ทริสฯ หั่นแนวโน้มเครดิต JMART เป็น ‘ลบ’ จาก ‘คงที’ สะท้อนสถานะการเงินอ่อนแอ
“ทริสเรทติ้ง” หั่นแนวโน้มเครดิต JMART เป็น Negative จาก Stable คงอันดับเครดิตองค์กรที่ BBB+ สะท้อนสถานะทางการเงินอ่อนแอ จากผลดำเนินงานอ่อนแอกว่าคาดการณ์-ลงทุนเชิงรุก
ทริสเรทติ้ง คงอันดับเครดิตองค์กรของ บมจ. เจมาร์ท กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (JMART) ที่ ระดับ “BBB+” และ คงอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน ชุดปัจจุบันของบริษัทที่ระดับ “BBB”
ทั้งนี้ อันดับเครดิตหุ้นกู้ ซึ่งอยู่ในระดับต่ำกว่าอันดับเครดิตองค์กร นั้น สะท้อนถึงความด้อยสิทธิ กว่าในเชิงโครงสร้างของภาระหนี้เงินกู้ยืมไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกันของบริษัทเมื่อเทียบกับสิทธิเรียกร้องในการชำระคืนหนี้ของบริษัทย่อยต่าง ๆ ของบริษัท
ขณะเดียวกัน ทริสเรทติ้ง ยังปรับเปลี่ยนแนวโน้มอันดับเครดิตของบริษัทเป็น “Negative” หรือ “ลบ” จาก “Stable” หรือ “คงที่” ด้วย โดยแนวโน้มอันดับเครดิต “Negative” หรือ “ลบ” สะท้อนถึง สถานะทางการเงินของบริษัทที่อ่อนแอลง อันเนื่องมาจากผลการดำเนินงานที่อ่อนแอกว่าที่คาดไว้ และ การลงทุนเชิงรุก ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ทริสเรทติ้ง ยังคงมองว่าระดับการก่อหนี้ของบริษัทจะยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไปอีกใน ช่วง 2-3 ปีข้างหน้าจากแผนการลงทุนซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่อัตราการจัดเก็บเงินนั้นยังคงมีความไม่แน่นอน
อันดับเครดิตองค์กรยังคง สะท้อนถึงสถานะทางธุรกิจในระดับปานกลางของบริษัทซึ่งส่วนใหญ่มีรายได้ที่แข็งแกร่งจากบริษัทลูกรายใหญ่ 3 รายได้แก่
- บมจ. เจเอ็มที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส (JMT) (อันดับเครดิต "BBB+/Negative") ซึ่งเป็นบริษัทลูกหลักที่ ดำเนินธุรกิจบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ
- บริษัท เจมาร์ท โมบาย จำกัด (JMB) ซึ่งดำเนินธุรกิจจัดจำหน่ายเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่
- และ บมจ. เจเอเอส แอสเซ็ท (J-Asset) ซึ่งดำเนินธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
ประเด็นสำคัญที่กำหนดอันดับเครดิต ความเสี่ยงทางการเงินที่ปรับเพิ่มขึ้น ผลการดำเนินงานรวมของบริษัทในปี 2566 ต่ำกว่าที่ทริสเรทติ้งคาดไว้ซึ่งโดยหลักแล้ว มาจากการจัด เก็บเงินสด จากลูกหนี้ด้อยคุณภาพที่อ่อนตัวลงของ JMT ท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอและอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น แม้จะมีความพยายามที่มากขึ้น แต่การจัดเก็บเงินสดกลับเติบโตเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยที่ระดับ 5.8 พันล้านบาทในปี 2566 โดยเพิ่มขึ้นเพียง 4% เมื่อเทียบกับอัตราการเติบโตที่มากกว่า 20% ใน ระหว่าง ปี 2564-2565
นอกจากนี้ JMB ก็ประสบกับการชะลอตัวของยอดขายที่ลดลงด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากช่องทางการจัดจำหน่าย ของบริษัทในเครือคือ บมจ.ซิงเกอร์ประเทศไทย (SINGER อันดับเครดิต "BB+/Stable")
ในขณะเดียวกันภาระหนี้สินทางการเงินของบริษัทก็ยังคงปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการลงทุนของบริษัทเอง และ จากการซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพโดย JMT ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา หนี้สินรวมของบริษัทปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ มาอยู่ที่ 2.65 หมื่นล้านบาท ณ สิ้นปี 2566 จาก 1.59 หมื่นล้านบาท ณ สิ้นปี 2564 ส่วน อัตราการก่อหนี้ของบริษัทซึ่งวัดจากอัตราส่วนหนี้สินทาง การเงินสุทธิต่อกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่ายภาษีค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) ที่ปรับปรุงแล้วนั้นก็เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 3.6 เท่า ณ สิ้นปี 2566 จาก 1.2 เท่า ณ สิ้นปี 2564
การเพิ่มขึ้นของภาระภาระหนี้หนี้สินสินของบริษัทนั้นมาจากการซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่เพิ่มขึ้นอย่างมากของ JMT โดยงบประมาณสำหรับการซื้อสินทรัพย์ด้อยรายปีนั้นอยู่ที่ระดับ ประมาณ 5-9 พันล้านบาทในช่วงระหว่างปี ปี 2564-2566 ซึ่งตรงข้ามกับงบประมาณที่ระดับเพียง 2-4 พันล้านบาทในช่วงระหว่าง ปี 2561-2563
ทั้งนี้ การลงทุนการลงทุนจำนวนมากในบริษัทลูกหลาย ๆ แห่งในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งได้แก่ บริษัท บริหารสินทรัพย์ เจเคจำกัด (JK AMC) บริษัท บีเอ็นเอ็น เรสเตอรองท์ จำกัด (BNN)) บมจ. พีอาร์ทีอาร์ กรุ๊ป (PRTR) บริษัท ซุปเปอร์ เทอร์เทิล จำกัด (มหาชน) (TURTLE) บมจ. น้ำตาลบุรีรัมย์ (BRR) และบริษัทอื่นและบริษัทอื่น ๆ นั้นนับว่าเป็นปัจจัยที่ทำให้ภาระภาระหนี้สินของบริษัทเพิ่มสูงขึ้นขึ้นเช่นกัน
นอกจากนี้ JMT ยังได้ให้เงินกู้แก่ JK AMC ที่จำนวน จำนวน 4.9 พันล้านบาท ณ สิ้นปี 2566 ซึ่งได้เพิ่มภาระหนี้สินโดยรวมให้แก่สินโดยรวมให้แก่บริษัทบริษัทอีกอีกด้วยด้วย
ภายใต้สมมติฐานกรณีกรณีพื้นฐานในระยะเวลา 3 ปีข้างหน้า ทริสเรทติ้งคาดว่า JMT จะมีการซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพเพิ่มขึ้นปีละ 5-7 พันล้านบาทแต่จะไม่มีการลงทุนที่มีนัยสำคัญของบริษัท
ทั้งนี้ ในปี 2567 ทริสเรทติ้งคาดว่าอัตราการจัดเก็บเงินสดจะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับในปี ปี 2566 เมื่อพิจารณาจากสภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา โดยคาดว่าจะมีการมีการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วงระหว่างปี 2568-2569 ซึ่งทำให้คาดว่าอัตราส่วนหนี้สินทางการเงินสุทธิต่อ EBITDA ที่ปรับปรุงแล้วของบริษัทจะค่อยๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 3.5-4.0 เท่าในช่วง 3 ปีข้างหน้า
JMT ยังคงเป็นบริษัทลูกที่ดำเนินธุรกิจหลัก
ธุรกิจบริหารหนี้ด้อยคุณภาพของ JMT เป็นเป็นธุรกิจหลักที่สำคัญซึ่งสร้างกำไรให้แก่กลุ่มเจมาร์ท (JMART Group) อันเป็นสิ่งที่เน้นย้ำถึงสถานะของ JMT ใน JMART Group ทั้งนี้ สัดส่วนสินทรัพย์ของ JMT ต่อสินทรัพย์รวมของบริษัทนั้นเพิ่มขึ้นเป็น 68.2% ณ สิ้นปี 2566 จาก จาก 43.0% ณ สิ้นปี 2561 ซึ่งในปี 2566 ที่แม้ว่าผลดำเนินงานของ JMT จะอ่อนกว่าที่ทริสเรทติ้งคาดไว้ แต่บริษัทก็ยังรายงานผลกำไรสุทธิที่ระดับ 2.1 พันล้านบาท โดยเพิ่มขึ้น 23.3% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าก่อนหน้า
ในขณะเดียวกัน กำไรสุทธิของบริษัทมาอยู่ที่ 599 ล้านบาทจากการมีส่วนแบ่งขาดทุนที่มาจาก SINGER และผลขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงจากขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงจากเงินลงทุนต่าง ๆ
ทั้งนี้ ในอนาคตข้างหน้า ทริสเรทติ้งคาดว่า JMT จะยังคงเป็นบริษัทที่มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนรายได้ กำไรสุทธิและสินทรัพย์รวมของบริษัทของบริษัทต่อไป โดยแสดงให้เห็นถึงการที่บริษัทต้องพึ่งพา JMT เพื่อให้มีความแข็งแกร่งทางการเงินในระยะยาวภายใน JMART Group
สถานะความเสี่ยงทางธุรกิจอยู่ในระดับปานกลาง
ธุรกิจหลัก ๆ ภายใต้ ภายใต้ JMART Group นั้นประกอบไปด้วยธุรกิจค้าปลีก (Retail) และธุรกิจการเงิน (Finance) สถานะความเสี่ยงทางธุรกิจสถานะความเสี่ยงทางธุรกิจของบริษัทนั้นได้รับการประเมินให้ให้อยู่ในระดับปานกลาง (Moderate) โดยการประเมินดังกล่าวสะท้อนสะท้อนมาจากสถานะที่เพียงพอในธุรกิจค้าปลีกและการเงินของบริษัท การอย่างไรก็ตาม การที่บริษัทต้องทต้องพึ่งพาผลการผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งของ JMT เป็นอย่างมากเป็นอย่างมากและผลการดำเนินงานและผลการดำเนินงานที่ค่อนข้างอ่อนแอกว่าของบริษัทในกลุ่มรายบริษัทในกลุ่มรายอื่น ๆ นั้น ยังคงเป็นข้อจำกัดที่สำคัญต่อสถานะความเสี่ยงทางธุรกิจของของบริษัท ในอนาคตนั้น ในอนาคตนั้น ความสามารถในการเพิ่มกระแสรายได้ที่มีอยู่อย่างหลากหลายให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นก็จะมีผลกระทบในเชิงบวกต่ออันดับเครดิตอันดับเครดิตของบริษัทได้
คาดว่าการลงทุนจะชะลอตัวลง
ผู้บริหารของบริษัท ระบุว่าการเติบโตของบริษัทในอนาคตน่าจะเป็นการเติบโตที่มาจากภายในองค์กร (Organic Growth) เป็นส่วนใหญ่และจะเป็นไปอย่างอย่างระมัดระวังมากขึ้นโดยอาจจะมีการขายการลงทุนที่ได้ก่อไว้ก่อนหน้า ดังนั้น งบประมาณลงทุนในช่วง ช่วง 2-3 ปีปีข้างหน้า จึงน่าจะชะลอลงเมื่อเทียบกับช่วงหลาย ๆ ปีก่อนหน้า
โดยในปี 2567 ทริสเรทติ้งคาดว่าบริษัทจะมีงบประมาณในการลงทุนที่ระมัดระวังไม่เกิน 200 ล้านบาท นอกเหนือจากนั้นทริสเรทติ้งคาดว่า JMT จะมีจะมีงบประมาณสำหรับซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพอยู่ที่ 5-7 พันล้านบาทต่อปี ในช่วง 3 ปีข้างหน้าปี ในขณะที่การขยายศูนย์การค้าชุมชนแห่งใหม่ของ J-Asset นั้นจะใช้งบประมาณที่จำนวน 1 พันล้านบาทในปี 2567
การผสานพลังทางธุรกิจกับการลงทุนใหม่ๆ
การลงทุนที่ใหญ่ที่สุดในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา คือการลงทุนในการลงทุนใน BNN ซึ่งดำเนินธุรกิจร้านอาหารภายใต้ชื่อ ธุรกิจร้านอาหารภายใต้ชื่อ "สุกี้ตี๋น้อย Suki Teenoi" ด้วยเงินลงทุนเริ่มต้นที่จำนวน 1.2 พันล้านบาท ทั้งนี้ BNN มีผลการการดำเนินงานที่โดดเด่นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยสามารถทำรายได้และกำไรสุทธิ ที่ระดับ 5.2 พันล้านบาทและ 911 ล้านบาทตามลำดับในปี 2566 หรือคิดเป็นอัตราที่ที่เพิ่มขึ้นที่ระดับ 32% และ 55% ตามลำดับ ซึ่งในปี 2566 บริษัทได้รับเงินปันผลจากกำไรสุทธิที่BNN ทำได้ที่จำนวน 178 ล้านบาทในปีก่อนหน้า
ความร่วมมือระหว่างบริษัทและ BNN ได้ส่งผลให้เกิดการผสานพลังทางธุรกิจที่หลากหลาย เช่น การเปิดร้านสุกี้ตี๋น้อยในห้างสรรพสินค้าชุมชนของ J-Asset การการริเริ่มโปรแกรมสะสมคะแนนหรือ "J-point Loyalty Program" จากบริษัทลูกอีกรายของบริษัทคือ บริษัท เจ อีลิท จำกัด (J Elite) มาใช้ และการการมีความมีความร่วมมือระหว่าง ร่วมมือระหว่าง BNN กับ กับ บริษัท บีนส์แอนด์บราวน์ จำกัด บริษัท บีนส์แอนด์บราวน์ จำกัด (BB) ซึ่งเป็นบริษัษัททลูกอีกรายหนึ่งของบริษัทในการบริษัทในการเปิดร้านขายเครื่องดื่มภายใต้ชื่อ "Teenoi Pop-up Cafe" เป็นต้น
สถานะทางการตลาดที่แข็งแกร่งในธุรกิจซื้อขายเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่
ทริสเรทติ้งเชื่อเชื่อว่า JMB จะยังคงสามารถรักษาสถานะหนึ่งในผู้จัดจำหน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่ในประเทศไทยต่อไปได้แม้แม้ยอดขายโทรศัพท์เคลื่อนที่จะลดลงเมื่อปีที่แล้ว ทั้งนี้ สถานะดังกล่าวน่าจะมีปัจจัยสนับสนุนจากการมีความร่วมมือที่หลากหลายกับบริษัทในกลุ่ม เช่น BNN PRTR และ บริษัท เคบีเจ แคปปิตอล จำกัด (KB) Capital (อันดับเครดิต "A-/Stable")
ในปี 2566 ผลการดำเนินดำเนินงานของ JMB ลดลงเนื่องจากรายได้ลดลงที่ลดลงเป็นหลักในขณะที่ค่าใช้จ่ายในการบริหารค่อนข้างคงที่ ทั้งนี้ รายได้รวมของ JMB ลดลง 10.2% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยอยู่ที่ 8.7 พันล้านบาท ในขณะที่กำไรสุทธิลดลงเหลือ 119 ล้านบาท โดยลดลง 66.3% เมื่อเทียบกับปีก่อนก่อนหน้า
ยอดขายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทยโดยรวมชะลอตัวลงในปี 2566 สำหรับ JMB นั้น ยอดขายที่ลดลงมาจากยอดขายที่ผ่านช่องทางของ SINGER อย่างไรก็ตาม ยอดขายบางส่วนถูกชดเชยโดยการขายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของซัมซุง(Samsung) ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุนจากโครงการสินเชื่อ "Samsung Finance Plus" ซึ่งมุ่งเน้นการปล่อยสินเชื่อให้แก่โทรศัพท์โทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถล็อคเครื่องได้ซึ่งซึ่งดำเนินการโดย ดำเนินการโดย KBJ Capital ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวสร้างรายได้ให้แก่ JMB ที่ประมาณ 1 พันล้านบาท
ส่วนความร่วมมืออื่น ๆ ภายในกลุ่มที่ช่วยสนับสนุนรายได้นั้นยังรวมถึงการใช้ J-point Loyalty Program (สำหรับการซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่) และบริการดูแลโทรศัพท์เคลื่ลื่อนที่ดำเนินการโดย Jaymart Insurance เป็นต้น นอกจากนี้ JMB ยังมีการมีการนำเสนอผลิตภัณฑ์ให้แก่พนักงานของ BNN BRR และ PRTR อีกด้วย จากความร่วมร่วมมือและการขับเคลื่อนกลยุทธ์ต่าง ๆ เหล่านี้ ทริสเรทติ้งจึงดาดว่ารายได้รวมของ JMB จะอยู่ที่ระดับ 8.5-9.0 พันล้านต่อปีในช่วงระหว่างปี 2567-2569
-J-Asset ค่อยๆ ได้รับรับประโยชน์จากการลงทุน
J-Asset เริ่มเริ่มมีผลการดำเนินงานทางการเงินที่ค่อย ๆ ปรับตัวดีขึ้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาจากการเปิดตัวศูนย์การค้าชุมชนแห่งแห่งใหม่ ได้แก่ "JAS Green Village Kubon" และ "JAS Green Village Bang Bua Thong" แม้พัฒนาการที่เพิ่มขึ้นนั้นยังมีไม่มาก แต่ทริสเรทติ้งก็มองว่าสิ่งดังกล่าวเป็นการก้าวไปในทิศทางที่ถูกต้องสำหรับการกระจายรายได้ของบริษัท ทั้งนี้ การเพิ่มรายได้และการเพิ่มรายได้และกำไรอย่างต่อเนื่องจะเป็นผลผลบวกต่ออันดับเครดิตของบริษัทในระยะยาว ซึ่งในส่วนของ J-Asset นั้นมีรายได้รวมจำนวน 581 ล้านบาทในปี 2566 คิดเป็นอัตราที่เพิ่มขึ้น 4.4% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
ทริสเรทติ้งเชื่อว่ากลยุทธ์ของ J-Asset ที่จะมุ่งเน้นพื้นที่เช่าในศูนย์การค้าชุมชนนั้นน่าจะช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ผลการดำเนินงานของบริษัทอย่างช้า ๆ โดยในปี ในปี 2567 J-Asset มีแผนจะเปิดตัวศูนย์การค้าชุมชนใหม่อีก 3 แห่งซึ่งประกอบไปด้วย "JAS Green Village Prawet" "JAS Green Village Ram Khamheang" และ "JAS Green Village Khon Kean" โดยพื้นที่เช่าโดยรวมคาดว่าจะเพิ่มขึ้นราว ๆ 25,000 ตารางเมตร
ในขณะเดียวกัน ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุภายใต้ชื่อ "SENERA Senior Wellness" ก็ได้ได้มีการเปิดตัวอย่างเต็มที่ไปแล้วที่ศูนย์การค้าชุมชน JAS Green Village Kubon ในเดือนเมษายน 2566 และที่ JAS Green Village Bang Bua Thong ในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ซึ่งสามารถรับลูกค้าได้ทั้งสิ้นจำนวน 290 เตียง โดยปัจจุบันมีอัตราการเข้าพักอยู่ที่ประมาณ 30% ซึ่งทริสเรทติ้งยังมีความคาดคาดหวังว่าธุรกิจดังกล่าวจะช่วยเพิ่มกระแสเงินสดให้แก่ J-Asset ได้ในอนาคต
แหล่งเงินทุนและสภาพคล่องยังคงอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้
ในระยะเวลา 12 เดือนข้างหน้าทริสเรทติ้งคาดว่าแหล่งเงินทุนและสภาพคล่องของบริษัทจะยังอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้ โดยแหล่งสภาพคล่องส่วนใหญ่ตามงบการเงินรวมของบริษัทของบริษัทจะมาจากเงินทุนจากการดำเนินงาน ซึ่งคาดว่าจะมีจำนวนประมาณ 5.5 พันล้านบาทในปี 2567 รวมทั้งเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ สิ้นปี 2566 อีกจำนวนประมาณ 4.7 พันล้านบาท นอกจากนี้ ณ สิ้นปี 2566 บริษัทยังมีวงเงินกู้ระยะสั้นที่ยังไม่ได้เบิกใช้อยู่ จำนวน 1.3 พันล้านบาทอีกด้วย โดยแหล่งเงินทุนดังกล่าวน่าจะเพียงพอที่จะสนับสนุนการดำเนินงานและการขยายขยายธุรกิจของบริษัทได้ การขยายวงเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินจะช่วยสนับสนุนความต้องการด้านสภาพคล่องของบริษัทในช่วงที่ภาวะตลาดมีสถานการณ์ที่ตึงเครียดซึ่งอาจนำไปสู่ความเสี่ยงด้านสภาพคล่องที่เพิ่มสูงขึ้นได้
ทั้งนี้ ความต้องการในการใช้เงินทุนของบริษัทภายใต้สมมติฐานของทริสเรทติ้งนั้นประกอบไปด้วยค่าใช้จ่ายในการลงทุนที่ประมาณ 1-1.5 พันพันล้านบาท และเงินลงทุนเพื่อซื้อหนี้ด้อยคุณภาพมาบริหารโดย JMT อีกประมาณ 5-7 พันล้พันล้านบาทต่อปีนบาทต่อปี
ทริสเรทติ้งคาดว่าบริษัทจะมีสภาพคล่องที่เพียงพอในช่วง 12 เดือนข้างหน้า สำหรับใช้ไถ่ถอนหุ้นกู้ของบริษัทที่จะครบกำหนดที่จะครบกำหนดในเดือนพฤศจิกายน 2567 จำนวน 2.5 พันล้านบาท และหุ้นกู้ของ JMT ที่จะครบกำหนดในเดือนกันยายนและพฤศจิกายน 2567 อีกจำนวน 1.6 พันล้านบาท
ณ เดือนธันวาคม 2566 หนี้สินทางการเงินรวมของบริษัทมีจำนวนทั้งสิ้น 2.48 หมื่นล้านบาท โดยในจำนวนนี้เป็นหนี้ที่มีลำดับในการได้รับชำระคืนก่อนจำนวน 1.48 หมื่นล้านบาท เนื่องจากอัตราส่วนหนี้ที่มีลำดับในการได้รับชำระคืนก่อนของบริษัทอยู่ที่ระดับ60% ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 50% ดังนั้น ทริสเรทติ้งจึงมองว่าผู้ถือหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิและไม่มีหลักประกันมีความเสียเปรียบเจ้าหนี้ที่มีลำดับในการได้รับชำระคืนก่อนอย่างมีนัยสำคัญ
สมมติฐานกรณีพื้นฐาน
ในระยะ 3 ปีข้างหน้า (ปี 2567-2569) ทริสเรทติ้งมีสมมติฐานสำหรับการดำเนินงานของบริษัท ดังต่อไปนี้บริษัทจะมีรายได้ที่ระดับ 1.5-1.7 หมื่นล้านบาทต่อปีอัตรากำไรขั้นต้นของธุรกิจจัดเก็บหนี้จะอยู่ที่ระดับ 70% กลาง ๆ ส่วนของธุรกิจจัดจำหน่ายเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่จะอยู่ที่ระดับ 10%-15% และของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะอยู่ที่ระดับ 60% ค่าใช้จ่ายฝ่ายทุนและเงินลงทุนจะอยู่ที่ประมาณ 1.0-1.5 พันล้านบาทต่อปี เงินลงทุนเพื่อซื้อหนี้ด้อยคุณภาพมาบริหารโดย JMT คาดว่าจะอยู่ที่ 5-7 พันล้านบาทต่อปี
แนวโน้มอันดับเครดิต "Negative" หรือ "ลบ" อยู่บนพื้นฐานการคาดการณ์ของทริสเรทติ้งว่าภาระหนี้สินของบริษัทซึ่งวัดจากอัตราส่วนหนี้สินทางการเงินสุทธิต่อ EBITDA ที่ปรับปรุงแล้ว น่าจะยังคงอยู่ในระดับสูงและมีทิศทางที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้นในระยะ 2-3 ปีข้างหน้า
ปัจจัยที่อาจทำให้อันดับเครดิตเปลี่ยนแปลง
อันดับเครดิตอาจถูกปรับลดลงหากบริษัทมีผลดำเนินงานที่อ่อนแอลงมีนัยสำคัญและ/หรือ บริษัทมีการลงทุนในเชิงรุกโดยการก่อหนี้ซึ่งส่งผลให้อัตราส่วนหนี้สินทางการเงินสุทธิต่อ EBITDA ที่ปรับปรุงแล้วปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญไปจากระดับปัจจุบัน
แนวโน้มอันดับเครดิตอาจถูกถูกปรับกลับมาเป็น ปรับกลับมาเป็น "Stable" หรือ "คงที่" ในกรณีที่บริษัทมีผลการรดำเนินงานทางการเงินที่ดีขึ้นในขณะเดียวกันยังคงรักษาการก่อหนี้ให้อยู่ในระดับเดียวกับปัจจุบันเอาไว้ได้