินเฟ้อฯ พ.ค.อยู่ในระดับ 0.53%yoy ต่ำกว่ากรอบเป้าหมายของ ธปท. ในช่วง 1-3% ลดแรงกดดันต่อการปรับขึ้นดอกเบี้ยฯของ กนง. ขณะที่กำไรบริษัทจดทะเบียนปี 2566 ฝ่ายวิจัยฯคาดอยู่ที่ 1.12 ล้านล้านบาทหรือคิดเป็นEPS66F ที่ระดับ 91.8 บาท/หุ้น เติบโต 12.6%yoy ซึ่งในเชิง Valuation จะได้ค่า Market Earning Gap ที่ 4.11%ใกล้ค่าเฉลี่ยในรอบ 12 ปี จึงทำให้ทิศทาง Fund Flow มีโอกาสไหลกลับ โดยกำหนดเป้าหมายดัชนีไว้ที่ 1,542จุด (จาก Market Earning Yield Gap 4.0% , ดอกเบี้นโยบาย2.0% และ EPS66F 91.8 บาท/หุ้น) และถ้ากนง. ขึ้นดอกเบี้ย 1 ครั้งได้ Target SET 1,480 จุด บริเวณนี้ถือแนวรับทางพื้นฐาน และโซนในการสะสมหุ้นที่ดี