ไทยผลิตยาชีววัตถุ เพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรมยา

ไทยผลิตยาชีววัตถุ เพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรมยา

อุตสาหกรรมยาในประเทศไทย มีมูลค่าประมาณ 200,000 กว่าล้านบาทต่อปี และในส่วนของยาชีววัตถุของประเทศประมาณ 40,000 ล้านบาทต่อปี โดยไทยนำเข้ายาชีววัตถุ 25,000 ล้านบาท ซึ่งพ.ศ.2561-2568 มีแนวโน้มอัตราเติบโตในตลาดเอเชียแปซิฟิก17.2%

จากการจัดทำ (ร่าง) นโยบายแห่งชาติด้านยาและแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติ พ.ศ. 2563-2565 ของกระทรวงสาธารณสุข 1 ในยุทธศาสตร์จะมุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมยาชีววัตถุ โดยมีระบบให้คำปรึกษาเพื่อการวิจัย พัฒนา และผลิต พร้อมเร่งรัดการขึ้นทะเบียนตำรับยา และส่งเสริมการส่งออก รวมทั้งส่งเสริมการจัดซื้อในภาครัฐผ่านบัญชีนวัตกรรมไทย

ล่าสุด กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน) หรือทีเซลส์(TCELS) ร่วมกับคณะผู้วิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยาชีววัตถุ มหาวิทยาลัยและบริษัทเอกชน ซึ่งถือเป็นความร่วมมือ 8 ฝ่าย ได้จัดแถลงข่าว “ความก้าวหน้าโครงการพัฒนายาชีววัตถุของประเทศ”

159966381248

ภายใต้ความร่วมมือของทุกภาคส่วน 3 ปีแรก ตั้งแต่ปี 2561-ปัจจุบัน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตยาและวัคซีนใช้เองและเพิ่มโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงยาที่มีคุณภาพสูงในราคาที่เหมาะสม เป็นการลดการนำเข้าและลดการพึ่งพายาชีววัตถุจากต่างประเทศ

ศิรศักดิ์ เทพาคำ" รองผู้อำนวยการทีเซลส์  กล่าวว่าทีเซลส์ได้มีการขับเคลื่อนในการพัฒนาตนเองเพื่อนำไปสู่การใช้ได้จริงและเป็นประโยชน์ต่อคนไทย ซึ่งในโครงการดังกล่าวได้มีการดำเนินการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตยาชีววัตถุจากระดับห้องปฏิบัติการสู่การผลิตระดับต้นแบบกึ่งอุตสาหกรรมตามมาตรฐาน GMP

โดยขณะนี้ได้ยาชีววัตถุต้นแบบที่อยู่ระหว่างกระบวนการศึกษาพัฒนา ได้แก่ โกรทฮอร์โมน (Growth hormone) สำหรับรักษาภาวะขาดฮอร์โมน ทำให้มีการเจริญเติบโตผิดปกติ ยาอีริไทรโพอิติน (Erythropoietin) สำหรับรักษาภาวะโลหิตจาง ยาอิมมูโนโกลบูลิน สำหรับโรคมือเท้าปาก (IVIG EV71) และยาทราสทูซูแมบ (Trastuzumab)สำหรับมะเร็งเต้านม

ทีเซลส์ได้รับงบประมาณในโครงการ ประมาณ 250 ล้านบาท ซึ่งจะใช้งบประมาณ 80 %ในการลงทุนเกี่ยวกับการผลิตยา เพิ่มมูลค่ายาให้แก่ประเทศไทย เพื่อเป็นยาต้นแบบและสร้างความเข้มแข็งทางด้านยาให้แก่ประเทศ และอีก 20% เป็นการจัดสรรงบประมาณในการผลิตบุคลากรสร้างคนของประเทศ และเครือข่าย ทำให้ห่วงโซ่ของยามีความเข้มแข็ง เชื่อมกับการลงทุนมากยิ่งขึ้น ศิรศักดิ์ กล่าว

159966354223

ปัจจุบันมีผู้ผลิตยาชีววัตถุในประเทศ จำนวน 4 ราย ได้แก่ สยามไบโอไซเอนซ์ สภากาชาดไทย ไบโอเนท-เอเชีย องค์การเภสัชกรรม-เมอร์ริเออร์ การนำนโยบายไปปฏิบัติจะช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันด้านอุตสาหกรรมยาชีววัตถุ โดยเพิ่มมูลค่าการผลิตได้มากกว่า 3,000 ล้านบาท

“ศิรศักดิ์” กล่าวต่อว่าประเทศไทยจะใช้ยานำเข้า 90% ซึ่งทีเซลส์มองว่าศักยภาพของนักวิจัย และบุคลากรทางด้านการแพทย์ของไทยมีประสิทธิภาพในการพัฒนายาต้นแบบเพื่อลดการนำเข้า และสามารถส่งออกสร้างมูลค่าให้แก่ประเทศไทย 

 ตอนนี้ยาทราสทูซูแมบ (Trastuzumab)สำหรับมะเร็งเต้านม สามารถเป็นยาส่งออกของประเทศไทยได้ เช่นเดียวกับยาอีก 3 ประเภทและยาอื่นๆ ที่จะดำเนินการในอนาคต แต่ตอนนี้การพัฒนายาชีววัตถุยังอยู่ในขั้นตอนการทดสอบความปลอดภัย ดังนั้นทีเซลส์แม้จะยังไม่ได้กำหนดว่าจะเพิ่มมูลค่าและลดการนำเข้าได้ กี่เปอร์เซ็นต์แต่เชื่อว่าเป็นอีกหนึ่งจุดก้าวสำคัญที่ทำให้เกิดการพัฒนายาของประเทศได้อย่างแน่นอน

สำหรับบทบาทของผู้เล่น หรือความสามารถด้านฟาร์ม่าของประเทศไทย ซึ่งในภาวะปัจจุบันมีบริษัทผลิตยาชีววัตถุจำนวนจำกัด นพ.ประเสริฐ เอื้อวรากุล” ที่ปรึกษาโปรแกรมชีวเภสัชภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ชีวภาพ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่าต้องสร้างศักยภาพของแพลตฟอร์มในการผลิตให้มีปริมาณที่มาก ซึ่งที่ผ่านมาและตอนนี้กำลังพัฒนาเทคโนโลยีที่จะนำไปสู่การผลิตยาได้ แต่จะทำอย่างไรให้สามารถแข่งขันได้และเข้าสู่ตลาดยาได้ ตอนนี้ไทยมองเฉพาะเรื่องวิจัยแต่ยังไม่ได้มองเรื่องการสู่ตลาดยาเท่าที่ควร

159966380823

ด้าน มารุต บูรณะเศรษฐกุล” กล่าวว่าอุตสาหกรรมไบโอฟาร์ม่า ถือเป็นโอกาสและศักยภาพของไทยและธุรกิจ สามารถสร้างความเติบโตให้แก่อุตสาหกรรมยาในประเทศได้ ซึ่งการแข่งขันไม่ว่าจะอุตสาหกรรมใด ถ้ามีการจัดการที่มีประสิทธิภาพเป็นรูปแบบผสมผสานระหว่างรัฐและเอกชนจะช่วยให้แข่งขันได้แน่นอน อีกทั้ง อุตสาหกรรมไบโอฟาร์ม่า ผู้เล่นยังมีน้อยราย ถ้ามองในสเกลไทยจะไม่ใหญ่มา แต่ต้องมองในระดับภูมิภาคอาเซียน