เตรียมความพร้อม ก่อนมีบุตรช่วงวัย 35 อัพ
แต่งงานช้า เมื่อเข้าสู่วัย 35 ปีแล้ว เจ้าสาวก็ต้องเตรียมความพร้อม ส่วนหนุ่มๆ แม้วัยทองจะมาถึงช้ากว่า แต่ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นผลให้ตัวอสุจิไม่แข็งแรงก็มีไม่น้อย การเตรียมตัวมีบุตร จึงเป็นเรื่องต้องเรียนรู้
การเตรียมความพร้อมก่อนแต่งงาน โดยเฉพาะเจ้าสาววัย 35-38 ปี การตรวจสุขภาพแบบ Pre-Screening เป็นสิ่งสำคัญ
เพื่อวิเคราะห์ความพร้อมทั้งบ่าวสาวตั้งแต่ระดับฮอร์โมน สภาวะมดลูกและรังไข่ ความแข็งแรงสมบูรณ์ของน้ำเชื้อฝ่ายชาย เพื่อเพิ่มโอกาสการมีบุตรมากขึ้น
นพ.พูลศักดิ์ ไวความดี ผู้อำนวยการคลินิกรักษาผู้มีบุตรยากและส่งเสริมสุขภาพสตรี (Fertility and Women Wellness Clinic) แพทย์ผู้ชำนาญการด้านการเจริญพันธุ์ BDMS Wellness Clinic กล่าวว่า สาวๆ รู้ไว้ว่า ตั้งแต่แรกเกิดจะมีไข่ในรังไข่จำนวนมากเกือบ 4-5แสนฟอง และจะลดลงทั้งปริมาณและคุณภาพตามปัจจัยต่างๆของร่างกาย การบำรุงรักษาคุณภาพของไข่จึงเป็นเรื่องสำคัญมากในผู้หญิง35
อายุขึ้นหลัก 3 แล้ว ส่วนหนุ่มๆ แม้ว่าวัยทองจะมาถึงช้ากว่า แต่ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นผลให้ตัวอสุจิไม่แข็งแรงก็มีไม่น้อยเช่นกัน
การเตรียมตัวมีบุตร ต้องทราบว่าสุขภาพของทั้งคู่ มีปัญหาอะไรที่จะส่งผลต่อรังไข่และลูกอัณฑะหรือไม่
ในการคัดเลือกอสุจิที่มีความแข็งแรงที่สุด ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการปฏิสนธิ และได้ตัวอ่อนที่มีคุณภาพมากขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ที่สูงขึ้นอีกด้วย โดยใช้เครื่อง Hamilton Thorne IVOS II
โดยช่วงเวลาของวัยเจริญพันธุ์ อยู่อายุระหว่าง 20-35 ปี การวางแผนมีบุตรจึงเป็นสิ่งจำเป็น เช่นบางคนที่ไม่ได้ตั้งใจโสด แต่สนุกกับการทำงาน ใช้ชีวิตอย่างอิสระเสรี กว่าจะนึกได้ก็
ตรวจวิเคราะห์การเคลื่อนไหวของอสุจิ รูปร่างความผิดปกติต่างๆ รวมถึงยังสามารถวิเคราะห์ถึงการแตกหักของหัวอสุจิ (DNA Fragmentation) หรือในขั้นตอนของการคัดเลือกอสุจิสำหรับทำ IVF/ICSI/IUI ใช้เทคนิคที่เรียกว่า MACs Sperm (Magnetic activated cell sorting Sperm)
ในส่วนของการตรวจสุขภาพเชิงลึกซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกเพื่อการวางแผนการมีบุตรและป้องกันการถ่ายทอดโรคทางพันธุกรรมจากรุ่นพ่อแม่สู่ลูก เรียกว่าการตรวจดีเอ็นเอ จะทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นพิมพ์เขียวสำหรับวางแผนปรับพฤติกรรมในแบบเฉพาะบุคคล ช่วยลดความเสี่ยงมีบุตรที่มีภาวะผิดปกติ เช่นเมื่อทราบว่าคู่สมรสเป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมียก็สามารถวางแผนป้องกัน ให้โรคธาลัสซีเมียหยุดลงแค่ที่พ่อแม่ ไม่ถ่ายทอดไปยังลูก
รวมถึงกรณีคนที่มีประวัติแท้งบ่อย พบว่าร้อยละ 90 ของการแท้งเกิดจากดีเอ็นเอของตัวอ่อนมีความผิดปกติ ทำให้การเจริญเติบโตของเซลล์หยุดก่อนครบกำหนด ฉะนั้น ประโยชน์ของการวางแผนครอบครัวคือ หมดกังวลว่าลูกที่ออกมาผิดปกติหรือไม่
การวางแผนมีบุตร นพ.พูลศักดิ์ แนะนำว่า ควรมีเวลาอย่างน้อย 3-6 เดือนเพื่อการดูแลสุขภาพในเชิงป้องกัน โดยการปรับรูปแบบการดำเนินชีวิต ตั้งแต่การรับประทานอาหาร นอนหลับให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
เตรียมความพร้อมก่อนมีบุตร ดังนี้
1. ปรึกษาแพทย์ตรวจสุขภาพคู่สามี ภรรยา เพื่อเตรียมความพร้อม รวมทั้งประเมินความเสี่ยงในด้านต่างๆ
2. รับประทานอาหารที่หลากหลาย ครบหมู่ อาหารบางอย่างสามารถกระตุ้นรังไข่ และสเปิร์ม เช่น กลุ่มที่มีสารต้านอนุมูลอิสระมาก คือตระกูลเบอร์รี่ อาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัว เช่น อะโวคาโด ถั่วต่างๆ น้ำมันมะกอก
3. หลีกเลี่ยงของหวาน การที่รับประทานของหวานมากเกินไปจะทำให้ร่างกายมีภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งมีโอกาสทำให้ไข่ตก หรือรังไข่ทำงานลดลง
4. ดูแลน้ำหนักตัวให้ได้มาตรฐาน พบว่าคนที่อ้วนมักมีปัญหาไข่ไม่ตก และไม่ละเลยการดูแลสุขภาพใจ ภาวะเครียดทำให้ปริมาณไข่และอสุจิลดลง
5. การนอนหลับให้มีคุณภาพ โดยเข้านอนไม่เกิน 22.00 น. และนอนหลับให้ได้ประมาณ 8-9 ชั่วโมง/วัน
6. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ วันละอย่างน้อย 30 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน
7. สารอาหารที่สำคัญและจำเป็นต่อสุขภาพของทารกในครรภ์คือ ธาตุเหล็ก โปรตีน กรดโฟลิคหรือโฟเลต วิตามินต่างๆ เช่น วิตามินซี วิตามินอี รวมทั้งวิตามินดีจากแสงแดด
8. ตรวจสภาพมดลูกและรังไข่ว่าไม่มีการอักเสบ เพราะการผลิตไข่ในแต่ละครั้งคุณภาพขึ้นกับสุขภาพเจ้าของรังไข่
9. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ทั้งมือหนึ่ง (Firsthand Smoke) และมือสอง (Secondhand Smoke) ก่อนตั้งครรภ์ 3-6 เดือน
10. อาจใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยการเจริญพันธุ์หรือการมีบุตรทางวิทยาศาสตร์ (IVF: In-vitro Fertilization) หรือ อิกซี่ (ICSI : Intracytoplasmic Sperm Injection: ICSI) เพื่อเพิ่มอัตราความสำเร็จในการมีบุตร
เพราะการจะมีบุตรที่แข็งแรงสมบูรณ์ ต้องเริ่มต้นที่พ่อแม่ที่มีสุขภาพแข็งแรงก่อน.