TISCO ฟาดกำไรปี 66 ที่ 7.3 พันล้าน โต 1.1% ด้านรายได้ดอกเบี้ยโต 8.6%
TISCO กำไรปี 66 แตะ 7.3 พันล้านบาท เพิ่ม 1.1% จากรายได้ดอกเบี้ยโต รับรายได้ดอกเบี้ยพุ่ง 8.6% ขณะที่สินเชื่อโต 7.2% ด้านกำไรไตรมาส 4/66 อยู่ที่ 1.7 พันล้านบาท
บริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TISCO เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานรวมของบริษัทงวดปี 2566 มีกำไรสุทธิสำหรับผลประกอบการงวดปี 2566 ของบริษัทมีจำนวน 7,302.61 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 78.54 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.1 จากปี 2565 สาเหตุหลักมาจากการเติบโตของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่ร้อยละ 8.6 ตามเงินให้สินเชื่อที่ขยายตัวร้อยละ 7.2 แม้ว่าในปีนี้ ต้นทุนทางการเงินของบริษัทปรับเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 93.9 ตามทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้นในตลาด ประกอบกับการปรับอัตราเงินนำส่งจากสถาบันการเงินเข้ากองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินกลับสู่ระดับปกติที่ร้อยละ 0.46 ต่อปี
ในส่วนของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยอ่อนตัวลงร้อยละ 6.4 เนื่องจากการชะลอตัวของธุรกิจที่เกี่ยวกับตลาดทุน โดยรายได้ค่านายหน้าจากการซื้อขายหลักทรัพย์อ่อนตัวลงร้อยละ 16.5 จากตลาดทุนที่ผันผวนรุนแรง ซึ่งส่งผลต่อเนื่องถึงผลขาดทุนจากเครื่องมือทางการเงินที่วัดมูลค่ายุติธรรมผ่านงบกำไรขาดทุน (FVTPL) นอกจากนี้ ค่าธรรมเนียมธุรกิจธนาคารพาณิชย์ฟื้นตัวช้ากว่าคาด โดยเฉพาะธุรกิจนายหน้าประกันภัย ที่ชะลอตัวลงตามปริมาณการปล่อยสินเชื่อใหม่ที่ลดลง
อย่างไรก็ดี ธุรกิจจัดการกองทุนสามารถกลับมาขยายตัวได้ร้อยละ 5.4 เป็นผลมาจากทั้งค่าธรรมเนียมพื้นฐานที่เติบโตตามสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร รวมถึงการรับรู้ค่าธรรมเนียมตามผลประกอบการของธุรกิจจัดการกองทุน สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 จากแผนการลงทุนระยะยาวเพื่อการขยายตัวของธุรกิจ
ในขณะที่ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นลดลงจากปีก่อนหน้า และอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.3 ของยอดสินเชื่อเฉลี่ยกำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานสำหรับงวดปี 2566 เท่ากับ 9.12 บาทต่อหุ้น เพิ่มขึ้นจาก 9.02 บาทต่อหุ้นในปี 2565 และมีอัตราผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นเฉลี่ย (ROAE) อยู่ที่ร้อยละ 17.1
ขณะที่ผลการดำเนินงานรวมของบริษัทงวดไตรมาส 4 ของปี 2566 กำไรสุทธิสำหรับผลประกอบการงวดไตรมาส 4 ปี 2566 ของบริษัทมีจำนวน 1,781.66 ล้านบาท ลดลง 25.07 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.4จากไตรมาส 4 ปี 2565 สาเหตุหลักมาจากรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยอ่อนตัวลงร้อยละ 17.0 เนื่องมาจากธุรกิจที่เกี่ยวกับตลาดทุน ทั้งรายได้ค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ที่ลดลงและการรับรู้ผลขาดทุนจากเครื่องมือทางการเงิน ประกอบกับธุรกิจธนาคารพาณิชย์ชะลอตัวลงตามสภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงอ่อนแอ
อย่างไรก็ดี รายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 จากสินเชื่อที่ขยายตัว ในส่วนของค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 ตามแผนการเติบโตในระยะยาวของบริษัท ส่วนผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2566 กำไรสุทธิลดลง 92.82 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.0 จากการตั้งสำรองผลขาดทุน
ด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเพื่อรองรับความเสี่ยงในอนาคต ด้านรายได้รวมจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 จากไตรมาสก่อนหน้า เป็นผลมาจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 และรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ค่าธรรมเนียมธุรกิจธนาคารพาณิชย์ฟื้นตัวได้ดีจากไตรมาสก่อนหน้า รวมถึงบริษัทมีการรับรู้รายได้ค่าธรรมเนียมตามผลประกอบการของธุรกิจจัดการกองทุนมีจำนวน 51.39 ล้านบาทในไตรมาสนี้
ในขณะที่ธุรกิจที่เกี่ยวกับตลาดทุนอ่อนตัวลง ทั้งค่าธรรมเนียมธุรกิจหลักทรัพย์ ค่าธรรมเนียมพื้นฐานธุรกิจจัดการกองทุน และผลขาดทุนจากเครื่องมือทางการเงินที่เพิ่มขึ้น เนื่องมาจากความผันผวนของตลาดทุน ส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้นร้อยละ1.0จากค่าใช้จ่ายตามฤดูกาลที่เพิ่มขึ้นกำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน สำหรับงวดไตรมาส 4 ปี 2566 เท่ากับ 2.23 บาทต่อหุ้น ลดลงจาก 2.26 บาทต่อหุ้น ในไตรมาส 4ของปีก่อนหน้าและลดลงจาก 2.34 บาทต่อหุ้นในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนอัตราผลตอบแทนต่อผู้ถือ
หุ้นเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 17.2
ด้านรายได้ดอกเบี้ยสุทธิในปี 2566 รายได้ดอกเบี้ยสุทธิมีจำนวน 13,828.64 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,095.01 ล้านบาท (ร้อยละ 8.6) จากปี 2565 โดยรายได้ดอกเบี้ยมีจำนวน 18,037.04 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3,132.74 ล้านบาท (ร้อยละ 21.0) ตามการขยายตัวของเงินให้สินเชื่อ และการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในช่วงทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น ในขณะที่ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยมีจำนวน 4,208.39 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,037.73 ล้านบาท (ร้อยละ 93.9) จากต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้นตามการปรับเพิ่มขึ้นของดอกเบี้ยนโยบายอัตราผลตอบแทนของเงินให้สินเชื่ออยู่ที่ร้อยละ 7.53 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7.03 ในปี2565 ตามการขยายตัวของสัดส่วนสินเชื่อที่มีผลตอบแทนในระดับสูงและการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลอยตัว
ส่วนต้นทุนเงินทุนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.11 มาเป็นร้อยละ 1.92จากต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้นในภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น ส่งผลให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยลดลงจากร้อยละ 5.92 มาเป็นร้อยละ 5.61และส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (Net Interest Margin) ลดลงจากร้อยละ 5.09 มาเป็นร้อยละ 5.04
ส่วนรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยมีจำนวน 5,217.15 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6.4จากปีก่อนหน้าเนื่องมาจากการชะลอตัวของธุรกิจหลักในภาวะที่เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวอย่างไม่ทั่วถึง ทั้งธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจตลาดทุน รวมถึงการรับรู้ผลขาดทุนจากเครื่องมือทางการเงินที่วัดมูลค่ายุติธรรมผ่านงบกำไรขาดทุนรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยจากธุรกิจหลักมีจำนวน 5,506.03 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.1จากปี2565 สาเหตุหลักมาจากการชะลอตัวของธุรกิจธนาคารพาณิชย์ และธุรกิจหลักทรัพย์
โดยรายได้ค่าธรรมเนียมจากธุรกิจธนาคารพาณิชย์ลดลงจำนวน 146.26 ล้านบาท มาอยู่ที่ 3,276.43 ล้านบาท (ร้อยละ 4.3) จากธุรกิจนายหน้าประกันภัยที่อ่อนตัวลงตามปริมาณการปล่อยสินเชื่อใหม่ที่ชะลอตัว พร้อมกับการลดลงของค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวกับการปล่อยสินเชื่อ สืบเนื่องมาจากการปรับปรุงเกณฑ์ของทางการ รายได้ค่านายหน้าจากการซื้อขายหลักทรัพย์มีจำนวน 572.09 ล้านบาท ลดลง 113.13 ล้านบาท (ร้อยละ 16.5) ตามปริมาณการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ลดลงอย่างมากท่ามกลางความผันผวนของตลาดทุน อีกทั้ง รายได้ค่าธรรมเนียมจากธุรกิจวาณิชธนกิจอ่อนตัวลงร้อยละ 67.9 มาอยู่ที่ 32.07 ล้านบาท
อย่างไรก็ดี รายได้ค่าธรรมเนียมพื้นฐานจากธุรกิจจัดการกองทุนมีจำนวน 1,625.44 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30.08 ล้านบาท (ร้อยละ 1.9) ตามการเติบโตของสินทรัพย์ภายใต้การบริหารบริษัทมีผลขาดทุนจากเครื่องมือทางการเงินที่วัดมูลค่ายุติธรรมผ่านงบกำไรขาดทุน (FVTPL) จำนวน 29.16 ล้านบาท เทียบกับผลกำไรจำนวน 86.42 ล้านบาทในปี2565 จากมูลค่าเงินลงทุนที่ลดลง ในขณะที่รายได้ค่าธรรมเนียมตามผลประกอบการของธุรกิจจัดการกองทุนมีจำนวน 59.53 ล้านบาท เทียบกับจำนวน 3.71 ล้านบาทในปีก่อนหน้า
ขณะที่สินทรัพย์รวมของบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 มีจำนวน 290,726.20 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5จากปีก่อนหน้าเป็นผลมาจากเงินให้สินเชื่อที่เติบโตร้อยละ 7.2 มาอยู่ที่จำนวน 234,815.18 ล้านบาท และรายการระหว่างธนาคารและตลาดเงินที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.4 มาอยู่ที่48,489.70 ล้านบาท ส่วนสินทรัพย์ทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุนมีจำนวน 2,081.77 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.2 และเงินลงทุนสุทธิมีจำนวน 3,313.59 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 17.0
ส่วนเงินให้สินเชื่อเงินให้สินเชื่อของบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 มีจำนวน 234,815.18 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 7.2จากสิ้นปี 2565 จากการเติบโตของสินเชื่อธุรกิจ สินเชื่อจำนำทะเบียน และสินเชื่อเช่าซื้อรถมือสอง
ขณะที่ สินเชื่อรายย่อยบริษัทมีสินเชื่อรายย่อยจำนวน 157,107.56 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2จากปี 2565 โดยสินเชื่อรายย่อยของบริษัทณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 ประกอบด้วยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ร้อยละ 68.0 สินเชื่อจำนำทะเบียนร้อยละ 26.6
และสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยร้อยละ 5.4 สำหรับสินเชื่อเช่าซื้อมีจำนวน 106,851.35 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.1จากปีก่อนหน้า จากสินเชื่อเช่าซื้อรถใหม่ซึ่งลดลงร้อยละ 5.9 ตามนโยบายการปล่อยสินเชื่ออย่างระมัดระวังในภาวะที่ตลาดมีความแข่งขันรุนแรง
สำหรับยอดขายรถยนต์ใหม่ภายในประเทศงวด 11 เดือนแรกของปี 2566 มีจำนวน 707,454 คัน ลดลงร้อยละ 7.7 เมื่อเทียบกับยอดขายรถงวด 11 เดือนแรกของปี 2565 ที่ 766,589 คัน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบัน
ขณะที่อัตราปริมาณการให้สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ใหม่ของบริษัทต่อปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ใหม่ในงวด 11 เดือนแรกของปี 2566 อยู่ที่ร้อยละ 4.7 ลดลงจากร้อยละ 4.9 ในงวด 11 เดือนแรกของปีก่อนหน้า ในส่วนของสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์มือสองเติบโตร้อยละ 15.3 และสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์เติบโตร้อยละ 7.2 เป็นไปตามกลยุทธ์การขยายสินเชื่อที่มีผลตอบแทนในระดับสูง
สินเชื่อจำนำทะเบียน มีจำนวน 41,719.93 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.8จากปีก่อนหน้า ตามแผนการขยายสินเชื่อที่มีผลตอบแทนในระดับสูง และการขยายเครือข่ายสาขา โดยเฉพาะการขยายตัวของสินเชื่อจำนำทะเบียนผ่านช่องทางสาขา “สมหวัง เงินสั่งได้” ซึ่งเติบโตถึงร้อยละ 25.7 จากปีก่อนหน้า รวมมีจำนวน 28,387.78 ล้านบาท และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 68.0ของสินเชื่อจำนำทะเบียนทั้งหมด ทั้งนี้ ในปี 2566 บริษัทขยายสาขาสำนักอำนวยสินเชื่อ “สมหวัง เงินสั่งได้” เพิ่มขึ้น 195 สาขา รวมมีจำนวนสาขาทั้งสิ้น 645 สาขาทั่วประเทศ
สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยมีจำนวน 8,536.27 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 16.6จากปีก่อนหน้า ตามภาวะตลาดที่มีความแข่งขันสูง และความเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้น
สินเชื่อธุรกิจบริษัทมีสินเชื่อธุรกิจจำนวน 58,964.25 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ32.9จากสิ้นปีก่อนหน้าจากการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อในกลุ่มสาธารณูปโภคและการบริการ และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างสินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
บริษัทมีสินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจำนวน 13,642.41 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.6จากสิ้นปีก่อนหน้า จากสินเชื่อเพื่อผู้แทนจำหน่ายรถยนต์ที่ลดลง และสินเชื่ออื่นๆบริษัทมีสินเชื่ออื่นๆ จำนวน 5,100.97 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.2เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า