MST กำไร Q1/67 ยังโตได้ 4.2% แม้ค่านายหน้าเทรดหุ้นวูบ 38.8% ผนวก TFEX ทรุด 29.3%
บล. เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) (MST) โชว์กำไร Q1/67 ที่ 71.31 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.2% แม้ค่านายหน้าเทรดหุ้นวูบ 38.8% และ ค่านายหน้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหด 29.3% ทว่ายังคุมต้นทุนได้ดี ค่าใช้จ่ายรวมลดลง 81.20 ล้านบาท
นายอารภัฏ สังขรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ MST แจ้งผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ผลการดำเนินงานสำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2567 เพิ่มขึ้นจากผลการดำเนินงานสำหรับงวดเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.28
โดยบริษัทฯ มีกำไรสุทธิ 171.31 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.02 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.28 เมื่อเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนซึ่งมีกำไรสุทธิ 164.29 ล้านบาท
สาเหตุการเปลี่ยนแปลงของผลประกอบการมีสาระสำคัญดังนี้
1. รายได้ค่านายหน้าลดลง 148.57 ล้านบาท จาก 397.52 ล้านบาท เหลือ 248.95 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 37.37 เนื่องจาก
1.1 รายได้ค่านายหน้าจากการซื้อขายหลักทรัพย์ลดลง 134.40 ล้านบาท จาก 349.29 ล้านบาท เหลือ 214.89 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 38.48 อันเป็นผลจากมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์ลดลงจาก 66,669.50 ล้านบาท /วัน เหลือ 45,684.46 ล้านบาท/วัน หรือลดลงร้อยละ 31.48
และสัดส่วนนักลงทุนบุคคลซึ่งเป็นส่วนรายได้หลักของบริษัทลดลงจากร้อยละ 35.95 เหลือร้อยละ 32.06 อันเป็นผลให้มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยของนักลงทุนบุคคลลดลงจาก 23,966.41 ล้านบาท/วัน เหลือ 14,647.62 ล้านบาท/วัน หรือลดลงร้อยละ38.89
1.2 รายได้ค่านายหน้าจากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าลดลง 14.17 ล้านบาท จาก 48.23 ล้านบาท เหลือ 34.06 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 29.38
2. รายได้ค่าธรมเนียมและบริการลดลง 0.76 ล้านบาท จาก 43.61 ล้านบาท เหลือ 42.85 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 1.74 เนื่องมาจาก ค่าธรรมเนียมจากการขายและการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนลดลง 3.80 ล้านบาท และ ค่าธรรมเนียมและบริการอื่นลดลง 1.47 ล้านบาท ในขณะที่ ค่าธรรมเนียมจากการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น 4.01 ล้านบาทและ ค่าที่ปรึกษาทางการเงินเพิ่มขึ้น 0.50 ล้านบาท
3. รายได้อื่นเพิ่มขึ้น 77.03 ล้านบาท จาก 344.87 ล้านบาท เป็น 421.90 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.33 เนื่องมาจาก รายได้ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น 10.64 ล้านบาท รายได้ดอกเบี้ยจากเงินฝากในสถาบันการเงินและพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มขึ้น 33.32 ล้านบาท และกำไรและผลตอบแทนจากเครื่องมือทางการเงินเพิ่มขึ้น 41.10 ล้านบาท ในขณะที่ รายได้อื่นลดลง 8.03 ล้านบาท
4. ค่าใช้จ่ายรวมลดลง 81.20 ล้านบาท จาก 581.03 ล้านบาท เหลือ 499.83 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 13.97 เนื่องมาจาก ค่าใช้จ่ายผลประโยชน์พนักงานลดลง 39.82 ล้านบาท ค่าธรรมเนียมและบริการจ่ายลดลง 9.37 ล้านบาท ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นลดลง 7.36 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายอื่นลดลง 34.21 ล้านบาทในขณะที่ ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 9.56 ล้านบาท
5. ภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้น 1.87 ล้านบาท จาก 40.68 ล้านบาท เป็น 42.55 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.61 เนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของกำไรก่อนค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้