10 หุ้นแบงก์ ดิ่งยกแผง SCB-KKP ร่วงนำ 3% กังวลเสี่ยงกระทบปล่อยกู้ EA

10 หุ้นแบงก์ ดิ่งยกแผง SCB-KKP ร่วงนำ 3% กังวลเสี่ยงกระทบปล่อยกู้ EA

10 หุ้นแบงก์ ดิ่งยกแผง หุ้น SCB ร่วง 3.29% หุ้น KKP ร่วง 2.67% "นักวิเคราะห์" เผย กังวลเสี่ยงกระทบปล่อยสินเชื่อให้กับ EA

KEY

POINTS

"อาจจะมีความกังวลกระทบเสี่ยงปล่อยกู้ให้ EA เนื่องจากว่าหลาย ๆ แบงก์ก็มีการปล่อยกู้ให้กับ EA"

อย่างไรก็ตาม ประเด็นดังกล่าวถือว่า เป็นปัญหาเฉพาะตัวชั่วคราว และในภาพรวมกลุ่มธนาคาร ต้องมองเป็น Dividend Play หรือการหาหุ้นที่จ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ และให้อัตราผลตอบแทนสูงกว่าหุ้นทั่วไป เนื่องจากว่า ก่อนหน้านี้มีการ down กลุ่มนี้มาสักระยะ เพราะดอกเบี้ยเป็นขาลง ขึ้นอยู่กับว่าจะลงเมื่อใด เพราะฉะนั้นโดยภาพของการเติบโตจึงยังไม่น่าสนใจ เพราะสามารถเติบโตแบบทรงตัวมากกว่า จึงมองเป็นในส่วนปันผลมากกว่า

 

 

ความเคลื่อนไหวตลาดหุ้นไทยภาคเช้า ณ วันที่ 15 ก.ค.2567 เวลา 11.00 น. หุ้นกลุ่มธนาคารปรับตัวลดลงยกแผง หลังจากมีความกังวลต่อการปล่อยสินเชื่อให้กับ EA 

หุ้น SCB        ร่วง 3.29% ราคาลด 3.50 บาท ระดับราคาอยู่ที่ 103.00 บาท
หุ้น KKP        ร่วง 2.67% ราคาลด 1.25 บาท ระดับราคาอยู่ที่ 45.50 บาท
หุ้น BBL         ร่วง 2.21% ราคาลด 3.00 บาท ระดับราคาอยู่ที่ 132.50 บาท
หุ้น CREDIT  ร่วง 1.62% ราคาลด 0.30 บาท ระดับราคาอยู่ที่ 18.20 บาท 
หุ้น KBANK   ร่วง 1.17% ราคาลด 1.50 บาท ระดับราคาอยู่ที่ 126.50 บาท
หุ้น KTB        ร่วง 1.14% ราคาลด 0.20 บาท ระดับราคาอยู่ที่ 17.30 บาท
หุ้น LHFG      ร่วง 1.09% ราคาลด 0.01 บาท ระดับราคาอยู่ที่ 0.91 บาท
หุ้น TCAP      ร่วง 1.05% ราคาลด 0.50 บาท ระดับราคาอยู่ที่ 47.00 บาท 
หุ้น TISCO     ร่วง 0.62% ราคาลด 0.25 บาท ระดับราคาอยู่ที่ 95.50 บาท
หุ้น BAY         ร่วง 0.40% ราคาลด 0.10 บาท ระดับราคาอยู่ที่ 24.70 บาท 

10 หุ้นแบงก์ ดิ่งยกแผง SCB-KKP ร่วงนำ 3% กังวลเสี่ยงกระทบปล่อยกู้ EA

วีระวัฒน์  วิโรจน์โภคา ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัท หลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน บล. ฟินันเซีย ไซรัส เปิดเผยกับ "กรุงเทพธุรกิจ" ว่า หุ้นกลุ่มแบงก์ที่มีการปรับตัวลงในวันนี้ (15 ก.ค.2567) มีความกังวลในกรณี EA ในการปล่อยสินเชื่อ และคาดว่า อาจจะมีการปรับ NPL หรือไม่ หลังจากที่มีกระแสข่าวออกมา จากกรณีที่ EA มีปัญหาในการรีไฟแนนซ์ และตัวของผู้บริหาร ทำให้ตลาดมีความกังวลสภาพคล่อง ที่จะมีการออกขายหุ้นกู้จะสามารถประสบความสำเร็จขายหมดหรือไม่ ซึ่งยังไม่มีใครทราบ
 

แต่อาจจะมีการเห็นบางธนาคารที่มีการปรับ EA เป็น NPL ถ้าหากมีการปรับจริง จะทำให้แบงก์ต้องมีการตั้งสำรอง แต่ขณะนี้ยังไม่มีรายละเอียดว่า ธนาคารใดมีการปรับหรือไม่ปรับ  หรือธนาคารใดมีการปล่อยกู้สินเชื่อให้กับ EA เท่าไร ซึ่งยังไม่ได้มีการเปิดเผย แต่มันเกิดความเสี่ยงว่า ถ้าหากต้องมีการปรับเป็น NPL จริง ก็ต้องมีการตั้งสำรอง เป็นระดับหลัก 1,000 ล้านบาท ขึ้นไป ซึ่งยังไม่ทราบแน่ชัดว่า มีมากน้อยขนาดใด ซึ่งหากอยู่ในระดับ 1,000 ล้านบาท ขึ้นไปจริง ก็จะทำให้มีผลกระทบต่อผลกำไรธนาคารได้ เนื่องจากกำไรธนาคารขนาดใหญ่จะกำไรอยู่ที่ประมาณ 30,000 - 40,000 ล้านบาท 

 

 


พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์