"น้ำมะกรูดคั้นสด" มี “สารเควอซิทิน”สูง ต้านอนุมูลอิสระ-ดีต่อสตรีมีบุตรยาก
"มะกรูด" พืชสวนครัวที่มีประโยชน์ทางยา ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ช่วยฟอกเลือดสตรี ขับระดู นอกจากนั้น มะกรูดยังมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ที่จัดอยู่ในกลุ่มฟลาโวนอยด์ ที่ ชื่อว่า “เควอซิทิน” สูงสุด เมื่อเทียบผลไม้รสเปรี้ยว ซึ่งดีต่อสตรีผู้มีบุตรยาก
“ครูก้อย นัชชา ลอยชูศักดิ์” ผู้ก่อตั้งเพจ BabyAndMom.co.th ยื่นหนึ่งในใจผู้มีบุตรยาก เผยว่ามีรายงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร International Journal of Food Sciences and Nutrition เมื่อปี ค.ศ. 2009 ระระบุว่า สารเควอซิทิน ที่พบมาในกลุ่มผลไม้รสเปรี้ยว มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะมะกรูดที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ชื่อว่า เควอซิทิน ซึ่งที่ดีต่อกระบวนการภายในของร่างกาย และที่สำคัญ คือ ส่งผลดีต่อภาวะเจริญพันธุ์ โดยมีงานวิจัยหลายฉบับศึกษาถึงสรรพคุณของเควอซิทินที่ช่วยเสริมภาวะเจริญพันธุ์ ได้แก่ ป้องกันไข่ฝ่อ, บำรุงไข่, ต้านการอักเสบ, ปรับสมดุลฮอร์โมน, ลดน้ำตาลในเลือด และลดความดันโลหิต
ครูก้อย ขยายความด้วยว่า งานวิจัยล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสาร Cell Death & Disease เมื่อปี 2020 ศึกษาสาเหตุการท้องยากอันเนื่องมาจากเซลล์ไข่เสื่อมเมื่อผู้หญิงมีอายุมากขึ้น แต่สารเควอซิทิน สามารถชะลออายุเซลล์ไข่ได้ นอกจากนั้น สารเควอซิทินที่มีประโยชน์ต่อการทำงานของรังไข่ ชะลอความเสื่อมของรังไข่ ที่เป็นสาเหตุต้นๆ ของภาวะมีบุตรยาก นอกจากนั้นงานวิจัยยังระบุว่สรรพคุณของเควอซิทิน ว่า ลดการอักเสบในร่างกายและยังเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายอีกด้วย
"การอักเสบเป็นกระบวนการที่สำคัญมากในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อให้กลับมาเป็นปกติ การอักเสบจะเกิดขึ้นเพื่อป้องกันการทำลายเซลล์ ที่อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ความเครียด การเจ็บป่วย การรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ นอนหลับไม่เพียงพอ และตามงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Reproductive Science เมื่อปี 2011 ศึกษาพบว่าการอักเสบเป็นสาเหตุของโรคทางสูติศาสตร์ ทั้ง เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่, ภาวะถุงน้ำหลายใบในรังไข่ , ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ, ซีสต์รังไข่ หรือ เนื้องอกในโพรงมดลูก, รังไข่เสื่อม วัยทองก่อนวัย , เซลล์ไข่และเซลล์สเปิร์มที่ด้อยคุณภาพ , ตัวอ่อนไม่ฝังตัว หรือแท้งในระยะเริ่มต้น” ครูก้อย กล่าว
ครูก้อย กล่าวด้วยว่า เควอซิทินช่วยปรับฮอร์โมน ช่วยเยียวยาภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง ที่เป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของภาวะมีบุตรยาก ตามงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Ovarian Research ปี 2020 ระบุถึงประโยชน์ของเควอซิทิน ด้วยว่าช่วยลดระดับฮอร์โมนเพศชาย คือ เทสโทสเตอโรน และแอนโดรเจน ที่เป็นอุปสรรคสำคัญของผู้หญิงที่อยากมีบุตร เพราะรังไข่ทำงานไม่ปรกติ นอกจากนั้นสารอนุมูลอิสระในมะกรูดยังช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ที่เป็นสาเหตุหลักของความเสี่ยงเกิดโรคเบาหวาน ที่เป็นต้นตอของภาวะ ดื้ออินซูลิน กระทบต่อกระบวนการตกไข่ ทำให้ไข่ไม่ตกเรื้อรัง และประโยชน์ตัวสำคัญ คือ ลดความดันโลหิต ที่เป็นสาเหตุของการคลอดก่อนกำหนดของสตรีตั้งครรภ์
"น้ำมะกรูดคั้นสดมีสารเควอซิทินสูง นอกจากนั้นยังสารที่ปรับสมดุลให้ร่างกาย มีวิตามินซีสูง และช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ช่วยให้ผิวพรรณสดใส และช่วยให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงมดลูกอย่างเพียงพอ ซึ่งส่งผลดีต่อผู้หญิงที่มีบุตรยาก หรือหากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถศึกษาข้อมูลได้ที่ รายการ Research Talk Ep.6 ในหัวข้อ งานวิจัยเผย น้ำมะกรูดมีสารต้านอนุมูลอิสระ "Quercetin" สูงสุด ครูก้อย นัชชา กล่าวทิ้งท้าย.