5 สิ่งต้องรู้ เลี้ยงสัตว์ เฝ้าระวัง "ฝีดาษวานร"
คนติด “ฝีดาษวานร” ยังพบไวรัสนานกว่า 70 วัน หวั่นอาจต้องกันคนไว้ 60 วัน ติดเชื้อไม่มีอาการไม่แพร่เชื้อ ยังไม่มีกลายพันธุ์ที่น่ากังวล ขอให้เร่งสำรวจคนไม่เคย “ปลูกฝีดาษ” ส่วนในสัตว์ย้ำไม่ติดจากละอองฝอย พร้อมคำแนะนำสิ่งต้องระวังในการเลี้ยงสัตว์ ป้องกันโรค
เมื่อวันที่ 21 มิ.ย.2565 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดเสวนาวิชาการ Chula the Impact ครั้งที่ 9 เรื่อง “ชัวร์ก่อนแชร์: โรคฝีดาษวานร” เพื่อเป็นเวทีวิชาการเผยแพร่ความรู้และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรค “ฝีดาษวานร”หรือ “ฝีดาษลิง” (Monkeypox) โรคติดต่อจากสัตว์สู่คนซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในสัตว์ที่เป็นพาหะ และมีข่าวว่าสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ สร้างความตื่นตระหนกแก่ประชาชนในการเฝ้าระวังและป้องกันตนเองจากโรคนี้ โดยมีศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ เป็นประธานเปิดงาน
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า การติดต่อระหว่างคนสู่คนนั้น ต้องมีการคลุกคลีสัมผัสใกล้ชิดกัน ตัวแปรมี 2 อย่าง คือ สัมผัสใช้ใกล้ชิดนานพอสมควรและจำนวนไวรัสที่ปล่อยต้องมีปริมาณมากพอสมควร โดยติดต่อจากละอองฝอย ไอ จาม หัวเราะ พูดคุยกัน แต่ไม่ใช่ทางอากาศหรือลมหายใจ
ในประเทศไทย ยังไม่มีรายงานผู้ป่วยยืนยันฝีดาษวานร ส่วนข้อมูลปี 2021 ในอังกฤษที่รับผู้ติดเชื้อเข้ารักษาในรพ. มีการกระจายจากคนที่ 1 กลับจาไนจีเรีบ ไปยังคนที่ 3 ซึ่งไม่ได้รู้จักกับคนที่ 1 เป็นสิ่งที่เตือนแล้วว่าจะแพร่ได้ง่ายในชุมชน และมีข้อมูลในต่างประเทศ แม้จะน้อยเพียง 7 ราย แต่สำคัญ คือในเลือด จมูก แยงลำคอเจอไวรัสได้ ปัสสาวะเจอได้แต่ไมได้บอกว่าติดเชือ้ได้หรือไม่ รวมถึง เมื่อพบคนติดเชื้อ 1 คน เมื่อเวลาอยู่รพ.อาการไม่หนัก อาจต้องเก็บตัวไว้นาน
เพราะว่า การแพร่เชื้อที่ออกมาทางละอองฝอย จมูก ปากที่พูดจากัน จากการศึกษาพบว่า บางวันก็ตรวจเจอไวรัส บางวันหายไป และแม้ว่าหายไปนาน กลับพบไวรัสโผล่ขึ้นในวันที่ 73-75 จะเป็นปัญหาสาธาณสุข ว่าแม้คนไข้ยังไม่มีใครเสียชีวิตตั้งแต่ 7 พ.ค.2565 แต่ถ้าคนติดเชื้อ แม้อาการไม่หนัก แต่อาจจะต้องเก็บตัวไว้เพื่อแน่ใจว่าไม่แพร่เชื้อหาคนอื่นต่อ อาจจะนาน 60 วันขึ้น
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวอีกว่า คนสังเกตอาการตนเอง โดยเชื้อไม่ปล่อยออกมาจากคนนั้น ถ้าแข็งแรง ติดเขื้อไม่มีอาการ แต่หากเริ่มไม่สบายเชื้อจะเริ่มปล่อย เช่น ครั่นเนี้อครั่วตัว มีไข้ ไม่ต้องรอให้ผื่นขึ้นหรือ ต่อมน้ำเหลือง ขอให้มีวินัย ตระหนักว่าเมื่อคนไทยคนใดคนหนึ่งไข้ อาจจะแพร่ชื้อให้คนอื่น ต้องแยกตัวออก ใส่หน้าหน้ากากอนามัย ล้างมือและสังเกตตัวเอง ซึ่งอาการไม่สบายอาจจะเป็นโควิด ฝีดาษวานร ไข้หวัดใหญ่ หวัดทั่วไป หรือไวรัสอีกมากมาย
ฉะนั้น เมื่อไม่สบาย ต้องเฝ้าระวังตัวเอง ถ้าอารไม่หนักไม่เป็นไร แต่ถ้าช่วงไม่เกินวันที่ 4 คลำแล้วต่อมน้ำเหลืองที่คอ หรือไหปลาร้าโตมากพอควร อาจจะเกี่ยวกับฝีดาษวานร และเริ่มูมีจุด นูน ราบ จุดน้ำหรือจุดต่างๆเกิดขึ้น ซึ่งในช่วงที่ระบาดแพร่ที่อังกฤษปี2021 จะมีตุ่มน้อย แค่ 10-30 ตุ่มเท่านั้น ตรงนี้อาจจะดูยาก
“การมีไข้ และต่อมน้ำเหลืองหรือมีผื่น เกิดจากไวรัสได้มหาศาลมีแบคทีเรียที่มาจากสัตว์อีกมาก แพทย์คงต้องวินิจฉัยประมวลหลายอย่าง ตั้งแต่ประวัติไปต่างประเทศนั้นๆที่มีการระบาด พบปะกับคนหรือไม่ ไปเทศกาลหมู่มาก การตรวจสอบชันสูตรทางห้องแล็ป แต่หากมีการติดเชื้อนี้ร่วมกับโรคอื่น เช่น สุกใส จึงเป็นที่จับตามองว่าใครเป็นฝีดาษวานร นอกจากโรคประจำตัวแล้ว อาจจะมีตัวอื่นเข้ามาร่วมแจมด้วยหรือไม่ ผสมผสานได้ และรุนแรงได้มากขึ้น ส่วนการรักษายังไม่มียาเฉพาะ ใช้การรักษาประคับประคอง ส่วนใหญ่ไม่เสียชีวิต ”ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าว
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวด้วยว่า ในส่วนของวัคซีน ในอเมริกา อังกฤษ ประกาศมีวัคซีนที่มีการใช้ 2 ตัว แต่ใช้ 1 ตัว อังกฤษจะให้เฉพาะบุคลากรสาธาณสุขที่ดูแลฝีดาษวานร และในคนซึ่งมีเสี่ยงสัมผัสสูงจากคนติดเชื้อแล้ว โดยให้ภายใน 4 วัน วัคซีนตัวนี้ ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 100% แต่เมื่อติดแล้วผ่อนหนักเป็นเบา ลดการแพร่กระจายได้
ทั้งนี้ มีการศึกษาโดยการคำนวณทางคณิตศาสตร์ ถ้าเมื่อไหร่ที่ภูมิคุ้มกันหมู่ อนุมานได้จากการฉีดวัคซีนฝีดาษหมดทุกคน ภูมิค้มกันหมู่ 100 % สามารถป้องกันฝีดาษลิงได้ แสดงว่าประสิทธิภาพติดจาก 1 คน ไปต่อน้อยกว่า 1 จะไม่มีการแพร่ระบาดในชุมชนเกิดขึ้น แต่เมื่อภูมิคุ้มกันหมู่เหลือน้อยกว่า 60 % คือเริ่มมีคนเกิดมาอายุน้อยลงเรื่อยๆแล้วไม่ได้รับวัคซีน เมื่อมีคนติด 1 คนจะแพร่ระบาดได้มากกว่า 1คน เกิดการแพร่ระบาดในชุมชนเกิดขึ้น อาจจะเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดแพร่ในชุมชนต่างๆ ตอนนี้ ส่วนการกลายพันธุ์ยังไม่มีที่น่ากังวล แต่จะต้องจับตาต่อไป
“ประเทศไทยมีการเลิกปลูกฝีดาษ ตั้งแต่ปี 2523 แต่ในบางจังหวัดก็ยังมีการปลูกฝีอยู่ คาดว่าจะมีการเลิกปลูกจริงในปี 2525 แต่อย่างไรก็ตามการปลูกฝีดาษ ไม่ได้สามารถป้องกันฝีดาษลิงได้ทั้งหมด และต้องเข้าใจว่า เมื่อนานวันไปภูมิคุ้มกันในร่างกายจากการปลูกฝีจะค่อยๆ ลดลงตามอายุ เฉลี่ย 60-70 ปี ”ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าว
ดังนั้น สิ่งที่ต้องดำเนินการจากนี้ คือ
1 ต้องเร่งสำรวจว่าสัดส่วนของคนที่ยังไม่ได้รับการปลูกฝี ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีอายุต่ำกว่า 50 ปี ว่ามีอยู่เท่าไหร่
2 ต้องเตรียมฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ และผู้สัมผัสเสี่ยงสูง และมีความอ่อนไหว ไวต่อโรค เช่น เพิ่งผ่านการสัมผัสกับคนติดเชื้อใน 4 วัน แต่ไม่เกิน 21 วัน เนื่องจากระยะฝักเชื้อของฝีดาษลิงประมาณ 21 วัน
ด้านผศ.น.สพ.ดร.สว่าง เกษแดงสกลวุฒิ ภาควิชาพยาธิวิทยาและหน่วยชันสูตรโรคสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า สัตว์ที่พบโรคนี้ เป็นตระกูลลิง สัตว์ฟันแทะ กระรอก หนู สัตว์เคี้ยวเอื้องบางชนิด เช่น กวางของแอฟริกา แต่ในสัตว์อาการไม่ชัดเจนเท่าในคน อาจมีอาการทางเดินหายใจ ไข้ มีผื่นบ้าง แต่ลิง ชิมแพนซี อุรังอุตัง ลิงแสม ลิงวอกมีอาการใกล้เคียงกับคนได้ การติดเชื้อจากสัตว์สู่คนจากการสัมผัสใกล้ชิด โดนกัด ข่วน จากสัตว์ที่มีเชื้อ ส่วนการติดทางละออองฝอยมาคนยังไม่มีรายงาน
คนเลี้ยงสัตว์มีวิธีการป้องกันเบื้องต้นหรือระมัดระวังคือ มาตรการสุขอนามัยที่ใช้กับโควิดป้องกันโรคนี้ได้ค่อนข้างดี เมื่อสัมผัสแล้ว การล้างมือ ฟอกสบู่เฝ้าระวังสังเกตอาการ ประมาณ 10 วัน หากมีไข้ มีผื่น รีบพบแพทย์ ในการเลี้ยงสัตว์ต้องเว้นระยะบ้าง ต้องรู้แหล่งที่มาของสัตว์ สุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ เท่าที่ทราบข้อมูลจากกรมปศุสัตว์ยังไม่มีรายงานพบในสัตว์ไทย แต่อนาคตยังไม่มีใครตอบได้ ซึ่งในสัตว์อาการไม่จำเพาะเหมือนในคน มีอาการไข้ มีน้ำมูกหรือทางเดินหายใจ เพราะถ้าติดในสัตว์จะะเข้าไปที่ปอด แต่บางตัวไม่แสดงอาการ หากพบผิดปกติไปพบสัตวแพทย์จะดีที่สุด
“โรคนี้เป็นไวรัส ถ้ามีสัตว์สงสัยติดเชื้อ จะต้องแยกจากสัตว์อื่นและคน การรักษาที่เป็นยาเฉพาะในสัตว์ยังไม่มี ใช้สังเกตอาการและตรวจยืนยัน ถ้าไม่เจอ กลับเลี้ยงปกติ ถ้าใช่อาจต้องพิจารณามาตรการอย่างอื่นต่อ ถ้าจะเลี้ยงต่อ คนเลี้ยงสามาถดำเนินการอย่างไรในการป้องกันโรคได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ต้องใช้มาตรการอื่นมาคุมโรคต่อไป เพราะโรคนี้ติดคนได้ ต้องมีมาตรการป้องกันไม่ให้แพร่สัตว์สู่คน ส่วนสุนัข แมว ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลติดไปยังสุนัขหรือแมวได้ มีข้อมูลแต่สัตว์หฟันแทะ และตระกูลลิง”ผศ.น.สพ.ดร.สว่าง
ผศ.น.สพ.ดร.สว่าง กล่าวอีกว่า ต้องระวังการนำสัตว์ต่างๆเข้ามา เพราะไม่รู้สัตว์มีเชื้อโรคอะไรบ้าง ควรนำมาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ เข้ามาแล้วต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบได้โดยหน่วยงานราชการ เมื่อเข้ามาแล้วควรมีการกักโรค เพื่อดูโรคน่าต้องระวังแต่ละกลุ่มชนิดสัตว์ และควรมีระบบตรวจสอบได้ว่าไปอยู่ที่ไหน และไปสิ้นสุดที่ไหน เป็นระบบที่ทำให้อเมริกาสามารถควบคุมโรคตอนระบาดได้ ส่วนคนเลี้ยงสัตวต่างๆ ทั่วไป หรือสัตว์แปลกใหม่(exotic)การเลี้ยงดูต้องมีสุขอนามัยที่ดี เฝ้าระวังสังเกตอาการสัตว์ป่วย ควรพบสัตวแพทย์ดีกว่ารักษาเอง หรือหมอโซเชียล อาจจะไม่หายก็ได้