มหาวิทยาลัยไทย ยุคอยู่ยาก เอกชนขายกิจการจีนนับ 10 แห่ง

มหาวิทยาลัยไทย ยุคอยู่ยาก เอกชนขายกิจการจีนนับ 10 แห่ง

มหาวิทยาลัยไทยอยู่ยาก เผชิญความท้าทายรอบด้าน เอกชนไม่ไหว ขายกิจการจีนแล้วนับ 10  แห่ง  แนะแนวทางปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลงให้ทัน  เลิกวิจัยขึ้นหิ้ง พัฒนาทุนมนุษย์เพิ่มมิติจิตใจ

       เมื่อเร็วๆนี้  สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) และเครือข่ายผู้แทนจากมหาวิทยาลัย 15 แห่ง ร่วมผนึกกำลังผ่าน “การประชุมแนวทางการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสุขภาวะในประเทศไทย” เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างมหาวิทยาลัยเครือข่ายในการขับเคลื่อนการส่งเสริมสุขภาวะที่ดีในระดับมหาวิทยาลัยและประเทศไทย  ภายในงานมีการ ปาฐกถาพิเศษ "แนวทางการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสุขภาวะในประเทศไทย"

ปี 70 เป้าไทยรายได้สูง

             ศ.ดร.จำเนียร จวงตระกูล ประธานคณะกรรมการกำกับทิศทางแผนสร้างเสริมสุขภาวะในองค์กร สสส.  กล่าวว่า การพัฒนานิสิตนักษึกษาเป็นเรื่องของการพัฒนปาระเทศ เพราะมหาวิทยาลัยเป็นสถาบัน เพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ไปพัฒนาประเทศ แต่ปัจจุบันไทยยังไปไม่ถึงเป้าหมายของการพัฒนาที่จะเป็นประเทศที่มีรายได้สูง หรือประเทศที่พัฒนาแล้ว ยังเป็นประเทศกำลังพัฒนา มีรายได้ปานกลางค่อนข้างสูง

       โดยปัจจุบันไทยมีรายได้ 2.5 แสนบาทต่อคนต่อปี ขณะที่ประเทศที่มีรายได้สูง ต้องมีรายได้ 4.6 แสนต่อคนต่อปี  ยังมีอีกราว 44 % ที่จะต้องเพิ่มรายได้ต่อคนต่อปี ให้ได้ตามเป้าหมายภายในปี 2570

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำคนรุ่นใหม่ "หดหู่ เครียด ซึมเศร้า" และวิธีการรับมือ
เปิดผลสำรวจพฤติกรรมนักศึกษาไทย น่าห่วงสุขภาพจิต ทำร้ายตัวเอง หนี้นอกระบบ
จริงหรือ? "นักศึกษาจีน" ทางรอด-โอกาสของมหาวิทยาลัยไทย
“ปวดหลัง” ที่ไม่ใช่แค่ปวดหลัง แต่คือ "เนื้องอกไขสันหลัง"

ประเทศที่มีรายได้สูง 10 อันดับแรกในปี 2022

1.โมนาโค
2.ลิกเตนสไตน์
3.ลักเซมเบิร์ก
4.สวิตเซอร์แลนด์
5.มาเก๊า

6.ไอร์แลนด์

7.นอร์เวย์
8.อเมริกา

9.เดนมาร์ก
10.สิงคโปร์

ทุนมนุษย์ยังขาดพัฒนาสุขภาพจิต

     การที่จะทำให้เป็นประเทศรายได้สูง จะต้องพัฒนาที่ทุนมนุษย์ ซึ่งนิสิตนักศึกษาเป็นส่วนสำคัญที่จะก้าวออกไปทำงานในอนาคต จะต้องมีการพัฒนาส่วนประกอบสำคัญใน 10 เรื่อง

1.ความรู้
2.ความสามารถ

3.ทักษะ

4.การศึกษา
5.การฝึกอบรม

6.ประสบการณ์

7.ดุลพินิจ

8.ปัญญา

9.ความคิดสร้างสรรค์

10.ความสามารถพิเศษ

     “จะเห็นได้ว่า 10 ส่วนของทุนมนุษย์ยังขาดเรื่องของสุขภาวะ จิตใจ จิตวิญญาณ เป็นส่วนที่มหาวิทยาลัยต้องเพิ่มเข้าไป เพราะแม้จะมี 10 ส่วนดังกล่าวครบถ้วน แต่สุขภาพร่างกายและจิตใจไม่แข็งแรง  ก็ไม่สามารถไปพัฒนาประเทศได้” ศ.จำเนียรกล่าว  

     ทั้งนี้ จากการที่สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำรวจพฤติกรรมสุขภาพของนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัย ประเด็นสุขภาพจิต พบว่า นิสิตนักศึกษา 30% รู้สึกเศร้าบ่อยครั้งถึงตลอดเวลา โดยมีสัดส่วนถึง 4.3 % ที่ได้รับการวินิจฉัยแล้วว่ามีอาการทางจิตเวชอย่างโรคซึมเศร้า และโรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar) กว่า 4 %ของนิสิตนักศึกษาทั้งหมด เคยคิดฆ่าตัวตายอยู่บ่อยครั้งถึงตลอดเวลา โดย 12 % ได้เคยลงมือทำร้ายร่างกายตนเองแล้ว
       ในจำนวนนี้มีถึง 1.3 %ที่ได้ลงมือทำร้ายร่างกายตนเองบ่อยครั้งถึงตลอดเวลา นอกจากนี้ เกือบ 40% มีความเครียดบ่อยครั้งถึงตลอดเวลา ซึ่งกลุ่มนักศึกษาในเขตกทม.และปริมณฑล และภาคเหนือมีแนวโน้มที่มีความเครียดสูง และการคิดฆ่าตัวตายสูงกว่าภูมิภาคอื่นๆ ทั้งนี้ ความสัมพันธ์ในครอบครัว และผลการเรียนมีความสัมพันธ์กับความเครียดและการคิดทำร้ายตนเองและฆ่าตัวตาย

      “การเพิ่มเรื่องการส่งเสริมสุขภาวะให้กับนักศึกษา การกระตุ้นให้ไปฟิตเนสหรือสนามกีฬาต่างๆของมหาวิทยาลัยมากขึ้น และควรมีการตรวจสุขภาพจิตนักศึกษาทุกปี โดยรายงานไว้ในระบบทะเบียน เหล่านี้จะทำให้เกิดการพัฒนาทุนมนุษย์ครบถ้วน”ศ.จำเนียรกล่าว

7 สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับมหาวิทยาลัยไทย 

        มหาวิทยาลัยไทยกำลังอยู่ยาก เผชิญปัญหารอบด้าน  โดยเฉพาะปัญหาด้านประชากรศาสตร์ คนเกิดน้อยลง แต่คนตายยาก เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มอัตรา ซึ่งผู้สูงอายุอาจจะเป็นตลาดใหม่สำหรับมหาวิทยาลัย เพราะคนวัยหนุ่มเข้าสู่ระบบการศึกษาน้อยลง ทำให้มหาวิทยาลัยมีความท้าทายทั้งภายนอกและภายใน

ความท้ายทายนำสู่การเปลี่บนในมหาวิทยาลัย ซึ่งเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงแล้ว ได้แก่

1.ลดขนาด เพราะจำนวนนักศึกษา น้อยลง ทรัพยากรเกิน โครงสร้างพื้นฐานมาก อาคารมหาวิทยาลัยบางแห่งสร้างใหญ่โต แต่นักศีกษาไม่มี ก็จะไม่ได้ใช้ 
2.ควบรวม เช่น มหาวิทยาลัยที่อยู่ในพื้นที่เดียวกัน อาจจะควบรวมเพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกัน
3.การขายกิจการ
4.การเปลี่ยนเป็นสถาบันการเรียนด้านอาชีพ

5.เปลี่ยนเป็นสถาบันฝึกอบรมรมด้านอาชีพ
6.กระจายไปสู่ธุรกิจอื่น

7.ปิดลง

     “มหาวิทยาลัยเอกชนไทย หลายแห่งก็อยู่ไม่ได้ เพราะนักศึกษาหรือคนที่เข้าสู่ระบบการศึกษาน้อยลง ปัจจุบันก็มีนับ 10 แห่งที่มีการขายกิจการให้ทุนจีนเข้ามาดำเนินการ เพียงแต่ไม่ได้มีการเปิดเผย มีบางแห่งที่เปิดเผยเท่านั้น”ศ.จำเนียรกล่าว

แนวทางปรับมหาวิทยาลัยไทย

      การปรับตัวตามภารกิจของมหาวิทยาลัย แยกเป็น 4 ข้อ
1.การผลิตบัณฑิต เดิม ผ่านกระบวยการทางการศึกษา ใหม่ การสร้างคนทำงานผ่านกระบวนการฝึกอบรม การยกระดับทักษะ และการปรับเปลี่ยนทักษะ

2.การวิจัย เดิม แบบขึ้นหิ้งแบบการทำวิจัยเพื่อให้ได้ทำวิจัย ใหม่ การวิจัยที่กินได้ การวิจัยและพัฒนาเชิงพาณิชย์ร่วมกับภาคธุรกิจเอกชน จดสิทธิบัตรและจำหน่ายสิทธิบัตร
3.การบริการทางวิชาการ เดิม เพื่อให้ได้ชื่อว่าบริการวิชาการ ใหม่  การบริการวิชาการเชิงพาณิชย์ เพื่อสร้างรายได้จากการพัฒนาทุนมนุษย์และการพัฒนาธุรกิจให้สามารถแข่งขันได้

4. การทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม เดิม เพื่อศิลปะวัฒนธรรม ใหม่ การทำนุบำรุงในเชิงพาณิชย์เพื่อสร้างธุรกิจสร้างสรรค์และเศรษฐกิจสร้างสรรค์