CK คว้างานซ่อมบำรุง'รถไฟฟ้าสายสีม่วง' มูลค่า 1.15 พันล้าน
CK ลงนามสัญญางานซ่อมบำรุง'โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง' ตั้งแต่สถานีคลองบางไผ่ ถึง สถานีเตาปูน กับ BEM มูลค่า 1.15 พันล้าน ระยะเวลาดำเนินงาน 1 พ.ย.66-31 ต.ค. 76
นายอนุกูล ตันติมาสน์ กรรมการและผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานทรัพยากรมนุษยแ์ละบริหารทั่วไปบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ลงนามเป็นผู้รับจ้างในสัญญางานซ่อมบำรุง สำหรับการซ่อมบำรุงงานโยธาและสถาปัตยกรรม อุปกรณ์งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล ลิฟต์และบันไดเลื่อน และเครื่องตรวจจับโลหะแบบเดินผ่าน โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง สถานีคลองบางไผ่ ถึง สถานีเตาปูน กับ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ในฐานะผู้ว่าจ้าง
ทั้งนี้ได้มีการลงนามสัญญาวันที่ 14 ก.ค. 2566 โดยงานมีมูลค่าสัญญาประมาณ 1,150,000,000 บาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ระยะเวลาในการดำเนินการวันที่ 1 พ.ย.2566-31 ต.ค. 2576
ทั้งนี้ CK ประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้างทั่วไป โดยรับงานจากหน่วยงานราชการรัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน มีลักษณะกิจการเป็นผู้รับเหมาโดยตรง (Main Contractor) ผู้รับเหมาช่วง (Sub Contractor) หรือลักษณะกิจการร่วมค้า (Joint Venture) หรือกิจการร่วมทุนแบบคอนซอร์เตียม (Consortium)และเป็นผู้ลงทุนเพื่อดำเนินธุรกิจการพัฒนาโครงการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอย่างครบวงจร
ด้านบริษัทหลักทรัพย์ (บล.)หยวนต้า (ประเทศไทย) ระบุคาดผลขาดทุนปกติ CK ไตรมาส2 ปี 2566ที่ 28 ล้านบาท (ขาดทุนน้อยลง QoQ, พลิกเป็นขาดทุน YoY) ผลประกอบการที่พลิกเป็นขาดทุน YoY โดยมีสาเหตุหลักมาจากปริมาณน้ำที่เข้าโรงไฟฟ้าน้ำงึม 2 (NN2) และปริมาณน้ำที่ ไหลผ่านโรงไฟฟ้าไซยะบุรี (XPCL) ที่ลดลง 49% YoY และ 47% YoY ตามลำดับหลังปรากฏการณ์ลานีญา คลี่คลายและการเกิดคลื่นความร้อนในภูมิภาคอาเซียน
อย่างไรก็ตามคาดผลประกอบการ ไตรมาส2 ปี 2566 ขาดทุน น้อยลง QoQ ได้แม้มีการปรับค่า Ft สำหรับงวด พ.ค. - ส.ค. ลง เนื่องจาก ต้นทุนก๊าซธรรมชาติที่ปรับตัวลง เร็วกว่าค่า Ft ส่งผลให้กำไรของโรงไฟฟ้า BIC ที่มีการขายไฟฟ้าบางส่วนให้กับผู้ใช้งานอุตสาหกรรมสามารถ ทรงตัวได้ QoQ , ปัจจัยฤดูกาลของโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำในลาว ส่งผลให้ปริมาณน้ำที่ไหลผ่านโรงไฟฟ้า XPCL ฟื้นตัว +3% QoQ
รวมถึง ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่าขึ้น QoQ ส่งผลให้อัตราค่าไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าใน ลาว (NN2และ XPCL) สูงขึ้น (มีการผูกอัตราค่าไฟฟ้าบางส่วนกับค่าเงิน ดอลลาร์สหรัฐฯ) และ ปัจจัย ฤดูกาลของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในไทย (High Season) ปรับกำไรปี2566- 2567 ลงหลังปริมาณน้ำน้อยกว่าที่ประเมินไว้ก่อนหน้า
ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยเราปรับกำไรCK ปี 2566 ลง 42% เป็น 892 ล้านบาท cและลดลง 63% เมื่อเทียบกับปีก่อน หลังมีโอกาสสูงที่ Capacity Factor (CF) ของ โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำในลาว (NN2 และ XPCL) ในปี 2566 จะต่ำกว่าที่เราประเมินไว้ก่อนหน้าเนื่องจากการ เกิดคลื่นความร้อนในภูมิภาคอาเซียนในช่วง ไตรมาส2 ปี 2566 และการเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญในช่วงครึ่งปีหลัง 2566 ทำให้ ปริมาณน้ำในลาวลดลงมากกว่าที่เราประเมินไว้ก่อนหน้า
นอกจากนี้เราปรับกำไรปี 2567 ลง 38% เป็น 1,110 ล้านบาท แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2566 หลังปรากฏการณ์เอลนีโญมีโอกาสรุนแรงกว่าที่เราคาดไว้ก่อนหน้า อย่างไรก็ ตามคาดกำไรปกติปี 2567 จะยังสามารถเติบโตได้ YoY เพราะ โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำมักจะได้รับผลกระทบ รุนแรงที่สุดในช่วง 12 เดือนแรกที่เกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวและจะเริ่มฟื้นตัวในระยะถัดไปรวถึงต้นทุนทาง การเงินของโรงไฟฟ้า XPCL ที่ผ่านจุดสูงสุด (หนี้สินส่วนใหญ่ป็นดอกเบี้ยแบบลอยตัว)
ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยยังคงคำแนะนำ ซื้อ ซึ่งจากผลจากการปรับประมาณการส่งผลให้ราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2566 ลดลงเป็น 4.50 บาท/หุ้น มี Upside 26.4% ราคาหุ้นปรับตัวลงราว -21% ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาจากความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำในสปป.ลาวและการเปลี่ยนแปลงนโยบายการรับซื้อไฟฟ้าของรัฐบาลใหม่