รู้จัก 'นักจัดการข้อมูลชุมชนแก้จนให้ชาวบ้าน'

รู้จัก 'นักจัดการข้อมูลชุมชนแก้จนให้ชาวบ้าน'

สถาบันวิทยาลัยชุมชนจับมือ จ.ชัยนาท จัดเวทีพัฒนานักจัดการข้อมูลชุมชนแก้จนให้ชาวบ้าน หนุนเสริมกลไกพัฒนาเชิงพื้นที่ บูรณาการความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเป็นรูปธรรม

ดร.สุธิมา เทียนงาม หัวหน้ากลุ่มงานวิจัย ส่งเสริมการบริการวิชาการ และส่งเสริมทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม สถาบันวิทยาลัยชุมชน (สวชช.) ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ จังหวัดชัยนาท เปิดเผยว่า จังหวัดชัยนาทร่วมกับ สวชช. จัดเวทีพัฒนาศักยภาพนักจัดการข้อมูลชุมชน จังหวัดชัยนาท เมื่อวันที่ 16-17 ต.ค.ที่ผ่านมา

โดยมีหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สนับสนุนทุนวิจัยสร้างแพลตฟอร์มขจัดความยากจนระดับจังหวัด จัดเวทีดังกล่าวขึ้น ซึ่งได้มีการนำเสนอการจัดทำระบบข้อมูลความยากจน การติดตามการช่วยเหลือแก้ปัญหาความยากจน การพัฒนาตัวแบบปฏิบัติการแก้จน และหนุนเสริมกลไกพัฒนาเชิงพื้นที่ บูรณาการความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเป็นรูปธรรม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

9 เรื่องรัฐบาลใหม่ต้องทำ สร้าง 'รัฐสวัสดิการถ้วนหน้า'

'วชช.มุกดาหาร'เร่งแก้ปัญหาความยากจน ยกคุณภาพชีวิตชุมชน

 

สร้างนักจัดการข้อมูลชุมชนแก้จน

พบว่า จุดเริ่มต้นของการแก้ปัญหาความยากจน ต้องมาจากกระบวนการค้นหาความจนที่แม่นยำ มีคุณภาพ จึงนำไปสู่ปฏิบัติการแก้จนแบบเบ็ดเสร็จ กลไกการแก้ปัญหาความยากจนเชิงพื้นที่ที่สำคัญคือ นักจัดการข้อมูลชุมชน จะช่วยให้กระบวนการค้นหาคนจนมีคุณภาพ เจอคนจนที่ต้องได้รับการช่วยเหลือจริง ๆ นำไปสู่การบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วนของพื้นที่ออกแบบปฏิบัติการแก้จน ได้ตรงกับฐานทุนและศักยภาพครัวเรือนคนจน และหน่วยงานในพื้นที่

ดร.สุธิมา กล่าวอีกว่า การจะแก้จนให้ก้าวหน้าได้นั้นจำเป็นต้องมีนักจัดการข้อมูลชุมชน ที่จะเข้าไปช่วยทำให้ชุมชน พื้นที่ ตื่นตัวและตระหนักถึงการมีฐานข้อมูลของชุมชนที่มีความแม่นยำ แสดงถึงข้อมูลคนจนจริง โดยคนในชุมชนเป็นเจ้าของข้อมูล เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชน ท้องที่ ท้องถิ่น เพื่อค้นหาค้นหาคนจนจริง เกิดวงปรึกษาหารือร่วมเพื่อออกแบบกลยุทธ์การแก้จนโดยคนในชุมชน นักจัดการข้อมูลชุมชนจะเป็นคนที่ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงในการปฏิบัติการแก้จน รวมถึงประสานเชื่อมโยงหน่วยงานมาร่วมกันระดมทรัพยากร

รู้จัก \'นักจัดการข้อมูลชุมชนแก้จนให้ชาวบ้าน\'

ที่ผ่านมามีตัวอย่างความสำเร็จเชิงรูปธรรมของนักจัดการข้อมูลชุมชนมากมาย หากนักจัดการข้อมูลชุมชนได้ดำเนินงานอย่างต่อเนื่องจะทำให้เกิดระบบข้อมูลครัวเรือนคนจนในระดับพื้นที่ที่แม่นยำ ปฏิบัติการแก้จนแบบเบ็ดเสร็จต่อเนื่องในระยะยาว เป็นกลไกเชื่อมระหว่างคนจนกับภาคีเครือข่ายความร่วมมือให้เกิดการแก้ไขปัญหาความยากจนระดับพื้นที่ และครัวเรือนเป้าหมาย สามารถยกระดับฐานะความเป็นอยู่ได้


เดินหน้าแก้ปัญหาความยากจนในชุมชน

ปัจจุบันมีนักจัดการข้อมูลชุมชนใน 8 ตำบลของอำเภอสรรคบุรี และตำบลโพนางดำออก อำเภอสรรยา รวม 218 คน ดังนั้น เพื่อขยายองค์ความรู้นักจัดการข้อมูลชุมชนให้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งจังหวัดชัยนาท โครงการวิจัยฯจึงจัดเวทีการพัฒนาศักยภาพนักจัดการข้อมูลชุมชนจังหวัดชัยนาทขึ้น เพื่อสร้างพลังความร่วมการแก้ไขปัญหาความยากจนร่วมกันในระดับพื้นที่

ด้าน น.ส.ดรุณี มนัสวาณิช พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดชัยนาท กล่าวว่า รู้สึกยินดีที่จังหวัดชัยนาทมีผู้นำชุมชนทั้งเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ และหน่วยงานในระดับพื้นที่ทั้งเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลได้เห็นความสำคัญของการแก้ไขปัญหาความยากจน ลุกขึ้นมาใช้มาจัดการข้อมูลความยากจนของพื้นที่ด้วยตนเอง ซึ่งข้อมูลครัวเรือนยากจนที่ทุกท่านได้รวบรวมมาจะถูกส่งต่อไปยังพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดชัยนาท โดยมีการทำงานร่วมกับศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัด (ศจพ.จ.) 

รู้จัก \'นักจัดการข้อมูลชุมชนแก้จนให้ชาวบ้าน\'

“นักจัดการข้อมูลชุมชนในวันนี้สำคัญมาก การทำข้อมูลออกมาได้ชัดเจน คนที่ต้องการความช่วยเหลือต่าง ๆ  คนที่ไม่มีที่อยู่อาศัย คนที่ต้องการการพัฒนาด้านต่าง ๆ  หากทำให้ละเอียดและส่งข้อมูลกลับมา มั่นใจว่าข้อมูลนั้นจะนำไปสู่การใช้ประโยชน์คุ้มกับการเก็บข้อมูล ทุกท่านจัดการข้อมูล ข้อมูลที่ส่งมาจะสามารถกลับไปสู่การช่วยเหลือผู้คนได้อย่างเป็นรูปธรรม และหวังว่าการจัดประชุมครั้งนี้จะเป็นพลิกช่วยขจัดความยากจนได้” น.ส.ดรุณี กล่าว