NUSA แจง ก.ล.ต. กรณีซื้อโรงแรมที่เยอรมัน หลังพบเข้าซื้อขายหลายครั้ง
NUSA แจง ก.ล.ต. กรณีซื้อโรงแรมที่เยอรมัน หลังผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขและมีข้อสังเกต เนื่องจากความซับซ้อนของการจัดโครงสร้างของผู้ขายโรงแรม รวมถึงสิทธิเครื่องหมายทางการค้าและใบอนุญาตต่างๆ ในประเทศเยอรมนี และบริษัทย่อยเข้าซื้อขายโรงแรมหลายครั้ง
นายวิษณุ เทพเจริญ ประธานกรรมการ บริษัท ณุศาศิริ จํากัด (มหาชน) หรือ NUSA ชี้แจง คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. ถึงกรณีการเข้าซื้อโรงแรม Panacee Grand Hotel Romerbad (โรงแรม Panacee Germany) รวมถึงการซื้อเงินลงทุนในบริษัท พานาซี เมดิคอล เซ็นเตอร์จํากัด และการจ่ายเงินล่วงหน้าค่าเพิ่มทุนในบริษัทย่อยของ NUSA โดยบริษัทย่อยนําไปซื้อเครื่องบินและต่อมาตั้งค่าเผื่อการด้อยค่าทั้งจํานวนความละเอียดแจ้งแล้วนั้น
โดยเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้มีหนังสือถึง NUSA ให้ชี้แจงข้อมูลในงบการเงินไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ซึ่งผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นแบบมีเงื่อนไขและมีข้อสังเกต โดย NUSA ชี้แจงต่อตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับรายการเข้าซื้อโรงแรมที่เยอรมนีในเบื้องต้นว่า การเปลี่ยนเงื่อนไขการซื้อเดิมจากการซื้อทรัพย์สิน (โรงแรม รวมถึงสิทธิในใบรับรองใบอนุญาตต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจโรงแรม ซึ่งได้ออกให้ไว้โดยถูกต้องตามกฎหมายของประเทศเยอรมัน
รวมตลอดถึงสิทธิลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญาเครื่องหมายการค้า และตราสินค้าของทรัพย์สินที่ซื้อขาย) เป็นการเข้าซื้อหุ้นในบริษัท พานาซีแฟร์วาลทุงส์จึเอ็มบีเฮช จํากัด (PNV) ผู้ถือหุ้นในบริษัท บาดิชเชอร์โฮเทล แฟร์วัลทุงส์จีเอ็มบีเฮช จํากัด (BHV) เป็นเจ้าของทรัพย์ตามสัญญาซื้อทรัพย์สินเดิม เหตุที่ NUSA ไม่รับเงินมัดจําคืนทันทีเนื่องจากผู้ขายหุ้นใน PNV คือบุคคลเดียวกับผู้ขายทรัพย์เดิม และปัจจุบัน NUSA ได้รับการโอนกรรมสิทธิ์ในหุ้น PNV (เจ้าของโรงแรม) มาเป็นของ NUSA เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ทั้งนี้สํานักงาน ก.ล.ต. มีความเห็นว่า คณะกรรมการบริษัทมหาชนจํากัด ซึ่งมีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ความระมัดระวังและความซื่อสัตย์สุจริต รวมทั้งต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ข้อบังคับของบริษัทและมติคณะกรรมการ ตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ตามหลัก fiduciary duty ที่กําหนดในมาตรา 89/7 และมาตรา 89/24 ประกอบมาตรา 89/7แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และต้องไม่ดําเนินการในลักษณะที่เข้าข่ายเป็นการขัดหรือแย้งกับประโยชน์ของบริษัท หรือเป็นการนําโอกาสทางธุรกิจของบริษัทไปใช้เพื่อประโยชน์แก่ตนเองหรือบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องจนเป็นเป็นเหตุให้บริษัทได้รับความเสียหายหรือมีบุคคลใดได้ประโยชน์รวมทั้งต้องดูแลให้มีการเปิดเผยข้อมูลที่สําคัญเกี่ยวกับการเข้าทํารายการ พร้อมทั้งแสดงความเห็นของคณะกรรมการบริษัทให้ผู้ลงทุนทั่วไปได้ทราบโดยไม่ชักช้าเพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจของผู้ลงทุน โดยที่ ก.ล.ต. พิจารณาแล้วเห็นว่า NUSA ยังชี้แจงข้อมูลไม่ชัดเจนในประเด็นข้างต้น และยังไม่ได้นําส่หลักฐานเอกสารที่สําคัญเพื่อประกอบการพิจารณาคําชี้แจง
สํานักงาน ก.ล.ต. จึงขอให้คณะกรรมการ NUSA ชี้แจงข้อมูลดังนี้
1.การเข้าซื้อโรงแรม Panacee Germany บริษัทชี้แจง Timeline การเข้าทําสัญญาซื้อโรงแรมและการจ่ายเงินมัดจํา ดังนี้
วันที่ 25 ธันวาคม 2563 คณะกรรมการของ NUSA มีมติอนุมัติให้ WMA HK ทําสัญญากับบริษัท บาดิชเชอร์โฮเทลแฟร์วัลทุงส์จีเอ็มบีเอช จากัด (BHV) เพื่อซื้อโรงแรม Panacee รวมทั้งสิทธิเครื่องหมายการค้าและใบอนุญาตต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจโรงแรมดังกล่าว โดยมีมูลค่าซื้อรวมไม่เกิน 740 ล้านบาท
วันที่ 15 มกราคม 2564 WMA HK ทําสัญญาซื้อโรงแรม Panacee กับ BHVวันที่ 2 มีนาคม 2564 WMA HK และ BHV ทําบันทึกข้อตกลงเพิ่มเติมครั้งที่ 1 โดย BHV จะยินยอมให้ WMA HK เข้าปรับปรุงโรงแรมเมื่อชําระค่าซื้อแล้ว 60% และส่วนที่เหลือให้ชําระภายในเดือนมกราคม 2565 หรือสามารถขยายออกไปได้โดยผู้ซื้อจะต้องชําระดอกเบี้ยในอัตราที่ตกลงกัน
- ไตรมาสที่ 1/2564 WMA HK จ่ายเงินมัดจําค่าซื้อรวม 115 ล้านบาท (16% ของมูลค่าซื้อโรงแรม)
- ไตรมาสที่ 2/2564 WMA HK จ่ายเงินมัดจําค่าซื้อรวม 191 ล้านบาท (26% ของมูลค่าซื้อโรงแรม)
- ไตรมาสที่ 3/2564 WMA HK จ่ายเงินมัดจําค่าซื้อรวม 236 ล้านบาท (32% ของมูลค่าซื้อโรงแรม)
วันที่ 3 ธันวาคม 2564 WMA HK และ BHV ทําบันทึกข้อตกลงเพิ่มเติมครั้งที่ 2 โดย BHV จะยินยอมให้ WMA HK ขยายยะระเวลาชําระส่วนที่เหลือออกไปภายในเดือนมกราคม 2566
วันที่ 30 ธันวาคม 2564 WMA HK และ BHV ทําบันทึกข้อตกลงเพิ่มเติมครั้งที่ 3 โดย BHV ยกเว้นอัตราดอกเบี้ยจากการชําระเงินล่าช้าออกไป 6 เดือน
ไตรมาสที่ 4/2564 WMA HK จ่ายเงินมัดจําค่าซื้อรวม 438 ล้านบาท (59% ของมูลค่าซื้อโรงแรม)
วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 คณะกรรมการของ NUSA มีมติอนุมัติเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการซื้อโรงแรมจากการซื้อโรงแรมรวมทั้งสิทธิเครื่องหมายการค้าและใบอนุญาตต่างๆ เป็นการซื้อหุ้นใน PNCV ทั้งหมด (PNCV เป็นผู้ถือหุ้น BHV ในสัดส่วน 94%) และราคาซื้อขึ้นอยู่กับผลการทํา Due diligence โดยราคาดังกล่าวไม่เกิน 740 ล้านบาทโดยผู้ที่จะเข้าซื้อเป็น บริษัท ณุศา มายโอโซน จํากัด (NMO)
- ไตรมาสที่ 1-2/2565 WMA HK จ่ายเงินมัดจําค่าซื้อรวม 455 ล้านบาท (61% ของมูลค่าซื้อโรงแรม)
วันที่ 16 สิงหาคม 2565 บ.ทีมาน ผู้ถือหุ้นร้อยละ 6 ของ BHV ได้โอนหุ้นดังกล่าวให้แก่นายวิษณุ เทพเจริญ ไว้เพื่อเป็นหลักประกันในการซื้อขาย
วันที่ 21 กันยายน 2565 คุณวรินภรได้รับโอนกรรมสิทธิหุ้น PNCV (คุณวรินภร ได้ทําสัญญาโอนหุ้นตั้งแต่ปี 2561 แต่ติดปัญหาโอนหุ้นจริง จากวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และ ความล่าช้าเรื่องเอกสารของหน่วยราชการประเทศเยอรมนีทําให้โอนหุ้นล่าช้า)
วันที่ 21 กันยายน 2565 นายวิษณุ เทพเจริญ เข้าดํารงตําแหน่งกรรมการใน BHV
วันที่ 28 กันยายน 2565 นายวิษณุ เทพเจริญ เข้าดํารงตําแหน่งกรรมการใน PNCV
วันที่ 14 พฤศจิกายน 2565 ยกเลิกการเข้าซื้อของ NMO เป็น WMAHK เข้าทํารายการซื้อหุ้น
วันที่ 16 พฤศจิกายน 2565 WMA HK และ BHV ทําบันทึกข้อตกลงเพิ่มเติมครั้งที่ 4 เพื่อขยายเวลาของสัญญาและยกเว้นการคิดดอกเบี้ยออกไปจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2566
- ไตรมาสที่ 3-4/2565 WMA HK จ่ายเงินมัดจําค่าซื้อรวม 624 ล้านบาท (84% ของมูลค่าซื้อโรงแรม)
16 มกราคม 2566 WMAHK ได้รับโอนกรรมสิทธิหุ้น PNCV
- ไตรมาสที่ 1/2566 WMA HK จ่ายเงินมัดจําค่าซื้อรวม 624 ล้านบาท (84% ของมูลค่าซื้อโรงแรม)
วันที่ 1 เมษายน 2566 WMA HK และ BHV ทําบันทึกข้อตกลงเพิ่มเติมครั้งที่ 5 เพื่อขยายเวลาของสัญญาและยกเว้นการคิดดอกเบี้ยออกไปจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2567
วันที่ 3 พฤษภาคม 2566 WMA HK และ BHV ทําบันทึกข้อตกลงยกเลิกสัญญาซื้อทรัพย์สินรวมทั้งข้อตกลงทุกฉบับ และให้ BHV ชําระเงินคืนภายใน 2 ปีโดยไม่มีดอกเบี้ย และทําสัญญาซื้อหุ้น PNCV ความสําเร็จของการซื้อหุ้นดังกล่าวขึ้นอยู่กับผล Due diligence และการได้รับสิทธิใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมปัจจุบันผู้ขายอยู่ระหว่างขอใบอนุญาตดังกล่าว ชําระเงินภายใน 2 ปี
วันที่ 20 กรกฎาคม 2566 ดําเนินการตรวจสอบสถานะทางด้านกฎหมาย (Due Diligence) เรียบร้อย ไม่พบคดีความและภาระหนี้สินที่จะรอนสิทธิทําให้มูลค่าสินทรัพย์ลดลง
1.1 เหตุใดในการทําบันทึกข้อตกลงแนบท้ายครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2565 และบันทึกข้อตกลงแนบท้ายครั้งที่ 5 ลงวันที่ 1 เมษายน 2566 ตามสัญญาซื้อขายทรัพย์สินสัญญาฉบับลงวันที่ 15 มกราคม 2564 จึงเป็นการทําขึ้นระหว่างบริษัท เวิลด์เมดิคอล แอ็ลไลแอ็นซ (ประเทศฮ่องกง) (WMA HK) จํากัด “ผู้ซื้อ” กับ BHV โดยนายวิษณุ เทพเจริญ กรรมการบริษัท “ผู้ขาย” ทั้งที่ในการทําบันทึกข้อตกลงแนบท้ายครั้งที่ 1 ลงวันที่ 2 มีนาคม 2564 บันทึกข้อตกลงแนบท้ายครั้งที่ 2 ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2564 บันทึกข้อตกลงแนบท้ายครั้งที่ 3 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2564 ระบุว่านางสาววรินภร จันทรโรจน์วานิช เป็นกรรมการบริษัทผู้ขาย
1.2 การเปลี่ยนแปลงกรรมการของ BHV จากนางสาววรินภร เป็นนายวิษณุเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใดและปัจจุบันนางสาววรินภรยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับ BHV หรือไม่อย่างไร
คำชี้แจง : เนื่องจากได้มีการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทจากนางสาววรินภร เป็นนายวิษณุเทพเจริญเนื่องจากบริษัทฯเห็นว่าได้จ่ายเงินมัดจําไปกว่า 80% แล้ว จึงขอส่งกรรมการเข้าไปในบริษัทดังกล่าว ซึ่งเข้าดํารงตําแหน่งกรรมการใน BHV ในวันที่ 21 กันยายน 2565 และ เข้าดํารงตําแหน่งกรรมการใน PNCV ในวันที่ 28 กันยายน 2565 ปัจจุบันนางสาววรินภร ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ BHV แต่อย่างใด
1.3 ปัจจุบันนายวิษณุดํารงตําแหน่งประธานกรรมการ ประธานกรรมการบริหาร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ NUSA ซึ่งเป็นบริษัทที่ถือหุ้น 100% ใน WMA HK ซึ่งเป็นผู้ซื้อในธุรกรรมการเข้าลงทุนในโรงแรม Panacee Germany ดังนั้น การเข้าทําบันทึกข้อตกลงระหว่าง WMA HK กับ BHV ที่มีนายวิษณุเป็นกรรมการบริษัทนั้น ถือว่ามีความขัดแย้งทางผลประโยชน์เกิดขึ้นหรือไม่ อย่างไรคณะกรรมการ NUSA ได้ทราบข้อมูลดังกล่าวแล้วหรือไม่อย่างไร
1.4 การเข้าทําบันทึกข้อตกลงแนบท้ายครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2565 และบันทึกข้อตกลงแนบท้ายครั้งที่ 5 ลงวันที่ 1 เมษายน 2566 ที่มีนายวิษณุเป็นกรรมการของ BHV และเป็นตัวแทนฝั่งผู้ขายนั้น ทางคณะกรรมการ NUSA ได้มีกระบวนการ หรือขั้นตอนในการพิจารณาการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงอย่างไร เพื่อให้แน่ใจว่าการเข้าทําข้อตกลงดังกล่าวจะเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของ NUSA และในการพิจารณาดังกล่าวนายวิษณุได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการพิจารณาด้วยหรือไม่อย่างไร
คำชี้แจง : ข้อ 1.3 และ 1.4 คณะกรรมการมีความเห็นว่า เนื่องจากการเข้าไปถือหุ้นของนายวิษณุ เป็นการเข้าไปกระทําการแทนบริษัทฯ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าการจ่ายเงินมัดจําไปให้กับผู้ขายไปมากกว่าร้อยละ80% บริษัทฯจะสามารถเข้าไปควบคุมดูแลและกํากับกิจการได้ซึ่งทางผู้ขายก็ให้ความยินยอมให้ดําเนินการดังกล่าวได้คณะกรรมการจึงมีความเหห็นว่า นายวิษณุ เข้าไปดําเนินการในฐานะตัวแทนบริษัทฯ และทําหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ของบริษัทฯในการที่จ่ายเงินมัดจํานวนมากแต่ยังไม่ได้รับการโอนหุ้น จึงไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์แต่อย่างใด และไม่ทําให้เงื่อนไขที่เป็นสาระสําคัญเปลี่ยนแปลง
1.5 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงบันทึกข้อตกลงครั้งที่ 5 ระหว่าง WMA HK กับ BHV ดังนี้คณะกรรมการ NUSA เห็นว่ามีเหตุผลและความจําเป็นในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขของบันทึกข้อตกลงดังกล่าวหรือไม่อย่างไร
(1) การแสดงเจตนาล่วงหน้าที่จะร่วมกันยกเลิกสัญญาซื้อขายทรัพย์สินและให้เปลี่ยนเป็นการซื้อขายหุ้นใน PNV จํานวน 25,000 หุ้นแทนการซื้อขายทรัพย์สินดังกล่าว
(2) คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันขยายระยะเวลาการชําระราคาซื้อขายส่วนที่เหลือจากเดิมวันที่31 มีนาคม 2566 ออกไปเป็นครบกําหนดในวันที่ 31 มีนาคม 2567
คำชี้แจง : การดําเนินการยกเลิกสัญญาซื้อขายทรัพย์สินและให้เปลี่ยนเป็นการซื้อขายหุ้นใน PNV จํานวน 25,000 หุ้นแทนการซื้อขายทรัพย์สินดังกล่าว เป็นไปตามมติคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 และคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 8/2565 เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2565 คณะกรรมการเห็นว่า การซื้อโรงแรมดังกล่าวจําเป็นต้องมีบริษัทเข้าไปบริหารจัดการการดําเนินธุรกิจโรงแรม การซื้อหุ้นทั้งจํานวนของบริษัท พานาซีเเฟร์วาลทุงส์จีเอ็มบีเฮช จํากัด (PNCV) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 94 ของทุนจดทะเบียนของบริษัท บาดิชเชอร์โฮเทลแฟร์วัลทุงส์จํากัด (BHV) ซึ่งเป็นเจ้าของโรงแรม จากนางสาววรินภร จันทรโรจน์วานิช (ผู้ถือหุ้นร้อยละ 100 ของทุนจดทะเบียน PNCV) เพื่อจะได้นําบริษัทดังกล่าวเข้าไปผู้บริหารจัดการธุรกิจโรงแรมซึ่งจะเป็นประโยชน์กับบริษัทมากกว่า และบริษัทฯสามารถมีสิทธิเป็นเจ้าของโรงแรมเช่นเดิมผ่านการถือหุ้นของบริษัทที่เข้าซื้อร้อยละ 100 อีกทั้ง การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการซื้อโรงแรมดังกล่าว ไม่ทําให้เงื่อนไขการซื้ออื่นๆ เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากผู้รับเงินเป็นบุคคลเดียวกัน สําหรับการขยายระยะเวลาการชําระราคาซื้อขายส่วนที่เหลือจากเดิมวันที่ 31 มีนาคม 2566 ออกไปเป็นครบกําหนดในวันที่ 31 มีนาคม 2567 คณะกรรมการเห็นว่า เพื่อให้มีระยะเวลาการทํา Due Diligence และการขอใบอนุญาตต่างๆได้ครบถ้วนสมบูรณ์อันก่อให้เกิดประโยชน์แก่บริษัทมากกว่า จึงให้มีการขยายสัญญาดังกล่าวออกไปตามความประสงค์ของทั้งสองฝ่าย
1.6 จากคําชี้แจงของ NUSA ลงวันที่ 10 พฤษภาคม 2566 และรายงานการประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 2/2565 ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 ระบุว่า PNV ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 100 ของทุนจดทะเบียนของ BHV และเป็นเจ้าของโรงแรม Panacee Germany โดยมีนางสาววรินภร เป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 100 ของทุนจดทะเบียน BHV” อย่างไรก็ดี NUSA ได้ชี้แจงข้อมูลว่า บริษัท ทีมาน อินเวสเมนท์โฮลดิ้ง จํากัด เป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 6 ใน BHV และได้โอนหุ้นให้นายวิษณุ ดังนั้น ขอให้คณะกรรมการ NUSA ให้ความเห็นว่า ข้อมูลผู้ถือหุ้นของ BHV มีความขัดแย้งกันหรือไม่ อย่างไร และคณะกรรมการ NUSA ได้ทํา Due diligence ผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริงของหุ้น BHV หรือไม่อย่างไร และได้มีข้อมูลใดเพื่อประกอบการพิจารณา
คำชี้แจง : ข้อเท็จจริงตามรายงานการประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 2/2565 ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 ระบุว่า “PNCV ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 94 ของทุนจดทะเบียนของ BHV และเป็นเจ้าของโรงแรม Panacee Germany โดยมีนางสาววรินภร เป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 100 ของทุนจดทะเบียน PNCV” แต่มีการบันทึกรายงานการประชุมคลาดเคลื่อน ซึ่งจะได้แก้ไขรายงานการประชุมให้ถูกต้องต่อไป และบริษัท ทีมาน อินเวสเมนท์โฮลดิ้ง จํากัด เป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 6 ใน BHV และได้โอนหุ้นให้นายวิษณุ นั้นถูกต้องเป็นไปตามข้อเท็จจริง ซึ่งคณะกรรมการรับทราบในที่ประชุมตามข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้ว แต่มีการบันทึกในรายงานการประชุมผิดพลาด โดยมีทะเบียนผู้ถือหุ้นของ BHV และ PNCV ใชประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการ
1.7 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 คณะกรรมการ NUSA ได้มีมติอนุมัติเปลี่ยนแปลงสถานะจากการซื้อทรัพย์สินที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างโรงแรม Panacee Germany เป็นการซื้อหุ้นร้อยละ 100 ของ PNCV ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 100 ใน BHV และเป็นเจ้าของโรงแรม Panacee Germany จากนางสาววรินภร เนื่องจากการซื้อโรงแรมดังกล่าวจําเป็นต้องมีบริษัทเข้าไปบริหารจัดการการดําเนินธุรกิจโรงแรม อย่างไรก็ดีไม่พบข้อมูลการแก้ไขเปลี่ยนแปลงบันทึกข้อตกลงระหว่าง WMA HK กับนางสาววรินภร หรือ BHV ว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงสถานะจากการซื้อทรัพย์สินเป็นการซื้อหุ้น PNCV คณะกรรมการ NUSA เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจําเป็นต้องได้รับความยินยอมจากผู้ขายหรือไม่อย่างไร เหตุใดจึงไม่มีการจัดทําบันทึกข้อตกลงระหว่างกัน และการไม่ได้จัดทําข้อตกลงเปลี่ยนแปลงดังกล่าวระหว่างกันเป็นลายลักษณ์อักษรในทันทีทําให้เกิดความเสี่ยงแก่ NUSA ในการบริหารจัดการโรงแรม Panacee Germany หรือไม่อย่างไร
คำชี้แจง : เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 คณะกรรมการ NUSA ได้มีมติอนุมัติเปลี่ยนแปลงสถานะจากการซื้อทรัพย์สินเป็นการซื้อหุ้นใน PNV โดยให้ณุศามายโอโซน (NMO) บริษัทย่อย เข้าทํารายการซื้อหุ้นใน PNCV แทน WMAHK เพื่อเป็นการจัดโครงสร้างทางธุรกิจต่อมาเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2565 คณะกรรมการ NUSA ได้พิจารณาความเหมาะสมจากคําแนะนําของที่ปรึกษากฎหมาย เพื่อเป็นประโยชน์สูงสุดทางด้านภาษีของบริษัทฯและผู้ขาย ซึ่งปรึกษากฎหมายให้ความเห็นว่าจําเป็นต้องใช้บริษัทในต่างประเทศเข้าซื้อ จึงมีมติอนุมัติยกเลิกการเข้าทํารายการของ NMO โดยให้ WMAHK เป็นผู้เข้าซื้อตามเงื่อนไขเดิม จึงเป็นสาเหตุที่ยังไม่มีการจัดทําสัญญาซื้อขายหุ้นของ PNV ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 ในช่วงเวลาที่ผ่านมาผู้ขายได้ให้ความร่วมมือในการโอนหุ้น PNV กับบริษัทเป็นอย่างดีคณะกรรมการ NUSA จึงเชื่อมั่นว่าจะไม่มีปัญหาในการโอนกรรมสิทธิและไม่มีความเสี่ยงแก่ NUSA ในการบริหารจัดการโรงแรม Panacee Germany แต่อย่างใด และเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2566 WMAHK ได้รับโอนกรรมสิทธิหุ้น PNCV เรียบร้อยแล้ว
(2) การซื้อเงินลงทุนในบริษัท พานาซีเมดิคอล เซ็นเตอร์จํากัด (PNCT)
2.1 เนื่องจากขณะที่ NUSA เข้าทํารายการซื้อหุ้น PNCT เมื่อเดือนกันยายน 2560 ตามรายชื่อผู้ถือหุ้นของ PNV มี PNCT เป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 100 ดังนั้น ในการพิจารณาเข้าลงทุนในหุ้น PNCT คณะกรรมการNUSA ได้ Due diligence บริษัท PNCT ก่อนทําการซื้อขายหุ้นหรือไม่ อย่างไร และหากมีการทํา Due diligence แล้วเหตุใดจึงไม่มีข้อมูลการถือหุ้นของ PNCT ใน PNCV และ BHV
2.2 จากคําชี้แจงคณะกรรมการ NUSA ระบุว่า ตามงบการเงินของ PNCT ไม่มีการบันทึกทรัพย์สินหรือรายการที่เกี่ยวข้องกับโรงแรม Panacee Germany อย่างไรก็ดีปรากฏรายชื่อของ PNCT เป็นผู้ถือหุ้นใน PNCV ตั้งแต่เดือนกันยายน 2560 จนถึงเดือนกันยายน 2565โดยในระหว่างนี้คณะกรรมการ NUSA ได้
ดําเนินการในการกํากับดูแลบริษัทย่อย PNV หรือไม่อย่างไร
คำชี้แจง : ข้อ 2.1 และ 2.2 NUSA ได้ทํา Due diligence บริษัท PNCT ก่อนเข้าทําการซื้อขายแล้วสาเหตุของการที่ไม่พบทรัพย์สินหรือรายการที่เกี่ยวข้องกับโรงแรม Panacee Germany” (PNV) ในการทํา Duediligenceช่ วงเวลาที่ NUSA เข้าทํารายการซื้อหุ้น เกิดจากในเดือนกันนายน 2556 ตามที่ประชุมกรรมการ PNCT ครั้งที่ 8/2556 ได้อนุมัติลงทุนใน PNCV ต่อมาเดือนธันวาคม 2556 ตามที่ประชุมกรรมการ PNCT ครั้งที่ 9/2556 ได้อนุมัติให้ยกเลิกการทํารายการดังกล่าว และได้ทําการขายรายการที่เกี่ยวข้องกับโรงแรม ในปี พ.ศ2557 ให้กับคุณวรินภร แต่ยังไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์หุ้น โดยมีเพียงเอกสารบันทึกข้อตกลงการโอนกรรมสิทธิหุ้นเท่านั้น
2.3 เนื่องจากในทางทะเบียนปรากฏชื่อว่า PNCT เป็นผู้ถือหุ้นของ PNV ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินโรงแรม Panacee Germany ดังนั้น ในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตาม fiduciary duty เพื่อรักษาประโยชน์สูงสุดของ NUSA คณะกรรมการ NUSA ได้มีการดําเนินการตรวจสอบว่า บันทึกข้อตกลงโอนหุ้นที่ระบุว่า PNV มีนางสาววรินภรเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ โดยการรับโอนหุ้นมาจากผู้ถือหุ้นรายเดิมของ PNCT เป็นข้อตกลงที่มีผลบังคับตามกฎหมายหรือไม่อย่างไร ผู้ถือหุ้นรายเดิมของ PNCT ที่ทํารายการกับนางสาววรินภรคือบุคคลใด และเป็นการดําเนินการโดยมีค่าตอบแทนให้กับ PNCT หรือไม่อย่างไร และหากเป็นการดําเนินการที่เกิดขึ้นจริงเหตุใดนางสาววรินภร จึงไม่ได้รับโอนหุ้น PNV จาก PNCT ไปในทันที
คำชี้แจง : คณะกรรมการ เห็นว่า ฝ่ายกฎหมายของบริษัทฯได้มีการตรวจสอบบันทึกการโอนหุ้นของPNV จาก PNCT ให้กับคุณวรินภร มีผลบังคับตามกฎหมายทุกประการ ซึ่งปัจจุบัน PNCT ได้โอนหุ้น PNV ให้กับคุณวรินภร เป็นที่เรียบร้อย โดยผู้ที่มีอํานาจลงนามการทําบันทึกข้อตกลงของ PNCT คือกรรมการผู้มีอํานาจของ PNCT ซึ่งไม่เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทแต่อย่างใด และผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ PNCT ณ วันทําบันทึกข้อตกลงไม่ได้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ และบริษัทฯไม่ได้มีการจ่ายค่าตอบแทนในเรื่องดังกล่าวให้กับ PNCT แต่อย่างใด สําหรับเหตุผลที่นางสาววรินภร จึงไม่ได้รับโอนหุ้น PNV จาก PNCT ไปในทันทีเกิดจากความล่าช้าในขั้นตอนการตรวจสอบเอกสารของประเทศเยอรมนีและอยู่ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ทําให้ใช้เวลาในการเปลี่ยนแปลงเอกสารการถือหุ้นใน PNV จาก PNCT เป็นนางสาววรินภร นานพอสมควร
(3) การจ่ายเงินล่วงหน้าค่าเพิ่มทุนในบริษัทย่อยของ NUSA คือ World Medical Alliance Company Limited (“WMA”) โดยบริษัทย่อยนําไปซื้อเครื่องบินและต่อมาตั้งค่าเผื่อการด้อยค่าทั้งจำนวน
3.1 จากคําชี้แจงของ NUSA ระบุว่า WMA เป็นเจ้าของเครื่องบินขนาด 8 ที่นั่ง 1 ลํา มูลค่าทรัพย์สิน 4.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดย WMA ทําสัญญาให้บริษัท ณุศา วัน จํากัด เช่าและเป็นตัวแทนในการหาประโยชน์จากเครื่องบินในประเทศไทยและต่างประเทศ ซึ่งที่ผ่านมา บ.ณุศา วัน ได้นําเครื่องบินดังกล่าวรับส่งลูกค้า VIP ของกลุ่มบริษัท รวมถึงรับส่งผู้บริหารที่จะเดินทางไปยังโครงการต่าง ๆ ของ NUSA เช่นเขาใหญ่ ภูเก็ต เป็นต้น
- การซื้อเครื่องบินดังกล่าวเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด เป็นการซื้อจากบุคคลใดและบุคคลนั้นเป็นผู้ที่ประกอบธุรกิจจําหน่ายเครื่องบินในทางค้าปกติหรือไม่อย่างไร และ NUSAมีความสัมพันธ์กับผู้ขายหรือไม่อย่างไร
คำชี้แจง : WMA ได้ซื้อเครื่องบินจากบริษัท Aurogold Asset Limited (“Aurogold”) เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2558 ซึ่ง Aurogold เป็นบริษัทจดทะเบียนภายใต้กฎหมายของเกาะบริติช เวอร์จิ้น (BVI) โดยมี Mr.Stephen C. Levesque เป็นกรรมการและผู้มีอํานาจลงนาม Aurogold และ Mr.Stephen C. Levesque ไม่
มีความเกี่ยวข้องกับบริษัทฯแต่อย่างใด
- เหตุใด WMA จึงต้องเพิ่มทุนนําไปซื้อเครื่องบินเพื่อให้บ.ณุศา วัน เช่าและ บ.ณุศา วัน มีเหตุผลและความจําเป็นในการใช้เครื่องบินเช่าเหมาลําเพื่อประกอบกิจการอย่างไร
คำชี้แจง : เนื่องจากผู้ขายเครื่องบินเป็นบริษัทจดทะเบียนใน BVI บริษัทจึงต้องจัดตั้ง WMA ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนภายใต้กฎหมาย BVI เช่นกัน เพื่อประโยชน์ทางด้านภาษีของกลุ่มบริษัท และจึงนํามาให้บ.ณุศาวัน เช่า เป็นการวางแผนลดต้นทุนค่าซื้อเครื่องบินอีกทางหนึ่ง สําหรับความจําเป็นในการประกอบกิจการเครื่องบินเช่าเหมาลํา เนื่องจากปริมาณการใช้เครื่องบินของลูกค้า บ.ณุศา วัน และผู้บริหารยังไม่มากพอ บริษัทฯจึงหาช่องทางการสร้างรายได้เพิ่มเติม โดยการให้เช่าเหมาลําบ้าง ตามเวลาที่บริษัทฯไม่ใด้ใช้งานเครื่องบิน
3.2 จากคําชี้แจงของ NUSA ระบุว่า ในการเข้าซื้อเครื่องบินนั้น คณะกรรมการ NUSA ได้รับทราบและการซื้อเครื่องบินดังกล่าวมีความสมเหตุสมผลเพราะเป็นการซื้อขาย ตามราคาตลาด ณ วันที่ทํารายการอีกทั้งเป็นเครื่องบินที่ซื้อในประเทศไทยจึงไม่มีค่าใช้จ่ายในการนําเข้าซึ่งการซื้อเครื่องบินดังกล่าวมีความสมเหตุสมผลและเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ NUSA เนื่องจากใช้สําหรับการประกอบธุรกิจ
- การพิจารณาซื้อเครื่องบินดังกล่าวได้ผ่านกระบวนการพิจารณาของคณะกรรมการชุดใด หรือไม่อย่างไร และ NUSA ได้จัดทําสัญญาซื้อขายเครื่องบินกับผู้ขาย หรือไม่อย่างไร
คำชี้แจง : การพิจารณาซื้อเครื่องบิน ได้ผ่านการอนุมัติโดยฝ่ายจัดการเนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของการ
ทําการตลาดในโปรแกรมของ บ.ณุศา วัน โดยมีการทําสัญญาซื้อขายเครื่องบินกับผู้ขาย บริษัท Aurogold Asset Limited (“Aurogold”) เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2558
- นอกจากนี้ราคาที่ NUSA เข้าทํารายการซื้อเครื่องบินซึ่งระบุว่า เป็นการซื้อขายตามราคาตลาด ณ วันที่ทํารายการนั้น ขอให้ชี้แจงที่มาของการกําหนดราคาดังกล่าว และราคานั้นได้ผ่านการประเมินโดยผู้ประเมินราคาทรัพย์สินอิสระด้วยหรือไม่อย่างไร
คำชี้แจง : การพิจารณาซื้อเครื่องบินดังกล่าว ไม่ได้มีการประเมินโดยผู้ประเมินราคาทรัพย์สินอิสระ แต่บริษัทฯได้ตรวจสอบราคาซื้อขายตามราคาตลาดทั่วไป ผ่าน Website ประกาศขายเครื่องบินต่างๆ
- เนื่องจากคณะกรรมการ NUSA ให้ความเห็นว่าการซื้อเครื่องบินดังกล่าวมีความสมเหตุสมผล จึงขอให้ชี้แจงปัจจัยที่ใช้ในการประกอบการพิจารณาความสมเหตุสมผลในการเข้าซื้อเครื่องบินดังกล่าวด้วย
คำชี้แจง : การซื้อเครื่องบินดังกล่าว มีความสมเหตุสมผล เนื่องจากเป็นการซื้อตามราคาตลาดและนํามาใช้เพื่อสนับสนุนธุรกิจของบริษัทและส่งเสริมการขายของ บ.ณุศา วัน เป็นการอํานวยความสะดวกให้กับลูกค้าที่มาซื้อสินค้าและใช้บริการกับกลุ่มบริษัท อีกทั้งยังหาประโยชน์จากรายได้ธุรกิจเครื่องบินเช่าเหมาลําอีกทางหนึ่งด้วย
3.3 จากคําชี้แจงของ NUSA ระบุว่า ในปี 2563 เครื่องบินเสียหายที่ตัวเครื่องและล้อเนื่องจากกระแทกในขณะที่เครื่องบินกําลังลงจอด โดย WMA ได้มีการเคลมประกันภัยทรัพย์สินได้เงินชดเชยจากการประกันความเสียหายจํานวน 27 ล้านบาทและในปี 2564 NUSA ไปจําหน่ายเครื่องบินให้กับบุคคลภายนอกในสภาพเศษซากจํานวน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ขณะที่มีเหตุการณ์ที่ทําให้เครื่องบินเสียหายเกิดขึ้นนั้น เครื่องบินอยู่ในความครอบครองของบุคคลใด และบุคคลนั้นต้องมีความรับผิดต่อ WMA หรือไม่อย่างไร
- ในการพิจารณาความเสียหายของเครื่องบิน คณะกรรมการ NUSA ได้ใช้รายงานอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น รายงานการซ่อมแซมเครื่องบิน หรือรายงานการประเมินมูลค่าซากเพื่อประกอบการพิจารณาหรือไม่อย่างไร
คำชี้แจง : ขณะที่มีเหตุการณ์ที่ทําให้เครื่องบินเสียหายเกิดขึ้น เครื่องบินอยู่ในความครอบครองของบริษัทฯ โดยผู้ควบคุมเครื่องบินคือกัปตันซึ่งเป็นพนักงานของบริษัทฯ บริษัทฯได้มีการตรวจสอบสาเหตแล้วพบว่าเกิดจากสาเหตุสุดวิสัย จึงทําให้บริษัทฯไม่ได้เรียกร้องให้กัปตันคนดังกล่าวรับผิดชอบ บริษัทฯได้เรียกร้องค่าเสียหายในส่วนนี้จากบริษัทประกัน
3.4 จากคําชี้แจงของ NUSA ระบุว่า เหตุผลที่ NUSA ไม่มีการนําเงินไปจดทะเบียนเพิ่มทุน WMA ให้เสร็จทั้งที่เพิ่มทุนไปแล้วตั้งแต่ปี 2560 เนื่องจาก NUSA มีแผนที่จะขายเครื่องบินออกไป โดยการขายหุ้น WMA เนื่องจากการดําเนินธุรกิจจากเครื่องบินดังกล่าวไม่ประสบความสําเร็จเท่าที่ควร จึงยังไม่ดําเนินการเพิ่มทุน
ใดๆจนกว่าจะขายให้กับผู้สนใจซื้อได้ อย่างไรก็ดี NUSA ชี้แจงว่า NUSA มีแผนที่จะให้บริษัทย่อยอีกแห่ง ดําเนินธุรกิจเกี่ยวกับสายการบินจึงมีแผนที่จะซื้อเครื่องบินลําใหม่
- ขอให้คณะกรรมการ NUSA ให้ความเห็นถึงกลยุทธ์ในการลงทุนของ NUSA ในปัจจุบันว่าจะเกี่ยวข้องกับการซื้อเครื่องบินอย่างไร
- ในการเข้าดําเนินการทําธุรกิจเกี่ยวกับสายการบินนั้น NUSA มีความเชี่ยวชาญ หรือความชํานาญในธุรกิจดังกล่าวหรือไม่อย่างไร
คำชี้แจง : บริษัทฯยังไม่มีแผนดําเนินธุรกิจเกี่ยวกับสายการบินและมีแผนที่จะซื้อเครื่องบินลําใหม่ในขณะนี้โดยชะลอแผนดังกล่าวออกไปก่อนอย่างไม่มีกําหนด เพื่อรอเวลาให้บริษัทฯมีความพร้อมในธุรกิจมากกว่านี้จึงค่อยนํามาพิจารณาดําเนินการอีกครั้ง
3.5 แบบ 56-1 One Report ปี 2565 ของ NUSA หัวข้อทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบธุรกิจระบุว่า NUSA มีเครื่องบินส่วนบุคคล CIRRUS SR22T (ลําเล็ก) มูลค่า 23 ล้านบาทตามการประเมิน ณ วันที่ 19 พฤศจิกายน 2564 โดยที่ แบบ 56-1 One Report ปี 2564 ของ NUSA ระบุว่า NUSA มีเครื่องบินส่วนบุคคล HAWKER 850XP (ลําใหญ่) มูลค่า 53.2 ล้านบาท ตามการประเมิน ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน 2564
- จากข้อมูลที่ NUSA เปิดเผยในแบบ 56-1 One Report ดังกล่าว ขอให้คณะกรรมการNUSA ชี้แจงว่า NUSA ได้ซื้อเครื่องบินจํานวนทั้งสิ้นกี่ลํา ตั้งแต่เมื่อใด ซื้อจากบุคคลใดและใช้เงินทุนจากแหล่งใดในการเข้าซื้อเครื่องบิน
คำชี้แจง : บริษัทฯมีทรัพย์สินเครื่องบินจํานวน 2 ลํา ตามที่ระบุไว้ในรายงานแบบ 56-1 One Report ปี 2565 ของ NUSA ได้แก่ เครื่องบินส่วนบุคคล HAWKER 850XP (ลําใหญ่) ซื้อจาก Aurogold เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2558 และ เครื่องบินส่วนบุคคล CIRRUS SR22T (ลําเล็ก) ซื้อจากบริษัท Cirrus Design Corporation เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2559 โดยใช้เงินทุนจากการดําเนินงานของบริษัทฯมาชําระ ซึ่งช่วงแรกของการชําระบริษัทฯทยอยผ่อนชําระกับเจ้าของเครื่องบินโดยตรง ต่อมาบริษัทฯได้รับการสนับสนุนสินเชื่อเช่าซื้อจากราชธานีลิสซิ่ง จนชําระเสร็จสิ้น
- NUSA มีเหตุผลและความจําเป็นใดในการซื้อเครื่องบินส่วนบุคคล CIRRUS SR22T (ลําเล็ก) และคณะกรรมการ NUSA เห็นว่า NUSA ได้จัดให้มีมาตรการอย่างเพียงพอที่จะป้องกันไม่ให้เกิดการด้อยค่าของเงินลงทุนอีกหรือไม่อย่างไร
คำชี้แจง : เหตุผลและความจําเป็นใดในการซื้อเครื่องบินส่วนบุคคล CIRRUS SR22T (ลําเล็ก) เพื่อนํามาใช้สําหรับแผนการโปรโมทโครงการต่างๆของบริษัทฯ โดยเฉพาะโครงการมาย โอโซน เขาใหญ่ ที่มีแผนเปิดขายโครงการหมู่บ้านสําหรับผู้มีเครื่องบินเล็ก รวมถึงอํานวยความสะดวกให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการในโครงการมายโอโซน เนื่องจากมีสนามบินเล็กไว้บริการลูกค้าที่มาใช้บริการทางการแพทย์ในโครงการ สําหรับมาตรการการป้องกันไม่ให้เกิดการด้อยค่าของเงินลงทุนถ้าหากมีการลงทุนอีก บริษัทฯมีนโยบายที่จะทําประกันภัยเครื่องบินให้มีมูลค่าคุ้มครองราคาซื้อเครื่องบิน
นอกจากนี้ตามที่ NUSA ได้หารือเบื้องต้นกับสํานักงาน ก.ล.ต. เกี่ยวกับการลงทุนเพิ่มเติมในหุ้นของบริษัท วินด์เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จํากัด (WEH) จากที่ NUSA ได้มีการลงทุนในหุ้น WEH ในปี 2565 ไปแล้วจํานวนร้อยละ 7.12 ของจํานวนหุ้น WEH ทั้งหมด สํานักงาน ก.ล.ต. พิจารณาแล้วเห็นว่า เมื่อพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ของการลงทุนเพื่อเป็นการกระจายการลงทุนไปในธุรกิจอื่นเช่นเดียวกับวัตถุประสงค์เดิมที่ NUSA ตัดสินใจลงทุนในปี 2565 และเป็นการลงทุนในหุ้นของ WEH ซึ่งเป็นบริษัทเดียวกันกับที่ NUSA ได้ลงทุนไปก่อนหน้าแล้ว ดังนั้น จึงเห็นควรรวมการคํานวณขนาดรายการของการลงทุนในหุ้น WEH ที่ลงทุนไปแล้วกับการลงทุนในครั้งนี้เพื่อประโยชน์ของผู้ถือหุ้นที่จะได้พิจารณาถึงผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการลงทุนในหุ้น WEH ทั้งหมดด้วยทั้งนี้
คำชี้แจง : บริษัทฯจะเร่งดําเนินการพิจารณาและทบทวนมติคณะกรรมการ เกี่ยวกับการลงทุนเพิ่มเติมในหุ้นของบริษัท วินด์เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จํากัด (WEH) ดังกล่าว เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องต่างๆ และผลการพิจารณาของสํานักงาน ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ฯ เรื่องการรวมการคํานวณขนาดรายการที่ลงทุนไปแล้วกับการลงทุนในครั้งนี้ตามที่บริษัทฯได้หารือเบื้องต้น