5 CEO หุ้นฮอต คนรุ่นใหม่ ไฟแรง กุมบังเหียน ในวัยไม่เกิน 40 ปี

5 CEO หุ้นฮอต คนรุ่นใหม่ ไฟแรง กุมบังเหียน ในวัยไม่เกิน 40 ปี

5 CEO หุ้นฮอต คนรุ่นใหม่ ไฟแรง กุมบังเหียน ในวัยไม่เกิน 40 ปี CEO บมจ.บ้านปู อายุน้อยสุด สินนท์ ว่องกุศลกิจ อายุ 34 ปี รับตำแหน่งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2567

ตำแหน่ง CEO หรือ Chief Executive Officer นั้นหมายถึง บุคคลที่มีอำนาจและความรับผิดชอบสูงสุดในองค์การหรือบริษัท โดยได้รับมอบอำนาจหน้าที่จากคณะกรรมการ หรือบอร์ดของบริษัท ให้มีอำนาจบริหาร และกำหนดนโยบาย วิสัยทัศน์ เพื่อนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ 

ฉะนั้นแล้ว คนที่เป็น CEO จึงต้องเป็นบุคคลที่มีความรู้และความสามารถสูงมาก ยิ่งเฉพาะถ้าเป็น CEO บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ยิ่งต้องโปร่งใส และมีธรรมภิบาลอีกด้วย และเป็นที่น่าสังเกตว่า ช่วงหลัง ๆ CEO บจ. มักมีบริหาร รุ่นใหม่ คนหนุ่มสาว หัวก้าวหน้า มีความทันยุค ทันโลก และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงพลวัตรของโลกได้เป็นอย่างดี 

ทั้งนี้ “กรุงเพทธุกิจ” ได้สำรวจ CEO เจนใหม่ไฟแรงในบริษัทจดทะเบียน พบว่า มีด้วยกัน 

5 CEO ที่มีอายุไม่เกิน 40 ปี

1.บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) BANPU มาร์เก็ตแคป 49,894.14 ล้านบาท 

สินนท์ ว่องกุศลกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการ อายุ 34 ปี รับตำแหน่งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2567 สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาโท Global Management - pathway in Finance & Business Development มหาวิทยาลัย Regent’s University และหลักสูตรปริญญาตรี Business and Marketing Management มหาวิทยาลัย Oxford Brookes University ประเทศอังกฤษ

ทั้งนี้ “สินนท์” มีประสบการณ์ด้านการเงินและการลงทุน เคยดำรงตำแหน่งเป็นผู้บริหารด้านการเงิน การลงทุน และการจัดการโครงการระหว่างประเทศของ บมจ.บ้านปู เป็นผู้มีส่วนร่วมในโครงการเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญ และการตัดสินใจด้านการเงินและสินทรัพย์ รวมถึงเป็นหนึ่งในผู้ร่วมขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านองค์กร (Banpu Transformation) 

อย่างไรก็ดี ด้วยการเป็นผู้บริหารรุ่นใหม่ที่มีความเป็นผู้นำ กล้าตัดสินใจ และมีแนวคิดแบบ Growth Mindset ที่มุ่งไปข้างหน้า เพื่อก้าวให้ทันโลกธุรกิจและเทรนด์พลังงานที่เปลี่ยนแปลง ทำให้ในปี 2565 สินนท์ได้รับมอบหมายให้ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู เน็กซ์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบ้านปูที่ให้บริการ ‘โซลูชันพลังงานฉลาด’ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยรับบทบาทสำคัญในการวางแผน กำหนดกลยุทธ์ พัฒนา และต่อยอดธุรกิจของบ้านปู เน็กซ์ ให้เติบโตอย่างยั่งยืนตามกลยุทธ์ Greener & Smarter ของกลุ่มบ้านปู และหลักความยั่งยืนหรือ ESG

โดย “สินนท์” มีประสบการในการทำงานทั้งในบริษัทบ้านปู และบริษัทอื่นๆ ดังนี้ 

  • Head of Renewable and Energy Technology Business บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่ปี 2565 - ปัจจุบัน
  • ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการ บริษัท บ้านปู เน็กซ์ จำกัด ตั้งแต่ ปี 2565 - ปัจจุบัน
  • กรรมการ บริษัท บ้านปู เน็กซ์ กรีน เอนเนอร์จี จำกัด (เดิมชื่อ บริษัท บ้านปู โคล เซลส์ จำกัด) ตั้งแต่ ปี 2565 - ปัจจุบัน 
  • กรรมการ BPIN Investment Company Limited ตั้งแต่ปี 2565 - ปัจจุบัน
  • กรรมการ BKV Corporation ตั้งแต่ปี 2565 - ปัจจุบัน
  • กรรมการ Banpu Japan K.K. ตั้งแต่ปี 2565 - ปัจจุบัน 
  • กรรมการ Banpu Ventures Pte. Ltd. ตั้งแต่ปี 2565 - ปัจจุบัน 
  • Executive Manager, Banpu Power Trading G.K. ตั้งแต่ปี 2565 - ปัจจุบัน 
  • ผู้จัดการฝ่าย Project Management Office บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่ปี 2563-2565 
  • Finance Analyst – Corporate Finance บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่ปี 2557-2563 
  • กรรมการ PT. Berkah Manis Makmur ตั้งแต่ปี 2565-2565
  • กรรมการ PT. Rejoso Manis Indo ตั้งแต่ปี 2565-2565 

สำหรับ “สินนท์” นอกจากจะดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร BANPU แล้ว ยัง ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู เน็กซ์ จำกัด (Banpu NEXT) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือบ้านปูที่ดำเนินธุรกิจพลังงานสะอาดและเทคโนโลยีพลังงาน 

ทั้งนี้ “สินนท์” เป็นลูกชายของ ชนินท์ ว่องกุศลกิจ ปัจจุบันนั่งประธานกรรมการของบ้านปู และเป็นทั้งผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอคนแรกของบ้านปู 

สำหรับผลการดำเนินงาน ไตรมาส 1/67 BANPU มีกำไรสุทธิ 1,551.53 ล้านบาท เทียบงวดเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 4,988.01 ล้านบาท ลดลง 68.9%

ขณะที่ผลการดำเนินงานกลุ่มบริษัทมีกำไรสุทธิ 43 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 104 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 71% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปัจจัยหลักจากราคาตลาดของก๊าซธรรมชาติและถ่านหินที่ปรับตัวลดลงจากปีก่อน ส่งผลให้ค่าภาคหลวงรวมทั้งขาดทุนจากอนุพันธ์ทางการเงินลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเช่นกัน

ส่วนรายได้จากการขายรวม จำนวน 1,088 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่า 38,810 ล้านบาท ลดลงจำนวน 224 ล้านเหรียญสหรัฐจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยรายได้ลดลงจากธุรกิจถ่านหิน 243 ล้านเหรียญสหรัฐ และธุรกิจก๊าซ 69 ล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่รายได้เพิ่มขึ้นจากธุรกิจไฟฟ้าและไอน้ำ 73 ล้านเหรียญสหรัฐและธุรกิจอื่นๆ 15 ล้านเหรียญสหรัฐ

 

2.บริษัท โรงพยาบาลวิภาวดี จำกัด (มหาชน) VIBHA มาร์เก็ตแคป 28,509.62 ล้านบาท 

พิจิตต์ วิริยะเมตตากุล กรรมการผู้จัดการ และกรรมการ อายุ 38 ปี รับตำแหน่งเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 และถือหุ้นใหญ่ลำดับ 8 จำนวน 473,800,000 หุ้น หรือ 3.49% ซึ่งเป็นบตุรชาย นายชัยสิทธิ์ วิริยะเมตตากุล เจ้าของ โรงพยาบาลวิภาวดี 

ทั้งนี้ “พิจิตต์” จบการระดับปริญญาโท สาขากฏหมายธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง  Master degree in International Economics, University of International Business & Economics (UIBE) ปักกิ่ง จีน  ปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตร

นอกจากนี้ยังได้รับอบรมหลักสูตร “Director Accreditation Program” รุ่นที่ 253/2017 โดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)  หลักสูตร ผู้น ายุคใหม่ในระบอบประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า  RECU อสังหาริมทรัพย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย THAI CHINESE YOUNG EXECUTIVE PROGRAM สถานทูตจีน และสมาคม วัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน

ทั้งนี้ นอกจากจะดำรงแหน่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท โรงพยาบาลวิภาวดี จำกัด (มหาชน) ยังมีตำแหน่งอื่น ๆ ดังนี้ 

  • กรรมการบริหาร บริษัท โรงพยาบาลวิภาวดี จำกัด (มหาชน)  
  • กรรมการ บริษัท โรงพยาบาลวิภาราม-ปากเกร็ด จำกัด  
  • กรรมการบริษัท โรงพยาบาลวิภาราม-ชัยปราการ จำกัด  
  • กรรมการบริษัท โรงพยาบาลเสรีรักษ์ จำกัด  
  • กรรมการบริษัท บิวตี้ดีไซน์เซ็นเตอร์ จำกัด  
  • กรรมการบริษัท ปริ๊นส์ตั้น ปาร์ค สวีท จำกัด  
  • กรรมการบริษัท เทพารักษ์พัฒนาการ จำกัด  
  • กรรมการบริษัท รัชดา ออฟฟิส บิลดิ้ง จำกัด  
  • กรรมการบริษัท บางนาเรสซิเด้นซ์ จำกัด  
  • กรรมการบริษัท โกโซ่ล่าร์ จำกัด 

สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาส 1/67 มีกำไรสุทธิ 275.77 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ 148.67 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 85.49% ขณะที่รายได้รวมอยู่ที่ 2,237.19 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 9.47% โดยแนวโน้มผลการดำเนินงานในปี 2567 คาดว่ารายได้จะเติบโต 15-20% จากปี 2566 ที่มีรายได้ 8,678.43 ล้านบาท หลังจากรีโนเวทหอผู้ป่วยใน (วอร์ด) โรงพยาบาลวิภาวดี 4 วอร์ด คาดว่าจะเพิ่มจำนวนเตียงที่จดทะเบียนได้ และยังรับรู้รายได้เพิ่มขึ้นจากการเปิดตึกใหม่ของโรงพยาบาลในกลุ่ม คือ บมจ.เชียงใหม่รามธุรกิจการแพทย์ (CMR) ขณะที่โรงพยาบาลวิภาราม (VBR) ฟื้นตัวหลังจากปี 2566 ที่รายได้ลดลงจากการถูกเรียกเงินคืนจากประกันสังคมประมาณ 196 ล้านบาท

โดยโครงการปัจจุบันที่กำลังดำเนินการอยู่ประกอบด้วย โครงการวิภาวดีสาขาพระราม 2 มูลค่าโครงการ 1.2 พันล้านบาท จำนวนเตียงที่รองรับ 59 เตียง คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จภายในสิ้นปี 68 , โครงการซื้อหุ้นคืนซึ่งมีระยะเวลาโครงการ 6 เดือน เริ่มตั้งแต่ 4 มี.ค. ที่ผ่านมา โดยใช้งบประมาณ 1.2 พันล้านบาท คาดว่าจำนวนสูงสุดที่บริษัทจะซื้อคืน 540 ล้านหุ้น คิดเป็น 3.98% ของจำนวนหุ้นที่ชำระแล้ว โดยปัจจุบันซื้อคืนมาแล้ว 48 ล้านหุ้น ใช้เงินไปราว 100 ล้านบาท

ขณะที่ โครงการวิภาราม 3 โครงการ เปิดดำเนินการแล้ว 1 โครงการที่พัฒนาการ และโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้างได้แก่ แหลมฉบัง และ อมตะนคร ส่วนโครงการในอนาคตของโรงพยาบาลวิภาราม ประกอบด้วยโครงการอ่อนนุชที่ชะลอการก่อสร้าง โครงการบ่อวินและอมตะนคร 2 อยู่ระหว่างการขอ EIA คาดใช้เวลาในการอนุมัติอย่างน้อย 1 ปี

3.บริษัท มาสเตอร์ สไตล์ จำกัด (มหาชน) MASTER มาร์เก็ตแคป 17,876.42 ล้านบาท 

ลภัสรดา เลิศภานุโรจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มาสเตอร์ สไตล์ จำกัด (มหาชน) อายุ 40 ปี เข้าดำรงตำแหน่ง วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 ด้านการศึกษาจบระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจบัณฑิต (การบัญชี) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปริญญาโท หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการกำกับดูแลกิจการ คณะพาณิชยศาสตร์ และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เข้าอบรม Director Accreditation Program (DAP) รุ่นที่ 176/2020 สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย Company Secretary Program รุ่นที่ 100/2019 สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย ประกาศนียบัตร ประกาศนียบัตรผู้ตรวจสอบภายในของประเทศไทย (CPIAT)

ส่วนประวัติการทำงาน ประวัติการทำงาน

  • กรรมการสมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2565 – ปัจจุบัน
  • กรรมการและรองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มาสเตอร์ สไตล์ จำกัด (มหาชน) ตั้งแตปี 2563 - 2567
  • กรรมการ บริษัท เดอะ สตาร์จำกัด ตั้งแต่ปี 2557 - ปัจจุบัน
  • รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท ตรวจสอบภายในธรรมนิติ จำกัด ตั้งแต่ปี 2561-2563
  • ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายสรรหาและจัดซื้อ บริษัท เพรซิเดนท์ เบเกอรี่ จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่ปี 2554 -2559
  • เลขานุการคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและคณะอนุกรรมการต่อต้านการทุจริต บริษัท เพรซิเดนท์ เบเกอรี่ จำกัด (มหาชน) ปี 2559

สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2567 มีกำไรสุทธิ 106 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 48% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อนมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 72 ล้านบาท โดยเป็นการเติบโตในทุกๆ หัตถการ เนื่องจากมีการควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดีมากขึ้น ส่วนรายได้อยู่ที่ 468.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน โดยเป็นการเติบโตของรายได้จากการศัลยกรรมที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งยังมีรายได้เพิ่มขึ้นในทุกหัตถการ ทั้งศัลยกรรมเสริมจมูก ศัลยกรรมยกคิ้ว สุขภาพชาย และบริการตรวจสุขภาพ เนื่องจากบริษัทฯ เพิ่มจำนวนแพทย์ และทำกิจกรรมส่งเสริมการขายเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีลูกค้าเข้ามารับบริการเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนหน้า และมีแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ อัตรากำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 22.27% เมื่อเทียบกับปี 2566 อัตรากำไรสุทธิอยู่ที่ 16.33% โดยมีสาเหตุมาจากการบริหารต้นทุนที่ดีขึ้น ประกอบกับรับรู้รายได้จากส่วนแบ่งของเงินลงทุนในบริษัทร่วมที่เพิ่มขึ้น และการบริหารค่าใช้จ่ายทางการขายที่ดีขึ้น ส่งผลให้มีอัตรากำไรสุทธิที่สูงขึ้น

4.บริษัท เถ้าแก่น้อย ฟู๊ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) TKN มาร์เก็ตแคป 13,041.00 ล้านบาท 

อิทธิพัทธ์ พีระเดชาพันธ์ ผู้ก่อตั้ง และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เถ้าแก่น้อย ฟู๊ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) อายุ 40 ปี รับตำแหน่งเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2547 ถือหุ้นใหญ่ ลำดับ 2 จำนวน 298,676,200 หรือ 21.64% 

จบการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาผู้ประกอบการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และปริญญาเอก (กิตติมศักดิ์) การประกอบการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เข้าอบรมหลักสูตรกรรมการ Directors Accreditation Program (DAP) รุ่น 86 ปี 2553

ปัจจุบันมีตำแหน่งในกิจการที่ไม่ใช่บริษัทจดทะเบียน

  • กรรมการ บจก. ทองหล่อ 24 ตั้แต่ปี 2562 - ปัจจุบัน
  • กรรมการ บจก. เฮนรี่ส์ เบอร์เกอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ตั้งแต่ปี 2561 - ปัจจุบัน
  • กรรมการ บจก. ต๊อบ แคปปิตอล 24 ตั้งแต่ปี 2561 - ปัจจุบัน
  • กรรมการ บจก. พีระเดชาพันธ์ โฮลดิ้ง ตั้งแต่ปี 2557 - ปัจจุบัน
  • กรรมการ บจก. ดร.โทบิ ตั้งแต่ปี 2553 - ปัจจุบัน
  • กรรมการ บจก. เถ้าแก่น้อย เรสเตอรองท์ แอนด์แฟรนไชส์ ตั้งแต่ปี 2552 - ปัจจุบัน
  • กรรมการ บจก. เถ้าแก่น้อย แคร์ ตั้งแต่ปี 2551 - ปัจจุบัน
  • กรรมการ บจก. เอ็นซีพี เทรดดิ้งแอนด์ซัพพลาย ตั้งแต่ปี 2547 - ปัจจุบัน

ส่วนประสบการณ์ทำงานย้อนหลัง

  • กรรมการ บจก. ชุบชีวา ตั้งแต่ปี 2557 - 2564
  • กรรมการ บจก. โอมิเชะ ตั้งแต่ปี 2557 - 2563
  • กรรมการ บจก. โตเกียวรันเวย์ มาร์เก็ตติ้ง ตั้งแต่ปี 2556 - 2562
  • กรรมการ บจก. ทเว็นตี้โฟร์ โปรเจ็คส์ ตั้งแต่ปี 2552 - 2562
  • กรรมการ บจก. เถ้าแก่น้อย มารุอิสุ (ประเทศไทย) ตั้งแต่ปี 2561 - 2561
  • กรรมการ บจก. เจนซี อินสไปร์ คอร์ปอเรชั่น ตั้งแต่ปี 2555 - 2558

สำหรับกำไรสุทธิอยู่ที่ 294.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 77.4% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และอัตรากำไรขั้นต้น อยู่ในระดับ 39.7% จากกลยุทธ์ Go Firm ที่มุ่งมั่นให้องค์กรมีความกระชับ ลดต้นทุน และควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการบริหารจัดการยอดขาย ได้แก่

1.การบริหารการขายโดยมุ่งเน้นการสร้างการเติบโตในสินค้าและช่องทางที่มีกำไรดี (การปรับ Product Mixed)

2. การปรับราคาสินค้าในตลาดต่างประเทศบางประเทศช่วงปลายไตรมาส 4/66 เพื่อเตรียมรองรับต้นทุนวัตถุดิบสาหร่ายที่สูงขึ้น

3. ปรับปรุงต้นทุนอื่นๆ เพื่อลดค่าใช้จ่าย เช่น การใช้กำลังการผลิตที่สูงขึ้นทำให้ต้นทุนต่อหน่วยลดลง, การบริหารประสิทธิภาพภายในโรงงานเพื่อเพิ่มผลผลิตและลดของเสียจากการผลิต, การพัฒนากระบวนการทำงานโดยการนำเครื่องจักรเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ไตรมาส 1/67 มีการปรับมูลค่าสินค้าคงเหลือต้นงวดด้วยต้นทุนใหม่ปี 67 ตามหลักการบัญชีครั้งเดียวตอนต้นปี ส่งผลต่ออัตรากำไรขั้นต้นในไตรมาส 1 นี้สูงขึ้น 2% ซึ่งเป็นการรับรู้ครั้งเดียว ทั้งนี้ภาพรวมต้นทุนสินค้าในปี 67 จะทยอยปรับสูงขึ้นจากการรับรู้ต้นทุนวัตถุดิบสาหร่ายใหม่ที่สูงขึ้นกว่าปี 66

5.บริษัท ริช สปอร์ต จำกัด (มหาชน) RSP มาร์เก็ตแคป 1,545.44 ล้านบาท 

พาพิชญ์ วงศ์ไพฑูรย์ปิยะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ริช สปอร์ต จำกัด (มหาชน) อายุ 37 ปี รับตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2557 จบการศึกษา ปริญญาตรี จบการศึกษาคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี สาขาการเงิน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ Master of Business Administration, Babson College, USA รวมทั้ง หลักสูตร Directors Accreditation Program (DAP) รุ่นที่ 123/2016 โดยครั้งแรกเริ่มเข้ามาดูแลกิจการของบริษัทตั้งแต่ปี 2554

ปัจจุบัน RSP มีแบรนด์ภายใต้การจัดจำหน่าย ได้แก่ Converse, Havaianas, Barrel, Cole Haan, Acme De La Vie, O&B, ECCO และ GEOX ในประเทศไทยและกัมพูชา รวมสาขากว่า 216 แห่ง ซึ่งบริษัทฯ มองเทรนด์สินค้าแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ สามารถเติบโตตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ไม่เคยหยุดนิ่ง ด้วยจุดเด่น RSP มีแบรนด์ในพอร์ตโฟลิโอที่หลากหลาย ภายใต้ตราสินค้าชั้นนำจากต่างประเทศ ครอบคลุมทั้งกลุ่มสินค้าประเภทรองเท้า เสื้อผ้าตลอดจนเครื่องแต่งกายอื่นๆ สะท้อนประสิทธิภาพการบริหารจัดการ และการกระจายรายได้

ทั้งนี้ แนวโน้มผลประกอบการในช่วงครึ่งปีหลังของปี 67 คาดจะเติบโตกว่าครึ่งปีแรก หลังงบประมาณรายจ่ายภาครัฐมีผลบังคับใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ เชื่อว่าจะสนับสนุนรายได้ปีนี้เติบโต 10-15% ตามเป้าหมาย

สำหรับ กำไรสุทธิไตรมาส 1/67 อยู่ที่ 46.55 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ 18.48% หรือที่ 57.10 ล้านบาท ขณะที่รายได้ 1/67 ที่ 404.21 ล้านบาท ลดลง 1.15% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันที่ 408.90 ล้านบาท 

 

5 CEO หุ้นฮอต คนรุ่นใหม่ ไฟแรง กุมบังเหียน ในวัยไม่เกิน 40 ปี