วชช.พื้นที่ภาคเหนือ ขับเคลื่อน U2T ยกกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน

วชช.พื้นที่ภาคเหนือ ขับเคลื่อน U2T ยกกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน

“สัมพันธ์” ลงพื้นที่วิทยาลัยชุมชนพื้นที่ภาคเหนือ ทั้งวชช.ชุมชนแพร่-วชช.น่าน ติดตามโครงการ U2T รับฟังการดำเนินการงาน ปัญหา แนวทางการสนับสนุน พร้อมดันหลักสูตรระยะสั้น สร้างงานสร้างอาชีพ ดูแลสูงวัย ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ตามที่ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (รมว.อว.) ได้มอบนโยบายให้แก่ผู้บริหารสถาบันวิทยาลัยชุมชน ผลักดันหลักสูตร Non Degree เพื่อเชื่อมต่อ รับใช้ชุมชนให้มาก รวมถึงเพิ่มบทบาทด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์  สร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้แก่คนในชุมชน พร้อมทั้งเป็นผู้เก็บCommunity Data เพื่อฟื้นฟูความหลากหลายทางวัฒนธรรมให้คงอยู่ต่อไปนั้น

เมื่อวันที่ 20-21 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา นายสัมพันธ์ เย็นสำราญ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ทปษ.รมว.อว.) ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมวิทยาลัยชุมชน(วชช.)แพร่  จังหวัดแพร่ และวิทยาลัยชุมชน(วชช.)น่าน จังหวัดน่าน  เพื่อรับฟังการดำเนินงานของทางวิทยาลัย  ทั้งในส่วนของโครงการ U2T  โครงการ Phrae Rich โดยมี นางสุมามาลย์ วิวรรธนดิฐกุล ประธานสภาวิทยาลัยชุมชนแพร่ ดร.ประทีป บินชัย ผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนแพร่ ,นพ.ชาตรี เจริญศิริ ผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนนน่าน และคณะผู้บริหารทั้ง 2 วิทยาลัยให้การต้อนรับ

วชช.พื้นที่ภาคเหนือ ขับเคลื่อน U2T ยกกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

อว.หนุน วชช.ผลิตเอสเอ็มอี สร้างงานเสริมท่องเที่ยวช่วยอุตฯไทย

ฝากวชช.ปรับโฉมตั้งเป้าช่วยผู้ขาดโอกาส

“ช่างศิลป์ถิ่นไทย วิถีร่วมสมัย” โชว์ฝีมือคนไทยอวดนานาชาติ 

 

วชช.แพร่-วชช.น่าน ขับเคลื่อนU2T ยกระดับชุมชน

นายสัมพันธ์ กล่าวว่าการจัดการศึกษาของวชช. เป็นการจัดการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ซึ่งหลักสูตรสูงสุดจะเป็นระดับอนุปริญญา โดยผู้ที่เข้าเรียนในวชช.จะเป็นกลุ่มที่มีรายได้น้อย  หรืออยู่ในพื้นที่ห่างไกล  วชช.จึงเป็นสถาบันการศึกษาที่เข้าไปเติบเต็มและให้โอกาสแก่ผู้ด้อยโอกาส โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์โควิด-19 วชช.มีบทบาทอย่างมาก

“คณาจารย์ บุคลากรของวชช.มีความใกล้ชิดสนิทสนมกับคนในชุมชน ทำให้มีการฝึกอบรมอาชีพแก่คนในชุมชน รวมถึงคนที่ว่างงานในช่วงโควิด-19 กลับมาอยู่ภูมิลำเนา ได้มาฝึกทักษะอาชีพเพิ่มเติม รวมทั้ง กระทรวงอว.มีโครงการ U2T ซึ่งวชช.สามารถเข้าไปช่วยเสริมพัฒนาศักยภาพของชุมชนผ่านโครงการดังกล่าว ทำให้บทบาทของวชช.มีความโดดเด่นมากขึ้น”นายสัมพันธ์ กล่าว 

วชช.พื้นที่ภาคเหนือ ขับเคลื่อน U2T ยกกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน

วชช.พื้นที่ภาคเหนือ ขับเคลื่อน U2T ยกกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน นอกจากนั้น ทางกระทรวงอว.ได้มีการจัดตั้ง อว.ส่วนหน้าใน 10 จังหวัด ซึ่งอว.ส่วนหน้าจะทำหน้าที่ประสานกับหน่วยงานต่างๆ ในจังหวัดนั้น ซึ่งเป็นอีกบทบาทหนึ่งของวชช. และเป็นตัวแทนกระทรวง 

ที่ปรึกษารมว.อว. กล่าวต่อว่าการลงพื้นที่วชช.ภาคเหนือ ทั้งในส่วนของวชช.แพร่ และวชช.น่าน ทั้ง 2 พื้นที่ล้วนมีภูมิปัญญาท้องถิ่นจำนวนมาก อาทิ  งานพุทธศิลป์  ผ้าหม้อห้อม งานศิลปหัตถกรรม งานใหม่ และมีภูมิปัญญาชาวบ้านจากทั้งพระภิกษุสงฆ์ ผู้สูงอายุในชุมชน ก็ได้มีการเปิดสอนหลักสูตรระยะสั้นให้คนรุ่นใหม่ กลุ่มผู้ด้อยโอกาส หรือกลุ่มคนว่างงานในช่วงโควิด-19 ได้เข้ามาฝึกปฎิบัติ เป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพ และต่อยอดอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย

วชช.พื้นที่ภาคเหนือ ขับเคลื่อน U2T ยกกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน

วชช.พื้นที่ภาคเหนือ ขับเคลื่อน U2T ยกกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน

 

พัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

“จากการลงพื้นที่ ทำให้เห็นได้ว่าวชช.แพร่ และวชช.น่าน ได้มีการส่งเสริม สนับสนุนการนำภูมิปัญญาท้องถิ่น มาพัฒนาต่อยอด ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของท่านรมว.อว.ที่ต้องการให้วชช.เป็นสถาบันที่ช่วยพัฒนาเรื่องนี้  และวชช.แพร่ กับวชช.น่าน ล้วนมีคณาจารย์ของวชช.ที่สนิทสนมกับปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน และผู้บริหารท้องถิ่น ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง”ที่ปรึกษารมว.อว.กล่าว

การดำเนินงานของวชช.แพร่และวชช.น่าน ไม่ใช่เพียงการสร้างอาชีพ พัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นเท่านั้น แต่ยังเป็นการสนับสนุนเรื่องแพทย์แผนไทย สมุนไพร และดูแลสุขภาพของกลุ่กลุ่มผู้สูงอายุ รองรับสังคมผู้สูงอายุ และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตร่วมด้วย โดยทุกหลักสูตรระยะสั้นสามารถเข้ามาเรียนรู้ ฝึกอาชีพได้ตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้สูงอายุ รวมถึงได้มีการเชิญกลุ่มผู้เกษียณอายุที่มีความรู้ มีประสบการณ์มาเป็นวิทยากร เป็นอาจารย์ผู้สอน ไม่ลดคุณค่าของผู้สูงอายุ

วชช.พื้นที่ภาคเหนือ ขับเคลื่อน U2T ยกกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน

อย่างไรก็ตาม ผลการดำเนินงาน โครงการ U2T ในเฟส1 ซึ่งมีการพัฒนาพื้นที่ไปแล้ว 60 ตำบล และเฟส 2 พัฒนาพื้นที่ 170 ตำบล ในปี2566 นี้ ทางอว.ได้มอบหมายให้วิทยาลัยชุมชนทั้ง 21 แห่ง จัดทำหลักสูตรระยะสั้น  เพื่อUpskill- Reskill เพิ่มศักยภาพของคนในชุมชนให้สามารถสร้างอาชีพใหม่ ซึ่งสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้มีการประเมินว่าโครงการ U2T ช่วยเศรษฐกิจครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้น และทำให้กลุ่มบางกลุ่มสามารถประกอบอาชีพ อาศัยอยู่ในถิ่นฐานเดิม

วชช.พื้นที่ภาคเหนือ ขับเคลื่อน U2T ยกกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน วชช.พื้นที่ภาคเหนือ ขับเคลื่อน U2T ยกกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน วชช.พื้นที่ภาคเหนือ ขับเคลื่อน U2T ยกกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน