VGI เจรจาพันธมิตรรุก Virtual Bank เพิ่มทุน 1.32 หมื่นล้านบาทรองรับ
"วีจีไอ" เพิ่มทุนวงจำกัดให้ 4 กองทุน คาดได้เงินรวม 13,208 ล้าน เบื้องต้นประเมินกระบวนการแล้วเสร็จปลายปี นำเงินไปลงทุน Virtual Bank อยู่ระหว่างเจรจาสัดส่วนถือหุ้นกับพันธมิตรโดยอาจถือหุ้นเองไม่เกิน 25% ใช้ 7,500 ล้าน สนับสนุนโครงการนี้ ส่วนอีก 2,500 ล้าน ใช้กับธุรกิจเดิม
บริษัท วีจีไอ จำกัด (มหาชน) (VGI) เปิดเผยสาระสนเทศสำคัญผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า มติประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 5/2567 เมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2567 อนุมัติให้ บริษัทเพิ่มทุนเสนอขายให้แก่บุคคลในวงจำกัด ดังนี้
CAI Optimum Fund VCC (กองทุน CAI ไม่เกิน 2,900,000,000 หุ้น), Si Suk Alley Limited (กองทุน Si Suk ไม่เกิน 2,805,480,334 หุ้น) , Opus- Chartered Issuances S.A. (กองทุน Opus ไม่เกิน 2,200,000,000 หุ้น) และ Asean Bounty (กองทุน Asean Bounty ไม่เกิน 900,000,000 หุ้น) ซึ่งอยู่ระหว่างจัดตั้ง (ผู้ลงทุน) รวมทั้งสินเป็นจำนวน ไม่เกิน 8,805,480,334 หุ้น เสนอขายราคา 1.5 บาทต่อหุ้น คิดเป็นไม่เกิน ไม่เกิน 13,208,220,501 บาท
บริษัทคาดกระบวนการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนในครั้งนี้จะแล้วเสร็จภายในไตรมาส 4 ปี 2567 โดยในเบื้องต้น VGI มีแผนที่จะนำเงินที่ได้รับจากการเพิ่มทุนในครั้งนี้ ลงทุนโครงการที่เกี่ยวข้องกับการขอใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (Virtual Bank)
ทั้งนี้ Virtual Bank ดำเนินงานผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลและออนไลน์ทั้งหมด โดยไม่มีสาขาที่ตั้งแบบธนาคารดั้งเดิม (Physical) ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมทางการเงินต่าง ๆ เช่น ฝากเงิน ถอนเงิน โอนเงิน ชำระบิล และอื่น ๆผ่านแอปพลิเคซันหรือเว็บไซต์ของ Vitual Bank ซึ่งจากแผนของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มองไว้ว่า Virtual Bank เข้ามาจะช่วยเจาะลูกค้ารายย่อยในส่วนที่ธนาคารเข้าไม่ถึง
เช่น กลุ่มเข้าไม่ถึงบริการทางการเงิน กลุ่มรายย่อยที่ไม่มีรายได้ประจำ และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ใช้เทคโนโลยีและข้อมูลลูกค้าที่มีอยู่ในการให้บริการทางการเงินกับลูกค้า และกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันในระบบสถาบันการเงินอย่างเหมาะสม และต้นทุนการเงินที่ต่ำลงกว่าธนาคารตั้งเดิม (Physical) จะส่งผ่านไปยังลูกค้า
บริษัทคาดว่าการเข้าลงทุนใน Virtual Bank จะเป็นการเข้าร่วมกับพันธมิตรรายอื่นๆ ซึ่งยังอยู่ในระหว่างการเจรจาสัดส่วนการถือหุ้น บริษัทคาดว่าบริษัทจะไม่ได้เป็นแกนหลักในการเข้าร่วมกับพันธมิตรรายอื่น และจะถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 25
ทั้งนี้ หนึ่งในข้อกำหนดที่สำคัญของธนาคารแห่งประเทศไทศไทยในการยื่นขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจ Virtual Bank คือผู้ขออนุญาตต้องมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่น้อยกว่า 10,000 ล้านบาทและทุนจดทะเบียนซึ่งชำระแล้วไม่น้อยกว่า 5,000 ล้านบาท ในระยะแรกของการประกอบธุรกิจ รวมถึงมีเงินทุนเพียงพอสำหรับเป็นเงินทนสำรองในการบริหารงาน
บริษัทมองว่าบริษัทและพันธมิตรนั้นมีศักยภาพในการเข้าร่วมขออนุญาต Virtual Bank เนื่องจาก บริษัทเอง มีประสบการณ์ในด้านการเงินและบริการด้านดิจิทัล (DitalServices) ผ่าน Rabit Card และ Rabbit Cash รวมถึงความสามารถในผสมผสานความสามารถทางด้านการเงินข้อมูล และเทคโนโลยีเข้าด้วยกันได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ เงินที่คาดได้จากการเพิ่มทุนวงจำกัดจะแบ่งสัดส่วนการลงทุนดังนี้
ไม่เกิน 7,500 ล้านบาท เพื่อเข้าลงทุนในการพัฒนา และสนับสนุนเงินลงทุนหมุนเวียนของ Virtual Bank ซึ่งจะทำการลงทุนโดยบริษัทหรือผ่านบริษัทย่อยของบริษัทโดยอาจจะอยู่ในรูปแบบเพิ่มทุนหรือเงินให้กู้ยืม คาดใช้เงินภายในระยะเวลา 12 เดือนนับจากวันที่ได้รับชำระเงิน
ไม่เกิน 5,000 ล้านบาท ใช้เพื่อสนับสนุนการเติบโตในธุรกิจเดิมของบริษัทและบริษัทย่อย และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง อันได้แก่ ธุรกิจสื่อโฆษณาและความบันเทิง ธุรกิจบริการด้านดิจิทัล ธุรกิจการจัดจำหน่าย และการพัฒนาปรับปรุงระบบความบันเทิงในรถไฟฟ้าและสถานที่ต่างๆ คาดใช้เงินภายในระยะเวลา 12 เดือนนับจากวันที่ได้รับชำระเงิน
ส่วนเงินที่เหลือจากสองส่วนนี้ จะนำไปใช้เป็นทุนหมุนเวียนใน โดยจำนวนเงินลงทุน และระยะเวลาที่จะใช้เงินข้างต้นเป็นการประมาณการเบื้องต้น ยังมีความไม่
แน่นอน