Q1/67 "การบินไทย" กำไรลบ 80% เหลือ 2.4 พันล้าน อัตราแลกเปลี่ยนกดดัน 5.3 พันล้าน

Q1/67 "การบินไทย" กำไรลบ 80% เหลือ 2.4 พันล้าน อัตราแลกเปลี่ยนกดดัน 5.3 พันล้าน

บมจ. การบินไทย (หุ้น THAI) เผยงบ Q1/67 มีรายได้รวม 45,894 ล้านบาท เพิ่ม 17.8% จาก Q1/66 โดยรายได้ขนส่งผู้โดยสารดีขึ้นชัดและมีขยายเส้นทางบิน ทว่ากำไรวูบเหลือ 2,410 ล้านบาท ลดลง 80.7% เทียบ Q1/66 ขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนกดดัน 5,372 ล้านบาท

บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ "หุ้น THAI" แจ้งผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 1 สิ้นสุดวันที่ 31 มี.ค. 2567 มีรายได้รวม 45,894 ล้านบาท เพิ่ม 6,943 ล้านบาท คิดเป็น +17.8% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่ กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ 2,410 ล้านบาท ลดลง 10,104 ล้านบาท คิดเป็น -80.7% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน

ช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2567 "การบินไทย" ยังคงดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการขอบริษัทฯ อย่างต่อเนื่อง โดยในไตรมาสนี้มีการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

- การปรับปรุงประสิทธิภาพฝูงบินและขยายเส้นทางบิน : รับมอบเครื่องบินแบบแอร์บัส A350-900 จำนวน 3 ลำ ตามแผนการจัดหาฝูงบินปัจจุบัน เพิ่มความถี่ของเที่ยวบินไปยังฮ่องกง สิงคโปร์ ไทเป กาฐมาณฑุ มะนิลา ภูเก็ต ซิดนีย์ โตเกียว (นาริตะ) กลับมาให้บริการไปยังเมืองเพิร์ท ประเทศ ออสเตรเลีย และเมืองโคล้มโบ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศศรีลังกา ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2567 เป็นต้นมา
- การหาประโยชน์จากทรัพย์สินรองที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจ : จำหน่ายเครื่องบินแบบแอร์บัส A340-600 จำนวน 2 ลำ และโบอิ้ง 747-400 จำนวน 1 ลำ
- การปรับปรุงโครงสร้างกลุ่มธุรกิจการบิน : บริษัทฯ ดำนินการปรับปรุงโครงสร้างกลุ่มธุรกิจการบินแล้วเสร็จ โดยรับโอนเครื่องบินแบบแอร์ บัส A320-200 จำนวน 4 ลำสุดท้ายจากบริษัท ไทยสมายล์ แอร์เวย์ จำกัด ในเดือนมกราคม 2567 และให้บริการเส้นทางในประเทศเพิ่มเติม ได้แก่ เชียงราย ขอนแก่น อุบลราชธานี กระบี่ หาดใหญ่ และนราธิวาส (ทั้งนี้ สำหรับเส้นทางนราธิวาส บริษัทฯ หยุดให้บริการตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2567)

ณ วันที่ 31 มีนาคม 2567 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีเครื่องบินที่ใช้ทำการบินทั้งสิ้น 73 ลำ โดยในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 บริษัทฯ มีอัตราการใช้ประโยชน์ของเครื่องบินเฉลี่ย 12.8 ชั่วโมง ปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสาร (ASK) เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 ปริมาณการขนส่งผู้โดยสาร (RPK) เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 อัตราส่วนการบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) เฉลี่ย 83.5% ใกล้เคียงกับปีก่อน ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม จำนวนผู้โดยสารที่ทำการขนส่งรวมทั้งสิ้น 3.88 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 10.2 สำหรับด้านการขนส่งสินค้ามีปริมาณการผลิตค้านพัสดุภัณฑ์ (ADTK) สูงกว่าปีก่อนร้อยละ 12.5 ปริมาณการขนส่งพัสดุภัณฑ์ (RETK) สูงกว่าปีก่อนร้อยละ 24.9 อัตราส่วนการขนส่งพัสดุภัณฑ์ (Freight Load Factor) เฉลี่ยเท่ากับ 53.1% สูงกว่าปีก่อนซึ่งเฉลี่ยเท่ากับ 47.9%

ผลการดำเนินงานไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียวในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีรายได้รวมทั้งสิ้น 45,955 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 4,448 ล้านบาท (10.7%) สาเหตุหลักเกิดจากรายได้จากการขนส่งผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 3,539 ล้านบาท (10.1%) เนื่องจากในไตรมาสนี้บริษัทฯ และบริษัทย่อย ให้บริการเที่ยวบินขนส่งผู้โดยสารในตารางการบินฤดูหนาว ปี 2566-2567 รองรับการเดินทางของผู้โดยสาร โดยมีเครือข่ายเส้นทางบินให้บริการครอบคลุม 59 จุดบิน ใน 24 ประเทศทั่วโลก โดยเป็น 8 จุดบินในประเทศ (ไม่รวมกรุงเทพมหานคร) และเพิ่มความถี่ของเที่ยวบินไปยังประเทศจีน ในเส้นทางปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ กวางโจว เฉิงตู คุนหมิง รวมทั้งในเส้นทางบินยอดนิยม อาทิ โอซากา ฮ่องกง สิงคโปร์ ไทเป และบริษัทฯ ยังได้เปิดเส้นทางใหม่บินตรงสู่เมืองอิสตันบูล สาธารณรัฐทูร์เคีย ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา นอกจากนี้บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีรายได้จากกิจการอื่นเพิ่มขึ้น 642 ล้านบาท (32.8%) ซึ่งหน่วยธุรกิจส่วนใหญ่มีรายได้เพิ่มขึ้นจากจำนวนเที่ยวบิน และผู้โดยสารของสายการบินลูกค้าที่เพิ่มขึ้น และมีรายได้อื่นๆ เพิ่มขึ้น 86 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ในส่วนของค่าใช้ง่ายมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 34,880 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 6,407 ล้านบาท (22.5%) โดยเพิ่มขึ้นตามปริมาณการผลิตและ/หรือปริมาณการขนส่ง จำนวนเที่ยวบิน จุดบิน และผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น การอ่อนค่าของเงินบาท รวมทั้งอัตราค่าบริการภาคพื้นและราคาวัตถุดิบสูงขึ้น ส่งผลให้บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีกำไรจากการดำเนินงานก่อนต้นทุนทางการเงินไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว 11,075 ล้านบาท ต่ำกว่าปีก่อน 1,959 ล้านบาท (15.0%)

บริษัทฯ และบริษัทย่อยรับรู้ต้นทุนทางการเงิน (ซึ่งเป็นการรับรู้ต้นทุนทางการเงินตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 9 : TFRS 9) จำนวน 4,608 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 1,059 ล้านบาท (29.8%) และมีรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว สาเหตุหลักจากการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ขาดทุนจากการด้อยค่าของเครื่องบินและสินทรัพย์ สิทธิการใช้อุปกรณ์การบินหมุนเวียน ถึงแม้จะมีกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ ปรับปรุงรายได้บัตรโดยสารที่หมดอายุ และส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม โดยในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 มีรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียวสุทธิ เป็นค่าใช้จ่ายรวม 4,036 ล้านบาท ในขณะที่ปีก่อนเป็นรายได้จำนวน 2,987 ล้นบาท

ส่งผลให้ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีกำไรสุทธิจำนวน 2,423 ล้านบาท ต่ำกว่าปีก่อน 10,100 ล้านบาท โดยเป็นกำไรส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ 2,410 ล้านบาท คิดเป็นกำไรต่อหุ้น 1.10 บาท ลดลงจากปีก่อน 4.63 บาทต่อหุ้น (80.8%) โดยมี EBITDA หลังหักเงินสดจ่ายหนี้สินตามเงื่อนไขสัญญาเช่าเครื่องบิน รวมค่าเช่าเครื่องบินที่คำนวณจากการใช้เครื่องบินที่เกิดขึ้นจริง (Power by the Hour) เป็นกำไรจำนวน 14,000 ล้านบาท ใกล้เคียงกับปีก่อน

Q1/67 \"การบินไทย\" กำไรลบ 80% เหลือ 2.4 พันล้าน อัตราแลกเปลี่ยนกดดัน 5.3 พันล้าน อย่างไรก็ตาม ในส่วนของงบการเงินไตรมาส 1/2567 นี้มีรายงานการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ จำนวน 5,372 ล้านบาท ประกอบด้วย ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่ยังไม่เกิดขึ้น (Unrealized FX Loss) จำนวน 6,249 ล้านบาท โดยมีสาเหตุหลักจากการอ่อนค่าของเงินสกุลบาทต่อเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ และยูโรเมื่อเทียบ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2567 กับ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 ส่งผลให้มูลค่าเงินกู้รวมทั้งหนี้สินตามสัญญาเช่าเครื่องบิน สินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ภายหลังการแปลงมูลค่าเพิ่มขึ้น และมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่เกิดขึ้นแล้ว (Realized FX Gain) จำนวน 877 ล้านบาท