ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น หลังทิศทางดอกเบี้ยสหรัฐฯ เริ่มเป็นขาลง

ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น หลังทิศทางดอกเบี้ยสหรัฐฯ เริ่มเป็นขาลง

ทิศทางดอกเบี้ยของสหรัฐฯเริ่มเป็นขาลงชัดเจน บวกกับมุมมองดอกเบี้ยที่เปลี่ยนไปของกรรมการ FED บางท่าน DOVISH มากขึ้น ทำให้ DOLLAR INDEX อ่อนค่าตามกลไล และหนุนค่าเงินบาทแข็งค่า

บล.เอเชีย พลัส ระบุว่า ภาพรวมตลาดหุ้นสหรัฐฯ ผันผวนในกรอบแคบ +/-1% รอตัวเลขเงินเฟ้อเดือน ก.ค.67 ที่จะประกาศวันพรุ่งนี้ ซึ่งล่าสุดข้อมูลจาก BLOOMBERG คาดทรงตัวระดับเดิมที่ +3.0%YOY ส่วน CORE CPI คาดลดลงเหลือ +3.2%YOY จาก +3.3%YOY ซึ่งต้องรอดูผลลัพธ์ว่าจะเป็นไปตามคาดหรือไม่ ส่วนตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ออกมาดีกว่าคาดก่อนหน้านี้ คลายความกังวล RECESSION ได้ระดับหนึ่ง ซึ่งกรรมการFED 2 ท่านมีมุมมองต่อดอกเบี้ยที่ DOVISH มากขขึ้นทั้งนาย JEFFREY SCHMID (FED KANSAS CITY) และ นาย AUSTAN GOOLSBEE (FED CHICAGO)
 

ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น หลังทิศทางดอกเบี้ยสหรัฐฯ เริ่มเป็นขาลง

ซึ่งสอดคล้องกับที่ตลาดคาด โดยระยะถัดไป จะเริ่มเห็นทิศทางดอกเบี้ยของสหรัฐฯเป็นขาลงชัดเจนขึ้น โดยตลาดประเมินว่า FED จะปรับลดดอกเบี้ยปีนี้ 3-4 ครั้ง โดยผลการสำรวจของ FED WATCH TOOL ให้น้ำหนักใกล้เคียงกันที่52.5% และ 47.5% ที่คาดว่าจะปรับลดดอกเบี้ยลงสู่ระดับ 5.00%-5.25% และทยอยปรับลดดอกเบี้ยในการประชุมเดือน พ.ย.67 และ ธ.ค.67 ลง 0.25% จนคาด ณ สิ้นปีดอกเบี้ยจะอยู่ระดับ 4.50% ประเด็นดังกล่าว ส่งผลให้BOND YIELD 10Y สหรัฐ ยังอยู่ต่ำกว่าระดับ 4% และกดดัน DOLLAR INDEX อ่อนค่า ดีต่อค่าเงินบาทให้แข็งค่า เป็นกลไกให้ FLOW ต่างชาติไหลเข้าได้ไม่ยาก

ขณะที่ปัจจัยหนุนในประเทศ คือ ตลท.ประกาศ 3 มาตรการกำกับดูแลเพิ่มเติมเพื่อช่วยตลาดทุน ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 2 ก.ย.67 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.เพิ่มความเข้มข้นของมาตรการกำกับการซื้อขายหลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายผิดไปจากสภาพปกติ (“CASH BALANCE”) จากมาตรการฯ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยเพิ่มวิธีจับคู่ซื้อขายในคราวเดียว (AUCTION) ตามช่วงเวลาที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนด คือ ช่วง PRE-OPEN 1, PRE-OPEN 2 และ PRE-CLOSE โดยใช้สำหรับหลักทรัพย์ที่เข้าเกณฑ์ CASH BALANCE ตั้งแต่ระดับ 2 ขึ้นไป

2.กำหนดกรอบราคาซื้อขายแบบ DYNAMIC PRICE BAND เป็นรายหลักทรัพย์ (±10% จากราคาซื้อขายล่าสุดของหลักทรัพย์นั้นๆ) เพิ่มเติมจาก CEILING & FLOOR ในปัจจุบัน (±30% จากราคาปิดในวันทำการก่อนหน้า) เพื่อลดความผันผวนในเชิงราคาของแต่ละหลักทรัพย์

3.กำหนดเวลาขั้นต่ำของคำสั่งซื้อขาย ก่อนที่จะสามารถแก้ไขหรือยกเลิกคำสั่งซื้อขาย (MINIMUM RESTING TIME) โดยคำสั่งซื้อขายจะต้องคงอยู่ในระบบอย่างน้อย 250 มิลลิวินาที จึงจะสามารถแก้ไขหรือยกเลิกคำสั่งได้

ซึ่งฝ่ายวิจัยฯ คาดว่าประเด็นดังกล่าว จะเป็นตัวพยุง SET ได้เป็นอย่างดี เฉกเช่นมาตรการก่อนหน้านี้ ทั้งการมี UPTICK RULE และ เกณฑ์สำหรับหุ้นที่สามารถ SHORT SELLได้ โดยหลังจากนั้นปริมาณการชอร์ตสุทธิรายวันลดลงอย่างมีนัยฯ ซึ่งช่วยลดความผันผวนของตลาดลงได้

อย่างไรก็ตาม ทิศทางดอกเบี้ยของสหรัฐฯเริ่มเป็นขาลงชัดเจน บวกกับมุมมองดอกเบี้ยที่เปลี่ยนไปของกรรมการ FED บางท่าน (DOVISH มากขึ้น) จึงทำให้ DOLLAR INDEX อ่อนค่าตามกลไล และหนุนค่าเงินบาทแข็งค่า ขณะที่ ตลท. ออก 3 มาตรการกำกับดูแลเพิ่มเติมเพื่อช่วยตลาดทุน คาดเป็นปัจจัยหนุนให้ FLOW ต่างชาติมีโอกาสหันมาสนใจตลาดหุ้นไทยมากขึ้น