'โคตรเงินเฟ้อแห่งไวมาร์' พ่นพิษขนมปังในเยอรมนีราคาพุ่ง 2 แสนล้านมาร์ก/ก้อน

'โคตรเงินเฟ้อแห่งไวมาร์' พ่นพิษขนมปังในเยอรมนีราคาพุ่ง 2 แสนล้านมาร์ก/ก้อน

'โคตรเงินเฟ้อแห่งไวมาร์' หายนะเศรษฐกิจที่ทำให้ขนมปังแค่หนึ่งก้อนในเยอรมนีมีราคาพุ่งถึง 2 แสนล้านมาร์ก ขณะที่แสตมป์เล็กๆ 1 ดวงมีมูลค่าหน้ากระดาษถึง 10 ล้านมาร์ก

หายนะเศรษฐกิจในเยอรมนีเคยพุ่งสูงมาก หรือเรียกได้ว่า 'โคตรเงินเฟ้อแห่งไวมาร์' ที่ทำให้ชั่วขณะหนึ่งขนมปังแค่หนึ่งก้อนมีราคาพุ่งถึง 2 แสนล้านมาร์ก ขณะที่แสตมป์เล็กๆ 1 ดวงมีมูลค่าหน้ากระดาษถึง 10 ล้านมาร์ก โดยมีลำดับของเหตุการณ์ไว้ดังนี้ 

เบื้องหลังเหตุการณ์

ก่อนศตวรรษที่ 19 ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า "ประเทศเยอรมนี" มีแต่ดินแดนต่างๆ ของคนพูดภาษาเยอรมันที่ถูกรวมไว้ในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ แต่ในช่วงสงครามนโปเลียน อาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ถูกสลายไป แคว้นเล็กๆ ที่พูดภาษาเยอรมันถูกรวมกันเข้าแล้วตั้งเป็นสมาพันธรัฐแห่งแม่น้ำไรน์โดยนโปเลียน

อาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ที่ถูกสลายไปยังเหลือส่วนหลักของจักรวรรดิเดิมที่ยังแข็งแกร่งอยู่ซึ่งกลายมาเป็นจักรวรรดิออสเตรียทางตอนใต้ และยังมีอาณาจักรของคนเยอรมันที่อยู่ทางเหนือ ซึ่งสร้างตัวเองขึ้นมาโดยไม่ขึ้นกับมหาอำนาจใดๆ นั่นคืออาณาจักรปรัสเซีย

\'โคตรเงินเฟ้อแห่งไวมาร์\' พ่นพิษขนมปังในเยอรมนีราคาพุ่ง 2 แสนล้านมาร์ก/ก้อน

เมื่อนโปเลียนพ่ายแพ้แล้ว มหาอำนาจในยุโรปจึงจัดระเบียบดินแดนกันใหม่ สมาพันธรัฐแห่งแม่น้ำไรน์ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นสมาพันธรัฐเยอรมัน คือดินแดนของประเทศเยอรมนีส่วนใหญ่ในปัจจุบัน สมาพันธรัฐเยอรมันกลายเป็นพื้นที่กันชนระหว่างจักรวรรดิออสเตรียทางตอนใต้กับอาณาจักรปรัสเซีย ที่เริ่มแย่งชิงความเป็นผู้นำดินแดนของคนพูดภาษาเยอรมัน 

จนกระทั่งทั้งสองฝ่ายทำสงครามในที่สุด คือ สงครามเจ็ดสัปดาห์ในปีค.ศ. 1866 จบลงด้วยชัยชนะของปรัสเซีย และตามมาด้วยการสถาปนาสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือใน ค.ศ. 1866 คือการรวมกันของสมาพันธรัฐเยอรมันบางส่วนเข้ากับปรัสเซีย ต่อมาดินแดนของคนเยอรมันที่เหลือก็เข้าร่วมด้วย นั่นคือ  บาวาเรีย เวือร์ทเทิมแบร์ค และบาเดน กลายเป็นจักรวรรดิเยอรมันขึ้นมา 

\'โคตรเงินเฟ้อแห่งไวมาร์\' พ่นพิษขนมปังในเยอรมนีราคาพุ่ง 2 แสนล้านมาร์ก/ก้อน

จากนั้นจักรวรรดิเยอรมันขยายดินแดนมาถึงเขตอิทธิพลของฝรั่งเศส แล้วเอาชนะฝรั่งเศสได้ในสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซียปี 1870  จักรวรรดิเยอรมันจึงกลายเป็นประเทศมหาอำนาจใหม่ที่ชิงอำนาจกับจักรวรรดิบริติช (อังกฤษ) และจักรวรรดิรัสเซีย โดยที่ฝรั่งเศสที่พ่ายแพ้ไปและจักรออสเตรียที่เสื่อถอยลงไม่มีอำนาจต่อรองการเมืองโลกมากนักหลังจากนั้น

จุดเริ่มต้นของหายนะ

จักรวรรดิเยอรมัน หรือ "ประเทศเยอรมนี" ในที่สุดก็เกิดความขัดแย้งกับจักรวรรดิบริติช  จักรวรรดิรัสเซีย รวมถึงคู่กรณีเก่าคือฝรั่งเศส ส่วนจักรวรรดิออสเตรียที่พูดภาษาเยอรมันก็หันมาเข้าข้างคนเยอรมันด้วยกัน เหตุการณ์นี้คือ "สงครามโลกครั้งที่ 1" 

แต่ในตอนนั้นเทคโนโลยีของโลกล้ำหน้าไปมากแล้ว โลกกลายเป็นระบบเศรษฐกิจแบบอุตสาหกรรม มีการผลิตอาวุธในจำนวนมากเหมือนสินค้าจากโรงงาน แต่มีประสิทธิภาพสูงมาก สงครามนี้จึงเป็นยุคใหม่ที่ใช้อาวุธทำลายล้างสูงอย่างที่มนุษยชาติไม่เคยพบมาก่อน เช่น ปืนกล เครื่องบิน แก๊สพิษ ปืนใหญ่ยิงระยะไกล เนื่องจากต้องเผชิญกับอาวุธร้ายแรง การรบจึงต้องเป็นการขุดสนามเพลาะขนาดมหึมาเพื่อค่อยๆ ชิงพื้นที่ไปพร้อมๆ กับหลบการโจมตี แต่การทำแบบนี้ทำให้การรบชะงักงัน และแต่ละฝ่ายสูญเสียผู้คนและงบประมาณมหาศาล

\'โคตรเงินเฟ้อแห่งไวมาร์\' พ่นพิษขนมปังในเยอรมนีราคาพุ่ง 2 แสนล้านมาร์ก/ก้อน

หายนะได้เกิดขึ้นแล้ว 

เพื่อชดใช้ค่าใช้จ่ายจำนวนมากในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งที่กำลังดำเนินอยู่ เยอรมนีจึงระงับมาตรฐานทองคำ (การโยงสกุลเงินกับปริมาณทองคำ) เมื่อสงครามปะทุขึ้นในปี 1914 ซึ่ง มาตรฐานทองคำคือระบบการเงินที่เงินในระบบจะขึ้นอยู่กับปริมาณทองคำคงที่ที่ประเทศนั้นๆ มีอยู่ เช่นธนบัตรราคา 1 มาร์กก็จะเท่ากับทองคำมูลค่า 1 มาร์กเช่นกัน การระงับมาตรฐานทองคำเท่ากับว่า เยอรมันสามารถพิมพ์ธนบัตรได้มากเท่ที่ต้องการโดยไม่ต้องอิงกับจำนวนท่องคำที่ครอบครองไว้ การทำแบบนี้ก็เพราะต้องการเงินอย่างมากนั่นเอง

แต่เงินที่ได้มากนั้นเสี่ยงที่จะไร้ค่าได้ หากสถานการณ์การเมืองพลิกผัน ไม่เพียงเท่านั้นจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนีและรัฐสภาไรชส์ทาคยังมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ทุนสนับสนุนการทำสงครามทั้งหมดโดยการยืมเงิน ต่างจากฝรั่งเศสซึ่งกำหนดภาษีเงินได้ครั้งแรกเพื่อจ่ายสำหรับสงคราม การกู้เงินนี้แหละที่จะเป็นตัวการหายนะ

\'โคตรเงินเฟ้อแห่งไวมาร์\' พ่นพิษขนมปังในเยอรมนีราคาพุ่ง 2 แสนล้านมาร์ก/ก้อน

รัฐบาลเยอรมันเชื่อว่าจะสามารถชำระหนี้ได้ ถ้าเยอรมันชนะสงครามและให้คู่กรณีที่พ่ายแพ้ชดใช้ค่าเสียหายจากสงคราม เยอรมนีหวังว่าจะผนวกดินแดนอุตสาหกรรมที่อุดมด้วยทรัพยากรทางตะวันตกและตะวันออก และจะสั่งให้ประเทศคู่กรณีที่เยอรมนีหวังว่าจะแพ้ตนนั้น ต้องจ่ายค่าเสียหายด้วยเงินสด 

ทั้งหมดนี้ เป็นแค่ความหวังล้วนๆ เพราะสงครามไม่มีวี่แววว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะชนะ เยอรมันก็ยังกู้เงินมหาศาลและยังถอนตัวจากมาตรฐานทองคำ ดังนั้น อัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินมาร์กเทียบกับดอลลาร์สหรัฐจึงลดลงอย่างต่อเนื่องจาก 4.2 เหลือ 7.9 มาร์กต่อดอลลาร์ระหว่างปี 1914 ถึง 1918 ซึ่งเป็นคำเตือนเบื้องต้นถึงภาวะเงินเฟ้อขั้นรุนแรงหลังสงคราม ถ้าหากเยอรมันแพ้ขึ้นมา

\'โคตรเงินเฟ้อแห่งไวมาร์\' พ่นพิษขนมปังในเยอรมนีราคาพุ่ง 2 แสนล้านมาร์ก/ก้อน

ดังนั้น เมื่อเยอรมนีแพ้สงคราม จักรวรรดิเยอรมันถูกฝ่ายประเทศที่ชนะสั่งสลายตัว แล้วดินแดนต่างๆ ถูกแบ่งให้ผู้ชนะ แกนหลักของจักรวรรดิเยอรมันที่เหลืออยู่กลายเป็นสาธารณรัฐไวมาร์ ซึ่งต้องแบกรับภาระหนี้สงครามจำนวนมหาศาลที่ไม่สามารถจ่ายได้ หนี้ของประเทศอยู่ที่ 156,000 ล้านมาร์กในปี 1918 หรือในปีสิ้นสุดสงคราม 

ปัญหาหนี้รุนแรงขึ้นจากการพิมพ์เงินโดยไม่มีทรัพยากรทางเศรษฐกิจมาสนับสนุนมูลค่าของเงินที่ปั๊มออกมา เช่น ทองคำหรือ นอกจากนี้ ประเทศสงครามยังทำสนธิสัญญาแวร์ซายส์บังคับให้เยอรมันหรือสาธารณรัฐไวมาร์ ต้องชดใช้เงินถึง 132,000 ล้านมาร์กทองคำ (ต่อมาได้รับการปรับให้เหลือ 112,000 ล้านมาร์ก) ตัวการเหล่านี้ยิ่งเร่งให้มูลค่าของเงินลดลงอย่างรวดเร็ว จมในปี 1919 มันเริ่มแสดงอาการของภาวะเงินเฟ้อที่รุนแรงอย่างมหันต์ หรือ Hyperinflation

\'โคตรเงินเฟ้อแห่งไวมาร์\' พ่นพิษขนมปังในเยอรมนีราคาพุ่ง 2 แสนล้านมาร์ก/ก้อน

เนื่องจากประเทศผู้ชนะสงครามเร่งรัดให้จ่ายค่าเสียหาย แต่เยอรมนีจ่ายได้เพียง 50,000 ล้านมาร์ก และยังจะต้องจ่ายในสกุลเงินแข็ง ไม่ใช่เงิยกระดาษของสกุลเงินมาร์ก หรือ Papiermark ที่อ่อนค่าลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 1921 รูดอล์ฟ ฮาเวนชไตน์ ประธานธนาคารไรช์สแบงก์ (ธนาคารกลางของเยอรมัน)  เริ่มกลยุทธ์ในการซื้อสกุลเงินต่างประเทศด้วยเงินมาร์กในราคาใดก็ได้ โดยไม่คำนึงถึงอัตราเงินเฟ้อ แต่ทำให้มูลค่าของเงินมาร์กล่มสลายเร็วเข้าไปอีกเท่านั้น ยิ่งซื้อสกุลเงินต่างประเทศมากเท่าไรเพื่อมาจากตามข้อเรียกร้องของประเทศผู้ชนะสงคราม เงินมาร์กก็ยิ่งทรุดลงหนักขึ้นเรื่อยๆ 

ในช่วงครึ่งแรกของปี 1922 มูลค่าของเงินมาร์กอยู่ที่ประมาณ 320 มาร์กต่อดอลลาร์สหรัฐ  แต่หลังจากกที่มีการประชุมการชดใช้ค่าเสียหายระหว่างประเทศครั้งแรกในเดือนมิถุนายน 1922 ซึ่งที่ประชุมไม่มีวิธีแก้ปัญหาการเรียกร้องค่าเสียหายที่สูงมากจนไม่สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจของเยอรมนี ความไม่แน่นอนนี้ ทำให้อัตราเงินเฟ้อ ปะทุขึ้นจนกลายเป็นภาวะเงินเฟ้อรุนแรง (Hyperinflation) ค่าเงินมาร์กลดลงเหลือ 7,400 มาร์กต่อดอลลาร์สหรัฐ 

\'โคตรเงินเฟ้อแห่งไวมาร์\' พ่นพิษขนมปังในเยอรมนีราคาพุ่ง 2 แสนล้านมาร์ก/ก้อน

ภายในเดือนธันวาคม 1922 ส่วนดัชนีค่าครองชีพหรือตัววัดเวินเฟ้ออยู่ที่ 41 จุดในเดือนมิถุนายน 1922 ในช่วงครึ่งปีพุ่งขึ้นมาเป็น 685 ในเดือนธันวาคม ซึ่งเพิ่มขึ้นเกือบ 17 เท่า พร้อมๆ กับที่ธนาคารกลางเยอรมันไม่สามารถจ่ายค่าชดเชยความเสียหายจากสงครามได้อีกต่อไป เพราะเงินแทบจะไร้ค่าแล้ว ณ ตอนนี้ 

เพราะธนาคารกลางนั่นเองที่ใช้วิธีรพิมพ์ธนบัตรจำนวนมากเพื่อซื้อเงินตราต่างประเทศ ซึ่งต่อมาใช้เพื่อจ่ายค่าชดเชย แต่กลยุทธ์นี้ทำให้อัตราเงินเฟ้อของเงินมาร์กรุนแรงขึ้นอย่างมาก ภายในฤดูใบไม้ร่วงปี 1922 เงินมาร์กก็แทบจะไร้ค่า และซื้อเงินตราต่างประเทศมาจ่ายค่าเสียหายไม่ได้ ดังนั้น หลังจากที่เยอรมนีไม่สามารถจ่ายค่าชดเชยให้กับฝรั่งเศสได้ตรงเวลาในปลายปี 1922 

\'โคตรเงินเฟ้อแห่งไวมาร์\' พ่นพิษขนมปังในเยอรมนีราคาพุ่ง 2 แสนล้านมาร์ก/ก้อน

ในเดือนมกราคม 1923 กองทหารฝรั่งเศสและเบลเยียมจึงได้เข้ายึดครองหุบเขารูห์ร ซึ่งเป็นเขตอุตสาหกรรมหลักของเยอรมนี ซึ่งถือเป็นความหวังเดียวที่ช่วยยึดระบบเศรษฐกิจเอาไว้ เนื่องจากพื้นที่นี้ไม่ได้รับความเสียหายจากสงคราม เนื่องจากเงินมากไม่มีค่า ฝรั่งเศสและเบลเยียมจึงบังคับให้จ่ายค่าชดเชยเป็นสินค้า เช่น ถ่านหิน และการที่ฝรั่งเศสและเบลเยียมเข้ามายึดครองนั้น เพื่อเป็นการประกันว่าจะมีจ่ายค่าชดเชย

หลังจากถูกยึดเขตอุตสาหกรรม รัฐบาลเยอรมนีเรียกร้องให้ประชาชนต่อต้าน โดยสั่งให้คนงานไม่ทำอะไรเลย เหมือนกับการนัดหยุดงานทั่วไปเพื่อประท้วงการยึดครองดังกล่าว แต่คนงานนัดหยุดงานยังคงต้องได้รับการสนับสนุนทางการเงินเพื่อเลี้ยงชีพตัวเอง รัฐบาลเยอรมนีจึงจ่ายเงินให้คนงานเหล่านี้ด้วยการพิมพ์ธนบัตรมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งๆ ที่เงินมาร์กแทบจะไร้ค่าแล้ว กดังนั้นในไม่ช้าเยอรมนีก็เต็มไปด้วยเงินกระดาษที่ไม่มีค่าอะไร ส่งผลให้ภาวะเงินเฟ้อรุนแรงยิ่งขึ้นไปอีก

\'โคตรเงินเฟ้อแห่งไวมาร์\' พ่นพิษขนมปังในเยอรมนีราคาพุ่ง 2 แสนล้านมาร์ก/ก้อน

ภายในเดือนพฤศจิกายน 1923 เงิน 4,210,500,000,000  มาร์กเยอรมัน  มีค่าแค่ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ขนมปังก้อนหนึ่งในกรุงเบอร์ลินซึ่งมีราคาประมาณ 160 มาร์ก ณ สิ้นปี 1922 ซึ่งก็ถือว่าเงินเฟ้อสูงมากอยู่แล้ว มันมีราคาพุ่งขึ้นไปถึง 200,000,000,000 มาร์ก แสตมป์เล็กๆ 1 ดวงมีมูลค่าหน้ากระดาษถึง 10,000,000 มาร์ก เวลาจะจับจ่ายใช้สอยอะไร ประชาชนจะต้องนำธนบัตรเป็นฟ่อนๆ ใส่ถึงแบกขึ้นหลัง หรือไม่ก็ต้องนำใส่รถเข็ญออกไปซื้อของใช้จำเป็นเพียงไม่กี่ชิ้น 

วิกเตอร์ เคลมเพเรอร์ นักวิชาการชาวเยอรมันบันทึกเหตุการณ์เอาไว้ว่า "ในไม่ช้าเนื้อสัตว์จะสูงถึง 3,000,000,000 มาร์กต่อปอนด์ (0.45 กิโลกรัม) เนยมีราคาเป็นสองเท่าของเนื้อ มูลค่าเท่ากับมันฝรั่งหนึ่งปอนด์และเบียร์หนึ่งแก้วซึ่งเป็นอาหารหลักของชาวเยอรมัน มีมูลค่า 50,000,000 และ 150,000,000 มาร์กตามลำดับ เป็นการดีที่สุดที่จะลืมเรื่องธัญพืชไปเสีย ขนมปังข้าวไรย์หนึ่งปอนด์มีราคามากกว่า 100,000,000,000 มาร์กภายในเดือนพฤศจิกายน 1923"

ในเดือนกรกฎาคม ปี 1924 ธนบัตรเงินมาร์กมีต้องพิมพ์ฉบับมูลค่าสูงมากๆ คือมีเลขศูนย์นับสิบตัว เช่น ธนบัตร 100,000,000,000,000 มาร์ก บางครั้งอัตราเงินเฟ้อขึ้นเร็วแบบทันตาเห็น คือ หลังจากที่คนงานได้รับค้าจ้างแล้ว ค่าเงินยังตกลงเรื่อยๆ ในระหว่างที่เขานำค่าจ้างที่ได้มาไปซื้อของ จนเมื่อเขาไปถึงร้านค้าแล้ว เงินที่ได้มาซื้อของได้แค่นิดหน่อย และธนบัตรสูญเสียมูลค่าไปมากจนถูกนำมาใช้เป็นวอลเปเปอร์กันเลยทีเดียว หรือบางครั้งถูกใช้แทนฟืนโยนเข้าไปในเตาไฟเพื่อให้ความอบออุ่น หรือพูดง่ายๆ ก็คือมันกลายสภาพไม่ต่างอะไรกับกระดาษเหลือใช้

\'โคตรเงินเฟ้อแห่งไวมาร์\' พ่นพิษขนมปังในเยอรมนีราคาพุ่ง 2 แสนล้านมาร์ก/ก้อน

สรรหาวิธีแก้ไข

รัฐบาลเยอรมนีพยายามแก้ไขด้วยวิธีการต่างๆ จนกระทั่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ฮานส์ ลูเทอร์ เสนอแผนการที่ใช้แทนทองคำมาอิงกับมูลค่าของเงิน นั่นหมายความว่าเยอรมนีหวนกลับไปใช้มาตรฐานทองคำอีกครั้ง และนำไปสู่การออกเรนเทนมาร์ก (Rentenmark  แปลว่า เงินมาร์กจำนอง) ซึ่งอิงกับพันธบัตรที่เคลื่อนไหวตามราคาตลาดของทองคำ โดยกำหนดมูลค่าในอัตรา 2,790 มาร์กทองคำต่อทองคำ 1 กิโลกรัม ซึ่งเป็นอัตราเดียวกับเงินมาร์กก่อนสงคราม Rentenmarks ไม่สามารถแลกเป็นทองคำได้เพียงแต่อิงกับมูลค่าพันธบัตรทองคำในตลาดเท่านั้น แผนดังกล่าวได้รับการรับรองในพระราชกฤษฎีกาการปฏิรูปการเงินเมื่อวันที่ 13-15 ตุลาคม 1923โดยมีการจัดตั้งธนาคารใหม่ Rentenbank ขึ้นมารองรับโดย ฮันส์ ลูเธอร์ รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง

เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 1923 เรนเทนมาร์กถูกนำออกมาใช้ในตลาดเพื่อทดแทนมาร์กกระดาษไร้ค่าที่ออกโดยธนาคารกลาง โดยมีการตัดเลขศูนย์สิบสองตัวจากธนบัตร  เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 1924 กฎหมายการเงินก็อนุญาตให้มีการแลกเปลี่ยนธนบัตรมูลค่า 1 ล้านล้านมาร์กกระดาษ ให้เป็นธนบัตรไรช์สมาร์ก (Reichsmark) ซึ่งเป็นธนบัตรรูปแบบใหม่ ซึ่งมีมูลค่าเท่ากับธนบัตรเรนเทนมาร์ก ภายในปี 1924 หนึ่งดอลลาร์เทียบเท่ากับ 4.2 เรนเทนมาร์ก

\'โคตรเงินเฟ้อแห่งไวมาร์\' พ่นพิษขนมปังในเยอรมนีราคาพุ่ง 2 แสนล้านมาร์ก/ก้อน

ตอนนั้นเองที่ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจของฝรั่งเศสและอังกฤษเริ่มอ้างว่าเยอรมนีจงใจทำลายเศรษฐกิจของตนเพื่อหลีกเลี่ยงการชดใช้ค่าเสียหายจากสงคราม แต่รัฐบาลทั้งสองมีมุมมองที่ขัดแย้งกันเกี่ยวกับวิธีการจัดการกับสถานการณ์ ฝรั่งเศสประกาศว่าเยอรมนีควรจ่ายค่าชดเชยต่อไป แต่อังกฤษพยายามอนุมัติการเลื่อนการชำระหนี้เพื่อให้เยอรมนีสามารถฟื้นฟูการเงินได้

แต่กว่าที่ค่าจ้างจริงโดยเฉลี่ยจะกลับคืนสู่ระดับปี 1913 ก็กินเวลาไปถึงง ปี 1928 ผลจากหายนะครั้งนี้ ทำให้ชนชั้นกลางจำนวนมากต้องยากจนลง เพราะเงินเก็บของของพวกเขาแทบจะละลายหายไปเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อ เช่นวิกเตอร์เคลมเพเรอร์นักวิชาการชาวเยอรมันบอกว่า “หุ้นของผมมี มูลค่าแทบไม่ถึง 100 มาร์ก เงินสดสำรองที่บ้านก็พอๆ กัน แค่นั้นเอง ประกัน ชีวิตของผมก็สูญสิ้นไปโดยสิ้นเชิง 150 ล้านมาร์กกระดาษ เท่ากับ 0.015 เหรียญเพนนี” แต่คนที่ได้รับประโยชน์มากที่สุด คือคนที่เป็นหนี้ เพราะหนี้ ของพวกเขาแทบจะหายไปในพริบตา