ทำอย่างไร? ถึงจะสร้างผลกระทบเชิงบวก ฟื้นฟูการเรียนรู้ถดถอย
วิกฤตโควิด-19 ส่งผลให้ภาคการศึกษาและเด็กทั่วโลกได้รับผลกระทบจากการปิดภาคเรียนเป็นเวลานาน ซึ่งประเทศไทยไม่สามารถเปิดการเรียนการสอนได้ตามปกติ เป็นระยะเวลาถึงสองปีการศึกษา ทำให้เด็กสูญเสียโอกาสในการเรียนรู้ในทุกด้าน
Starfish Education ตระหนักถึงความท้าทายเหล่านี้ จึงได้เริ่มดำเนินการฟื้นฟูการเรียนรู้ถดถอยที่โรงเรียนบ้านปลาดาว อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นสถานศึกษาแห่งแรก ผ่านการจัดการเรียนรู้และสนับสนุนเด็ก ครอบครัว ชุมชนในรูปแบบของนวัตกรรมที่หลากหลาย
เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และได้รับการช่วยเหลือ และเพื่อให้คุณครูผู้สอนได้รับการพัฒนาให้มีสมรรถนะและเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้ เพื่อก้าวข้ามความท้าทายที่เกิดขึ้น ดังนั้น โรงเรียนบ้านปลาดาวจึงกลายเป็นโรงเรียนต้นแบบในการฟื้นฟูการเรียนรู้ถดถอย
ดร. นรรธพร จันทร์เฉลี่ย เสริบุตร CEO Starfish Education เล่าว่าStarfish Education ได้ขยายผลการสร้างและใช้นวัตกรรมไปยังโรงเรียนเครือข่าย จำนวน 82 โรงเรียน 40 จังหวัด มีครูที่ได้รับการพัฒนาทักษะทั้งหมด 250 คน และมีนักเรียนที่ได้รับประโยชน์ เกิดการพัฒนาด้านวิชาการ อารมณ์และสังคมที่ดีขึ้น จำนวน 7,000 กว่าคน ผ่านการดำเนินงานและได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายต่างๆ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
เมื่อเด็กยุคโควิดเผชิญภาวะ "การเรียนรู้ถดถอย" รัฐต้องแก้อย่างไร?
สร้างครูแกนนำ เปลี่ยนโฉมการเรียนการสอน พัฒนาทักษะศตวรรษ 21 แก่ผู้เรียน
"Starfish Future Labz" ขยายศักยภาพครู-นักเรียนนำร่องเทศบาลเมืองนางรอง
ขยายผลใช้นวัตกรรมลดการเรียนรู้ถดถอย
โครงการในการขยายผลการสร้างและใช้นวัตกรรมที่ทางStarfish Education ดำเนินการ ได้แก่
1. การร่วมมือกับองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น ใน 9 จังหวัด ทั่วประเทศไทย โดยการสนับสนุนกล่องการเรียนรู้ Learning Box / Booklet / กิจกรรม Workshop / การ Coaching จากทีมโค้ช และการจัดวงชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อแลกเปลี่ยนกัน ซึ่งผลลัพธ์จากโครงการนี้ คือ โรงเรียนจำนวน 11 โรงเรียนได้รับการสนับสนุนเพื่อลดความถดถอยด้านการอ่านออก เขียนได้ และการคิดคำนวณ การแก้ไขปัญหาและการมีพัฒนาการของนักเรียนในแต่ละอย่างชัดเจน
2.โครงการโรงเรียนกองทุน ใน 32 จังหวัดทั่วประเทศไทย โดยการสนับสนุนกล่องการเรียนรู้ Learning Box / Booklet / กิจกรรม Workshop / การ Coaching จากทีมโค้ช และการจัดวงชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อแลกเปลี่ยนกัน ซึ่งผลลัพธ์จากโครงการนี้ คือ โรงเรียนจำนวน 32 โรงเรียนได้รับกล่อง Learning Box และนักเรียนมีพัฒนาการด้านการเรียนรู้ที่ดีขึ้น คิดเป็นร้อยละ 81.98 ในด้านการสื่อสาร การอ่านออกเขียนได้ การคิดคำนวณและแก้ไขปัญหา
3.โครงการ Booster (โครงการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อลดภาวะการเรียนรู้ถดถอยให้กับผู้เรียน) ในจังหวัดสมุทรสาคร โดยการสนับสนุน Booklet 5 มาตรการฟื้นฟูการเรียนรู้ถดถอย / บทเรียน Micro Learning / กิจกรรม Workshop / การ Coaching จากทีมโค้ช / การจัดวงชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อแลกเปลี่ยนกัน และบทเรียนออนไลน์สำหรับการฟื้นฟูการเรียนรู้ถดถอย
ผลลัพธ์จากโครงการนี้ คือ โรงเรียนจำนวน 39 โรงเรียนในจังหวัดสมุทรสาคร ได้ทิศทางการทำงานอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอน ผ่านกรอบการทำงาน 5 มาตรการ
เสริมสมรรถนะครู ปั้นโรงเรียนฟื้นฟูการเรียนรู้ตามบริบท
นอกจากนี้ โรงเรียนมีวิธีการฟื้นฟูการเรียนรู้ที่หลากหลายตามบริบทและความต้องการ โดยมีคุณครูเป็นผู้ริเริ่มพัฒนาตนเองให้มีสมรรถนะพร้อมสร้างการเรียนรู้ ผู้เรียนอยากมาโรงเรียนและเกิดทักษะการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณได้ดีขึ้น
ดร. นรรธพร กล่าวต่อว่า โครงการเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ หากไม่มีภาคีเครือข่ายที่เข้ามาร่วมขับเคลื่อนกับ Starfish Education อย่างเช่น กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น Unicef กสศ. ศึกษาธิการจังหวัด ที่เห็นความสำคัญและดำเนินการอย่างเร่งด่วนในการจัดการศึกษาเพื่อฟื้นฟูการเรียนรู้ถดถอย
แม้ว่าสถานการณ์โควิดจะคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้นแล้ว โรงเรียนกลับมาจัดการเรียนการสอนอยู่ในรูปแบบปกติ แต่ความถดถอยในการเรียนรู้ยังเกิดขึ้นได้เสมอทั้งในสถานการณ์ปกติ และเมื่อเกิดสิ่งที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น
สิ่งที่ได้จากโครงการคือแนวความคิดของบุคลกรทางการการศึกษาที่ต้องพัฒนาความสามารถ และเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับความท้าทายใหม่ๆ โดยยังคงรักษาเป้าหมายหลัก คือให้เด็กไทยทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ตามศักยภาพของตนเอง
“การฟื้นฟูการเรียนรู้ และการช่วยเหลือผู้เรียนที่ได้รับผลกระทบ จากวิกฤตครั้งนี้ เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ทุกภาคส่วน ต้องให้ความสำคัญ Starfish Education หวังว่าการสนับสนุนต่างๆ ทั้งในด้านองค์ความรู้ และทรัพยากรที่จำเป็น จะเป็นประโยชน์ในการปรับการจัดเรียนรู้และการจัดการศึกษาเพื่อตั้งรับและพัฒนาในยุคหลังโควิด 19” ดร. นรรธพร กล่าว