"ติดหวาน-น้ำหนักเกิน" จุดเสี่ยงภาวะ "PCOS" - "ตั้งครรภ์" ยาก
คนไทย ทานหวาน จนสถิติติดหวานและบริโภคน้ำตาล เกินกว่าที่องค์การอนามัยโลก กำหนดไว้ที่วันละ 6 ช้อนชา ถึง 4 เท่า เสี่ยงภาวะอ้วน เบาหวาน โรคหัวใจ หลอดเลือด รวมถึงโรคที่เกี่ยวเนื่องกับระบบสืบพันธุ์ เช่น ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ ส่งผลให้ท้องยาก
ครูก้อย-นัชชา ลอยชูศักดิ์ ครูวิทยาศาสตร์และผู้ก่อตั้งเพจBabyAndMomให้ความรู้เตรียมตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก โดย บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด ให้ข้อมูลว่า ภาวะอ้วน ในระดับที่ฮอร์โมนอินชูลินในร่างกายสูงกว่าปกติ ส่งผลให้หญิงตั้งครรภ์ได้ยาก เพราะระดับอินซูลินในร่างกายหากสูงกว่าปกติจะทำให้รังไข่ถูกกระตุ้นและผลิต นฮอร์โมนหลักในกลุ่มฮอร์โมนเพศชาย คือ เทสโทสเทอโรน สูง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ หรือ Polycystic Ovary Syndrome (PCOS) ที่ส่งผลให้ท้องยาก เพราะไข่ไม่โตตามเกณฑ์ ไข่ด้อยคุณภาพ และส่งผลให้ประจำเดือนมาช้า หรือ ขาดหาย
"จากสถิติที่มีการเก็บข้อมูลของ Office on Women’ s Health, U.S. Department of Health & Human Services พบว่าผู้หญิงกว่า 5 ล้านคนทั่วโลกเผชิญกับภาวะ PCOS และส่งผลให้มีบุตรยาก ขณะเดียวกันในประเทศไทยพบผู้ป่วย PCOS มากถึงร้อยละ 10 ของผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์" ครูก้อย-นัชชา กล่าว
ครูก้อย-นัชชา กล่าวด้วยว่า นอกจากนั้นภาวะอ้วน โดยเฉพาะอ้วนลงพุง มีส่วนทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งเป็นฮอร์โมนควบคุมการตกไข่ในเพศหญิงผิดปกติ ส่งผลให้ไม่มีการตกไข่ ประจำเดือนมาแบบกะปริดกะปรอย หรือ ประจำเดือนขาดหายไป
ครูก้อย-นัชชา ให้คำแนะนำว่า สำหรับสตรีที่วางแผนตั้งครรภ์แต่พบภาวะPCOS ต้องงดหวานเด็ดขาด และคุมน้ำหนักให้มีดรรชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ 18.5-22.9 แต่หากต้องการความหวาน ควรเลือกรับประทานน้ำตาลจากธรรมชาติ ในผัก ผลไม้ น้ำผึ้งชันโรง หรือ อินทผลัม
ครูก้อย-นัชชา กล่าวด้วยว่า นอกจากนั้นต้องเน้นทานอาหารตามหลักโภชนาการ โดยมีงานวิจัยหลายฉบับที่ออกมารายงานถึงโภชนาการที่ช่วยเยียวยาภาวะ PCOS ได้ คือ เน้นโปรตีนจากพืช ได้แก่ ถั่วเหลือง อัลมอนด์ งาดำ ควินัว เมล็ดฟักทอง เป็นต้น และโปรตีน จาก ไข่ เนื้อปลา อกไก่ หรือ นมแพะ , เน้นคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ขัดสี ได้แก่ ข้าวกล้อง ควินัว และธัญพืช เช่น อัลมอนด์ แฟล็กซีด และลูกเดือย งาดำ เมล็ดฟักทอง เป็นต้น, กรดไขมันดี โอเมก้า3 โอเมก้า6 ที่พบในปลาทะเล ทานน้ำมันปลา
ครูก้อย-นัชชา กล่าวด้วยว่า เน้นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ ช่วยชะลอความเสื่อมสภาพของเซลล์ต่างๆ รวมถึงเซลล์ไข่ด้วย โดยอาหารที่ให้สารต้านอนุมูลอิสระสูง ได้แก่ ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ส้ม มะนาว น้ำมะกรูด ผักผลไม้ เช่น ผักเคล ผักโขม กะหล่ำม่วง มะเขือเทศ บีทรูท แครอท ทับทิม
ครูวิทยาศาสตร์และผู้ก่อตั้งเพจBabyAndMom กล่าวแนะนำสำหรับความหวานจากธรรมชาติ ที่สตรีที่วางแผนตั้งครรภ์แต่พบภาวะPCOS สามารถทานได้ และบรรเทาภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบได้ คือ น้ำผึ้งชันโรง เป็นโภชนเภสัชที่ให้สารต้านอนุมูลอิสระฟีนอลิกสูงกว่าน้ำผึ้งทั่วไป
5-10 เท่า ช่วยปกป้องเซลล์ไข่ให้สมบูรณ์ จากงานวิจัยล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสาร Science Report เมื่อปี 2020 ศึกษาพบว่าน้ำผึ้งชันโรงส่งผลดีต่อผู้ป่วยเบาหวาน เพราะไม่ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงอย่างเฉียบพลัน และยังเป็นน้ำตาลที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ และค่าดัชนีอินซูลินต่ำ
"น้ำผึ้งชันโรงมีโพรไบโอติกส์ และพรีไบโอติกส์ มีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อลำไส้ และมดลูก นอกจากนี้แล้วน้ำผึ้งชันโรงยังมีฤทธิ์ต้านการการอักเสบ ช่วยปกป้องเซลล์ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ส่งผลให้ร่างกายไม่เจ็บป่วยง่าย ได้รับการยกย่องเป็น super food ที่นิยมกันมากในประเทศบราซิล ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ มาเลเซีย โดยเฉพาะใน ประเทศมาเลเซียนั้นน้ำผึ้งชันโรงเป็นที่ยอมรับในวงกว้างถึงสรรพคุณทางยาจนถึงขั้นเรียกว่า the mother medicine" ครูวิทยาศาสตร์และผู้ก่อตั้งเพจBabyAndMom กล่าว
ครูก้อย-นัชชา กล่าวด้วยว่า นอกจากนั้นยังมีน้ำอินทผลัม เพราะมีสารแอนตี้ออกซิแดนท์โพลีฟีนอล สูงมากประมาณถึง 50.2mg/g ซึ่งช่วยเรื่องการเสริมภาวะการเจริญพันธุ์ในเพศหญิง และมีสารสารไฟโตสเตอรอล รวมถึงไฟโตเอสโตรเจน มีสรรพคุณช่วยควบคุมสมดุลของฮอร์โมนเอสโตรเจนในเพศหญิงรวมทั้งยังช่วยยับยั้งการเสื่อมของเซลล์ นอกจากนี้มียังมีธาตุเหล็กและไฟเบอร์สูง ผู้หญิงที่เตรียมตั้งครรภ์ควรดื่มเพื่อเพิ่มธาตุเหล็ก ป้องกันภาวะโลหิตจาง และเหมาะสำหรับผู้หญิงที่ใส่ตัวอ่อนเพราะช่วยในการฝังตัวของตัวอ่อน
"สำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์ควรดื่มก่อนคลอด น้ำอินทผลัมช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง คลอดง่าย และยังช่วยกระตุ้นน้ำนม เป็นการเตรียมน้ำนมให้พร้อมสำหรับลูกน้อย และ นอกจากปรับรูปแบบการกินตามหลักโภชนาการ ควรการพักผ่อนให้เพียงพอ ผ่อนคลายความเครียดและออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ โดยผู้ที่อยู่ระหว่างเตรียมตั้งครรภ์และมีภาวะPCOS สามารถขอคำปรึกษาได้ฟรีที่เพจBabyAndMom.co.th" ครูก้อย-นัชชา กล่าวทิ้งท้าย.